นักวิเคราะห์เข้าใจว่าการที่ เรือยักษ์เอเวอร์ กิฟเวน เปลี่ยนทิศทางมากถึงขนาดนี้มาจากอิทธิพลของกระแสลมที่กระโชกรุนแรงที่พัดระหว่างทวีปแอฟริกากับคาบสมุทรไซนายเมื่อ 5 วันก่อน จนทำให้ เรือเอเวอร์ กิฟเวน ซึ่งมีความยาว 400 เมตร หรือสูงเท่ากับตึกเอ็มไพร์สเตท เกิดติดตื้นที่บริเวณห่างจากปากทางเข้าคลองสุเอซทางใต้ มาประมาณ 3.7 ไมล์ จนทำให้เรือสินค้ากว่า 200 ลำต้องติดชะงัก และต้องรอจนกว่าปฏิบัติการ กู้เรือยักษ์เอเวอร์ กิฟเวน จะสำเร็จ
ทำให้กำลังส่งผลกระทบต่อการขนส่งสินค้าระหว่างเอเชียกับยุโรปอย่างมาก ขณะนี้ทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกำลังคิดหาวิธีแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นซึ่งก็ยังไม่มีทางออกที่ชัดเจน โดย SCA กล่าวว่าควรทำการขุดบริเวณรอบเรือขณะที่ผู้เชี่ยวชาญแย้งว่าไม่มีทางได้ผลเนื่องจากเรือลำดังกล่าวมีน้ำหนักมากเกินไป อาจต้องหาวิธีถ่ายน้ำหนักออกจากเรือเช่นการลำเลียงสินค้าซึ่งต้องใช้เวลาหลายวัน
การ กู้เรือยักษ์เอเวอร์ กิฟเวน
ด้านหน่วยงานบริหารจัดการคลองสุเอซ (Suez Canal Authority)ของอียิปต์ เผยว่ากำลังมีแผนจะพยายาม
กู้เรือยักษ์เอเวอร์ กิฟเวน โดยกำลังพิจารณาที่จะดำเนินการลำเลียงย้ายตู้คอนเทนเนอร์ออกจากเรือ เพื่อให้เรือเอเวอร์ กิฟเวน เบาลง ในขณะที่มีการระดมเรือลากจูงอย่างน้อย 10 ลำมาช่วยในการลากเรือออกจากที่บริเวณจุดที่เรือติดตื้นที่มีการใช้รถขุดทรายออก
ขณะเดียวกัน ประธานาธิบดีโจ ไบเดน แห่งสหรัฐฯ ได้กล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาว่า สหรัฐฯมีอุปกรณ์และศักยภาพเหนือกว่าชาติส่วนใหญ่ที่มี และกำลังดูว่าสหรัฐฯ สามารถจะช่วยคลี่คลายวิกฤติเรือขวางคลองสุเอซในครั้งนี้ เพื่อให้การขนส่งสินค้าของโลกเป็นไปอย่างราบรื่น เนื่องจากขณะนี้มีรัฐบาลหลายประเทศ และบริษัทหลายแห่งเตือนถึงผลกระทบในความล่าช้าของสินค้าจากเอเชียมายังยุโรป

โดย SCA ระบุว่าก่อนหน้านี้มีเรือลากจูง 9 ลำพยายามดึงเรือ Ever Given ขึ้นมาแต่ก็ไม่ประสบผลสำเร็จเนื่องจากเรือดังกล่าวมีน้ำหนักมาก
ด้านบริษัทโมลเลอร์ เมิร์สค์ ผู้ให้บริการชิปปิ้งรายใหญ่ที่สุดของโลกจากเดนมาร์กกำลังพิจารณาเปลี่ยนเส้นทางการเดินเรือระหว่างยุโรปและเอเชียไปที่แหลมกู๊ดโฮป ในแอฟริกาใต้แทน ซึ่งนั่นต้องใช้เวลานานขึ้นราว 2 สัปดาห์ สำหรับการขนส่งแบบเร่งด่วนอาจต้องเปลี่ยนไปขนส่งทางเครื่องบินหรือรถไฟแทน
ปลดล็อคเรือเอเวอร์ กิฟเวน ขวางคลองสุเอซด้วยวิธีไหน?
เกือบหนึ่งสัปดาห์แล้วที่เรือ Ever Given ยังติดและขวางคลองสุเอซ ความพยายามที่จะปล่อยเรือจากการเกยตื้นยังไม่เป็นดอกเป็นผลชัดเจน นักวิเคราะห์ด้านการขนส่งคาดการณ์ว่าการจราจรติดขัดขนาดมหึมาทำให้การค้าโลกต้องพบกับความสูญเสียไปเกือบ 10,000 ล้านดอลลาร์ทุกวัน และคาดการณ์กันวามันอาจจะลากยาวนานหลายสัปดาห์
การแก้ปัญหาเรือติดเป็นคอขวดขวางคลองขึ้นอยู่กับความสามารถของทีมกู้ภัยในการดูด/ตักทราย โคลน และหินที่ Ever Given ติดอยู่และเพื่อแบ่งเบาภาระของเรือให้เพียงพอที่จะช่วยให้ลอยได้อีกครั้ง ในขณะที่เรือลากจูงพยายามผลักและดึงเรือให้เป็นอิสระ เบื้องต้นโมฮัมเหม็ด มอสเซลฮี เจ้าของบริษัท First Suez International ซึ่งเป็นบริษัทโลจิสติกส์ทางทะเลที่คลองกล่าวว่าทีมนักดำน้ำได้ตรวจสอบตัวเรือแล้วและยังไม่พบความเสียหาย เจ้าหน้าที่คลองสุเอซกล่าวเมื่อวันเสาร์ว่าเรือขุดได้จัดการขุดด้านหลังของเรือในคืนวันศุกร์โดยปล่อยหางเสือและในบ่ายวันเสาร์ (27 มีนาคม) พวกเขาได้ขุดลงไป 18 เมตรลงไปในฝั่งตะวันออกของคลองซึ่งหัวเรือติดอยู่ แต่ทีมกู้สถานการณ์ต้องพบกับความล้มเหลวอีกครั้งในการปลดล็อคเรือจาการเกยตื้น
Bernhard Schulte Shipmanagement บริษัทที่ดูแลการปฏิบัติงานของเรือและลูกเรือกล่าวว่าเรือลากจูง 11 ลำกำลังให้ความช่วยเหลือโดยมีอีก 2 ลำจะมาช่วยในวันอาทิตย์ (28 มีนาคม) บริษัทกล่าวว่ามีเรือขุดหลายลำรวมถึงเรือขุดดูดแบบพิเศษที่สามารถดึงวัตถุได้ 2,000 ลูกบาศก์เมตรต่อชั่วโมงกำลังขุดรอบๆ หัวเรือของเรือ

อย่างไรก็ตาม ร.อ. นิค สโลน (Nick Sloane) ปรมาจารย์ด้านการกอบกู้ชาวแอฟริกาใต้และเป็นผู้นำปฏิบัติการเพื่อกู้เรือสำราญ Costa Concordia ที่ล่มในปี 2555 นอกชายฝั่งอิตาลีกล่าวกับ The New York Times ว่างานกู้เรือส่วนใหญ่มองไม่เห็นบนบก ทีมผู้เชี่ยวชาญด้านการกู้เรือชาวดัตช์ 8 คนและสถาปนิกทหารเรือที่ดูแลปฏิบัติการจะต้องสำรวจเรือและก้นทะเลและสร้างแบบจำลองคอมพิวเตอร์ที่จะช่วยให้สามารถทำงานรอบเรือได้โดยไม่ทำให้เกิดความเสียหายนักวิเคราะห์และตัวแทนการขนส่งกล่าวโอกาสที่ดีที่สุดของพวกเขาอาจมาถึงในวันจันทร์เมื่อกระแสน้ำในฤดูใบไม้ผลิจะทำให้ระดับน้ำในคลองสูงขึ้นถึง 18 นิ้ว แต่เรื่องนี้ยังต้องลุ้นเช่นกัน หากความพยายามที่จะใช้การขุดลอกและเรือลากจูงเมื่อน้ำขึ้นสูงยังไม่สำเร็จอาจต้องขนย้ายตู้สินค้าออกไปเพื่อให้เรือมีน้ำหนักเบาแต่ถึงที่สุดแล้วหากหากเรือลากจูงเรือขุดและเครื่องสูบน้ำไม่สามารถทำงานให้สำเร็จ ก็ต้องส่งเรือและเครื่องจักรเฉพาะทางที่ต้องใช้คนงานหลายร้อยคนมาช่วยกู้สถานการณ์ รวมถึงเรือบรรทุกน้ำมันขนาดเล็กเพื่อสูบจ่ายเชื้อเพลิงของเรือ ปั้นจั่นที่สูงที่สุดในโลกเพื่อขนถ่ายตู้คอนเทนเนอร์ทีละตู้ และหากไม่มีเครนใดที่สูงพอหรือใกล้พอ ก็จะส่งเฮลิคอปเตอร์สำหรับงานหนักที่สามารถรับตู้คอนเทนเนอร์ได้ถึง 20 ตันแม้ว่าจะยังไม่มีใครบอกว่าจะเอาตู้คอนเทนเนอร์ไปไว้ที่ไหน
3ทางออกที่เป็นไปได้
ทางออกแรกที่ถูกนำมาใช้ในการกู้เรือยักษ์เอเวอร์กิฟเวนคือการใช้เรือลากจูง
ขณะนี้เจ้าหน้าที่องค์การคลองสุเอซของอียิปต์และเอกชนพยายามใช้เรือลากจูงจำนวนหนึ่งที่อยู่ทั้งสองด้านของตัวเรือยักษ์เอเวอร์กิฟเวน ดึงหัวดังท้ายเรือเกยตื้นอยู่เพื่อให้ขยับพ้นฝั่ง ขณะที่เจ้าหน้าที่ใช้รถขุดดินช่วยเพิ่มพื้นที่ริมสองฝั่งคลองเพื่อให้หัวเรือขยับได้มากขึ้น
ซัล เมอร์โคยาโน ผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์การเดินเรือจากมหาวิทยาลัยแคมป์เบลล์ในสหรัฐ ระบุว่า เนื่องจากดินโคลนและทรายริมสองฝั่งคลองอัดแน่นมาก ความพยายามขยับเรือจึงยังไม่ประสบความสำเร็จจนถึงตอนนี้
ขณะที่บริษัท Bernhard Schulte Shipmanagement (BSM) ที่ดำเนินการเรือลากจูงเผยว่า จะนำเรือลากจูงมาเพิ่มอีก 2 ลำในวันอาทิตย์ (28 มี.ค.) เพื่อเดินหน้าปฏิบัติการกู้เรือครั้งนี้ต่อไป
หากวิธีลากจูงเรือไม่ได้ผล ทางออกต่อมาคือ การขุดลอกคลอง
บริษัทเจ้าของเรือเอเวอร์กิฟเวนได้จ้าง “โบสกาลิส” (Boskalis) บริษัทสัญชาติเนเธอร์แลนด์ที่เชี่ยวชาญด้านการกู้เรือให้มาช่วยองค์การฯ ทำภารกิจกู้คืนเรือลำดังกล่าว ด้วยการใช้เรือขุดลอกดินทรายบริเวณใต้หัวเรือ เมอร์โคยาโน ผู้เชี่ยวชาญด้านการเดินเรือ ระบุว่า เรือขุดลอกมีให้เห็นบ่อยอยู่แล้วในคลองสุเอซ โดยมักใช้ขุดลอกคลองอย่างต่อเนื่องเพื่อให้เรือสัญจรผ่านไปได้ตลอดเวลา
“เรือจะใช้เครื่องมือขนาดใหญ่ขุดลงไปใต้น้ำและตักดินขึ้นมาจากก้นคลอง ซึ่งดินเหล่านี้ก็สามารถนำไปถมบนฝั่งได้”
อย่างไรก็ตาม ปีเตอร์ เบอร์ดาวสกี ซีอีโอของโบสกาลิสบอกว่า การขุดลอกอย่างเดียวก็ยังไม่อาจช่วยแก้ปัญหานี้ได้

ภาพจากดาวเทียมเมื่อวันที่ 26 มี.ค. เผยให้เห็นเรือสินค้าที่กำลังรอผ่านคลองสุเอซ
“อาจต้องใช้เวลาหลายสัปดาห์ขึ้นอยู่กับสถานการณ์ กว่าจะกู้เรือลำนี้กลับมาได้ โดยต้องใช้ทั้งวิธีลากจูง ขุดลอก และขนย้ายตู้คอนเทนเนอร์ออกจากเรือ ไปพร้อม ๆ กัน”
ย้ายตู้สินค้า “มีความเสี่ยง”
การจะทำให้เรือน้ำหนักกว่า 200,000 ตันขยับได้ง่ายขึ้น วิธีการย้ายตู้สินค้าออกจากเรือเพื่อลดน้ำหนักของเรือเอเวอร์กิฟเวนก็อาจเป็นทางเลือกที่ดีเช่นกัน แต่นั่นต้องรวมถึงการดูดน้ำมันออกจากเรือด้วย เพื่อให้ไม่ต้องย้ายตู้สินค้าที่มีน้ำหนักเบาออกมาโดยไม่จำเป็น
อย่างไรก็ตาม การย้ายตู้คอนเทนเนอร์จำนวนมากด้วยเครนนั้น ถือเป็นเรื่องท้าทายอย่างมาก นอกจากความยุ่งยากเกี่ยวกับการหาจำนวนเครนที่เหมาะสมกับเรือแล้ว กระบวนการย้ายสินค้าก็อาจสร้างความเสียหายหรือแม้แต่ทำให้เรือเสียความสมดุลได้
“คุณจะต้องนำรถเครนลอยน้ำขนาดใหญ่ แต่อะไรก็ตามที่คุณทำตอนนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าการทรงตัวในคลองของเรือจะได้รับผลกระทบขนาดไหน” เมอร์โคยาโนกล่าว
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้เตือนด้วยว่า ในกรณีเลวร้ายที่สุดคือ เรือเอเวอร์กิฟเวนอาจถึงขั้นหักครึ่งระหว่างการเคลื่อนย้าย เนื่องจากน้ำหนักตู้สินค้าบนเรือไม่สมดุลกัน