Skip to content
Home » News » กษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย ราชวงศ์คองบอง

กษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย ราชวงศ์คองบอง

กษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย ราชวงศ์คองบอง ราชวงศ์สุดท้ายของพม่า คือราชวงศ์คองบอง มีกษัตริย์ทั้งหมด 11 พระองค์ เมืองหลวง 5 เมือง สถาปนาขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2295 หรือ 265 ปีที่แล้ว ก่อนจะล่มสลายลงในปี พ.ศ. 2428 รวมเป็นเวลาทั้งสิ้น 133 ปี

มีปฐมกษัตริย์คือ พระเจ้าอลองพญา ตอนนั้นเมืองหลวงของพม่าอยู่ที่เมืองอังวะ ซึ่งอยู่ตอนบนของประเทศภายในระยะเวลา 133 ปีของราชวงศ์คองบอง มีสงครามเกิดขึ้นมากมาย ตั้งแต่การขับไล่ชาวมอญ สงครามกับไทย สงครามกับจีน และสงครามที่ถือว่าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของประวัติศาสตร์การปกครองของพม่า คือ สงครามกับอังกฤษ (Anglo-Burmese Wars)สงครามกับอังกฤษครั้งที่ 1 เริ่มขึ้นในปี พ.ศ. 2367 จากการที่พม่าขยายอาณาจักรแล้วไปยึดแคว้นมณีปุระ และอัสสัม ในอินเดียของจักรวรรดิ์อังกฤษในยุคล่าอาณานิคม จบลง 2 ปีให้หลัง

กษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย ราชวงศ์คองบอง
https://www.longtunman.com/2642

กษัตริย์พม่าองค์สุดท้าย ราชวงศ์คองบอง โดยมีอังกฤษเป็นผู้ชนะสงคราม ทำให้พม่าต้องเซ็นสนธิสัญญายันดาโบ (Treaty of Yandabo) คืนอาณาเขตที่พม่ายึดมา พร้อมกับเมืองตะนาวศรีสงครามกับอังกฤษครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2395 ที่อังกฤษส่ง George Lambert มาคุยกับพม่าเกี่ยวกับปัญหาเล็กน้อยต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับสนธิสัญญา ซึ่งพม่าเองก็ยอมปลดเจ้าเมือง (Governor) ที่ทางอังกฤษมองว่าเป็นปัญหาที่อาจนำมาซึ่งสงคราม (casus belli)แต่จากการยั่วยุของ George Lambert ทำให้การสู้รบก็เกิดขึ้นอยู่ดี และชัยชนะก็ตกเป็นของอังกฤษอีกครั้ง โดยยึดเมาะตะมะ ย่างกุ้ง พะสิม แปร พะโค (หงสาวดี) เรียกได้ว่ายึดเมืองพม่าตอนล่างได้ทั้งหมด

ต่อมาจึงเกิดแย่งชิงราชสำนัก มีการเปลี่ยนกษัตริย์เป็นพระเจ้ามินดง และย้ายเมืองหลวงไปเมือง มัณฑะเลย์ ที่อยู่ใกล้กับเมืองอังวะพระเจ้ามินดงเป็นพระบิดาของพระเจ้าธีบอ กษัตริย์องค์สุดท้ายของพม่าก่อนจะเข้าสงครามครั้งที่ 3 การขึ้นครองราชย์ของพระเจ้าธีบอนั้น เรียกได้ว่า นองเลือด เพราะช่วงสิ้นรัชสมัยพระเจ้ามินดง หนึ่งในพระมเหสี ชื่อ พระนางชินพยูมาชิน (อเลนันดอ) ที่จัดแจงให้พระนางศุภยาลัต พระธิดาองค์ที่ 2 ของตน อภิเษกสมรสกับพระเจ้าธีบอ (ซึ่งเป็นพี่น้องคนละแม่) และ สั่งสังหารหมู่พระราชวงศ์ที่มีโอกาสขึ้นครองราชย์พร้อมบริวารรวมกันกว่า 500 คน

สงครามกับอังกฤษครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2428 จาก ทางพม่ามองว่าอังกฤษเอาเปรียบในเรื่องการค้า และตัดไม้เกินกว่าที่ได้รับสัมปทาน จึงสั่งปรับบริษัทอังกฤษ ตอนนั้นพม่าคิดว่ามีฝรั่งเศสหนุนหลัง (แต่ต่อมาฝรั่งเศสก็ไม่ได้เข้ามาช่วย) ขณะที่อังกฤษเองก็กลัวพม่าจะไปเข้าร่วมกับทางฝรั่งเศส สงครามก็เกิดขึ้นอังกฤษชนะสงครามอีกครั้ง และครั้งนี้ยึดดินแดนของพม่าได้ทั้งหมด บังคับพระเจ้าธีบอให้สละราชสมบัติ และเนรเทศพระเจ้าธีบอและครอบครัวไปอยู่เมืองรัตนคีรีที่อินเดีย ยุบพม่าเป็นบริติชราช มณฑลหนึ่งของอินเดีย และถือเป็นการล่มสลายของการปกครองระบอบกษัตริย์ที่มีประวัติยาวนานนับ 1,000 ปีสำหรับกษัตริย์องค์สุดท้ายนั้น ถูกเนรเทศให้อยู่อินเดียเป็นเวลา 31 ปี ก่อนจะสิ้นพระชนม์ มีพระโอรส 2 พระองค์ (สิ้นพระชนม์ไปก่อน) และพระธิดา 4 พระองค์ ได้แก่ เจ้าหญิงเมียะพยาจี, เจ้าหญิงเมียะพยาลัต, เจ้าหญิงเมียะพยา, และเจ้าหญิงเมียะพยากเลเจ้าหญิงเมียะพยาจี (สิ้นพระชนม์ปี 2490)

อภิเษกสมรสกับทหารชาวอินเดีย ศรีมัน โกปาล ภาอุเรา สาวันต์ ศิวเรกร มีพระธิดาที่ไม่สิ้นพระชนม์เร็ว คือ ตูตู สาวันต์ (เสียชีวิตเมื่อปี 2543) ซึ่งสมรสกับช่างซ่อมรถ ไพสุไพ ศังกร ปาวร และเป็นตระกูลของราชวงศ์ที่อาศัยอยู่ในอินเดีย ไม่ได้กลับพม่าเจ้าหญิงเมียะพยาลัต (สิ้นพระชนม์ปี 2499)

ซึ่งได้รับเลือกให้เป็นรัชทายาทหลังราชวงศ์ถูกโค่นล้ม อภิเษกสมรสกับ ขิ่นหม่องลัต เลขาส่วนพระองค์ของพระบิดาเจ้าหญิงเมียะพยา (สิ้นพระชนม์ปี 2505) อภิเษกสมรสครั้งแรกกับเจ้าชายเนียง ซึ่งเป็นพระราชนัดดาของเจ้าชายกะนองเมงสอ ก่อนจะอภิเษกสมรสกับหม่องเมียะอูเจ้าหญิงเมียะพยากาเล อภิเษกสมรสกับ อู โก โกเนียง มีพระโอรส 4 พระองค์ พระธิดา 2 พระองค์ทุกวันนี้ผู้สืบเชื้อสายของราชวงศ์ก็ยังมีชีวิตอยู่ โดยอาศัยอยู่ทั้งในอินเดียและพม่า

เนรเทศ “พระเจ้าธีบอ” กษัตริย์พม่าไปอินเดีย

เรือพระที่นั่งที่ใช้เนรเทศกษัตริย์และพระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์คองบองของพม่าไปยังอินเดียชื่อว่า “ทอเรียะ” (Thooreah ထဝ်ရ)

“ทอเรียะ” (ထဝ်ရ) เป็นชื่อของเจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) บุตรชายเจ้าพระยามหาโยธา (เจ่ง) ต้นตระกูล คชเสนี อดีตเจ้าเมืองเตริน และเป็นโอรสในพระอนุชาในพญาทะละ กษัตริย์มอญพระองค์สุดท้ายแห่งกรุงหงสาวดี ราชวงศ์พระเจ้าฟ้ารั่ว ที่ถูกราชวงศ์คองบองแห่งพม่าปล้นชิงเอกราชและประหารชีวิตพญาทะละ พระมเหสี ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์มอญจนสิ้นราชวงศ์ เมื่อพุทธศักราช 2300

เจ้าพระยามหาโยธา (ทอเรียะ) เกิดในเมืองมอญ เวลานั้นพญาเจ่งยังยอมรับราชการอยู่กับพม่าต่อจึงมิได้ถูกประหารชีวิตไปด้วย แต่หลังจากพญาเจ่งคิดกอบกู้เอกราชจากพม่า ทว่าไม่สำเร็จ กลายเป็นกบฎ ต้องพาไพร่พลเรือนหมื่นหนี รวมทั้ง ทอเรียะ ขณะยังรุ่นหนุ่มติดตามตามพญาเจ่งผู้เป็นบิดาเข้าเมืองไทยเมื่อสมัยธนบุรี ในปีพุทธศักราช 2317

https://www.longtunman.com/2642

1ม.ค.1885(วันที่ประมาณการ)