Skip to content
Home » News » การอับปางของเรือลูซิเทเนีย

การอับปางของเรือลูซิเทเนีย

การอับปางของเรือลูซิเทเนีย อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย (อังกฤษ: RMS Lusitania) คือชื่อเรือเดินสมุทรสัญชาติอังกฤษที่ครอบครองรางวัลบลูริบบันด์ (Blue Riband) ซึ่งมอบให้กับเรือที่เป็นเจ้าของสถิติเดินทางข้ามมหาสมุทรแอตแลนติกด้วยเวลาน้อยที่สุด และเป็นเรือที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ณ ขณะนั้น อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนียเดินสมุทรครั้งแรกโดยบริษัทสายการเดินเรือคูนาร์ดในปี ค.ศ. 1906 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่การค้าขายระหว่างสองฝากฝั่งของมหาสมุทรแอตแลนติกเป็นไปอย่างคึกคักและมีการแข่งขันที่รุนแรง ต่อมาในปี ค.ศ. 1915 อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนียถูกยิงด้วยตอร์ปิโดและอัปปางลงโดยเรือดำน้ำของเยอรมัน คร่าชีวิตลูกเรือและผู้โดยสารรวมทั้งสิ้น 1,198 คน

การอับปางของเรือลูซิเทเนีย
https://www.blockdit.com/posts/5fc5f405e86f4a2dc8b9a1ce

การอับปางของเรือลูซิเทเนีย ในขณะนั้น สายการเดินเรือสมุทรของเยอรมันมีแน้วโน้มที่จะผูกขาดเส้นทางเดินเรือสำราญอันมั่งคั่งจากการอพยพย้ายถิ่นข้ามทวีป สายการเดินเรือคูนาร์ดจึงตอบโต้คู่แข่งของตนด้วยความพยายามสร้างเรือที่เหนือกว่าในเชิงของความเร็ว ความจุผู้โดยสาร และความหรูหรา ลูซิเทเนีย และเรือคู่แฝด อาร์เอ็มเอส มอริเตเนีย จึงถูกสร้างขึ้นจากเครื่องยนต์ใบพัดแบบใหม่ที่ปฏิวัติวงการเดินเรือสมุทร ทำให้เรือสามารถแล่นด้วยความเร็วสูงสุด 25 น็อตต่อชั่วโมง ภายในมีการติดตั้งลิฟต์ โทรเลขไร้สาย และระบบไฟฟ้าส่องสว่าง อีกทั้งยังมีพื้นที่รองรับผู้โดยสารเพิ่มขึ้นร้อยละ 50 มากกว่าเรือเดินสมุทรลำอื่น ๆ อันรวมไปถึงพื้นที่ของผู้โดยสารชั้นหนึ่งที่ได้รับการกล่าวขานถึงการตกแต่งที่หรูหราและโอ่อ่า

ในวันที่ 1 พฤษภาคม ค.ศ. 1915 เรือได้แล่นออกจากท่าที่นครนิวยอร์กมุ่งหน้าสู่ลิเวอร์พูล ซึ่งต่อมาจะกลายเป็นการเดินทางเที่ยวสุดท้ายของเรือ ช่วงเวลานั้นเองที่การสู้รบด้วยเรือดำน้ำแบบไม่จำกัดขอบเขตในมหาสมุทรแอตแลนติกอันเป็นส่วนหนึ่งของการสู้รบในสงครามโลกครั้งที่หนึ่งกำลังทวีความรุนแรงขึ้น ก่อนหน้านี้เยอรมนีได้ประกาศให้น่านน้ำรอบสหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เป็นเขตสู้รบ ส่วนสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีในสหรัฐอเมริกาเองก็ได้ลงโฆษณาตามหน้าหนังสือพิมพ์ กล่าวเตือนประชาชนไม่ให้โดยสารไปกับเรือ ลูซิเทเนีย ต่อมา ณ บ่ายของวันที่ 7 พฤษภาคม อาร์เอ็มเอส ลูซิเทเนีย ถูกเรือดำน้ำ อูโบท (U-boat) ของเยอรมันยิงตอร์ปิโดเข้าใส่ภายในเขตน่านน้ำที่ถูกประกาศให้เป็นเขตสู้รบ ซึ่งห่างจากแนวชายฝั่งของไอร์แลนด์เป็นระยะทาง 11 mi (18 km) เกิดการระเบิดขึ้นจากภายในเรือสองครั้ง ทำให้เรืออัปปางลงภายในระยะเวลา 18 นาทีหลังจากการระเบิดครั้งที่สอง

จากการโจมตีเรือพลเรือนโดยไม่มีการแจ้งเตือนล่วงหน้าในครั้งนี้ เยอรมนีได้ละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศที่รู้จักกันในนาม กฎเรือเดินสมุทร (Cruiser Rules) แต่กระนั้นเองฝ่ายเยอรมันก็มีเหตุผลของตนที่จะพิจารณาลูซิเทเนียว่าเป็นเรือสู้รบของกองทัพ เพราะว่าภายในเรือบรรทุกยุทโธปกรณ์สงครามที่ซึ่งฝ่ายอังกฤษเองก็ได้ละเมิดกฎเรือเดินสมุทรด้วยเช่นกัน การอัปปางลงของเรือลูซิเทเนียจุดชนวนให้เกิดการประท้วงครั้งใหญ่ในสหรัฐอเมริกา เนื่องจากผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ 128 คน เป็นชาวอเมริกัน นอกจากนี้เหตุการณ์ดังกล่าวยังเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ทำให้สหรัฐอเมริกาประกาศเข้าร่วมสงครามในปี ค.ศ. 1917

สาเหตุการสร้างเรือลูซิเทเนีย

ใน ค.ศ. 1901 เอสเอส ไคเซอร์ วิลเฮล์ม เดอร์ กรอสเซอ (SS Kaiser Wilhelm der Grosse) ของสายการเดินเรือนอร์ดดอยเชอร์ลอยด์ (Norddeutscher Lloyd) แย่ง Blue Riband ซึ่งเป็นตำแหน่งเรือที่เร็วที่สุดในโลกไปจาก RMS Lucania ของสายการเดินเรือคูนาร์ด

ใน ค.ศ. 1901 สายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ (White Star Line) ได้ตัดสินใจสร้างเรือโดยสารที่ใหญ่กว่าเรือ SS Great Eastern เป็นลำแรก โดยจัดทำเป็นโครงการสร้างเรือใหญ่ 4 ลำ

เรือทั้งสี่จะมีขนาดกว่า 20,000 ตัน เน้นการออกแบบภายในเรือที่สะดวกสบาย โดยเรือลำแรกของโครงการดังกล่าวคือเรืออาร์เอ็มเอส เคลติก (ค.ศ. 1901) (RMS Celtic) ปล่อยลงน้ำครั้งแรกในวันที่ 4 เมษายน ค.ศ. 1901 กลายเป็นเรือใหญ่ที่สุดในโลก ด้วยขนาด 21,035 ตัน ตามมาด้วยเรืออาร์เอ็มเอส เซดริก (RMS Cedric) แต่มันไม่ได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ใน ค.ศ. 1905 เอสเอส อเมริกา (SS America) ของสายการเดินเรืออื่นสร้างเสร็จ แย่งตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปจาก Celtic แต่อยู่ในตำแหน่งได้ไม่ทันจบปี ค.ศ. 1905เรือโดยสารลำที่ 3 ของโครงการสร้าง 4 เรือยักษ์ ชื่อ อาร์เอ็มเอส บอลติก (ค.ศ. 1903) (RMS Baltic) สร้างเสร็จในปีเดียวกัน ชิงตำแหน่งเรือที่ใหญ่ที่สุดในโลกกลับคืนสู่สายการเดินเรือไวต์สตาร์ไลน์ได้ 1 ปี ก่อนจะถูกสายการเดินเรืออื่นแย่งตำแหน่งไปอีก

และเรือลำสุดท้ายของโครงการ สร้างเสร็จใน ค.ศ. 1907 คือเรืออาร์เอ็มเอส เอเดรียติก (RMS Adriatic) แต่เรือลำนี้ไม่ได้เป็นเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลก

เรือ SS Kaiserin Auguste Victoria (RMS Empress of Scotland (1906)) จากสายการเดินเรืออื่น แย่งตำแหน่งเรือโดยสารที่ใหญ่ที่สุดในโลกไปจาก RMS Baltic ในปี ค.ศ. 1906

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B9%87%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA_%E0%B8%A5%E0%B8%B9%E0%B8%8B%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B9%80%E0%B8%99%E0%B8%B5%E0%B8%A2