Skip to content
Home » News » คลองสุเอซ

คลองสุเอซ

จากกรณี สั่นสะเทือนคนไปทั่วโลก เมื่อ เรือสินค้าเอเวอร์กรีน เรือบรรทุกคอนเทนเนอร์ขนาดยาว 400 เมตร เจอกับพายุทรายพัด จนเสียหลัก เกยติ่งจนขวาง คลองสุเอซ ที่ถูกขุดเชื่อมทะเลแดงกับเมดิเตอร์เรเนียน ในอียิปต์ ซึ่งเป็นเส้นทางเรือที่สำคัญ ตั้งแต่ 23 มีนาคม ที่ผ่านมา ส่งผลกระทบต่อการค้าของทั่วโลก เพราะมีเรือขนสินค้า ทั้งคอนเทนเนอร์ และเชื้อเพลิง ที่จ่อรออยู่หลายร้อยลำเข้าไปแล้ว และยังทำให้ราคาน้ำมัน ปรับตัวขึ้น เนื่องจากกังวลว่าจะติดอยู่หลายสัปดาห์

รู้จัก คลองสุเอซ คลองสุเอซ เป็นคลองขนส่งที่มนุษย์ขุดขึ้นในประเทศอียิปต์ และแล้วเสร็จตั้งแต่เมื่อ 152 ปีก่อน เพื่อหวังใช้เป็นเส้นทางลัด ย่นระยะทางในการเดินเรือระหว่างยุโรปและเอเชีย โดยไม่ต้องอ้อมแหลมกู๊ดโฮป ในทวีปแอฟริกา ที่ต้องเสียทั้งเวลา และค่าใช้จ่ายต่างๆมากกว่าหลายเท่า เนื่องจากต้องเพิ่มระยะทางในการเดินเรืออีกถึง 6,000 กิโลเมตร

นายเฟอร์ดินานด์ เดอ เลสเซป อดีตราชทูตฝรั่งเศสประจำอียิปต์ เป็นผู้ต้นคิดโครงการขุด คลองสุเอซ ตามแนวคิดของอดีตฟาโรห์ที่ต้องการสร้างคลองเชื่อมระหว่างทะเลแดง และทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งแต่เมื่อ 4,000 ปีก่อน โดยนายเดอ เลสเซป ได้ก่อตั้งบริษัทคลองสุเอซ (The Suez Canal Company) หลังจากได้รับสัมปทานจากทางการอียิปต์ โดยใช้ระยะเวลาในการดำเนินการขุดคลอง 10 ปี ระหว่างปี ค.ศ. 1859-1869

สำหรับ คลองสุเอซ นับได้ว่าเป็นคลองประวัติศาสตร์ ที่ถูกเปิดใช้มานานกว่า 150 ปี เป็นเส้นทางขนส่งสำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ที่มีช่วงเวลาแห่งความวุ่นวายมากที่สุด

คลองสุเอซ
https://www.thairath.co.th/news/foreign/2058597

ความวุ่นวายที่เกิดขึ้น

ความวุ่นวายแรกเกิดขึ้นในเดือนกรกฎาคม 1956 เมื่อกามาล อับเดล นาสเซอร์ ประธานาธิบดีอียิปต์ผู้มีนโยบายสนับสนุนความเป็นหนึ่งเดียวกันของภูมิภาคอาหรับ ท้าทายผลประโยชน์ของอังกฤษและฝรั่งเศส ยึด “บริษัทคลองสุเอซ” ผู้บริหารจัดการคลองสุเอซเป็นของอียิปต์ในทันที แม้ความนิยมในตัวประธานาธิบดีนาสเซอร์ในประเทศจะเพิ่มสูงขึ้น แต่นั่นเป็นชนวนของวิกฤตระดับนานาชาติ เมื่อฝรั่งเศสและอังกฤษ สองชาติผู้ควบคุมบริษัทคลองสุเอซ รวมไปถึงอิสราเอล บุกโจมตีอียิปต์ในอีก 3 เดือนต่อมา

นอกจากนี้ คลองสุเอซยังเป็นสนามรบในสงครามอาหรับ-อิสราเอล ในปี 1967 และ 1973 ด้วย

Ferdinand de Lesseps นักการทูตฝรั่งเศสผู้มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาคลองสุเอซ

การขุดคลองสุเอซเป็นประกายความคิดของนโปเลียนที่ 1 ของฝรั่งเศสที่เคลื่อนทัพมาอียิปต์ในปี พ.ศ.2341 แต่การเริ่มลงมือขุดเป็นรูปธรรมเกิดขึ้นในสมัยนโปเลียนที่ 3 ใน พ.ศ.2391 โดยนักการทูตและวิศวกรชาวฝรั่งเศส ชื่อ แฟร์ดีนอง เดอ เลเซป (Ferdinand de Lesseps) อดีตราชทูตฝรั่งเศสประจำอียิปต์ซึ่งสนิทสนมกับผู้สำเร็จราชการของอียิปต์ ชื่อ โมฮัมเหม็ด ซาอิด ทั้งสองคนเคยหารือเรื่องการขุดคลองกันมาก่อนแล้ว รวมทั้งเรื่องเงินทองที่จะไหลมาเทมา

เมื่อปี 2015 ประธานาธิบดีอับเดล ฟัตตาห์ อัล-ซิซี เปิดคลองคู่ขนานความยาว 72 กิโลเมตร หลังการขุดคลองเป็นเวลา 12 เดือน โดย “เลน” สำหรับเดินเรือใหม่นั้นส่งผลให้อียิปต์สามารถทำสถิติเป็นเส้นทางผ่านเรือสินค้า 81 ลำ ขนสินค้าน้ำหนักรวม 6.1 ล้านตันผ่านคลองสุเอซได้ในวันเดียว

รายได้ของเอสซีเอเมื่อปีงบประมาณ 2018-2019 พุ่งถึง 5,900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สูงขึ้น 5.4 เปอร์เซ็นต์จากปีก่อนหน้า ผลจากการเติบโตของการค้าระหว่างยุโรปและเอเชีย รวมไปถึงยุโรปและอินเดีย

โดยอียิปต์ตั้งเป้าที่จะสร้างรายได้พุ่งไปถึง 13,200 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2023

งานเฉลิมฉลองเปิดคลองสุเอซในปี 1869 เป็นไปอย่างยิ่งใหญ่และหรูหรา พิสูจน์ได้จากการที่จักรพรรดินียูเจนี ชายาจักรพรรดินโปเลียนที่ 3 แห่งฝรั่งเศสเข้าร่วมงานในครั้งนั้นด้วย”

การลงมือขุดคลองสุเอซโดยมีฝรั่งเศสเป็นมหาอำนาจถือธงนำ สร้างชื่อเสียงให้กับฝรั่งเศสดังก้องโลก เพราะคลองนี้ คือ เส้นทางสำคัญสำหรับมนุษยชาติที่จะได้รับประโยชน์สุขมหาศาล เป็นความคิดสร้างสรรค์แบบไม่เคยปรากฏมาก่อน คลองนี้จะช่วยย่นระยะทางได้ราว 6,400 กิโลเมตร เรือไม่ต้องไปผ่านแหลมกู๊ดโฮปที่อันตรายตายเรือแตกเป็นเบือ ในขณะที่เรือแล่นผ่านคลองสุเอซใช้เวลาเพียง 11-16 ชั่วโมง คู่แข่งที่พลาดท่าเสียทีและถือว่าพ่ายแพ้ในยุทธศาสตร์ระดับโลก คือ อังกฤษ ซึ่งหันมาก่อกวน ปลุกระดมคนงานก่อสร้างจากแอฟริกาและชาวอาหรับเร่ร่อนราว 120,000 คน ที่เข้ามาเป็นคนงานเพื่อให้เลิกทำงาน อังกฤษยังไปป่วนบริษัททางการเงินระดับโลก เพื่อให้ยุติการให้เงินสนับสนุนโครงการขุดคลอง

วิกฤตการณ์ คลองสุเอซ ครั้งที่ 2

เดือนมิถุนายน พ.ศ.2510 ได้เกิดการสู้รบระหว่างอิสราเอลกับกลุ่มประเทศอาหรับ อียิปต์ประกาศไม่ยอมให้เรืออิสราเอลผ่านคลอง อิสราเอลส่งรถถังบุกเข้าไปถึงด้านตะวันออกของคลองสุเอซ อียิปต์ตอบโต้โดยการจมเรือขวางคลอง ความขัดแย้งครั้งนั้นยาวนาน 8 ปี จากปี พ.ศ.2510-2518 ในปี พ.ศ.2522 หลังจากอียิปต์และอิสราเอลบรรลุข้อตกลงสันติภาพได้ อียิปต์ก็ยอมให้เรืออิสราเอลใช้คลองสุเอซได้โดยเสรี

คลองสามารถรับเรือที่มีน้ำหนักขนส่งได้มากถึง 150,000 ตัน ความกว้างของเรือที่สามารถผ่านได้คือไม่เกิน 16 เมตร เมื่อปริมาณการเดินเรือเพิ่มมากขึ้น ในปี พ.ศ.2553 จึงขยายคลองให้สามารถรองรับเรือที่กว้างถึง 22 เมตร ได้

7 สิงหาคม 2558 ประธานาธิบดี อัลซีซี ของอียิปต์ ทำพิธีเปิดคลองสุเอซสายใหม่ที่เมืองท่าอิสเมอิลีอา ร่วมด้วยผู้นำจากหลายชาติ เพื่อขุดคลองสุเอซเส้นทางใหม่ เพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจของอียิปต์ การขุดคลองสุเอซเส้นทางที่ 2 ต้องขุดพื้นดิน 37 กม. รวมไปถึงขุดลอกคลองเดิมให้กว้างและลึกขึ้นในระยะทาง 35 กม. ใช้เงินราว 9 พันล้านเหรียญสหรัฐ คลองสุเอซเส้นทางใหม่จะย่นระยะเวลาการเดินเรือจาก 18 ชั่วโมง เหลือเพียง 11 ชั่วโมง รัฐบาลอียิปต์หวังว่าภายในปี 2566 จำนวนเรือที่ใช้คลองสุเอซจะเพิ่มจาก 49 ลำต่อวัน เป็น 97 ลำ และประเทศจะมีรายได้เพิ่มขึ้นจากคลองนี้ จะเพิ่มเป็น 13.2 พันล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2566

ปัจจุบัน คลองสุเอซได้รับการปรับปรุง และเปิดให้เรือนานาชาติแล่นผ่านได้ตามปกติ นับเป็นคลองที่มีความสำคัญทางด้านการค้าและทางยุทธศาสตร์มากแห่งหนึ่งของโลก เส้นทางเดินเรือที่สำคัญแห่งนี้บริหารจัดการโดย “สุเอซคาแนลออธอริตี้” หรือเอสซีเอ หน่วยงานรัฐวิสาหกิจของรัฐบาลอียิปต์ที่ตั้งขึ้นแทนที่ “บริษัทคลองสุเอซ” เดิม

หลังจากองค์การสหประชาชาติ เข้ามาแทรกแซงวิกฤตการณ์ดังกล่าว โดยอียิปต์ยินดีจ่ายเงินหลายล้านดอลลาร์ให้กับผู้ถือครองหุ้นบริษัทคลองสุเอซเพื่อยุติความขัดแย้ง

ปัจจุบันเอสซีเอขยายคลองให้ใหญ่ขึ้น ทันสมัยมากขึ้นเพื่อรองรับเรือขนาดใหญ่ กลายเป็นทรัพย์สินทางเศรษฐกิจที่สำคัญของอียิปต์ ให้บริการเส้นทางเดินเรือกับนานาชาติคิดเป็นสัดส่วน 10 เปอร์เซ็นต์ของเส้นทางการค้าทางเรือทั่วโลก

ปัจจุบันคลองสุเอซยังคงต้องได้รับการคุ้มกันจากทหารอียิปต์ในบางพื้นที่ ผลจากปัญหากลุ่มกบฏอิสลามหัวรุนแรง

อียิปต์ยึด “คลองสุเอซ” คืนจาก “อังกฤษ-ฝรั่งเศส”

วันที่ 26 กรกฎาคม 1956 (พ.ศ. 2499) กาเมล อับเดล นัสเซอร์ (Gamel Abdel Nasser) ประธานาธิบดีอียิปต์ในขณะนั้นประกาศยึดคลองสุเอซเป็นสมบัติของรัฐ หลังจากคลองที่เชื่อมต่อทะเลเมดิเตอร์เรเนียนกับทะเลแดงแห่งนี้ตกอยู่ภายใต้การครอบครองของกลุ่มผลประโยชน์ต่างชาติมาโดยตลอด (ส่วนใหญ่เป็นอังกฤษและฝรั่งเศส)

วิกฤติคลองสุเอซเกิดขึ้นหลังสหรัฐฯ และอังกฤษบิดพลิ้วปฏิเสธที่จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินแก่อียิปต์ในการสร้างเขื่อนสูงแห่งอัสวัน (Aswan High Dam) ตามที่เคยรับปากไว้ อียิปต์ซึ่งเริ่มมีสัมพันธ์แนบแน่นกับเชโกสโลวาเกีย และโซเวียตมากขึ้นจึงตัดสินใจประกาศใช้กฎอัยการศึก ยึดบริษัทคลองสุเอซ (Suez Canal Company) ซึ่งผู้ถือหุ้นส่วนใหญ่เป็นชาวฝรั่งเศสและอังกฤษ โดยหวังว่าการเก็บค่าผ่านทางภายใน 5 ปี จะช่วยให้มีทุนมากพอที่จะสร้างเขื่อนดังกล่าวได้

หลังมาตรการทางการทูตเพื่อคลี่คลายปัญหาล้มเหลว อังกฤษและฝรั่งเศสจึงเตรียมกำลังทหารเพื่อเข้ายึดคลองสุเอซ รวมถึงหาทางกำจัดนัสเซอร์ออกจากอำนาจ โดยมีอิสราเอลเป็นพันธมิตรสำคัญในภูมิภาค หลังนัสเซอร์สร้างความไม่พอใจให้อิสราเอลด้วยการปิดช่องแคบไทแรน (Straits of Tiran) ทางออกสู่ทะเลแดงจากอ่าวอะกาบา (Gulf of Aqaba) รวมถึงการสนับสนุนกลุ่มติดอาวุธในอิสราเอล ปลายเดือนตุลาคมปีเดียวกันอิสราเอลได้เคลื่อนพลเข้าสู่คลองสุเอซ ทำให้กองทัพอียิปต์ต้องถอยร่น ฝ่ายอังกฤษและฝรั่งเศสก็เดินหน้าตามแผนพร้อมกับเรียกร้องให้ทั้งอิสราเอลและอียิปต์ถอนทัพออกจากคลองพิพาท

ต่อมาในวันที่ 5-6 พฤศจิกายน อังกฤษและฝรั่งเศสได้ยกพลขึ้นบกที่ท่าเรือซาอิด (Port Said) และท่าเรือฟูอัด (Port Fuad) เริ่มครอบครองพื้นที่บางส่วนของคลองสุเอซ ทำให้เกิดแรงต่อต้านจากประชาชนภายในประเทศผู้รุกรานเอง รวมถึงสหรัฐฯ ที่เกรงว่า พฤติกรรมดังกล่าวของอังกฤษและฝรั่งเศสอาจทำให้โซเวียตเข้าแทรกแซง จึงได้อาศัยองค์การสหประชาชาติผ่านมติต่างๆ จนนำไปสู่การยุติการรุกรานอียิปต์ โดยอังกฤษและฝรั่งเศสได้ถอนทัพออกไปในเดือนธันวาคม ส่วนอิสราเอลถอนทัพในเดือนมีนาคมปีถัดมา หลังเหตุการณ์นัสเซอร์กลายเป็นผู้ชนะและวีรบุรุษของขบวนการชาตินิยมอียิปต์ และการต่อสู้เพื่อชาวอาหรับ ด้านอิสราเอลแม้จะไม่ได้สิทธิในการเดินเรืออย่างเสรีผ่านคลองสุเอซ แต่ก็ได้สิทธิในการเดินเรือผ่านช่องแคบไทแรน ขณะที่อังกฤษและฝรั่งเศสต้องสูญเสียอิทธิพลเกือบทั้งหมดในตะวันออกกลางไปจากเหตุการณ์นี้