Skip to content
Home » News » การล่มสลายของราชวงศ์คองบอง

การล่มสลายของราชวงศ์คองบอง

การล่มสลายของราชวงศ์คองบอง การสูญเสียเอกราชและการสิ้นสุดของราชวงศ์คองบองของพม่านั้นไม่ได้เป็นเรื่องของความแตกแยกและความฟอนเฟะของราชสำนักพม่าแต่เพียงอย่างเดียว แต่เป็นเพราะผลจากการที่อังกฤษนั้นมีการวางแผนอย่างมีขั้นตอน โดยค่อยๆเริ่มรุกล้ำแทรกแซงพม่าทีละน้อย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องดินแดน สิทธิทางการค้า และการทูต รวมถึงการใช้กลอุบายต่างๆที่ทำให้เกิดการหาเหตุพิพาทกับพม่า แล้วจึงใช้แสนยานุภาพทางกองทัพที่เหนือกว่าบีบให้พม่าทำตามในสิ่งที่ต้องการ ดั่งที่เห็นจากการก่อสงครามกับราชสำนักพม่า ๓  ครั้ง จนกระทั่งสามารถยึดเอาพม่ามาเป็นส่วนหนึ่งในจักรวรรดิอาณานิคมของตนเองได้ในที่สุด

การล่มสลายของราชวงศ์คองบอง โดยสาเหตุที่พม่าเสียเมืองในสายตาการรับรู้ของคนทั่วไปนั้น มักมาจากการมองผ่านของชาวตะวันตกที่มองว่าการสูญเสียเอกราชและการล่มสลายของราชวงศ์พม่าเกิดขึ้นเพราะความฟอนเฟะและความล้มเหลวในการบริหารประเทศของราชสำนักพม่าเพียงอย่างเดียว แต่แท้ที่จริงแล้วการที่พม่าต้องเสียเมือง เสียเอกราช กษัตริย์ราชวงศ์สูญสิ้นไปจากประเทศ เป็นผลมาจากการวางแผนอย่างเป็นขั้นเป็นตอนของอังกฤษที่เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่สมัยพระเจ้าอลองพญา บรรพกษัตริย์ผู้ก่อตั้งราชวงศ์ Konbaung หรือ Alaungpaya และเป็นผู้นำทัพพม่าเข้าตีกรุงศรีอยุธยา (ก่อนเสียกรุงครั้งที่ ๒)

ในช่วงแรกในสมัยที่พระเจ้าอลองพญาทำสงครามรวบรวมดินแดนพม่าให้เป็นปึกแผ่น  ชาวตะวันตกทั้งอังกฤษและฝรั่งเศสได้เข้ามาทำการสนับสนุน ‘ชาวมอญ’ แห่ง ราชอาณาจักรหงสาวดี เนื่องจากในสายตาของอังกฤษและฝรั่งเศสมองว่า ชาวมอญนั้นมีโอกาสที่ดีและได้เปรียบที่จะชนะชาวพม่ามากกว่า แต่หลังจากที่กองทัพพม่าของพระเจ้าอลองพญาได้ตีราชอาณาจักรหงสาวดีแตก อังกฤษและฝรั่งเศสต่างพากันกลับลำให้การสนับสนุนและเจรจาทำการค้าขายกับพม่านับแต่นั้นมา ซึ่งในช่วงเวลานี้เองที่ชาติตะวันตกอย่างอังกฤษ เริ่มที่จะเข้ามามีอิทธิพลในพม่าและทำการแทรกแซงอำนาจในเวลาต่อมา

การที่ชาติตะวันตกอย่างอังกฤษให้ความสนใจต่อพม่า เนื่องจากมีความต้องการแหล่งทรัพยากรที่มีค่า อย่าง แร่หินรัตนชาติ ทรัพยากรป่าไม้ และน้ำมัน รวมถึงการเป็นเส้นทางสู่จีนผ่านแม่น้ำอิระวดี

การล่มสลายของราชวงศ์คองบอง
https://lek-prapai.org/home/view.php?id=747

วิธีการของอังกฤษนี้เป็นวิธีการที่อังกฤษใช้ในการเข้ายึดและแพร่ขยายอาณานิคมของตน  ซึ่งพม่าในสมัยพระเจ้าอลองพญานั้นล่วงรู้ถึงวิธีการนี้และไม่ได้วางใจกับการเข้ามาขอทำการค้าของอังกฤษเป็นทุนเดิม เนื่องจากอังกฤษนั้นได้แปรพักตร์มาหาพม่าอย่างรวดเร็วในคราวที่รบกับชาวมอญหงสาวดี ทำให้พม่าในช่วงเวลานั้นยังคงทำการค้าอย่างระมัดระวังตัวกับอังกฤษ  ปฏิบัติการแทรกแซงอำนาจพม่าของอังกฤษจึงยังไม่สามารถกระทำได้

จนกระทั่งมาถึงในรัชสมัยของ ‘พระเจ้าจักกายแมง’ หรือ ‘บายีดอ’ กษัตริย์ราชวงศ์ Konbaung องค์ที่ ๗ ผู้ขึ้นครองราชย์ต่อจาก ‘พระเจ้าปดุง’ กษัตริย์ที่คนไทยรู้จักมักคุ้นกันเป็นอย่างดีในคราว สงครามเก้าทัพ’ทำการขยายพระราชอำนาจไปยังทางทิศตะวันตก รับสั่งให้ ‘มหาพันธุละ’ แม่ทัพที่ได้รับการยกย่องว่า มีฝีมือแกร่งกล้าในสมัยนั้น เข้าตีและยึดแคว้นมณีปุระ จนกระทั่งแผ่ขยายมาถึงบริเวณแคว้นกะจาร์ แคว้นอัสสัม ทั้งนี้ แคว้นอัสสัมเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษอยู่แล้ว จึงทำให้เกิด ‘สงครามพม่า-อังกฤษครั้งที่ ๑’ ขึ้นใน พ.ศ. ๒๓๖๗ ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยามในสมัยนั้น

ในช่วงแรกของสงครามการรบครั้งนี้ กองทัพอังกฤษได้ตกเป็นฝ่ายที่แตกพ่ายยับเยิน ด้วยเหตุที่ไม่มีการจัดเจนในสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และยุทธวิธีการรบ เพราะกองทัพอังกฤษนั้นเก่งการรบแบบกองเรือ ขณะที่พม่าเก่งการรบทางบก รวมถึงมีความจัดเจนในสภาพภูมิอากาศและภูมิประเทศในพื้นที่อยู่แล้ว ส่งผลให้กองทัพพม่าบุกตีกองทัพอังกฤษแตกอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่งแตกหนีไปจนถึงเมืองจิตตะกอง (ปัจจุบันอยู่ในประเทศบังกลาเทศ)

ผลจากการแตกพ่ายส่งผลให้อังกฤษปรับยุทธวิธีใหม่ ด้วยการส่งกองทัพเรือมาทางบริเวณเกาะเนเกร  ( Nagai Island ) เพื่อตีเมืองย่างกุ้ง กองทัพเรืออังกฤษได้แสดงศักดานุภาพด้วยเทคโนโลยีการรบและความช่ำชองในยุทธวิธีทางน้ำ ส่งผลให้กองทัพพม่านั้นแตกพ่าย มหาพันธุละ ผู้เป็นแม่ทัพใหญ่พม่าตายในการรบและเมืองย่างกุ้งถูกตีแตก

ด้วยความสูญเสียอย่างย่อยยับ ทำให้พม่าต้องส่งราชทูตไปทำสัญญาสงบศึกกับทูตจากอังกฤษที่หมู่บ้าน ‘ยันดาโบ’ หรือ ‘รันตาโบ’ ใน พ.ศ. ๒๓๖๘ เรียกกันว่า ‘สนธิสัญญายันดาโบ‘  (Treaty of Yandabo)  ซึ่งมีเนื้อหาสำคัญ ๔ ข้อ คือ

  • อังกฤษจะผนวกเอาดินแดนแคว้นยะไข่หรืออาระกัน และแคว้นตะนาวศรีที่ประกอบไปด้วยเมืองท่าสำคัญชายฝั่งทะเลอันดามัน อย่าง มะริด และทวาย นอกจากนั้นพม่าต้องไม่เข้าไปยุ่งกับกิจการของดินแดนทางทิศตะวันตก อย่าง แคว้นอัสสัม แคว้นกะจาร์ แคว้นซินเตียร์ และแคว้นมณีปุระ
  • พม่าต้องชดใช้ค่าปฏิกรรมสงครามให้อังกฤษเป็นเงินจำนวน ๑,๐๐๐,๐๐๐ ปอนด์สเตอร์ลิง
  • พม่าต้องยินยอมให้อังกฤษตั้งสถานกงสุลในกรุงรัตนปุระอังวะ
  • พม่าต้องรับรู้ว่าสยามกับอังกฤษเป็นมหามิตรต่อกัน

ความพ่ายแพ้ต่อสงครามในครั้งนี้ของพม่าถือเป็นจุดเริ่มต้นที่ก่อให้เกิดผลกระทบอย่างมากต่อพม่าและราชวงศ์ Konbaung ที่นับแต่นี้พม่าจะไม่สามารถแสดงแสงยานุภาพหรืออิทธิพลของความเป็นรัฐที่มีอำนาจสูงสุดในเอเชียอาคเนย์ และนำไปสู่การล่มสลายของราชวงศ์ Konbaung รวมถึงการเสียเมืองให้อังกฤษในเวลาต่อมา

หลังจากที่พม่าได้สูญเสียดินแดนทางตะวันตกอย่าง แคว้นอาระกัน (ยะไข่)  และดินแดนริมฝั่งทะเลอันดามัน อย่าง แคว้นตะนาวศรีไปให้กับอังกฤษจากการพ่ายศึกแล้ว ในกาลต่อมาพม่าก็ได้สูญเสียดินแดนทางตอนใต้บริเวณลุ่มน้ำอิระวดีไปให้กับอังกฤษอีก อันประกอบไปด้วย เมืองเมาะตะมะ เมืองบาสแซง เมืองย่างกุ้ง เมืองพะโค (หงสาวดี) เมืองแปร จากการพ่ายแพ้ในสงครามพม่า – อังกฤษ ครั้งที่ ๒ ใน พ.ศ.๒๓๙๕ ในรัชสมัย ‘พระเจ้าปะกันเมง’ หรือ ‘พุกามแมง’ กษัตริย์องค์ที่ ๙ ราชวงศ์ Konbaung ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวของสยาม

ชนวนเหตุของการเกิดศึกสงครามรอบสองนี้ มีที่มาจากการที่เจ้าเมืองหงสาวดีได้ทำการกุมตัวกัปตันเรือชาวอังกฤษ ๒ คน ในข้อหาทำการข่มเหงรังแกพ่อค้าชาวพม่า เป็นผลให้รัฐบาลอินเดีย (ที่อยู่ในอาณัติของอังกฤษ) ส่งราชสาส์นมายังราชสำนักพม่าว่าให้จัดการถอดถอนเจ้าเมืองหงสาวดีที่ทำการกุมตัวเจ้าหน้าที่ของอังกฤษออกไป พร้อมทั้งเรียกร้องให้จ่ายค่าปรับจำนวนมาก ซึ่งทางราชสำนักพม่ายินยอมทำตามโดยดี

แม้ว่าราชสำนักพม่าจะยอมทำตามข้อเรียกร้องทุกอย่างเรียบร้อย กระนั้นทางรัฐบาลอินเดียยังคงไม่พอใจและได้ทำการเรียกร้องเพิ่มเติม ส่งผลให้พระเจ้าปะกันเมงนั้นเกิดความไม่พอใจ จึงทำตามประกาศสงครามกับอังกฤษเป็นคำรบสอง โดยผลของสงครามครั้งนี้ จบลงด้วยการที่พม่าพ่ายศึกและสูญเสียดินแดนให้แก่อังกฤษอีกครั้ง รวมถึงเกิดการเปลี่ยนแปลงองค์กษัตริย์พม่าจากพระเจ้าปะกันเมงซึ่งถูกบีบให้สละราชสมบัติแก่ พระเจ้ามินดงผู้เป็นพระอนุชาองค์หนึ่งที่ไม่เห็นด้วยกับการประกาศสงครามกับอังกฤษใน พ.ศ2396

ในรัชสมัยของพระเจ้ามินดงมีการย้ายราชธานีจากรัตนปุระอังวะไปสู่ ‘มัณฑะเลย์’ มีการปรับปรุงบ้านเมืองให้ทันสมัยตามตะวันตกมากขึ้น และมีการปรับท่าทีความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ โดยการส่งคณะทูตเพื่อเจริญสัมพันธไมตรีกับนานาประเทศมากขึ้น ซึ่งหนึ่งในนั้นมีฝรั่งเศสชาติมหาอำนาจอีกแห่งที่มีอิทธิพลการเป็นเจ้าอาณานิคมอยู่เหนือดินแดนอินโดจีนและเข้ามามีความสัมพันธ์กับพม่าอย่างเป็นทางการ รวมทั้งได้เข้ามามีบทบาทการเจรจากับพม่าอย่างเด่นชัด มีการร่างข้อตกลงว่าด้วยการพัฒนาประเทศระหว่างราชสำนักพม่ากับรัฐบาลฝรั่งเศส ต่อมาจึงเป็นในรัชสมัยของ ‘พระเจ้าธีบอ’หรือ ‘สีป่อ’ และถือเป็นองค์สุดท้ายของราชวงศ์ Konbaung ที่ถือได้ว่าเป็นการสิ้นสุดระบอบราชาธิปไตยในพม่าอย่างเป็นทางการ

https://lek-prapai.org/home/view.php?id=747

1ม.ค.1885(วันที่ประมาณการ)