การประท้วงในประเทศพม่า รู้จักกันในประเทศว่า การปฏิวัติฤดูใบไม้ผลิ เป็นความพยายามขัดขืนของพลเมืองในประเทศพม่าต่อรัฐประหารในประเทศพม่า พ.ศ. 2564 นำโดย พลเอกอาวุโส มี่นอองไลง์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดของพม่า ในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2564 โดยจนถึงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ มีบุคคลอย่างน้อย 452 คนถูกกักขังเนื่องจากรัฐประหาร ผู้ประท้วงใช้วิธีการประท้วงแบบสันติวิธีและปราศจากความรุนแรงซึ่งได้แก่การดื้อแพ่ง การนัดหยุดงาน การรณรงค์คว่ำบาตรกองทัพ ขบวนการตีหม้อ การรณรงค์ริบบิ้นแดง การประท้วงสาธารณะ และการรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการโดยผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง
สัญลักษณ์ในการประท้วง ประกอบด้วยสีแดงซึ่งเป็นสีของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย เพลง “กาบามาเจบู” ซึ่งได้รับความนิยมครั้งแรกในการก่อการกำเริบ 8888 เป็นเพลงประท้วงสัญลักษณ์สามนิ้วยังมีการใช้อย่างกว้างขวางส่วนชาวเน็ตนิยมประชาธิปไตยบางส่วนเข้าร่วมพันธมิตรชานม ซึ่งเป็นขบวนการความเป็นปึกแผ่นประชาธิปไตยออนไลน์ในทวีปเอเชีย
ฝ่ายรัฐบาลทหารมีมาตรการตอบโต้หลายวิธี รวมทั้งการสั่งปิดอินเทอร์เน็ตและสื่อสังคม การปิดสื่อ การจับกุมและลงโทษอาญาต่อผู้ประท้วง การเผยแพร่สารสนเทศเท็จ การทาบทามทางการเมืองต่อพรรคการเมืองให้เข้าร่วมสภาบริหารแห่งรัฐ (สภาชั่วคราว) การส่งผู้ประท้วงและผู้ปลุกระดมฝั่งนิยมทหาร และการใช้กำลังรุนแรงเพื่อปราบปรามการประท้วง ในปัจจุบันมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าวจำนวนมาก ไม่เว่นแม้กระทั่ง สตรี เด็ก และเยาวชน ที่ต่างถูกสังหารในเหตุการณ์ครั้งนี้ อาจจะทวีคูณขึ้นอย่างต่อเนื่อง

การประท้วงในประเทศพม่า รอยเตอร์ – ประชาชนชาวพม่าหลายหมื่นคนเดินขบวนทั่วพม่าในวันนี้ เพื่อประณามการรัฐประหารและเรียกร้องการปล่อยตัวอองซานซูจี ผู้นำที่มาจากการเลือกตั้ง ในการชุมนุมประท้วงครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่การปฏิวัติผ้าเหลืองปี 2550 ที่ช่วยนำไปสู่การปฏิรูปประชาธิปไตย
ในวันที่ 2 ของการประท้วงอย่างกว้างขวาง ฝูงชนในนครย่างกุ้ง เมืองใหญ่ที่สุดของประเทศ สวมเสื้อสีแดง ถือลูกโป่งสีแดงและธงสีแดง สีที่เป็นตัวแทนของพรรคสันนิบาตแห่งชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ของซูจี
“เราไม่ต้องการเผด็จการทหาร! เราต้องการประชาธิปไตย!” ผู้ชุมนุมร้องตะโกน
ในบ่ายวันนี้ (7) รัฐบาลทหารได้ยุติการปิดกั้นสัญญาณอินเทอร์เน็ตนาน 1 วัน การกระทำที่โหมกระพือความไม่พอใจของประชาชนมากขึ้นนับตั้งแต่เกิดรัฐประหารเมื่อวันจันทร์ (1) ที่หยุดชะงักการเปลี่ยนแปลงทางประชาธิปไตยของประเทศ และเรียกเสียงตำหนิประณามจากนานชาติ
ฝูงชนมหาศาลจากทั่วทุกสารทิศของนครย่างกุ้งรวมตัวกันในเมืองและมุ่งหน้าไปยังเจดีย์สุเล ที่เคยเป็นจุดชุมนุมประท้วงปี 2550 นำโดยพระสงฆ์ และการประท้วงปี 2531
พวกเขาแสดงท่าชู 3 นิ้ว ที่เป็นสัญลักษณ์ของการประท้วงต่อต้านรัฐประหาร คนขับรถบีบแตรรถ ขณะที่ผู้โดยสารชูรูปถ่ายของซูจี

อย่างไรก็ตาม ยังไม่มีความเห็นจากรัฐบาลทหารในกรุงเนปีดอ ที่อยู่ห่างจากนครย่างกุ้งไปทางเหนือราว 350 กิโลเมตร
ทั้งนี้ ในบันทึกภายในสำหรับเจ้าหน้าที่สหประชาชาติระบุว่า มีประชาชนราว 1,000 คน เข้าร่วมการประท้วงในกรุงเนปีดอ ขณะที่การชุมนุมประท้วงในนครย่างกุ้งมีถึง 60,000 คน นอกจากนี้ยังมีรายงานในเมืองมัณฑะเลย์ เมืองใหญ่อันดับ 2 และอีกหลายเมืองทั่วประเทศ
การเดินขบวนประท้วงส่วนใหญ่เป็นไปอย่างสงบ ต่างไปจากการปราบปรามนองเลือดที่เห็นในปี 2541 และปี 2550 แต่อย่างไรก็ตาม มีเสียงปืนดังขึ้นในเมืองเมียวดี เมื่อตำรวจในเครื่องแบบพร้อมปืนเข้าสลายกลุ่มผู้ชุมนุมประท้วงสองสามร้อยคน ซึ่งขณะนี้ยังไม่มีรายงานผู้ได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิต
และเพราะการไร้สัญญาณอินเทอร์เน็ตและขาดแคลนข้อมูลอย่างเป็นทางการทำให้เกิดข่าวลือเกี่ยวกับชะตากรรมของซูจีและคณะรัฐมนตรีของเธอเช่นข่าวลือว่าเธอถูกปล่อยตัวแล้วทำให้ฝูงชนจำนวนมากออกมาเฉลิมฉลองกันเมื่อวันเสาร์แต่การฉลองต้องยุติลงอย่างรวดเร็วเมื่อทนายของเธอออกมาให้ข่าว
ซูจีเผชิญกับข้อหานำเข้าวิทยุสื่อสาร 6 เครื่องอย่างผิดกฎหมาย และกำลังถูกตำรวจควบคุมตัวเพื่อสอบสวนจนถึงวันที่ 15 ก.พ. ทนายความของซูจีกล่าวว่าเขาไม่ได้รับอนุญาตให้พบเธอ
ซูจีใช้เวลาเกือบ 15 ปี ถูกกักบริเวณในบ้านพักในช่วงเวลาหลายสิบปีของการต่อสู้เพื่อยุติการปกครองของกองทัพที่ยาวนานเกือบครึ่งศตวรรษ ก่อนเริ่มเปลี่ยนแปลงสู่ระบอบประชาธิปไตยในปี 2554
พล.อ.อาวุโส มิน อ่อง หล่าย ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ทำรัฐประหารด้วยเหตุผลว่ามีการทุจริตในการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 8 พ.ย. ที่พรรคของซูจีชนะไปอย่างถล่มทลาย
ประชาชนมากกว่า 160คนถูกจับกุมตัวนับตั้งแต่ทหารเข้ายึดอำนาจ ตามการระบุของโธมัสแอนดรูว์ผู้แทนพิเศษสหประชาชาติว่าด้วยพม่า
“ในตอนนี้บรรดานายพลกำลังพยายามที่จะทำให้ขบวนการต่อต้านของประชาชนเป็นอัมพาตและทำให้โลกภายนอกอยู่ในความมืดด้วยการตัดการเข้าถึงอินเทอร์เน็ตทั้งหมด”แอนดรูว์ระบุในคำแถลงวันนี้ (7)
“เราทุกคนต้องยืนหยัดร่วมกับชาวพม่าในช่วงเวลาที่อันตรายและจำเป็นนี้พวกเขาควรได้สิ่งที่ดีที่สุด”คำแถลงระบุ
เมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ ผู้สื่อข่วารายงานสถานการณ์ในประเทศพม่า ภายหลังทหารเข้ายึดอำนาจ พร้อมจับตัวนางออง ซาน ซูจี ไว้ และยังไม่ปล่อยตัว นับแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งที่ผ่านมา กลุ่มข้าราชการ แพทย์ นักเรียน ต่างพากันลาออก และหยุดงาน อารยะขัดขืน ขณะที่ทางการได้บล็อกการเข้าถึงเฟซบุ๊ก ทวิตเตอร์และอินสตาแกรม
สำนักข่าว วีโอเอ ประเทศพม่า รายงานว่า ช่วงเช้าของวันนี้ ประชาชนผู้ต่อต้านการรัฐประหารของกองทัพครั้งนี้ ได้ออกมาเดินขบวนที่ถนนอินเส่ง นครย่างกรุง ซึ่งเป็นถนนสายสำคัญของย่างกุ้ง ที่มีมหาวิทยาลัยหลายแห่งอยู่บนถนนเส้นนี้ โดยมีเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยเข้ามาดูแลสถานการณ์อีกด้วย
พร้อมทั้งได้ไลฟ์สดสถานการณ์ดังกล่าว เผยให้เห็นถึงคนหนุ่มสาวจำนวนมาก มีแกนนำถือโทรโข่งนำ และ มีป้ายเดินขบวน แต่ละคนชู 3 นิ้ว ตะโกนชื่อซูจี แถวหน้าของกลุ่มแกนนำม็อบยังได้ใส่หมวกนิรภัย คล้ายคลึงกับการ์ดในประเทศไทยอีกด้วย แต่ละคนยังได้สวมหน้ากากอนามัยไว้ และมีการถือโทรศัพท์บันทึกภาพ ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน
อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ กลุ่มนักกิจกรรมส่วนหนึ่งได้ออกมาประท้วงที่มัณฑะเลย์ ก่อนจะถูกจับในเวลาต่อมา ขณะที่โลกออนไลน์ ชาวไทยได้ติด #ถ้าไม่สู้ก็อยู่อย่างไทย ร่วมแสดงความคิดเห็นและรายงานข่าวการชุมนุมที่พม่า ทำให้ขึ้นเป็นติดเทรนด์ทวิตเตอร์ประเทศไทย เพื่อเรียกร้องและต่อสู้ ทวงคืนประชาธิปไตยในพม่า