Skip to content
Home » News » กฎบัตรแมกนา คาร์ตา

กฎบัตรแมกนา คาร์ตา

กฎบัตรแมกนา คาร์ตา บางครั้งก็เรียกว่า “กฎบัตรใหญ่แห่งเสรีภาพ” (Magna Carta Libertatum) เป็นกฎบัตรของอังกฤษที่ตราขึ้นเมื่อ ค.ศ. 1215 ในสมัยพระเจ้าจอห์น โดยถือกันว่ามหากฎบัตรนี้คืออิทธิพลที่ยิ่งใหญ่ที่มีต่อประวัติศาสตร์ศาสตร์อันยาวนานของกระบวนการที่นำมาสู่กฎหมายรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน

การที่มหากฎบัตรเกิดขึ้นมาได้นั้นเนื่องมาจากข้อขัดแย้งระหว่างพระสันตปาปา พระเจ้าจอห์น และคณะขุนนางอังกฤษของพระองค์เกี่ยวกับสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์ มหากฎบัตรบังคับให้พระมหากษัตริย์ทรงสละสิทธิ์บางอย่าง และยอมรับกระบวนการทางกฎหมายบางอย่าง และยังให้รับว่าพระราชประสงค์ของพระมหากษัตริย์ต้องอยู่ภายใต้กฎหมาย

มีความเข้าใจผิดที่แพร่หลายหลายประการเกี่ยวกับมหากฎบัตรนี้ เช่นว่าเป็นเอกสารชิ้นแรกสุดที่จำกัดสิทธิ์ของพระมหากษัตริย์โดยกฎหมายบ้าง (ความจริงไม่ใช่กฎบัตรแรกที่จำกัดสิทธิ์กษัตริย์และมหากฎบัตรนี้ส่วนหนึ่งมาจากสืบเนื่องกฎบัตรแห่งอิสรภาพ) และในแง่ปฏิบัติ พระมหากษัตริย์ถูกจำกัดสิทธิ์บ้าง เป็นเอกสารที่ตายตัวไม่มีการเปลี่ยนแปลงบ้าง

มหากฎบัตรได้รับการปรับปรุงแก้ไขมาโดยตลอดยุคมืด และแก้ไขต่อในสมัยราชวงศ์ทิวดอร์และราชวงศ์สจวต และต่อมาในสมัยคริสต์ศตวรรษที่ 17 และ 18 ล่วงมาถึงช่วงแรกของคริสต์ศตวรรษที่ 19 มาตราต่าง ๆ ที่มีเดิมในกฎหมายอังกฤษถูกยกเลิกหรือได้รับการปรับปรุงไปเกือบหมด

กฎบัตรแมกนา คาร์ตา
https://www.thairath.co.th/content/504696

อิทธิพลของมหากฎบัตรนอกประเทศอังกฤษอาจเห็นได้ในรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาและในกฎหมายว่าด้วยสิทธิ์ นอกจากนี้ ประเทศต่าง ๆ ที่ใช้กฎหมายจารีตแต่มีรัฐธรรมนูญจะมีอิทธิพลของมหากฎบัตรอยู่ ทำให้มหากฎบัตรกลายเป็นเอกสารทางกฎหมายที่มีความสำคัญที่สุดในประวัติศาสตร์แห่งประชาธิปไตย

เนื้อหาหลักในมหากฎบัตรกล่าวถึงสิทธิในการได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายของเสรีชน ไม่ว่าบุคคลนั้นจะอยู่ในชนชั้นหรือวรรณะใดก็ตาม และพระเจ้าแผ่นดินจะต้องมอบสิทธินี้ให้กับขุนนางหรือผู้ครอบครองที่ดิน (vassal) และขุนนางนั้นจะต้องมอบสิทธิให้กับพลเมืองหรือไพร่ในสังกัด โดยพลเมืองทุกคนจะไม่ถูกกดขี่ พ่อค้าและชาวนาไม่จำเป็นต้องมอบสินค้าบางส่วนหรือผลิตผลทางเกษตรให้กับขุนนางหรือพระเจ้าแผ่น เพื่อเป็นค่าคุ้มครอง ดังเนื้อความในส่วนหนึ่งของมหากฎบัตร ที่กล่าวว่า “จะไม่มีบุคคลที่ถูกกักขัง หน่วงเหนี่ยว

โดยปราศจากอิสรภาพ หรือถูกยึด ขู่กรรโชก ทรัพย์สินโดยปราศจากคำตัดสินของศาล” นอกจากนี้มีในมหากฎบัตรยังได้กล่าวถึงการเรียกเก็บภาษีของพระเจ้าแผ่นดิน ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินจะทรงเรียกเก็บภาษีตามพระราชหฤทัย โดยไม่ผ่านการเห็นชอบจากสภาบริหารราชการแผ่นดิน (The Great Council of the Nation) มิได้

กฎบัตรแมกนา คาร์ตา การเมืองการปกครองในอังกฤษและต่อมาสหราชอาณาจักร มีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องมากว่า 800 ปี โดยมีหมุดหมายประชาธิปไตยในรูปของมหากฎบัตร แมกนา คาร์ตา (Magna Carta) ที่มีมาตั้งแต่ ค.ศ. 1215 เมื่อประชาชนผู้ถูกปกครองลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิจากพระมหากษัตริย์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ได้ในระดับหนึ่ง เป็นจุดเริ่มต้นของพัฒนาการทางประชาธิปไตยที่ประชาชนได้เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยผ่านทางรัฐสภา และพลเมืองทุกคนมีความเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย

แมกนา คาร์ตา มีลักษณะคล้ายข้อตกลงซึ่งอาจจะเรียกว่าเป็นรัฐธรรมนูญแรกของโลกในเรื่องที่ว่าด้วยการจัดสรรอำนาจการปกครองก็ได้ มีมาตราหรือบทบัญญัติหนึ่งที่ระบุว่าจะมีการจัดตั้งสภาเจ้าที่ดินมีสมาชิก 25 คน โดยสภานี้ อาจจะมีมติยกเลิกโองการของกษัตริย์จอห์นแห่งอังกฤษได้ โดยอาจจะใช้กำลังถ้าจำเป็น แม้ว่าเวลาต่อมากษัตริย์จอห์น ได้ทรงแก้ใขเปลี่ยนแปลงข้อตกลงให้อ่อนลงและกษัตริย์องค์ต่อๆ มาก็มิได้สนพระทัยที่จะปฏิบัติตามข้อตกลงก็ตาม

แม้กระนั้นก็พออนุมานได้ว่าเป็นเวลากว่า 800 ปีมาแล้วที่อังกฤษได้ริเริ่มระบอบการปกครองประเทศแบบรัฐสภา ที่สมาชิกประกอบด้วยตัวแทนจากเจ้าที่ดินและชาวเมืองที่มีฐานะเข้าไปนั่งในสภาที่เรียกว่า สภาสามัญชน และ สภาขุนนาง ซึ่งสมาชิกประกอบด้วยขุนนางและนักบวชอาวุโส พัฒนาเป็นประเพณี จนมาประมาณ 200 ปีหลังเริ่มมีตัวแทนจากชนชั้นผู้ใช้แรงงานเป็นตัวแทนเข้าไปนั่งในสภา หลังการปฏิรูปการเมืองและสร้างธรรมเนียมประเพณีประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง

ประธานสภาสามัญชนคนแรก ค.ศ.1376

ในยุคแรก หน้าที่ส่วนใหญ่ของรัฐสภาเกี่ยวกับการสนองโองการเรียกเก็บภาษีของกษัตริย์ แต่ต่อมา รัฐสภากล้าหาญมากขึ้นด้วยการเรียกร้องให้มีการถอดถอนเสนาบดีที่ทำงานสนองโองการของกษัตริย์ แต่ฝ่ายรัฐสภาเห็นว่าประพฤฒิตนไม่เหมาะสมกับตำแหน่ง

ต่อมาในปี ค.ศ. 1376 รัฐสภาประกาศแต่งตั้งนายโทมัส เดอ ลา แมร์ เป็นประธานสภาสามัญชนคนแรก โดยมีหน้าที่สำคัญคือ นำความกราบทูลกษัตริย์ว่าประชาชนไม่พอใจโองการเก็บภาษีของพระองค์

ผลของการกราบทูลครั้งนั้นคือ นายเดอ ลา แมร์ ถูกจำคุก อย่างไรก็ดี สภาสามัญชนได้สร้างธรรมเนียมปฏิบัติให้ประธานสภาสามัญชนเป็นตัวแทนของสามัญชนเป็นการถาวรมาจนถึงทุกวันนี้

https://www.the101.world/magna-carta/

แม้ว่าการเรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในยุคแปดร้อยปีก่อนนั้น มิได้จุดเริ่มต้นมาจากประชาชนทั่วไป แต่เป็นกลุ่มคนที่เป็นเจ้าที่ดินและขุนนางบางส่วนที่ต้องการลดทอนอาญาสิทธิของกษัตริย์ และเพิ่มอำนาจของพวกตนให้มากขึ้น แต่ก็เป็นการจุดประกายทำให้มีการต่อรองและต่อสู้กันระหว่างชนชั้นต่างๆ เพื่อปฏิรูปการเมือง ถึงขั้นประหัตประหารกันหลายหลายช่วงในประวัติศาสตร์ โดยเริ่มจากแคว้นอังกฤษ ก่อนที่จะมาเป็นสหราชอาณาจักรในยุคหลังสืบเนื่องไปถึงการที่อังกฤษแผ่อำนาจอิทธิพลเป็นจักรวรรดิ

เสียงเรียกร้องจากประชาชนในประเทศไทยจำนวนกว่าแสนคน และจากพรรคการเมืองบางพรรคในรัฐสภาขอให้มีการแก้ใขรัฐธรรมนูญปี 2560 เป็นการดำเนินการตามขั้นตอนในพื้นที่แคบๆ ที่ผู้ร่างรัฐธรรมนูญอัปยศฉบับนี้สร้างอุปสรรคไว้

โดยแท้จริงแล้ว รัฐธรรมนูญฉบับปี 2560 นี้ก็ไม่ใช่รัฐธรรมนูญฉบับที่ (อ้างกันว่า) มีการลงประชามติ (กว่าสิบหกล้านเสียง) ด้วยซ้ำไป เนื่องมีการ (ลักไก่) แก้ไขบางมาตราหลังผ่านกระบวนการประชามติไปแล้ว ถ้าถือตามหลักกฎหมายแล้วย่อมเป็นโมฆะ ไม่ควรประกาศบังคับใช้เพราะฝ่าฝืนหลักนิติธรรม (rule of law) ซึ่งเป็นหลักสำคัญที่จะสร้างสังคมให้อยู่ร่วมกันได้อย่างสงบสุข

การเขียนกฎหมายสูงสุดของประเทศจะต้องยึดหลักนิติธรรม หลักสำคัญที่รับรองสิทธิเสรีภาพมนุษย์ทุกผู้ทุกนามให้มีความเท่าเทียมกันภายใต้กฏหมาย โดยมีมาตรฐานเดียว ผิดไปจากนี้ไปจะเรียกว่าเป็นการปกครองตามระบอบประชาธิปไตยไม่ได้

แผ่นดินใดที่ปกครองโดยฝ่าฝืนหลักนิติธรรม แผ่นดินนั้นก็ยากที่จะอยู่ร่วมกันได้โดยสงบสุข

หลักนิติธรรมดังกล่าวระบุว่า พลเมืองทุกๆ คนไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครองสูงสุดหรือประชาชนทั่วไป จะต้องอยู่ภายใต้กรอบกฎหมายอย่างเท่าเทียมกัน หลักการนี้เป็นมรดกที่ Magna Carta (The Great Charter) ค.ศ. 1215 ส่งทอดมากลายเป็นหลักในการร่างรัฐธรรมนูญในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งรัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกากว่าห้าร้อยปีต่อมา  ซึ่งมีบันทึกไว้ว่า ในการประชุมเพื่อร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐเมื่อปี ค.ศ. 1787 (Philadelphia Constitution Convention) ที่ประชุมได้บรรจุหลักนิติธรรมที่กล่าวถึงนี้โดยอ้างอิงมาตรา 39 และ 40 จาก Magna Carta ในการกำหนดสิทธิเสรีภาพของพลเมืองเท่าเทียมกันภายใต้กฎหมาย

หลังจากนั้นสี่ปีต่อมามีการแก้ใขรัฐธรรมนูญสหรัฐเพิ่มเติม 10 มาตราซึ่งต่อมาเรียกรวมๆ ว่า Bill of Rights โดยส่วนใหญ่ก็มีต้นธารมาจากมาตราต่างๆ ใน Magna Carta นั่นเอง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A1%E0%B8%AB%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%8E%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%A3

1.ม.ค.1215(วันที่ประมาณการ)