ความร้ายแรง สถานการณ์ฉุกเฉินคณะราษฎร วันที่ 13 ตุลาคม ก่อนหน้าวันที่นัดหมายชุมนุมใหญ่ 1 วัน ผู้ประท้วงจำนวนหนึ่งชุมนุมกันที่ถนนราชดำเนินใกล้กับอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเพื่อประท้วงขบวนเสด็จฯ โดยระหว่างขบวนเสด็จฯ ผ่านผู้ประท้วงได้ชูสัญลักษณ์มือสามนิ้วซึ่งเป็นการแสดงออกไม่พอใจพระมหากษัตริย์ไทยอย่างเปิดเผย มีการสลายการชุมนุม และมีผู้ประท้วงถูกจับกุม 21 คน ต่อมาแฮชแท็กโจมตีพระมหากษัตริย์ติดอันดับทวิตเตอร์
วันที่ 14 ตุลาคม ซึ่งเป็นวันนัดชุมนุมใหญ่ เริ่มมีการชุมนุมตั้งแต่เช้าภายใต้ชื่อ “คณะราษฎร” จำนวนหลายหมื่นคน โดยประกาศจะเคลื่อนไปยังทำเนียบรัฐบาลเพื่อเรียกร้องให้ประยุทธ์ลาออก ปรากฏว่าทางการสั่งขนผู้ประท้วงตอบโต้โดยใช้พาหนะของราชการ มุ่งตรงไปที่สถาบันพระมหากษัตริย์ ซึ่งถือว่าไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน อีกทั้งหากสังเกตจากการชุมนุมในช่วงที่ผ่านมาของกลุ่มอื่น หากนับกันตั้งแต่สมัยเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 เราจะเห็นขบวนนักศึกษา ประชาชน มีการเชิญธงไตรรงค์ พร้อมทั้งอัญเชิญพระบรมฉายาลักษณ์ของพระเจ้าอยู่หัวนำขบวน ซึ่งมักจะเป็นลักษณะแบบนี้แทบทุกครั้ง หากมีการชุมนุมในช่วงที่ผ่านมา
ภาพจากสำนักข่าวต่างประเทศหลายสำนัก รวมทั้งคลิปที่มีผู้โพสต์ในโซเชียลมีเดียปรากฏสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี และสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกร รัศมีโชติประทับอยู่ในรถยนต์พระที่นั่ง ขณะขบวนเสด็จเคลื่อนผ่านบริเวณหน้าทำเนีบรัฐบาล ซึ่งตามหมายกำหนดการ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี เสด็จฯ แทนพระองค์ไปถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดราชโอรสวรารามและวัดอรุณราชวรารามในเวลา 17.50 น.
อีกภาพหนึ่งของสำนักข่าวรอยเตอร์เป็นภาพพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ในรถยนต์พระที่นั่งกับสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี แต่คำบรรยายภาพไม่ได้ระบุว่าเสด็จพระราชดำเนินไปที่ใด เวลาใด ไม่ใช่ตามที่บีบีซีไทยรายงานก่อนหน้านี้ว่า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประทับอยู่ในรถยนต์พระที่นั่งที่เคลื่อนผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม
เหตุการณ์ขบวนเสด็จฯ เคลื่อนผ่านผู้ชุมนุมเกิดขึ้นขณะที่ผู้ชุมนุมกลุ่มคณะราษฎรส่วนใหญ่ รวมทั้งรถปราศรัยของแกนนำเผชิญหน้ากับเจ้าหน้าที่ตำรวจบริเวณแยกนางเลิ้ง โดยผู้ชุมนุมขอให้เจ้าหน้าที่เปิดทางเพื่อเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลได้ อย่างไรก็ตามมีผู้ชุมนุมบางส่วนได้มารวมตัวกันบริเวณด้านนอกทำเนียบรัฐบาลอยู่ก่อนแล้ว
รถยนต์พระที่นั่งเคลื่อนที่ผ่านกลุ่มผู้ชุมนุมช้า ๆ โดยมีเจ้าหน้าที่ตำรวจถวายการอารักขา ตั้งแถวเปิดเส้นทางและวิ่งเหยาะ ๆ ประกบรถยนต์พระที่นั่งขณะที่ขบวนเสด็จฯ เคลื่อนผ่านกลุ่มผู้ชุมนุม
กลุ่มประชาชนด้านหลังแนวกั้นของเจ้าหน้าที่ พากันชูสามนิ้วและตะโกนถ้อยคำเรียกร้องให้ปล่อยผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุมไป บางคนตะโกนว่า “ชาติ ศาสนา ประชาชน” ขณะที่ขบวนเสด็จเคลื่อนผ่าน
นอกจากกลุ่มผู้ชุมนุมคณะราษฎรที่เรียกร้องการปฏิรูปสถาบันแล้ว ยังมีประชาชนกลุ่มเสื้อเหลืองที่ระบุว่าเป็นผู้ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์มาตั้งแถวเพื่อรับเสด็จฯ ด้วย
สำนักข่าวต่างประเทศเผยแพร่ภาพข่าวขณะที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินี ทรงทอดพระเนตรจากรถยนต์พระที่นั่ง โดยเข้าใจว่าทอดพระเนตรมายังกลุ่มผู้ชุมนุม และมีบางจังหวะที่สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีทรงโบกพระหัตถ์
การชุมนุมของ “คณะราษฎร” รอบนี้ถูกจับตามองเป็นพิเศษเพราะเกิดขึ้นในวัน-เวลา-สถานที่ใกล้เคียงกับการประกอบพระราชกรณียกิจ ก่อนหน้านี้แกนนำผู้ชุมนุมประกาศว่าจะไม่ขัดขวางขบวนเสด็จ และจะยืนอย่างสงบโดยชู 3 นิ้ว
ส่วนกลุ่มนิยมเจ้า เช่น กลุ่มประชาชนเพื่อพิทักษ์ชาติ ศาสน์ กษัตริย์ และองค์กรเก็บขยะแผ่นดิน จัดการประท้วงตอบโต้ วันเดียวกัน เกิดเหตุทำร้ายร่างกายผู้ประท้วงโดยฝ่ายตรงข้าม มีการเคลื่อนขบวนไปยังทำเนียบรัฐบาลแล้วตั้งเต้นท์และเวทีปราศรัยโดยรอบทั้ง 4 ทิศ ทั้งนี้ การประท้วงดังกล่าวตรงกับการเสด็จพระราชดำเนินตามหมายกำหนดการ
ซึ่งผ่านบริเวณชุมนุมที่ถนนพิษณุโลกและไม่มีประกาศอย่างเป็นทางการล่วงหน้า และทั้งที่กำหนดการเดิมว่าจะใช้ถนนราชดำเนิน ไม่มีการขัดขวางขบวนเสด็จ แต่นายกรัฐมนตรีออกแถลงการณ์ทางโทรทัศน์ว่าจะดำเนินคดีอย่างเข้มงวดกับผู้ที่ขัดขวางขบวนเสด็จฯ ตามอ้าง เช่นเดียวกับกลุ่มฝ่ายขวาและสื่อที่รีบออกมาโจมตีผู้ชุมนุม ด้านอานนท์ นำภา กล่าวว่า ราชการจงใจจัดขบวนเสด็จฯ ฝ่าบริเวณชุมนุม และอานนท์กะจำนวนผู้เข้าร่วมประท้วงประมาณ 200,000 คนก่อนเวลาเที่ยงคืน

วันที่ 15 ตุลาคม เวลา 04:00 น. นายกรัฐมนตรีประกาศ ความร้ายแรง สถานการณ์ฉุกเฉิน ในเขตท้องที่กรุงเทพมหานคร มีคำสั่งห้ามชุมนุม และจำกัดการนำเสนอข่าว รวมถึงจัดตั้งกองอำนวยการร่วมแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรง (กอร.ฉ.) ขึ้นมาควบคุมสถานการณ์โดยเฉพาะ ทำให้ตำรวจใช้อำนาจนี้เข้าสลายการชุมนุมรอบทำเนียบรัฐบาล โดยมีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 20 คน และผู้ชุมนุมนัดหมายอีกครั้งในเวลา 16:00 น. ที่แยกราชประสงค์ ส่งผลให้แฮชแท็ก #15ตุลาไปราชประสงค์ ติดเทรนด์ทวิตเตอร์อันดับ 1 แม้การเชิญชวนไปชุมนุมจะเป็นความผิด วันเดียวกัน
นายตำรวจระดับสูงสามนายถูกสั่งย้ายและสอบสวนจากกรณีขบวนเสด็จฯ มีการส่งกำลังทหารมายังทำเนียบรัฐบาลและอาคารรัฐสภา ส.ส. ฝ่ายค้านจึงตั้งข้อสังเกตว่าเป็นบรรยากาศเหมือนช่วงก่อนเกิดรัฐประหารปี 2557 พรรคร่วมฝ่ายค้านเรียกร้องให้ยกเลิกการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินที่มีความร้ายแรงในกรุงเทพมหานคร และเปิดสมัยประชุมวิสามัญ
การประท้วงในเวลาเย็นที่แยกราชประสงค์ดำเนินต่อไป โดยมีผู้เข้าร่วมประมาณ 13,500 คน มีผู้ถูกจับกุมเพิ่มอีกอย่างน้อย 20 คน แต่ผู้ประท้วงยืนยันจะประท้วงต่อโดยใช้ยุทธวิธีแฟลชม็อบ มีนักกิจกรรมถูกจับกุม 2 คนฐานประทุษร้ายพระราชินี ด้านศูนย์ทนายความเพื่อสิทธิมนุษยชนรายงานว่ามีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 51 คนระหว่างวันที่ 13 ถึง 15 ตุลาคม
วันที่ 16 ตุลาคม ประยุทธ์กล่าวถึงผู้ประท้วงตอนหนึ่งว่า “อย่าประมาทกับชีวิต เพราะคนเราสามารถตายได้ทุกเวลา อย่าไปท้าทายกับพญามัจจุราช” โดยเป็นการยกคำสอนตอนหนึ่งของพระพุทธเจ้า แต่ถูกมองว่าเป็นการขู่ฆ่าอย่างทรราช
ในเวลาเย็น ผู้ประท้วงที่ไม่มีอาวุธประมาณ 2,000 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นวัยรุ่น จัดแฟลชม็อบที่แยกปทุมวัน โดยเปลี่ยนจากแยกราชประสงค์ที่มีตำรวจประจำอยู่หนาแน่น แต่ไม่ถึงสองชั่วโมงถัดมาก็ถูกตำรวจสลายการชุมนุม
มีรายงานใช้ปืนฉีดน้ำแรงดันสูง น้ำผสมสารเคมี และแก๊สน้ำตา ด้าน พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลพยายามเจรจากับตำรวจขอให้เคลื่อนย้ายผู้บาดเจ็บออกจากที่ชุมนุม แต่ไร้ผล ด้าน พลตำรวจวจโท ภัคพงศ์ พงษ์เภตรา ผู้บัญชาการตำรวจนครบาลกล่าวว่ามีผู้ถูกจับกุมอย่างน้อย 100 คน หลังมีการสลายการชุมนุม
นักศึกษาหลายมหาวิทยาลัยจัดแฟลชม็อบเพื่อประณามการกระทำดังกล่าว ขณะที่วรงค์ เดชกิจวิกรมและอัษฎางค์ ยมนาคหยิบยกคลิปโดยสำนักข่าวเอเอฟพีที่มีผู้ประท้วงใช้คีมตัดเหล็กฟาดใส่ตำรวจในชุดเกราะมาตั้งคำถามว่าผู้ชุมนุมมือเปล่าจริงหรือไม่ สีของน้ำนั้นคาดการณ์ว่าเป็นเมทิลลีนบลู, แอเซอร์เอ, หรือไทโอนีน และใช้ติดตามตัวบุคคลเป็นเวลาหลายวัน ด้านตำรวจไม่สามารถยืนยันประเภทของสารเคมีได้แน่ชัด ทำให้ถูกวิจารณ์ว่าดูไม่ได้ศึกษาสารเคมีที่จัดซื้อมา