Skip to content
Home » News » การเฉลิมพระปรมาภิไธย

การเฉลิมพระปรมาภิไธย

การเฉลิมพระปรมาภิไธย
https://9yaud.wordpress.com/2017/06/08/เฉลิมพระปรมาภิไธยในหลว/

การเฉลิมพระปรมาภิไธย การเสด็จสวรรคตของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลทำให้เกิดปัญหาในการเรียกขานพระนาม เนื่องจากพระองค์ยังไม่ได้ทรงประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณี แต่ต่อมา สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชทรงพระอนุสรณ์คำนึงถึงสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลว่ายังพอจะสนองพระเดชพระคุณให้สมพระเกียรติได้ ด้วยการเฉลิมพระปรมาภิไธยและถวายเครื่องราชกกุธภัณฑ์บางองค์ เช่น นพปฎลมหาเศวตฉัตร

ซึ่งใช้กางกั้นพระบรมศพและพระบรมอัฐิ ในวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2489 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ในพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชจึงประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลขึ้นเป็น พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย

การเฉลิมพระปรมาภิไธย หลังจากนั้น เมื่อวันที่ 8 มิถุนายน พ.ศ. 2539 ในโอกาสมหามงคลสมัยที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี พระองค์จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้เฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณีว่า

พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฎนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฎ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศรามาธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร

นอกจากนี้ ยังทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขานพระปรมาภิไธยอย่างมัธยมว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร และอย่างสังเขปว่า พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล พระอัฐมรามาธิบดินทร

นับแต่ได้มีการประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชคราวหนึ่งแล้วเมื่อเดือนสิงหาคม พุทธศักราช ๒๔๘๙  ครั้งนั้นเพื่อถวายพระเกียรติยศพระบรมศพ อันเนื่องจากสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราชยังมิได้ประกอบพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ได้ด่วนเสด็จสวรรคตเสียก่อน จึงเป็นพระราชพิธีซึ่งกระทำโดยย่อเพื่อให้ออกพระนามด้วยถ้อยคำว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“ แทนคำว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัว“ และถวายนพปฎลมหาเศวตฉัตร (ฉัตร ๙ ชั้น)กางกั้นถวายพระบรมศพได้

การเฉลิมพระปรมาภิไธยในคำรบแรกนั้น ออกพระนามว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช พระมหากษัตริย์แห่งประเทศไทย“ แล้วจัดนพปฎลมหาเศวตฉัตรกางกั้นถวายที่พระบรมโกศ

การเฉลิมพระปรมาภิไธยในคำรบแรกจึงยังไม่สมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณีตามแบบแผนซึ่ง #พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว “สมเด็จพระบรมปัยกาธิราช“ ได้ทรงวางระเบียบไว้และปฏิบัติสืบต่อมาจนถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ความว่า

๑. เริ่มด้วย “พระปรมินทร“ (สำหรับในรัชกาลที่เป็นเลขคี่) หรือ “พระปรเมนทร“ (สำหรับในรัชกาลที่เป็นเลขคู่)

๒. ตามด้วยพระนามเดิมก่อนเสด็จขึ้นครองราชย์

๓. ตามด้วยข้อความอธิบายถึงพระคุณลักษณะพิเศษเป็นข้อความอันวิเศษ (คือเป็นข้อความยาวตามแบบแผนของการเฉลิมพระปรมาภิไธยซึ่งมีมาในอดีต)

๔. ลงท้ายด้วย…#พระนามแผ่นดิน

จึงสมควรที่จะเฉลิมพระปรมาภิไธยพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลให้สมบูรณ์ตามแบบแผนโบราณราชประเพณี

ในศุภมงคลซึ่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๙ ทรงครองราชย์มาถึงปีที่ ๕๐ และได้ทรงประกอบพระราชพิธีกาญจนาภิเษกอันเป็นมงคลยิ่ง คณะรัฐมนตรีจึงได้มีฉันทานุมัติให้นายกรัฐมนตรีนำความกราบบังคมทูลพระกรุณาทราบฝ่าละอองธุลีพระบาท ในความจงรักภักดีของพสกนิกร ที่ยังคำนึงถึงพระมหากรุณาธิคุณในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักและเคารพของอเนกนิกรชนเสมอมา

สมควรที่จะได้สนองพระเดชพระคุณถวายพระเกียรติยศให้ปรากฏไพศาลยิ่งขึ้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๙ ทรงปีติโสมนัส ด้วยมีพระราชหฤทัยระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของสมเด็จพระบรมเชษฐาธิราช จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ถวายพระนามพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลให้สมบูรณ์ตามโบราณราชประเพณีที่ได้ปฏิบัติมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

ดังนั้น จึงประกาศพระบรมราชโองการเฉลิมพระปรมาภิไธย พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล เป็นพระปรมาภิไธยอันวิเศษตามแบบแผนโบราณราชประเพณี ว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล อดุลยเดชวิมลรามาธิบดี จุฬาลงกรณราชปรียวรนัดดา มหิตลานเรศวรางกูร ไอศูรยสันตติวงศวิสุทธ์ วรุตมขัตติยศักตอรรคอุดม จักรีบรมราชวงศนิวิฐ ทศพิธราชธรรมอุกฤษฏนิบุณ อดุลยกฤษฎาภินิหารรังสฤษฏ์ สุสาธิตบูรพาธิการ ไพศาลเกียรติคุณอดุลยพิเศษ สรรพเทเวศรานุรักษ์ ธัญอรรคลักษณวิจิตรโสภาคยสรรพางค์ มหาชโนตมางคประณตบาทบงกชยุคล อเนกนิกรชนสโมสรสมมต ประสิทธิวรยศมโหดมบรมราชสมบัติ นพปฎลเศวตฉัตราดิฉัตร สรรพรัฐทศทิศวิชิตไชย สกลมไหศวริยมหาสวามินทร มเหศวรมหินทรมหารามาธิราชวโรดม บรมนาถชาติอาชาวไศรย พุทธาทิไตรรัตนสรณารักษ์ วิศิษฏศักตอัครนเรศราธิบดี เมตตากรุณาสีตลหฤทัย อโนปมัยบุญการ สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร“

อนึ่ง การที่จะกล่าวถึงพระนามในภายหน้าได้วางระเบียบไว้ดังนี้

๑. เมื่อกล่าวถึงอย่างเต็มที่ ให้ใช้ตามที่ประกาศเฉลิมพระปรมาภิไธยในราชกิจจานุเบกษา

๒. เมื่อกล่าวถึงอย่างมัธยม ให้ใช้ว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล สกลไพศาลมหารัษฎาธิบดี พระอัฐมรามาธิบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร“

๓. เมื่อกล่าวถึงอย่างสังเขป ให้ออกพระนามว่า “#พระบาทสมเด็จพระอัฐมรามาธิบดินทร“

พระราชลัญจกรประจำพระองค์

การเฉลิมพระปรมาภิไธย
https://th.wikipedia.org/wiki/พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล_พระอัฐมรามาธิบดินทร

ในปี พ.ศ. 2481 คณะผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ได้ให้สำนักพระราชวังจัดสร้างพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดลขึ้น ซึ่งเจ้าพระยาธรรมาธิกรณาธิบดี (หม่อมราชวงศ์ปุ้ม มาลากุล) สมุหพระราชวัง ได้ปรับปรุงพระราชลัญจกรรูปพระโพธิสัตว์สวนดุสิต ที่เคยใช้ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มาใช้เป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์ โดยการสร้างพระราชลัญจกรนั้น ใช้แนวคิดจากพระบรมนามาภิไธยก่อนทรงราชย์ นั่นคือ “อานันทมหิดล” ซึ่งหมายถึง เป็นที่ยินดีแก่แผ่นดิน ดังนั้น จึงได้ใช้รูปพระโพธิสัตว์ ซึ่งมีหมายความเดียวกันว่า เป็นความยินดีและเป็นเดชยิ่งในพื้นพิภพ มาเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์

พระราชลัญจกรประจำรัชกาลที่ 8 นั้น เป็นตรางา ลักษณะกลมศูนย์กลางกว้าง 7 เซนติเมตร มีรูปพระโพธิสัตว์ประทับอยู่เหนือบัลลังก์ดอกบัว พระบาทขวาห้อยอยู่เหนือบัวบาน ซึ่งหมายถึง แผ่นดิน พระหัตถ์ซ้ายถือดอกบัวตูม มีเรือนแก้วอยู่ด้านหลังแถบรัศมี ซึ่งมีข้อแตกต่างจากพระราชลัญจกรที่ใช้ในรัชกาลที่ 5 คือ มีการเพิ่มรูปฉัตรตั้งไว้ข้างแท่นที่ประทับของพระโพธิสัตว์