ความอัปยศที่คนจีนยากจะให้อภัยญี่ปุ่น กับการสังหารหมู่ชาวนานกิงกว่า 3 แสนคนในปี 1937
การข่มขืนนานกิง ( Rape of Nanking ) รอยร้าวและไฟแค้นของจีนต่อญี่ปุ่นทุกคนคงเคยเห็นข่าวว่าเมื่อนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นไปสักการบูชาทหารญี่ปุ่นที่ศาลเจ้ายาสุกูนิ ในกรุงโตเกียวมักมีเสียงด่า สาบแช่ง และประท้วงจากจีนทุกครั้งว่า
“ทำไมแกต้องไปกราบไหว้พวกมันด้วย มันไม่ใช่วีรบุรุษ มันเป็นปีศาจชัดๆ”หรือ”แกทำอย่างนี้ทำไม ต้องการหยามน้ำหน้าเราหรือ รู้ไหมพวกมันทำอะไรไว้กับพวกเราบ้าง รู้บ้างไหม”หรือ”สักวัน ประเทศแกจะพังพินาศ เหมือนพวกมัน”นี้คือตัวอย่างเสียงด่าจากนานาประเทศโดยเฉพาะจีน
ความอัปยศที่คนจีนยากจะให้อภัยญี่ปุ่น
บางคนประท้วงถึงขั้นบอยคอตสินค้าญี่ปุ่น การต่อต้านหนังสือเรียนประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นที่บิดเบือนประวัติศาสตร์ การตัดความสัมพันธ์ทางการทูตกับญี่ปุ่น และบางครั้งถึงขั้นปล่อยข่าวใส่ร้ายต่างๆ นา ๆ เลยทีเดียว”ทำไมชาวจีนจึงเกลียดทหารญี่ปุ่นจนเข้าไส้ คำตอบของเรื่องนี้ก็คือ พวกเขายังไม่ลืมเหตุการณ์คดีที่นานกิงสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 มันทำให้ชาวจีนเจ็บแค้นญี่ปุ่นอย่างมากที่สุดเรื่องเริ่มต้นสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปี ค.ศ.1937 นั้นกองทัพญี่ปุ่นได้เข้ามาบุกรุกประเทศต่างๆ ในเอเชียเพื่อยึดพื้นที่ให้ได้มากที่สุดและนำทรัพยากรทุกๆด้านจากประเทศที่ยึดได้เอาไปเป็น”ทุน”หรือ”วัตถุดิบ”ในการเติมแสนยานุภาพทางด้านการรบ การสร้างอาวุธ หรือแหล่งพลังงานสำรองด้านอื่นๆญี่ปุ่นบุกเข้ายึดเขตแมนจูเรีย

โดยอ้างว่าทหารจีนได้ไปวางระเบิดทางรถไฟของญี่ปุ่น เท่ากับจีนหยามน้ำหน้าญี่ปุ่น ทางประเทศพันธมิตรยุโรปทราบเรื่องนี้แต่ทำอะไรไม่มากนักเนื่องจากเหนื่อยจากสงครามโลกที่ผ่านมา ทำได้เพียงเชิญตัวแทนญี่ปุ่นเข้าพบและสั่งถอนกำลังออก แต่ญี่ปุ่นไม่รับฟัง แมนจูเรียจึงถูกปกครองโดยญี่ปุ่น และเปลี่ยนชื่อเป็นรัฐแมนจูกัวนอกจากนั้นญี่ปุ่นยังยึด เกาหลี และประเทศตะวันออกเฉียงใต้ รวมทั้งประเทศไทย ตลอดจนหมู่เกาะแปซิฟิก ฯลฯและเป้าหมายต่อไปของญี่ปุ่นก็คือจีน
จีนถือว่าเป็นเป้าหมายหลักที่ญี่ปุ่นต้องการมากที่สุดในเอเชีย
เนื่องจากมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ที่สุด ดังนั้นเมืองใหญ่ๆ ทั้งหลายในจีนจึงเป็นเป้าหมายที่ญี่ปุ่นต้องการเมืองใหญ่น้อยทั่วจีนที่เป็นเป้าหมายของญี่ปุ่นถูกปราบลงราบคาบไม่มีการต่อต้านจากจีนใดๆ ทั้งสิ้น ส่วนนานกิงเมืองหลวงในปี 1937 นั้นยังไม่ถูกญี่ปุ่นยึด แต่ก็สะบัดสะบอมเต็มที่เพราะกองทัพญี่ปุ่นโหมบุกหนักหน่วงเป็นระลอกคลื่น
จนกระทั่ง ก.ย 1939 กองทัพญี่ปุ่นส่งเครื่องบินรบสทิ้งระเบิดถล่มทั่วนานกิงแบบปูพรม ถึง 100 เที่ยว โดยเฉพาะวันที่ 25 ก.ย 1939 นั้นฝูงบินญี่ปุ่นแบบทิ้งระเบิดปูพรมถึง 5 เที่ยวใหญ่ปล่อยตรงจุดที่มีผู้คนหนาแน่น เช่น หน่วยรักษาคนเจ็บ ค่ายผู้อพยพ ส่งผลให้มีคนตายในที่เกิดเหตุทันทีกว่าร้อยศพ มีคนบาดเจ็บนับไม่ถ้วน สถานีวิทยุ การประปา แหล่งเพาะปลูก แม้แต่โรงพยาบาล ถูกกองทัพญี่ปุ่นทิ้งระเบิดใส่จนพังพินาศหมด ทำให้นานกิงตัดขาดโลกภายนอกโดยสมบูรณ์แบบล่วงเข้ามาถึง วันที่ 20 พ.ย รัฐบาลก๊กมินตั๋ง ประกาศย้ายเมืองหลวงไปยังชองกิง ในขณะเดียวกันนานกิงนั้นก็ระส่ำระสายแทบควบคุมสถานการณ์ไม่อยู่ บรรดาราชการคนชั้นสูง คนรวย ต่างหนีออกจากเมือง
โดยปล่อยพวกชาวบ้านนานกิงจนๆ ผู้อพยพ และบรรดาพ่อค้าที่ห่วงของรอเคยชะตากรรมกันเอาเองเมืองนานกิงก่อนทหารญี่ปุ่นบุก มีประชากรราวหนึ่งล้านคน ส่วนใหญ่ยังไม่หนีไปไหน แต่หาที่ซ่อนตัวไม่ไกลนัก เพราะทุกคนต่างหวังว่าทหารก๊กมินตั๋งจะมาช่วยต้านทหารญี่ปุ่นไว้ได้แต่พวกเขาคิดผิดมหันต์! เพราะคณะกรรมาธิการนานาชาติได้ตั้งให้นานกิงเป็นเขตปลอดภัย หรือเซฟตี้โซน โดยไม่จำเป็นต้องให้ส่งทหารมาดูแลโดยรับความเห็นชอบจากรัฐบาลก๊กมินตั๋ง ความหวังสุดท้ายของชาวนานกิงจึงริบหรี่กองทัพญี่ปุ่นใช้ประโยชน์จากภูมิประเทศที่ว่า นานกิงนั้นถูกขนาบด้วยแม่น้ำถึงสองด้าน
ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ทางใต้ของโค้งแม่น้ำแยงซี ซึ่งเมื่อไหลมาจากทางเหนือแล้วก็เลี้ยวผ่านไปทางตะวันออก กองทัพญี่ปุ่นภายใต้การนำของพลเอก นาคาจิมา เคซาโกะ สามารถเดินทัพจากทางตะวันออกเฉียงใต้มาบรรจบกันที่ด้านหน้าของนานกิงในรูปครึ่งวงกลม โดยใช้แม่น้ำเป็นกำแพงธรรมชาติล้อมเมืองหลวงแห่งนี้ รวมทั้งสกัดการฝ่าหนีออกไปปลายเดือนพ.ย ทหารญี่ปุ่นสามกองทัพดาหน้าเข้าหานานกิง ทัพหนึ่งมุ่งตะวันตกทางฝั่งด้านใต้ของแม่น้ำแยงซี ทหารกองนี้เข้ามาทางแม่น้ำไป๋เหมา
ซึ่งอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของเซี่ยงไฮ้ โดยเดินทัพมาทางรถไฟสายนานกิง-เซี่ยงไฮ้ทัพที่สองเตรียมตัวบุกจู่โจมนานกิงทั้งทางน้ำและทางบกอยู่ที่ทะเลสาบอ้ายหู ทัพนี้เคลื่อนจากเซี่ยงไฮ้ลงมาทางตะวันตก และเดินทัพอยู่ทางทิศใต้ของทัพของนาคาจิมา โดยผู้นำทัพนี้คือ พลเอกมัตสึอิ อิวาเนะ
ทัพที่สามภายใต้การนำของพลโทยานากาวา ไฮสุเขะ เดินห่างจากทัพของพลเอกมัตสึอิลงไปทางใต้และหักเลี้ยวเข้าหานานกิงจากทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ราวบ่าย 2 โมงของวันที่ 12 ธ.ค 1937 แม้ทหารของจีนจะต่อต้านจนสุดฤทธิ์ แต่ในเวลาไม่นานนักทหารญี่ปุ่นก็ยึดเมืองนานกิงได้สำเร็จ และต่างบุกทะลวงเข้ามาในเมืองหลวงอย่างไม่ขาดสาย ทหารจีนพยายามสกัดแต่ไม่เป็นผล จนราห้าโมงเย็น นายพล ตัง เชง ไซ นายทหารชั้นสูงที่เป็นคนบังคับบัญชากองพลทหารก๊กมินตั๋งในการต้านทหารญี่ปุ่นก็ได้หนีข้ามแม่น้ำไป
ความสับสนทวีมากขึ้นเมื่อญี่ปุ่นยึดนานกิง ประชาชนนานกิงจำนวนมากยังคงหลบที่ร้านค้าและบริษัทเพื่อทำหน้าที่ปกป้องทรัพย์สินตัวเอง หรือตามคำสั่งของเจ้านาย ทำให้ถนนหนทางแทบจะเป็นถนนร้างเพราะผู้คนพากันหลบหนีไม่ออกมาเดินให้เห็นบนถนน
เวลาเดียวกัน ก็มีผู้อพยพมาจากส่วนนอกตัวเมืองที่ยังละล้าละลัง ซึ่งมีทั้งทหารจีนที่ได้รับบาดเจ็บมากบ้างน้อยบ้าง รวมทั้งคนแก่ และ เด็กๆ ที่ทะลักเช้ามาสู่ตัวเมืองเป็นจำนวนมาก เหตุที่พวกเขาเข้ามาในตัวเมืองกันก็เนื่องจากได้รับข่าวว่าตอนนี้นานกิง เป็นเขตปลอดภัย ตามประกาศของรัฐบาล แต่ภายหลังผู้อพยพเหล่านี้ไม่สามารถหนีออกจากเมืองได้เพราะทหารก๊กมินตั๋งปิดประตูด่านต่างๆ เพื่อสกัดการบุกทหารญี่ปุ่น
ดังนั้น บรรดาทหารที่ได้รับบาดเจ็บ คนแก่ เด็กๆ ทั้งหลายตกอยู่สภาพสิ้นหวัง ช่วยตัวเองไม่ได้ ทางเดียวที่จะพอทำได้ในตอนนี้คือหลบภัยจากญี่ปุ่นภายในบริเวณรอบๆ เท่านั้น “พวกเขาจึงตกเป็นเหยื่อการสังหารโหดของทหารญี่ปุ่นในเวลาต่อมา!”
สถานการณ์ที่คับขันของนานกิงในช่วงเวลาหัวค่ำของวันที่ 12 ธันวาคม 1937 นั้นหฤโหดขึ้นเรื่อย แทนที่จะเป็นการสู้รบระหว่างทหารญี่ปุ่นกับทหารรัฐบาลก๊กมินตั๋งของจีน กลับกลายเป็นการสังหารชาวบ้านนานกิงที่อพยพตามถนนหนทางของญี่ปุ่นแทน
วันที่ 12-13 ธันวาคม 1937 กองทัพญี่ปุ่นสามารถยึดนานกิงได้สมบูรณ์แบบ กองทัพได้ยึดสถานที่สำคัญหลายๆ แห่ง ไม่ว่าสถานที่ราชการ โกดัง ธนาคารพาณิชย์ ฯลฯ เมื่อสำเร็จตามเป้าหมาย กองทัพญี่ปุ่นยิ่งฮึกเหิม และจู่ๆ ก็มีคำสั่งจากเบื้องบนที่น่ากลัวลงมาว่า “สังหารทุกสิ่ง ทุกอย่างที่ขวางหน้า เพื่อองค์จักรพรรดิ” ซึ่งเป็นการรับสั่งโดยตรงของสมเด็จพระจักรพรรดิฮิโรฮิโต
สาเหตุหลักของการสังหารหมู่ชาวนานกิงคือ “เชือดไก่ให้ลิงดู” ญี่ปุ่นต้องการให้หลายๆ เมืองที่ทราบข่าว จะได้หวาดกลัวและไม่กล้าต่อต้าน เพื่อที่จะสามารถยึดจีนได้โดยง่าย ประกอบกับเป็นการตัดปัญหาเรื่องเสบียงอาหาร
ที่จะต้องใช้ดูแลชาวนานกิงที่เป็นเชลยเหล่านี้ จึงเป็นที่มาของการสังหารหมู่ที่โหดเหี้ยมที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์โลก
กลุ่มผู้อพยพจำนวนมากพยายามหนีมายังท่าเรือทหารญี่ปุ่นเมื่อตามมาทันก็รัวปืนกลใส่ไม่ยั้ง บ้างก็ยิงด้วยไรเฟิลและปืนพกโดยไม่เลือกหน้าอย่างบ้าคลั่ง ทุกครั้งที่สิ้นเสียงปืนนานาชนิดจากทหารญี่ปุ่น กลุ่มผู้อพยพร่วงสู่พื้นราวกับใบไม้ร่วงไม่ว่าจะเป็นคนชรา สตรี และเด็กๆ ตลอดจนทหารที่บาดเจ็บต่างล้มขาดใจตายทันที แต่บางรายที่ยังไม่ตายทันทีแต่ก็ส่งเสียงร้องครวญครางลั่นท้องถนน หรือไม่ก็พยายามพาร่างที่โชกเลือดหนีไปตามตรอกซอกซอยเล็กๆ ก่อนที่พวกทหารญี่ปุ่นจะตามมาเพื่อยิงซ้ำหรือไม่ก็ใช้ดาบปลายปืนแทงกระหน่ำราวกับเหยื่อนั้นไม่ใช้คน
การสังหารหมู่ในวันที่ 13 ธ.ค 1937 นั้นเป็นเพียงจุดเริ่มต้น แต่ในวันต่อมานั้นยิ่งโหดเหี้ยมขึ้นเป็นทวีคูณ เมื่อญี่ปุ่นเริ่มนำรถถังมากเข้ามาทั่วนานกิงและเริ่มเกม “ล่า” บรรดาผู้อพยพที่ซ่อนตัวอยู่ตามซอกซอยหรือตามอาคารบ้านเรือน ถูกกระสุนสังหาร หรือไม่ก็ถูกขว้างระเบิดมือเข้าไปในบ้านอย่างต่อเนื่อง ไม่นานนานกิงก็กลายเป็นเมืองแห่งความตาย ซากศพ เลือดมนุษย์นองท่วมเต็มพื้น ถนนทุกสาย รวมทั้งอาคารบ้านเรือนต่างๆ เต็มไปด้วยเลือดของชาวนานกิง ที่กระเซ็นไปทั่ว ราวกับขุมนรก
แต่การสังหารยังไม่เสร็จสิ้น หลังจากฆ่าเหยื่อภายในเมืองแล้ว กองทัพญี่ปุ่นเริ่มเปิดด่านและประตูเมือง จากนั้นจึงพากันออกไปสังหารชาวนานกิงกันนอกเมือง
โดยกระสุนปืนกลและระเบิดมือใส่กลุ่มคนแบบไม่ขาดตอน “ชาวนานกิงบางคนกระโดดลงน้ำที่เชี่ยวกราดเพราะยังดีกว่าโดนกระสุนและระเบิดของฝ่ายญี่ปุ่น บางคนถูกสายน้ำกลืนหายไปต่อหน้าต่อตา ในขณะที่บางคนก็ถูกสายน้ำพัดพาไปไกล
ส่วนผู้อพยพส่วนมากก็ถูกกองทัพญี่ปุ่นผลักดันไปที่ฝั่งแม่น้ำและบังคับให้กระโดดน้ำ และจมน้ำตายในทันที มีศพที่ตายโดยจมน้ำนับหมื่นๆ คน” ชาวบ้านนานกิงที่รอดชีวิตรำลึกความหลัง
