Skip to content
Home » News » คุณูปการต่อศิลปะไทย

คุณูปการต่อศิลปะไทย

คุณูปการต่อศิลปะไทย
https://www.sarakadeelite.com/faces/silpa-bhirasri/

คุณูปการต่อศิลปะไทย เขาถือเป็นบุคคลที่มีใจรักในศิลปะมาตั้งแต่เด็ก เป็นสิ่งทีท่านให้ความสนใจมากกว่าสิ่งอื่นใด ท่านก็สามารถส่งเสียตัวเองจนเรียนจบด้วยเกียรตินิยมอันดับที่ 1 และสามารถสอบเข้าเป็นศาสตราจารย์ได้ตั้งแต่อายุยังน้อย แต่งงานครั้งแรกกับนางพาโอล่า แองเจลินี แต่ก็ได้ขอแยกทางตามคำสั่งศาลในหนึ่งปีให้หลัง

จากนั้นท่านแต่งงานใหม่กับ แฟนนี วิเวียนนี มีบุตรสองคน บุตรสาวชื่อ อิซาเบลลา ส่วนบุตรชายชื่อ โรมาโน (เกิดและเติบโตที่ไทย) เมื่อเข้ารับราชการในประเทศไทยท่านได้รับเงินเดือนที่เพียงพอต่อการเลี้ยงครอบครัวของท่าน เขามีนิสัยรักธรรมชาติ ชอบความเรียบง่ายและหลงรักในวัฒนธรรมไทยเป็นอย่างมาก

มีความตั้งใจจริงที่จะช่วยพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้า ในมุมมองของลูกศิษย์นั้น เขาเป็นคนที่มีความรักใคร่ ห่วงใยละปรารถนาดีต่อลูกศิษย์เป็นอย่างมาก ในเวลาสอนเขาจะจริงจังและเป็นคนที่มีความตรงต่อเวลา สอนด้วยความเข้มงวดและมักจะพร่ำสอนให้นักศึกษาทำงานหนักอยู่เป็นประจำ เพราะงานศิลปะที่ดีนั้นย่อมมาจากการฝึกฝนอย่างหนัก

โดยท่านยังมีความเป็นกันเองกับนักศึกษา มักจะแทนตัวเองว่า “ฉัน” และแทนนักศึกษาว่า “นาย” เมื่อนักศึกษาคนไหนขาดแคลนทุนทรัพย์ท่านก็มักจะช่วยเหลือเสมอ ท่านยังโปรดปรานการฟังเพลงเป็นอย่างมาก โดยเพลงที่ท่านมักจะฮัมเวลาทำงานอยู่บ่อยๆก็คือเพลงซานตาลูเซีย เพลงพื้นเมืองภาษาอิตาลีซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นเพลงประจำมหาวิทยาลัยศิลปากร

ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ยังเป็นคนที่ตั้งใจในการทำงานอย่างแท้จริง ท่านจะมาทำงานตั้งแต่เช้าตรู่ ใช้เวลาพักผ่อนในช่วงกลางวันแค่สั้นๆเพื่อที่จะไม่เป็นการเสียเวลาต่อการทำงาน และจะกลับบ้านก็ต่อเมื่อค่ำแล้วเท่านั้น โดยจะใช้เวลาไปกับการทำงานในห้องทำงาน สอนนักศึกษาและหาความรู้เพิ่มเติมตลอดเวลา

ในภาวะสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านจะพิมพ์คัดลอกเอกสารสำหรับสอนนักศึกษาไว้เพิ่มเติมอีกหนึ่งชุดเสมอเพื่อป้องกันความเสียหายจากระเบิด หลังจากสงครามสิ้นสุดท่านจำต้องขายทั้งรถ บ้านและที่ดินเพื่อแก้ปัญหาวิกฤตการเงินครอบครัว แต่ก็ยังปั่นจักรยานจากบ้านทางถนนสุขุมวิทมาสอนอยู่ทุกวัน

เมื่อจำเป็นต้องเดินทางกลับอิตาลีเพราะวิกฤตทางการเงินแต่ท่านก็ยังห่วงงานที่ประเทศไทยที่ยังคงคั่งค้าง จึงจำเป็นต้องแยกทางกับครอบครัวเพื่อที่จะมาสานต่ออุดมการณ์ของท่านต่อ ในช่วงบั้นปลายแม้จะป่วยหนักแต่เขาก็ยังทำงานของท่านต่อ ท่านยังตรวจข้อสอบของนักศึกษาในขณะที่รักษาตัวที่โรงพยาบาลศิริราช ท่านได้บอกกล่าวกับลูกศิษย์ไว้ว่า “นาย ถ้าฉันตาย นายนึกถึงฉัน นายรักฉัน นายไม่ต้องไปทำอะไร นายทำงาน” ซึ่งเป็นคำสอนที่ลูกศิษย์ยึดถือไว้อีกประโยคหนึ่งเพื่อช่วยสืบต่ออุดมการณ์ของศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ในการพัฒนาวงการศิลปะไทยต่อไปตราบนานเท่านาน

คุณูปการต่อศิลปะไทย

คุณูปการต่อศิลปะไทย ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี มีอุดมการณ์ที่จะต้องการพัฒนาวงการศิลปะไทยให้ก้าวหน้ามากยิ่งขึ้นไปอีก และในยุคที่ศิลปะตะวันตกกำลังรุ่งเรืองในประเทศไทย สิ่งที่ท่านเล็งเห็นก็คือการทำอย่างไรให้คนไทยสามารถสร้างผลงานรูปแบบตะวันตกได้ด้วยตัวเองโดยไม่ต้องว่าจ้างช่างตะวันตก และมีงานศิลปะที่เป็นตัวของตัวเองไม่ลอกเลียนแบบตะวันตกไปเสียหมด

ด้วยแนวคิดนี้จึงเกิดโรงเรียนประณีตศิลปกรรมขึ้นเพื่อเพาะพันธุ์เมล็ดศิลปินที่จะเติบโตไปเป็นช่างแห่งกรุงสยามในภายภาคหน้า อีกสาเหตุหนึ่งที่ท่านตัดสินใจตั้งโรงเรียนขึ้นก็เพราะท่านมองว่าการเปิดโรงเรียนสอนเพื่อผลิตศิลปินนั้นเป็นสิ่งที่มีคุณค่าต่อวงการศิลปะมากกว่าการสร้างสรรค์งานแต่ตัวท่านเพียงลำพัง

นอกจากนี้เขายังได้มีส่วนช่วยในการจัดหาทุนทรัพย์และทุนการศึกษาให้แก่นักศึกษาศิลปะชาวไทยเพื่อรักษาให้ชาติยังคงมีศิลปินหน้าใหม่เกิดขึ้นต่อไป เนื่องจากในยุคข้าวยากหมากแพงนั้นผู้ปกครองแทบทุกคนไม่สนับสนุนให้ลูกของตนเรียนวิชาศิลปะ เขาจึงได้พยายามอย่างสุดความสามารถให้ไทยสามารถมีช่างที่มีฝีมือได้ต่อไป ซึ่งก็ประสบความสำเร็จเพราะบรรดาลูกศิษย์ของท่านเริ่มเป็นที่รู้จักกันในวงกว้าง

จากความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกที่ท่านได้พร่ำสอนให้แก่ลูกศิษย์นี้เองทำให้วงการศิลปะไทยเกิดศิลปินหน้าใหม่ที่มีฝีมือและรูปแบบการสร้างสรรค์ผลงานที่แปลกใหม่ออกมาได้ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ได้รับมอบหมายให้สร้างพระบรมราชานุสาวรีย์และอนุสาวรีย์สำคัญของไทยมากมายหลายแห่ง ซึ่งท่านได้ใช้ความรู้ในด้านศิลปะตะวันตกสร้างงานแต่ก็ยังมิได้ละทิ้งความงามของศิลปะไทยหรือที่เรียกกันว่า ศิลปะแบบไทยประเพณีไป

ทั้งนี้เพราะท่านได้เล็งเห็นว่าศิลปะไทยก็มีความงามและเอกลักษณ์เป็นของตน อีกทั้งช่างไทยยังได้มีการสืบทอดความรู้วิชาในด้านศิลปะไทยมายอย่างยาวนาน การที่จะทำให้วงการศิลปะไทยก้าวหน้าก็ต้องไม่ลืมรากเหง้าเดิมของไทยที่มีมาแต่โบราณ

ท่านจึงได้ทำการศึกษาศิลปะไทยอย่างละเอียดโดยเฉพาะการศึกษาพระพุทธรูปในศิลปะสุโขทัยที่ท่านได้ยกย่องไว้ว่ามีความงดงามเป็นที่สุด ได้มีการศึกษารูปแบบศิลปะของพระพุทธรูปและมีบทความวิชาการตีพิมพ์ออกมามากมาย ก่อนที่จะประสบความสำเร็จในการออกแบบพระพุทธรูปพระศรีศากยะทศพลญาณ ประธานพุทธมณฑลสุทรรศน์ซึ่งถือเป็นจุดสูงสุดของความงามของศิลปะไทย

มีการนำความรู้ใหม่คือศิลปะตะวันตกในลัทธิสัจนิยมที่เชื่อในเรื่องของความสมจริงมาผนวกใช้กับความงามแบบดั้งเดิมของศิลปะสุโขทัย ที่สร้างแบบศิลปะไทยประเพณีจนก่อให้เกิดความงามรูปแบบใหม่ซึ่งถือเป็นจุดเริ่มต้นและเป็นต้นแบบของศิลปะไทยสมัยใหม่อย่างแท้จริง เนื่องจากเขาได้เป็นผู้วางรากฐานให้อย่างมั่นคง จึงส่งผลให้ศิลปินรุ่นหลังสามารถสืบทอดงานศิลปะไทยออกไปได้อย่างเต็มที่

นอกไปจากนั้นแล้วศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี ยังได้เป็นกำลังหลักในการผลักดันให้เกิดการประกวดวาดเส้น จิตรกรรมและประติมากรรม จนเกิดเป็นงานแสดงศิลปกรรมแห่งชาติขึ้น มีจุดประสงค์ให้ศิลปินไทยเกิดการแข่งขันในการสร้างสรรค์ผลงานที่ดีออกสู่สาธารณชนและช่วยให้ศิลปะไทยมีความก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่มีหยุด และเล็งเห็นต่องานช่างและงานศิลปะไทยในสาขาอื่นๆ

จึงได้ส่งเสริมให้มีการก่อตั้งคณะในมหาวิทยาลัยศิลปากรเพิ่มคือคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ซึ่งในระยะแรกเรียกว่าคณะสถาปัตยกรรมไทย คณะโบราณคดี และคณะมัณฑนศิลป์ ด้วยคุณูปการนานัปการนี้ ศาสตราจารย์ศิลป พีระศรี จึงได้รับการยกย่องให้เป็นบิดาแห่งศิลปะร่วมสมัยในประเทศไทยที่ได้พลิกโฉมรูปแบบศิลปะไทยแบบเดิมให้มีความก้าวหน้าไปอย่างสูงทัดเทียมสากล เกิดศิลปินและผู้เชี่ยวชาญจำนวนมากที่สามารถสืบทอดงานศิลปะไทยต่อไปได้นานเท่านาน ไม่เพียงแต่งานด้านจิตรกรรม ประติมากรรมแต่ยังรวมไปถึงงานด้านสถาปัตยกรรม โบราณคดีและประวัติศาสตร์ศิลปะ รวมไปถึงมัณฑนศิลป์อีกด้วย

งานแรกที่เป็น “บททดสอบ” ของโปรเฟสเซอร์หนุ่มคือการปั้นพระรูปพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีแบบเป็นเพียงพระบรมฉายาลักษณ์การปั้นรูปจากรูปถ่ายเป็นงานยากที่จะทำให้ได้สมจริงและผลปรากฏว่าท่าน “สอบไม่ผ่าน”

อาจารย์ศิลป์จึงได้กราบทูลขอคำปรึกษาจากสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ผู้ได้รับเชิดชูว่าเป็น นายช่างใหญ่แห่งกรุงสยาม สมเด็จฯ จึงได้ทรงกรุณาเป็นแบบให้จนฝีมือของอาจารย์ศิลป์เป็นที่ประจักษ์แก่เหล่าข้าราชการ ภายหลังท่านจึงได้เข้าเฝ้าฯ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวและถวายงานปั้นโดยทรงเสด็จมาเป็นแบบด้วยพระองค์เอง

คุณูปการต่อศิลปะไทย
https://www.sarakadeelite.com/faces/silpa-bhirasri/

งานใหญ่ชิ้นแรกก่อนปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง

หลังจากถวายการปั้นพระรูปได้ไม่นาน สยามเกิดการผลัดแผ่นดินใหม่ เมื่อพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 7 ขึ้นเสวยราชย์สมบัติมีพระราชดำริจัดงานฉลองกรุงรัตนโกสินทร์ครบรอบ 150 ปี โดยให้มีการสร้างสะพานพระพุทธยอดฟ้าและทางขึ้นสะพานด้านฝั่งพระนครให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โดยให้สมเด็จฯกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงรับหน้าที่ดูแลการออกแบบก่อสร้างทั้งหมด และอาจารย์ศิลป์รับผิดชอบการปั้นดินและหล่อพระบรมรูป

โปรเจกต์นี้เป็นงานอนุสาวรีย์ขนาดใหญ่ของท่านครั้งแรกในแผ่นดินสยาม แม้เบื้องต้นแบบร่างของท่านถูกวิพากษ์วิจาณ์ให้ต้องแก้ไขตามโบราณราชประเพณีซึ่งค้านกับการทำงานศิลปะอย่างตะวันตกอยู่พอสมควร แต่ในที่สุดท่านก็สามารถปรับงานแบบตะวันตกให้ผสานความเป็นตะวันออกได้จนเป็นที่พอใจทุกฝ่าย จนสามารถเปิดได้ทันงานเฉลิมฉลองพระนคร ซึ่งจัดเมื่อวันที่ 6 เมษายนพ.ศ. 2475 แต่อีกเพียง 2 เดือนต่อมาเกิดการปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์เป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข

คุณูปการต่อศิลปะไทย
https://www.sarakadeelite.com/faces/silpa-bhirasri/

นอกจากการเรียนในห้องเรียน อาจารย์ศิลป์ยังส่งเสริมให้ลูกศิษย์เรียนเพิ่มเติมจากภายนอกไม่ว่าจะเป็นตำราศิลปะจากต่างประเทศที่ท่านสั่งเข้ามา ดูหนังและฟังเพลง เมื่อไรที่มีหนังต่างประเทศดีๆเข้ามาฉายท่านจะแนะนำให้ลูกศิษย์ไปดูและลงท้ายว่า “ใครไม่มีสตางค์มาเอาที่ฉัน”

อนันต์ ปาณินท์ ศิลปินแห่งชาติและลูกศิษย์รุ่นสุดท้ายที่เรียนกับอาจารย์ศิลป์ พีระศรี ครบ 5 ปีการศึกษาก่อนท่านจะสิ้น เคยกล่าวไว้ว่าอาจารย์ศิลป์มักสั่งสอนลูกศิษย์เสมอว่า

“พวกเธอต้องเรียนรู้ความเป็นมนุษย์ก่อน… แล้วจึงเรียนศิลปะ”

ด้วยความมุ่งมั่นและทุ่มเทในการทำงาน ศิลป์ พีระศรี ได้รับการปรับตำแหน่งจากอาจารย์เอกกองสถาปัตยกรรม เป็น ประติมากรชั้นพิเศษซึ่งเป็นตำแหน่งใหม่เทียบเท่าอธิบดีกรมศิลปากรในปี พ.ศ. 2485 โดยการผลักดันของพระยาอนุมานราชธน อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้น

ในปีถัดมาจึงได้มีการยกฐานะโรงเรียนประณีตศิลปกรรมเป็น มหาวิทยาลัยศิลปากร นับเป็นสถาบันศิลปะระดับอุดมศึกษาแห่งแรกของประเทศโดยเปิดสอนเพียงคณะเดียวในขณะนั้นคือ คณะจิตรกรรมและประติมากรรม และก่อตั้งขึ้นในช่วงที่สงครามโลกครั้งที่ 2 กำลังปะทุขึ้นทั่วโลก

ภาวะสงครามกับชื่อ ศิลป์ พีระศรี

ในช่วงปลายสงครามโลกครั้งที่ 2 ประเทศอิตาลีเป็นหนึ่งในกลุ่มอักษะซึ่งอยู่ฝ่ายเดียวกับเยอรมนีและญี่ปุ่น ได้ประกาศยอมแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตร ทำให้ชาวอิตาลีในประเทศไทยถูกญี่ปุ่นที่ยังไม่ยอมแพ้จับเป็นเชลยไม่เว้นแม้แต่อาจารย์ฝรั่งของลูกศิษย์

ทางฝ่ายรัฐบาลไทยได้พยายามหาหนทางช่วยโดยเจรจากับฝ่ายญี่ปุ่นขอให้ทางการไทยเป็นผู้ควบคุมตัว และเพื่อเป็นการตัดปัญหาทั้งหมดทางกรมศิลปากรจึงจัดการให้อาจารย์ฝรั่งโอนสัญชาติมาเป็นไทย และเปลี่ยนชื่อจาก “คอร์ราโด เฟโรจี” เป็น ศิลป์ พีระศรี ในปี พ.ศ. 2487

สภาพเศรษฐกิจหลังสงครามที่ค่าครองชีพสูงขึ้น อาจารย์ศิลป์ตัดสินใจส่งภรรยาและลูกสาวกลับไปอิตาลี และท่านยื่นเรื่องขอปรับเงินเดือนซึ่งได้รับค่าจ้างเดือนละ 800 บาท ค่าเช่าบ้าน 80 บาท นับตั้งแต่ พ.ศ.2466 แต่อัตราใหม่ที่ทางการปรับให้ก็ไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจนทำให้ท่านต้องจากเมืองไทยที่ท่านผูกพันและใช้ชีวิตมาเกือบ 30 ปีกลับไปบ้านเกิดที่อิตาลีในปี พ.ศ. 2492

วันที่ท่านออกเดินทางมีลูกศิษย์ไปส่งคับคั่ง อาจารย์ศิลป์บอกลากับลูกศิษย์ว่า

“ฉันจะไปทำงานปั้นเหรียญ เขาจ้างฉันที่เมืองนอกแล้ว คงต้องไปแล้วเพราะไม่พอใช้ที่เมืองไทย ฉันหวังว่าทุกคนคงได้ใช้วิชาความรู้ที่ได้ให้ไว้แล้วอย่างเต็มที่ ช่วยประเทศชาติของเราได้”

ในปีเดียวกันนั้นเอง กรมศิลปากรโดยพระเจ้าวรวงศ์เธอพระองค์เจ้าภานุพันธุ์ยุคล อธิบดีกรมศิลปากรในขณะนั้นได้ทำเรื่องขอให้ทางรัฐบาลเห็นชอบและอนุมัติปรับอัตราค่าจ้างชาวต่างประเทศใหม่เพื่อให้อาจารย์ศิลป์ได้กลับมาทำงานที่ไทยอีกครั้ง