Skip to content
Home » News » กัดดาฟี่ สุนัขบ้าแห่งตะวันออกกลาง

กัดดาฟี่ สุนัขบ้าแห่งตะวันออกกลาง

กัดดาฟี่ สุนัขบ้าแห่งตะวันออกกลาง มุอัมมัร อัลก็อษษาฟี ( Muʿammar al-Qaḏḏāfī) เป็นผู้นำประเทศลิเบียโดยพฤตินัย หลังรัฐประหารในปี พ.ศ. 2512เขาได้รับการขนานนามในเอกสารทางการและสื่อของรัฐว่า “ผู้ชี้นำการมหาปฏิวัติวันที่ 1 กันยายน แห่งมหาสาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย” (“Guide of the First of September Great Revolution of the Socialist People’s Libyan Arab Jamahiriya”) หรือ “ภราดาผู้นำและผู้ชี้ทางแห่งการปฏิวัติ” (“Brotherly Leader and Guide of the Revolution”)

นับตั้งแต่การลงจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีของตนเองในปี พ.ศ. 2515 กัดดาฟีเคยเป็นผู้นำประเทศที่ไม่ใช่กษัตริย์ที่อยู่ในตำแหน่งนานที่สุดในโลกหลังการเสียชีวิตของโอมาร์ บองโก ประธานาธิบดีแห่งประเทศกาบอง ในปี พ.ศ. 2553 และยังเป็นผู้นำลิเบียที่ครองอำนาจนานที่สุดนับตั้งแต่ลิเบียตกเป็นมณฑลหนึ่งของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อ พ.ศ. 2094 กัดดาฟีถึงแก่อสัญกรรมเมื่อวันที่ 20 ตุลาคม พ.ศ. 2554 หลังจากถูกประชาชนลิเบียลุกฮือต่อต้านเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

กัดดาฟี่ สุนัขบ้าแห่งตะวันออกกลาง
https://www.sanook.com/sport/914326/

กัดดาฟี่ สุนัขบ้าแห่งตะวันออกกลาง พันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ปกครองประเทศกลุ่มอาหรับมายาวนานที่สุดคือ 42 ปี และด้วยบุคลิกลักษณะอันแปลกประหลาดโดดเด่นจะทำให้ผู้คนจดจำอดีตผู้นำลิเบียผู้นี้ไปอีกนาน

คนทั่วไปจดจำพันเอกโมอัมมาร์ กัดดาฟี่ในมุมของความเป็นคนพูดจาเปิดเผย ชอบวิพากษ์วิจารณ์ประเทศทางตะวันตก และมักใช้นโยบายการเมืองที่ก่อให้เกิดความขัดแย้งตลอดช่วงเวลาที่ปกครองลิเบียยาวนานถึง 42 ปี

พันเอกกัดดาฟี่ขึ้นสู่อำนาจในปี พ.ศ 2512 เมื่ออายุเพียง 27 ปีหลังรัฐประหารระบอบกษัตริย์ของลิเบีย เขาเริ่มเป็นที่รู้จักทั่วโลกจากความแปลกประหลาดแตกต่างจากผู้นำคนอื่นๆ เช่นสวมชุดคลุมยาวสีน้ำตาลหรือสวมหนังสัตว์ และมักล้อมรอบด้วยองครักษ์ที่ล้วนเป็นสตรี อดีตประธานาธิบดีสหรัฐ โรแนลด์ เรแกน เคยเรียกพันเอกกัดดาฟี่ว่าเป็น “สุนัขบ้าแห่งตะวันออกกลาง”

คุณ Jerrold Post ผู้อำนายการสาขาจิตวิทยาการเมืองแห่งมหาวิทยาลัย George Washington ชี้ว่าผู้คนมักให้ความสนใจกับความแปลกประหลาดของพันเอกกัดดาฟี่ จนอาจลืมไปว่าพันเอกกัดดาฟี่ประสบความสำเร็จไม่น้อยบนเวทีการเมืองโลก

พันเอกกัดดาฟี่จัดตั้งระบบสังคม เศรษฐกิจและการเมืองขึ้นใหม่ภายใต้ชื่อ “Jamahiriya” ซึ่งหมายความว่ารัฐแห่งมวลชนในภาษาอาราบิก เขาสรุปรวมปรัชญาการปกครองของเขาเองลงในหนังสือ Green Book ที่มีชื่อเสียง เขาปฏิเสธรัฐธรรมนูญแต่เชื่อในระบอบที่ประชาชนคือผู้บริหารประเทศและตนคือผู้นำ

คุณ Daniel Serwer แห่งสถาบันตะวันออกกลาง ชี้ว่าแม้พันเอกกัดดาฟี่คือผู้ที่สอนให้ประชาชนจัดตั้งสภาปกครองตนเองขึ้นมาบริหารประเทศ แต่เขากลับปฏิเสธที่จะมอบอำนาจบริหารให้แก่ประชาชนอย่างแท้จริง คุณ Serwer ระบุว่าพันเอกกัดดาฟี่รวมศูนย์อำนาจไว้แต่ผู้เดียว และได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพแห่งลิเบียผู้รวบรวมส่วนต่างๆที่กระจัดกระจายของลิเบียเข้าด้วยกัน

กัดดาฟีมีความสนใจทางการเมืองมาตั้งแต่เด็ก เขาเคยเดินขบวนนัดหยุดเรียนจนถูกไล่ออกจากโรงเรียน และต้องจ้างครูมาสอนที่บ้านแทน และเมื่ออายุ 19 ปีก็สามารถที่จะสอบเข้าเรียนในโรงเรียนนายร้อยที่เบงกาซีเมื่อเป็นนักเรียนนายร้อยความคิดเรื่องชาตินิยมอาหรับของเขาก็ถูกเผยแพร่แก่เพื่อนนายทหารด้วยกัน

เริ่มมีการจัดตั้งขบวนการนายทหารเสรีในวัยหนุ่มเพื่อปฏิวัติโค่นราชบัลลังก์ฟารุคที่ปกครองลิเบียในขณะนั้นหลังจากได้เป็นนายทหารในกองทัพบก เขาก็เริ่มปฏิบัติการลับใต้ดิน โดยการติดต่อกับเพื่อนนายทหารวัยหนุ่ม เพื่อร่วมวางแผนปฏิวัติ โดยเพื่อนนายทหารและตัวกัดดาฟีเองล้วนใช้ชีวิตมัธยัสถ์อดออม เคร่งศาสนาเยี่ยงมุสลิมที่ดี  ความจริงลิเบียเป็นขุมทรัพย์ที่ถูกโลกตะวันตกค้นพบในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งกลายแหล่งดึงดูดชาติตะวันตก

ได้มีการค้นพบบ่อน้ำมัน ซึ่งเป็นขุมทรัพย์ที่ทำให้ชั้นปกครองของลิเบียร่ำรวยมหาศาล บริษัทต่างประเทศเข้ามาขอสัมปทานน้ำมันกอบโกยผลประโยชน์กันอย่างเต็มที่ ความมั่งคั่งของชนชั้นปกครองกลับตรงกันข้ามกับความอดอยาก
ยากจนของพลเมืองลิเบีย ทั้งหมดเป็นแรงดลใจให้กัดดาฟีและคณะนายทหารของเขาไม่อาจจะทนรอได้อีกต่อไป

วันที่ 1 กันยายน ปี ค.ศ.1969 ขณะที่กษัตริย์ไอดริสเสด็จออกไปนอกประเทศ นายทหารผู้ใหญ่ของกองทัพบก
ได้เชิญนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่มากินเลี้ยงกันเป็นการใหญ่ ดึกคืนนั้นคณะปฏิวัติเคลื่อนกำลังเข้าจู่โจมจับกุมตัวนายทหาร
และนายตำรวจเหล่านั้น จากนั้นก็แยกย้ายกันเข้ายึดเมืองตริโปลีและเบงกาซี โดยใช้รถถังและรถเกาะเข้ายึดสถานีวิทยุ
ที่ทำการไปรษณีย์ และสถานที่สำคัญ ตลอดจนค่ายทหารที่อาเซียและพระราชวังด้วย


นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมากองทัพบกและตำรวจก็อยู่ภายใต้การบังคับบัญชาการของกัดดาฟี เพื่อสะดวกแก่การ
บังคับบัญชาของเขา จึงได้เลื่อนยศตนเองเป็นนายพันเอก และดำรงตำแหน่งประมุขสูงสุดของสาธารณรัฐสังคมนิยม
ประชาชนอาหรับลิเบีย และเป็นผู้บัญชาการทหารสูงสุด รวมทั้งตำแหน่งประธานสภาปฏิวัติด้วย
สิ่งแรกที่คณะปฏิวัติดำเนินการก็คือไม่ยินยอมให้สหรัฐฯ และอังกฤษตั้งฐานทัพในลิเบียอีกต่อไป มหาอำนาจทั้งสองจึงต้องถอนกำลังออกทั้งหมด

https://kanjanana.wordpress.com/%E0%B8%9C%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%81%E0%B8%B1%E0%B8%94%E0%B8%94%E0%B8%B2%E0%B8%9F%E0%B8%B5/

และภายหลังการถอนทหารของมหาอำนากัดดาฟีก็ได้ดำเนินนโยบายขึ้นราคาค่าการจัดเก็บน้ำมันขึ้นมาอีก 120% จากนั้นก็ให้โอนมาเป็นของรัฐทั้งหมด ยังผลให้ลิเบียเป็นประเทศที่มั่งคั่งที่สุดประเทศหนึ่งในตะวันออกกลาง
เป็นประเทศที่ถือได้ว่าร่ำรวยที่สุดบนพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างแอฟริกาตอนเหนือกับตะวันออกกลาง มีรายได้ประชากรต่อหัวสูงที่สุดและมีทรัพยากรธรรมชาติมากมายทั้ง น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ และแร่ยิปซั่ม ที่สามารถส่งออกไป
ขายได้อีกหลายสิบปี ประเทศเพื่อนบ้านของลิเบีย เช่น อียิปต์ ตูนีเซีย และโมร็อกโก ได้ส่งคนไปทำงานในลิเบียเป็นจำนวนหลายแสนคน
     แต่ด้วยความเด็ดขาดของนโยบาย ลิเบียได้ถูกคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติคว่ำบาตรในฐานะที่มีส่วนร่วมกับขบวนการก่อการร้าย เป็นอุปสรรคต่อการค้าและความร่วมมือกับต่างประเทศ อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากที่ทางการลิเบียยินยอมมอบตัวผู้ต้องสงสัยในคดีระเบิดเครื่องบิน Pan Am เหนือเมือง Lockerbie ในสกอตแลนด์ ลิเบียก็
เริ่มได้รับการยอมรับจากประชาคมระหว่างประเทศ
     ว่ากันว่าในสายตาของชาวลิเบียและชาวอาหรับ กัดดาฟีเป็นวีรบุรุษผู้ยิ่งใหญ่ ผู้สืบทอดอุดมการณ์ชาตินิยมอาหรับจากนัสเซอร์ผู้นำของชาวอียิปต์ แต่ในสายตาของโลกตะวันตกโดยเฉพาะรัฐบาลอเมริกา เขาคือปีศาจร้ายที่ต้องทำลายให้สิ้น ว่ากันว่าเขาคือผู้อยู่เบื้องหลังพวกก่อการร้ายชาวอาหรับจำนวนมาก


     ปัจจุบันลิเบียมีรูปแบบทางการปกครองที่ประกอบไปด้วยสถาบันที่สำคัญทางการเมือง คือสภาประชาชนทั่วไป ทำหน้าที่กำหนดนโยบายและออกกฎหมาย ซึ่งได้ปรับโครงสร้างใหม่โดยการยุบ General People’s Committee ซึ่งเป็น
องค์กรส่วนกลางมีบทบาททำนองเดียวกับกระทรวงที่รับผิดชอบงานต่างๆ และมีการปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารให้มี
การกระจายอำนาจออกไปในระดับท้องถิ่น

อย่างไรก็ตามกิจการที่สำคัญ เช่นกิจการน้ำมัน ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของกัดดาฟี
จนถึงวันนี้เมื่อรู้ตัวว่าไม่มีทางที่จะโค่นกัดดาฟีลงได้ มหาอำนาจชาติตะวันตกจึงเปลี่ยนนโยบายหันมาพยายาม
ฟื้นฟูความสัมพันธ์ถึงแม้ว่าจะมีความพยายามของโลกตะวันตกที่จะฟื้นฟูความสัมพันธ์กับกัดดาฟี ลิเบียก็ยังคงเป็นลิเบีย
ความแข็งกร้าวและ เด็ดขาดก็ยังคงอยู่
เมื่อรัฐบาลลิเบียได้จับกุมแพทย์และพยาบาลต่างชาติ 6 คน ส่งตัวดำเนินคดีในข้อหาทำให้เด็กหลายร้อยคน
ติดเชื้อเอชไอวี โดยที่ศาลสูงของลิเบียได้ตัดสินประหารชีวิตทั้งหมด ได้สร้างความไม่พอใจให้กับสหภาพยุโรป (อียู)
และสหรัฐอเมริกาเป็นอย่างมาก นับว่าเป็นความเด็ดขาดที่ท้าทายประชาคมโลกอีกครั้งของลิเบีย

https://www.voathai.com/a/gadhafi-obit-ss-20oct11-132285958/925086.html