Skip to content
Home » News » การขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

การขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์

การขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ เริ่มต้นขึ้นเมื่อเดือนกันยายน ค.ศ. 1919 เมื่อฮิตเลอร์ได้เข้าร่วมพรรคการเมืองที่เป็นที่รู้จักกันคือ พรรคกรรมกรเยอรมัน (Deutsche Arbeiterpartei – DAP ) ชื่อพรรคได้ถูกเปลี่ยนเป็นพรรคกรรมกรชาติสังคมนิยมเยอรมันหรือเป็นที่รู้จักกันเป็นอย่างดีคือ พรรคนาซี (Nationalsozialistische Deutsche Arbeiterpartei – NSDAP) พรรคการเมืองนี้ได้ถูกก่อตั้งและพัฒนาขึ้นในช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เป็นพวกต่อต้านลัทธิมาร์กซิสต์และต่อต้านระบอบประชาธิปไตยในรัฐบาลแห่งสาธารณรัฐไวมาร์ในช่วงภายหลังสงครามและสนธิสัญญาแวร์ซาย และส่งเสริมสนับสนุนลัทธิชาตินิยมอย่างสุดโต่งและอุดมการณ์รวมกลุ่มเยอรมัน เช่นเดียวกันกับการต่อต้านยิวอย่างรุนแรง “การขึ้นสู่อำนาจ”ของฮิตเลอร์สามารถพิจารณาถึงบทสรุปในเดือนมีนาคม ค.ศ. 1933 ภายหลังจากรัฐสภาไรชส์ทาคได้อนุมัติรัฐบัญญัติมอบอำนาจ ปี ค.ศ. 1933 ในเดือนนั้น ประธานาธิบดี เพาล์ ฟอน ฮินเดนบูร์ก ได้แต่งตั้งฮิตเลอร์ให้เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 30 มกราคม ค.ศ. 1933 หลังจากหนึ่งในการเลือกตั้งรัฐสภาและการวางแผนในห้องอย่างลับๆที่เกี่ยวข้อง รัฐบัญญัติมอบอำนาจ—เมื่อใช้อย่างโหดเหี้ยมและด้วยสิทธิ์อำนาจ—ด้วยความมั่นใจได้ว่าฮิตเลอร์อาจจะใช้อำนาจได้อย่างเผด็จการโดยปราศจากการคัดค้านตามกฎหมาย

การขึ้นสู่อำนาจของอดอล์ฟ ฮิตเลอร์
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_1387706

ฮิตเลอร์ได้ลุกขึ้นจากจุดที่ชื่อเสียงในช่วงปีแรกของพรรค เป็นหนึ่งในโฆษกที่ดีที่สุดของพรรค เขาได้บอกสมาชิกคนอื่นๆว่าจะต้องทำให้เขาได้เป็นหัวหน้าพรรคหรือเขาจะลาออกและไปตั้งพรรคใหม่แทน เขาได้รับความช่วยเหลือเป็นส่วนหนึ่งจากความเต็มใจที่จะใช้ความรุนแรงในการบรรลุเป้าหมายทางการเมืองและรับสมัครสมาชิกพรรคที่พร้อมจะทำเช่นเดียวกัน กบฏโรงเบียร์ในเดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1923 และต่อมาก็ได้เปิดตัวหนังสือของเขาคือไมน์คัมพฟ์(การต่อสู้ของข้าพเจ้า) ได้แนะนำตัวฮิตเลอร์ให้กับผู้ฟังอย่างกว้างขวาง ในช่วงกลางปี ค.ศ. 1920 พรรคได้เข้าร่วมการต่อสู้เลือกตั้งที่ซึ่งฮิตเลอร์ได้เข้าร่วมเป็นโฆษกและผู้ก่อตั้ง เช่นเดียวกับในการต่อสู้กันบนท้องถนนและความรุนแรงระหว่างหน่วยร็อตฟรอนท์คัมป์แฟร์บุนด์(“สันนิบาตนักรบแนวร่วมแดง”)ของฝ่ายคอมมิวนิสต์และหน่วยชตูร์มับไทลุงหรือหน่วยเอสเอ(Sturmabteilung-SA)ของฝ่ายนาซี ช่วงปลายปี ค.ศ. 1920 และต้นปี ค.ศ. 1930 พวกนาซีได้รวบรวมเสียงสนับสนุนการเลือกตั้งที่เพียงพอให้เป็นพรรคการเมืองที่ใหญ่ที่สุดในรัฐสภาไรชส์ทาค และด้วยการผสมผสานความรุนแรงทางการเมืองของฮิตเลอร์ การหลอกลวง และความไหวพริบได้เปลี่ยนคะแนนเสียงที่ไม่มากของพรรค แต่สถานะส่วนใหญ่เป็นอำนาจการปกครองที่มีประสิทธิภาพในความล้มเหลวของสาธารณรัฐไวมาร์ ในปี ค.ศ. 1933

เมื่ออยู่ในอำนาจ พวกนาซีได้สร้างตำนานเกี่ยวกับการก้าวขึ้นสู่อำนาจและอธิบายถึงระยะเวลาที่สอดคล้องกับขอบเขตของบทความนี้อย่างละเอียด เช่น Kampfzeit (เวลาแห่งการต่อสู้) หรือ Kampfjahre (ปีแห่งการต่อสู้)

กบฏโรงเบียร์

ฮิตเลอร์ขอการสนับสนุนจากพลเอกสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เอริช ลูเดินดอร์ฟ สำหรับพยายามก่อรัฐประหารที่เรียกว่า “กบฏโรงเบียร์” พรรคนาซีได้ใช้ลัทธิฟาสซิสต์อิตาลีเป็นแบบภาพลักษณ์และนโยบาย และใน ค.ศ. 1923 ฮิตเลอร์ต้องการเลียนแบบ “การสวนสนามแห่งโรม” ของเบนิโต มุสโสลินี (ค.ศ. 1922) โดยจัดรัฐประหารของเขาเองในบาวาเรีย ตามด้วยการท้าทายรัฐบาลในเบอร์ลิน ฮิตเลอร์และลูเดินดอร์ฟฟ์แสวงหาสการสนับสนุนจากสทาทสคอมมิสซาร์ (ผู้ตรวจการรัฐ) กุสทัฟ ฟ็อน คาร์ ผู้ปกครองบาวาเรียโดยพฤตินัย อย่างไรก็ดี คาร์ ร่วมกับหัวหน้าตำรวจ ฮันส์ ริทแทร์ ฟอน ไซส์แซร์ และพลเอกแห่งไรชส์แวร์ อ็อทโท ฟอน ลอสซอว์ ต้องการสถาปนาลัทธิเผด็จการชาตินิยมโดยปราศจากฮิตเลอร์

ฮิตเลอร์ต้องการฉวยโอกาสสำคัญเพื่อการปลุกปั่นและการสนับสนุนของประชาชนอย่างได้ผลวันที่ 8 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 เขาและ SA โจมตีการประชุมสาธารณะที่มีผู้เข้าร่วม 3,000 คน ซึ่งจัดโดยคาฮร์ในเบือร์แกร์บรอยเคลแลร์ โรงเบียร์ขนาดใหญ่ในมิวนิก ฮิตเลอร์ขัดจังหวะปราศรัยของคาฮร์และประกาศว่า “การปฏิวัติแห่งชาติเริ่มต้นขึ้นแล้ว” ประกาศจัดตั้งรัฐบาลใหม่กับลูเดินดอร์ฟฟ์โดยชักปืนพกออกมา ฮิตเลอร์ต้องการและได้รับการสนับสนุนจากคาฮร์ ไซส์แซร์และลอสซอกองกำลังของฮิตเลอร์ประสบความสำเร็จช่วงแรกในการยึดไรชส์แวร์และกองบังคับการตำรวจท้องถิ่น อย่างไรก็ดี ไม่มีกองทัพหรือตำรวจรัฐเข้าร่วมกับกองกำลังของเขา คาฮร์และเพื่อนของเขารีบถอนการสนับสนุนของตนและหนีไปเข้ากับฝ่ายต่อต้านฮิตเลอร์ วันรุ่งขึ้น ฮิตเลอร์และผู้ติดตามเดินขบวนจากโรงเบียร์ไปยังกระทรวงสงครามเพื่อล้มรัฐบาลบาวาเรียระหว่าง “การสวนสนามแห่งเบอร์ลิน” แต่ตำรวจสลายการชุมนุม สมาชิกพรรคนาซีสิบหกคนและเจ้าหน้าที่ตำรวจสี่นายถูกสังหารไปในรัฐประหารที่ล้มเหลว

ฮิตเลอร์ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการถูกยิงได้หลบหนีไปยังบ้านของแอ็นสท์ ฮันฟ์สทาเองล์ และหลักฐานบางชิ้นชี้ว่า เขาคิดทำอัตวินิบาตกรรม เขารู้สึกหดหู่แต่สงบลงเมื่อถูกจับกุมในวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1923 ด้วยข้อหากบฏ การพิจารณาคดีของเขาเริ่มขึ้นในเดือนกุมภาพันธ์ ค.ศ. 1924 ต่อหน้าศาลประชาชนพิเศษในมิวนิก, และอัลเฟรด โรเซนแบร์กเป็นผู้นำชั่วคราวของพรรคนาซีแทน วันที่ 1 เมษายน ฮิตเลอร์ถูกตัดสินจำคุกห้าปีในเรือนจำลันด์สแบร์กเขาได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นมิตรจากผู้คุม และได้รับอนุญาตให้รับจดหมายจำนวนมากจากผู้สนับสนุนและมีการเข้าเยี่ยมเป็นประจำจากเพื่อนร่วมพรรค ศาลสูงสุดบาวาเรียอภัยโทษและเขาถูกปล่อยตัวจากเรือนจำเมื่อวันที่ 20 ธันวาคม ค.ศ. 1924 แย้งต่อการทัดทานของอัยการรัฐซึ่งหากรวมเวลาระหว่างคุมขังรอการพิจารณาคดีแล้ว ฮิตเลอร์ได้รับโทษในเรือนจำทั้งสิ้นเกินหนึ่งปีเล็กน้อยเท่านั้น

ขณะถูกจองจำอยู่ที่เรือนจำลันด์สแบร์ก เขาได้อุทิศการเขียนหนังสือที่ชื่อว่า ไมน์คัมพฟ์ (“การต่อสู้ของข้าพเจ้า” เดิมชื่อ “สี่ปีครึ่งกับการต่อสู้กับคำโกหก ความเขลาและความขลาด”) ฉบับตีพิมพ์ครั้งแรกส่วนใหญ่ แก่ผู้ช่วยของเขา รูด็อล์ฟ เฮ็ส ไมน์คัมพฟ์ ซึ่งอุทิศให้กับสมาชิกทูเลอโซไซตี ดีทริช เอคคาร์ท เป็นทั้งอัตชีวประวัติและการแถลงอุดมการณ์ของเขา ไมน์คัมพฟ์ได้รับอิทธิพลจากหนังสือ The Passing of the Great Race โดยเมดิสัน แกรนท์ ซึ่งฮิตเลอร์เรียกว่า “ไบเบิลของข้าพเจ้า” ไมน์คัมพฟ์ได้รับการตีพิมพ์สองครั้งใน ค.ศ. 1925 และ 1926 ขายได้ประมาณ 228,000 เล่มระหว่าง ค.ศ. 1925 และ 1932 ใน ค.ศ. 1933 ซึ่งเป็นปีที่ฮิตเลอร์เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ขายได้หนึ่งล้านเล่ม

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%96%E0%B8%A5%E0%B8%B4%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%B3%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%88%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%94%E0%B8%AD%E0%B8%A5%E0%B9%8C%E0%B8%9F_%E0%B8%AE%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

1.ก.ย.1919(วันที่ประมาณการ)