
การสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ แตกต่างจากพระเชษฐา พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงอ่านเอกสารสำคัญของรัฐแทบทั้งหมดที่ผ่านมาทางพระองค์อย่างขันแข็ง ภายในครึ่งปี มีรัฐมนตรีที่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงแต่งตั้ง 12 คน เหลือเพียง 3 คน ที่เหลือถูกแทนที่ด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ ในแง่หนึ่ง
การแต่งตั้งนี้ทำให้ผู้ที่มีความสามารถและประสบการณ์กลับมาดำรงตำแหน่ง แต่อีกแง่หนึ่ง เป็นการส่งสัญญาณถึงการหวนคืนสู่คณาธิปไตยโดยราชวงศ์ ชัดเจนว่า พระองค์ทรงต้องการแสดงถึงข้อแตกต่างอย่างชัดเจนกับรัชกาลที่ 6 ที่ถูกทำให้เสียความน่าเชื่อถือ และตัวเลือกผู้มาดำรงตำแหน่งสำคัญเหมือนจะถูกชี้นำโดยพระราชประสงค์ที่จะฟื้นฟูรัฐบาลแบบพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
มรดกเริ่มต้นที่พระองค์ทรงได้รับจากพระเชษฐา คือ ปัญหาชนิดที่กลายมาเรื้อรังในรัชกาลที่ 6 ปัญหาเร่งด่วนที่สุด คือ เศรษฐกิจ การเงินของรัฐอยู่ในความยุ่งเหยิง งบประมาณติดลบอย่างหนัก และบัญชีของพระมหากษัตริย์เต็มไปด้วยหนี้สินและธุรกรรมที่น่าสงสัย และการที่ประเทศที่เหลือในโลกต่างประสบภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่หลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ก็มิได้ช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้น
การสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ พระราชกรณียกิจแรก ๆ ของพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว คือ ทรงตั้งอภิรัฐมนตรีสภา เป็นนวัตกรรมเชิงสถาบันมีเจตนาเพื่อฟื้นฟูความความเชื่อมั่นในพระมหากษัตริย์และรัฐบาล คณะองคมนตรีนี้ประกอบด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ที่มีประสบการณ์และทรงพระปรีชาสามารถ รวมทั้งกรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสนาบดีกระทรวงมหาดไทยที่ดำรงตำแหน่งมาอย่างยาวนานด้วย เจ้านายเหล่านี้ค่อย ๆ ถือสิทธิ์เพิ่มอำนาจโดยผูกขาดตำแหน่งรัฐมนตรีหลักทั้งหมด เจ้านายหลายพระองค์รู้สึกว่า เป็นหน้าที่ของพวกตนที่ต้องแก้ไขข้อผิดพลาดในรัชกาลก่อน แต่โดยทั่วไปไม่เป็นที่ชื่นชอบนัก
ด้วยการช่วยเหลือของอภิรัฐมนตรีนี้ พระมหากษัตริย์ทรงฟื้นฟูเสถียรภาพเศรษฐกิจ แม้จะด้วยปริมาณการลดข้าราชการจำนวนมากและการตัดเงินเดือนข้าราชการที่ยังเหลืออยู่ ซึ่งทำให้เกิดความไม่เป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่เจ้าหน้าที่ของรัฐอย่างชัดเจน และเป็นหนึ่งในชนวนเหตุของการปฏิวัติ พ.ศ. 2475
จากนั้น พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงหันความสนพระทัยไปยังปัญหาอนาคตการเมืองในสยาม พระองค์ทรงได้รับแรงบันดาลใจจากตัวอย่างอังกฤษ มีพระราชประสงค์ให้สามัญชนมีสิทธิ์มีเสียงในการงานของประเทศโดยการตั้งรัฐสภา มีพระบรมราชโองการให้ร่างรัฐธรรมนูญ แต่พระราชประสงค์ของพระองค์ทรงถูกที่ปรึกษาปฏิเสธ เพราะรู้สึกว่าประชาชนยังไม่พร้อมสำหรับประชาธิปไตย
เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ. 2475 พระองค์ทรงตกลงจะนำรัฐธรรมนูญมาใช้ ซึ่งพระองค์จะทรงแบ่งพระราชอำนาจกับนายกรัฐมนตรี แต่ยังไม่เพียงพอสำหรับกลุ่มหัวรุนแรงในกองทัพ วันที่ 24 มิถุนายน ปีเดียวกัน ขณะที่พระมหากษัตริย์แปรพระราชฐาน ณ ชายทะเล กองทหารกรุงเทพมหานครก่อการกำเริบและยึดอำนาจ นำโดยผู้ก่อการ 49 คน และเป็นการสิ้นสุดประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช 150 กว่าปี.
การสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ระบบไพร่
การสิ้นสุดสมบูรณาญาสิทธิราชย์ อาณาจักรรัตนโกสินทร์ยังคงใช้ระบบไพร่ตามอาณาจักรอยุธยาและอาณาจักรธนบุรี แต่พบว่าจำนวนประชากรในอาณาจักรเพิ่มมากขึ้น ระยะเวลาการเกณฑ์แรงงานไพร่จึงลดลงเหลือ 4 เดือนต่อปี และ 3 เดือนต่อปีในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทั้งนี้ ทางการได้หันไปจ้างแรงงานกุลีจากจีนมาทำงานมากกว่าการใช้ไพร่เนื่องจากมีประสิทธิภาพดีกว่า ระบบไพร่จึงมีความสำคัญน้อยลงจนกระทั่งถูกยกเลิกไปในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
การเปลี่ยนแปลงทางดินแดนของสยามและไทย
วันที่ | ดินแดนพิพาท | เนื้อที่ | รัฐคู่พิพาท | หมายเหตุ | |
---|---|---|---|---|---|
30 กันยายน พ.ศ. 2484 | เกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำโขง 77 แห่ง | ? | อินโดจีนของฝรั่งเศส | แถลงการณ์ เรื่อง ได้คืนเกาะดอนต่าง ๆ ในลำแม่น้ำโขง ตามความตกลงกำหนดเส้นทางเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส | |
23 มีนาคม พ.ศ. 2450 | พระตะบอง เสียมราฐ ศรีโสภณ | 51,000 | อินโดจีนของฝรั่งเศส(ฝรั่งเศส) | หนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 | |
12 พฤษภาคม พ.ศ. 2446 | ดินแดนฝั่งขวาแม่น้ำโขง (จำปาศักดิ์ ไชยบุรี) | 25,500 | อินโดจีนของฝรั่งเศส | สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 122 | |
10 มีนาคม พ.ศ. 2452 | ไทรบุรี ปะลิส กลันตัน ตรังกานู | 38,455 | สหภาพมาลายา (อังกฤษ) | สัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ | |
9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 | จำปาศักดิ์ ไชยบุรี พระตะบอง เสียมราฐ | 51,326 | อินโดจีนของฝรั่งเศส | อนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส[6] | |
9 ธันวาคม พ.ศ. 2489 | จำปาศักดิ์ ไชยบุรี พระตะบอง เสียมราฐ และเกาะดอนต่างๆ ในแม่น้ำโขง 77 แห่ง | ? | อินโดจีนของฝรั่งเศส | ความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส (อนุสัญญาโตเกียว)[8] | |
3 ตุลาคม พ.ศ. 2436 | ดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง และ ราชอาณาจักรลาว | 143,000 | อินโดจีนของฝรั่งเศส | สนธิสัญญาสยาม–ฝรั่งเศส ร.ศ. 112 (Traité franco-siamois du 3 octobre 1893) |
พ.ศ. 2450
เมื่อวันที่ 23 มีนาคม พ.ศ. 2450 (พ.ศ. 2449 เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในหนังสือสัญญาระหว่างกรุงสยามกับกรุงฝรั่งเศส ลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 พร้อมด้วยสัญญาว่าด้วยปักปันเขตร์แดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 23 มีนาคม รัตนโกสินทรศก 125 ซึ่งลงนามโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายวี คอลแลง (เดอ ปลังซี) โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้
- รัฐบาลสยามยอมยกดินแดนเมืองพระตะบอง เมืองเสียมราฐ กับเมืองศรีโสภณ ให้แก่กรุงฝรั่งเศส (ข้อ 1)
- รัฐบาลฝรั่งเศสยอมยกดินแดนเมืองด่านซ้าย และเมืองตราด กับทั้งเกาะทั้งหลายซึ่งอยู่ภายใต้แหลมลิง[9]ไปจนถึงเกาะกูดนั้นให้แก่กรุงสยาม (ข้อ 2)
พ.ศ. 2452
เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2452 (พ.ศ. 2451 เดิม) รัฐบาลสยามและรัฐบาลอังกฤษได้ร่วมกันลงนามในสัญญาในระหว่างกรุงสยามกับกรุงอังกฤษ และสัญญาว่าด้วยเขตรแดน ติดท้ายหนังสือสัญญาลงวันที่ 10 มีนาคม รัตนโกสินทร์ศก 127 คฤสตศักราช 1909 ซึ่งลงนามโดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการและนายราลฟ์ แปชยิด โดยมีเนื้อหาสาระดังต่อไปนี้
- รัฐบาลสยามยอมโอนเมืองกลันตัน เมืองตรังกานู เมืองไทรบุรี เมืองปลิศ และเกาะที่ใกล้เคียงเมืองเหล่านั้นให้แก่รัฐบาลอังกฤษเพื่อยกเลิกสิทธิสภาพนอกอาณาเขต(สนธิสัญญาเบาว์ริง)
พ.ศ. 2484
ภายหลังกรณีพิพาทอินโดจีน เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในอนุสัญญาสันติภาพระหว่างประเทศไทยกับฝรั่งเศส ณ กรุงโตเกียว โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้[6]
เขตแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสจากเหนือลงมาให้เป็นไปตามแม่น้ำโขงตั้งแต่จุดที่รวมแห่งเขตแดนประเทศไทย อินโดจีนฝรั่งเศส และพม่า [สามเหลี่ยมทองคำ] จนถึงจุดที่แม่น้ำโขงตัดเส้นขนานที่สิบห้า [บริเวณเมืองจำปาศักดิ์]
ใช้เส้นกลางร่องน้ำเดินเรือที่สำคัญยิ่งเป็นเขตแดน แต่เกาะโขงยังคงเป็นของอินโดจีนฝรั่งเศส ส่วนเกาะโขนตกเป็นของประเทศไทย
เขตแดนจะลากต่อไปทางใต้ บรรจบกับเส้นเที่ยงซึ่งผ่านจุดที่พรมแดนระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) [บริเวณเมืองธาราบริวัตร์ ตรงข้ามเมืองสตึงแตรง จนถึงปากน้ำสตึงกมบต]
ในทะเลสาบเขมร เขตแดนได้แก่เส้นโค้งวงกลมรัศมี 20 กิโลเมตร จากจุดที่ระหว่างจังหวัดเสียมราฐกับจังหวัดพระตะบองจดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงกมบต) ไปบรรจบจุดที่พรมแดนระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิสัตว์จดทะเลสาบ (ปากน้ำสตึงดนตรี)
ต่อจากปากน้ำสตึงดนตรีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ เขตแดนใหม่จะเป็นไปตามพรมแดนระหว่างจังหวัดพระตะบองกับจังหวัดโพธิสัตว์จนถึงจุดที่พรมแดนนี้บรรจบกับเขตแดนระหว่างไทยและอินโดจีนฝรั่งเศส (เขากูป)
ภายใต้อนุสัญญานี้ อาณาเขตที่จะโอนมาเป็นของประเทศไทย ประกอบไปด้วยแคว้นหลวงพระบางฝั่งขวาแม่น้ำโขง แคว้นนครจำปาศักดิ์ฝั่งขวาแม่น้ำโขง เมืองเสียมราฐ และเมืองพระตะบอง โดยมีพื้นที่รวมประมาณ 51,326 ตารางกิโลเมตร โดยรัฐบาลไทยได้เข้าไปจัดระเบียบการปกครองและบริหารดินแดนดังกล่าวเสมือนดินแดนในประเทศไทยเป็นเวลากว่า 5 ปีครึ่ง
ต่อมาในวันที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2484 รัฐบาลไทยยังได้รับเกาะดอนต่างๆ เป็นจำนวนถึง 77 แห่งในลำแม่น้ำโขงตามความตกลงกำหนดเส้นเขตต์แดนชั่วคราวระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส
พ.ศ. 2489
ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 9 ธันวาคม พ.ศ. 2489 รัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศสได้ร่วมกันลงนามในความตกลงระงับกรณีระหว่างประเทศไทยและประเทศฝรั่งเศส โดยมีเนื้อหาสาระสำคัญดังต่อไปนี้
อนุสัญญากรุงโตเกียว ฉบับวันที่ 9 พฤษภาคม ค.ศ. 1941 เป็นอันยกเลิก และสถานภาพก่อนอนุสัญญานั้นเป็นอันกลับสถาปนาขึ้น
วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1932 วันที่ประมาณการ