จุดเริ่มต้นการล้างชาติอาร์เมเนียน การสังหารหมู่ฮามีเดียน(Hamidian massacres) หรือ Great Massacres เกิดขึ้นในปี1894–1896 ในพื้นที่การปกครองของจักรวรรดิออตโตมัน เมื่อเจ้าหน้าที่ทางการออตโตมัน และ พลเรือนชาวเติร์ก ชาวอาหรับ และชาวมุสลิมเชื้อชาติอื่นๆ
ได้พากันโจมตี ทำร้ายร่างกาย ชาวคริสต์ โดยเน้นไปที่ชาวอาร์เมเนียน ชาวกรีก ชาวอัสซีเรียน และ ชาวอัลบาเนียนที่มิใช่มุสลิม เหตุการณ์สังหารหมู่มีสาเหตุการเกิดมาจาก การก่อกำเริบในเมืองซาซูนในปี1894 โดยกองกำลังชาวอาร์เมเนียน ซึ่งก่อกำเริบเพื่อพยายามแยกตัวและก่อตั้ง ประเทศอาร์เมเนีย แต่การก่อกำเริบล้มเหลวในเวลาไม่ถึงปี ออตโตมันกวาดล้างกลุ่มกบฎสำเร็จ และเกิดการกวาดล้างพลเรือน ปล้นสะดม การสังหารที่ผิดกฎหมาย ประมาณ200,000–400,000คนเสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว
ในช่วงการสังหารหมู่เป็นช่วงหลังของมหาวิกฤตตะวันออก(Great Eastern Crisis) ซึ่งเกิดขึ้นระหว่างสันนิบาตบอลข่าน ราชวงศ์ฮับสบูร์ก ราชวงศ์โรมาโนโว กับ ราชวงศ์ออสมานอฟและจักรวรรดิออตโตมันที่ปกครองโดยราชวงศ์ออสมัน ตระกูลสายกลางผู้เป็นญาติกับตระกูลออสมานอฟ ที่เคยปกครองบอสเนียก่อนถูกราชวงศ์ฮับสบูร์กชิงราชบัลลังค์จากวิกฤตบอสเนีย ตั้งแต่ปี1831-1878 การสังหารหมู่ครั้งนั้น จึงไม่ใช่ครั้งแรกของออตโตมัน แต่เป็นครั้งแรกที่มีการตีพิมพ์ลงในสือสิ่งพิมพ์ เพื่อเผยแพร่อาชญกรรมสงครามต่างๆนานาๆ ทั้งจาก รัสเซีย ออตโตมัน หรือ เยอรมัน เป็นต้น

จุดเริ่มต้นการล้างชาติอาร์เมเนียน แม้สื่อยุคนั้นจะเข้าข้างตะวันตก แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่า การสังหารหมู่ครั้งนั้น และก่อนหน้านั้นในบอลข่าน อนาโตเลีย และ คอเคซัสเหนือ มันมีอยู่จริง และมันเป็นพื้นฐานของมหาการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี1914-1921 โดยจักรวรรดิออตโตมันและประชากรชาวเติร์ก ต่อชาวอาร์เมเนียน กรีซ อัสซีเรียนและชนชาติอื่นๆ ที่เป็นคริสต์
น่าเศร้าใจมาก ที่มุสลิมชาวเติร์ก ยังปฏิเสธอาชญกรรมสงครามครั้งนั้น Institute For Research Of Genocide Canada (IGC)ที่ประจำอยู่ในซาราเยโว ประเทศบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา จึงมีหน้าที่ในการชำระคดีอาชญกรรมสงครามของจักรวรรดิออตโตมัน ชาวเติร์ก รัฐบาลอาเซอร์ไบจาน เปอร์เซีย เยอรมัน และ กลุ่มบอลเชวิชของรัสเซีย
ในยุคต้นศตวรรษที่20 และ ศตวรรษที่19 จากการศึกษาและวิจัยค้นพบว่า ราว 50,000คนกลายเป็นเด็กกำพร้า จากการสังหารหมู่ดังกล่าว ปัจจัยจากการสังหารหมู่มาจาก การก่อกำเริบที่ซาซูน แต่การก่อเริบมีปัจจัยมาจากการที่สุลต่านอับดุลฮามีดที่2 ทรงยุบอำนาจปกครองท้องถิ่นของเชื้อชาติต่างๆ และรวมอำนาจเข้าเป็นการปกครองตามนโยบายแพน-อิสลามมิกส์ ซึ่งก็เป็นเหตุให้ยังเติร์กยึดอำนาจในปี1908/1909 แต่สุดท้าย ยังเติร์กเองก็กลายเป็นกลุ่มที่สืบการกระทำอันละเมิดสิทธิมนุษยชนต่อไป
มีหลักฐานยืนยันการตั้งถิ่นฐานของชาวอาร์เมเนียในคาบสมุทรอนาโตเลียตั้งแต่ศตวรรษที่ 6 ก่อนคริสตกาล ราชอาณาจักรอาร์เมเนียรับเอาคริสต์ศาสนามาเป็นศาสนาประจำชาติในคริสต์ศตวรรษที่ 4 แต่แล้วการมาถึงของชาวเติร์กในคริสต์ศตวรรษที่ 11 (เชื่อว่าชาวเผ่าเติร์กมีต้นกำเนิดจากทางเหนือของจีน) ทำให้อาร์เมเนียสิ้นชาติ กลายเป็นประชากรส่วนหนึ่งของออตโตมันเติร์กในเวลาต่อมา
จักรวรรดิไบแซนไทน์ (หรือโรมันตะวันออก) ล่มสลายลงใน ค.ศ.1453 จักรวรรดิออตโตมันเรืองอำนาจยาวนาน 400 กว่าปี ยึดครองดินแดนได้กว้างขวาง 3 ทวีป ตอนขึ้นสู่จุดสูงสุดได้แผ่ขยายอิทธิพลไปจนสุดคาบสมุทรบอลข่านและชายฝั่งทะเลเอเดรียติก ฮังการียังไม่รอด เช่นเดียวกับทุกชาติรอบทะเลดำ ทางทวีปแอฟริกาก็กินพื้นที่ตอนเหนือไล่จากอียิปต์ไปถึงแอลจีเรีย ทางทิศตะวันออกไปสุดที่ทะเลแคสเปียน ได้อิรัก ซีเรีย และบางส่วนของคาบสมุทรอาหรับไปด้วย
ชาวอาร์เมเนียตั้งถิ่นฐานแทรกอยู่ในหมู่ชาวเติร์กและชาวเคิร์ด ก่อนสงครามโลกครั้งที่ 1 ในปี ค.ศ.1914 มีชาวอาร์มีเนียนประมาณ 2.5 ล้านคน ส่วนใหญ่อยู่บนที่ราบสูงอาร์เมเนียในอนาโตเลียตะวันออก และยังกระจายอยู่ทางตอนกลางและตะวันตกของคาบสมุทรด้วย ชาวอาร์มีเนียนราว 2 แสนอยู่ในชุมชนเมือง โดยเฉพาะคอนสแตนติโนเปิล (อิสตันบูลในปัจจุบัน) นอกจากในฝั่งจักรวรรดิออตโตมันแล้วก็ยังอยู่ในจักรวรรดิรัสเซียทางทิศเหนืออีกจำนวนหนึ่ง แต่ไม่ว่าจะอยู่ในเมืองไหนหรือภูมิภาคใด ชาวอาร์มีเนียนไม่ได้เป็นประชากรหลักของพื้นที่นั้นๆ เลย
ออตโตมันเติร์กออกกฎหมายเก็บภาษีพิเศษกับชาวอาร์เมเนียเพื่อสิทธิ์ในการประกอบพิธีทางศาสนา ในส่วนที่อาศัยร่วมกับชาวเคิร์ดก็ถูกเอารัดเอาเปรียบหลายอย่าง โดยเฉพาะเมื่อมีปัญหากระทบกระทั่งก็มักไม่ได้รับความเท่าเทียมจากกระบวนการยุติธรรม ที่ดินถูกแย่งไปโดยชาวเคิร์ด รวมถึงชาวเซอร์คัสเซียนที่อพยพมาจากการสู้รบกับรัสเซีย และยังต้องจ่ายภาษี 2 ต่อ ให้กับทั้งเจ้าของที่ดินชาวเคิร์ดและรัฐบาลออตโตมัน
ช่วงกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาวอาร์เมเนียส่วนใหญ่เป็นชาวไร่ชาวนาที่ค่อนข้างยากจน แต่ก็มีบางส่วนที่เป็นช่างฝีมือ พ่อค้า นายธนาคาร มีฐานะร่ำรวยในเขตเมืองใหญ่ บางคนเป็นข้าราชการระดับสูง พวกเขาถูกมองว่าเป็นคนตระหนี่ โลภมาก และไม่น่าไว้ใจ ชาวเติร์กเชื่อว่าสักวันพวกเขาจะเรียกร้องเอกราช
ก่อนรุ่งสางล้างเผ่าพันธุ์
“สงครามรัสเซีย-ตุรกี ค.ศ.1877-1878” จบลงด้วยชัยชนะของรัสเซีย ออตโตมันเสียไซปรัส บอลข่าน และบางส่วนของเอเชียน้อย ในการประชุมใหญ่เบอร์ลิน ค.ศ.1878 รัฐบาลออตโตมันตกลงจะปฏิรูปและรับประกันความปลอดภัยแก่ชาวอาร์เมเนีย แต่สุดท้ายไม่เกิดขึ้นจริง แถมยังแย่ลงไปกว่าเดิมเมื่อ “อับดุลฮามิดที่ 2” สุลต่านออตโตมันตั้งกองทหารชาวเคิร์ด อนุญาตให้พวกเขาลงมือกับชาวอาร์เมเนียได้โดยไม่มีความผิด ระหว่างปี 1895- 1896 มีชาวอาร์เมเนียถูกฆ่าไปประมาณ 1 แสนคน อีกจำนวนมากถูกบังคับให้เปลี่ยนศาสนา ที่ไม่ยอมก็ต้องอพยพหลบหนี
ระหว่างนี้มีกลุ่มรักชาติอาร์เมเนียเกิดขึ้น ได้จัดตั้งพรรคปฏิวัติขึ้น 2 พรรค ได้แก่ “พรรคระฆัง” และ “พรรคสหพันธรัฐ” (ในปี 1887 และ 1890 ตามลำดับ) มีเป้าหมายให้อาร์เมเนียเป็นรัฐอิสระ แต่ทั้ง 2 พรรคไม่ได้รับการสนับสนุนจากชาวอาร์เมเนียมากนัก โดยเฉพาะทางอนาโตเลียตะวันออก พวกเขาเชื่อและหวังว่าชาติคริสเตียนจากยุโรปจะมีน้ำใจกดดันออตโตมันให้มอบความเมตตาแก่พวกเขา แต่การเคลื่อนไหวของฝ่ายอาร์เมเนียกู้ชาติก็สุมไฟแค้นแก่ออตโตมันเรียบร้อยแล้ว
ค.ศ.1894 กองทัพออตโตมันและชาวเคิร์ดบุกฆ่าชาวอาร์เมเนียในเขตซาซุนไปหลายพันคน เพราะปฏิเสธจ่ายภาษีพิเศษ ตามมาด้วยการสังหารหมู่อีกชุดใหญ่ในฤดูใบไม้ร่วงปีถัดมา เหตุเพราะมีชาวอาร์เมเนียเดินขบวนประท้วงในคอนสแตนติโนเปิล ทำให้ระหว่างปี ค.ศ.1894-1896 มีชาวอาร์เมเนียตายไปมากกว่า 1 แสนคน เรียกกันว่า “การสังหารหมู่ฮามิเดียน” มาจากชื่อองค์สุลต่าน “อับดุลฮามิดที่ 2”
กลุ่มเคลื่อนไหว “ยังเติร์ก” มีอุดมการณ์สร้างชาติที่ต่างไปจากสุลต่านอับดุลฮามิด หมุดหมายอยู่ที่การรวมกลุ่มชนชาติเติร์กเป็นประเทศ เพิ่มมุสลิม ลดคริสเตียน ขณะที่จักรวรรดิออตโตมันนั้นเป็นการรวมกันของคนหลากหลายเชื้อชาติและแผ่ขยายศาสนาอิสลาม
“คณะกรรมการสหภาพและความก้าวหน้า” (Committee of Union and Progress : CUP) ซึ่งเป็นองค์กรของยังเติร์กถูกตั้งขึ้นในปี 1889 พรรคสหพันธรัฐของอาร์เมเนียเข้าเป็นพันธมิตรด้วยในปี 1907 และในปี 1908 กลุ่มยังเติร์กก็ปฏิวัติสำเร็จ สุลต่านถูกบังคับให้นำรัฐธรรมนูญปี 1876 มาบังคับใช้และมีรัฐสภา ชาวอาร์เมเนียและทุกเชื้อชาติในจักรวรรดิต่างยินดีปรีดา แต่เมื่อเวลาผ่านไปกลุ่มยังเติร์กกลับนิยมความรุนแรง ใช้กำลังทางทหารกับกลุ่มชนที่ไม่ใช่ชาวเติร์กมากขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งระแวงว่าชาวอาร์เมเนียจะไปร่วมมือกับพวกต่างชาติ จึงไม่มีการคืนที่ดินให้กับชาวอาร์เมเนีย
ปี 1909 ชาวอาร์เมเนียยังถูกฆ่าไปอีกกว่า 2 หมื่นคน ในการจลาจลที่เมืองอดานาและฮัดจิน แต่กว่าพรรคสหพันธรัฐจะประกาศเลิกเป็นพันธมิตรกับ CUP ก็ปาเข้าไปถึงปี 1912 และได้ขอความช่วยเหลือจากมหาอำนาจยุโรป เดือนกุมภาพันธ์ปี 1914 CUP ยอมให้มีแผนปฏิรูปอาร์เมเนีย (1914 Armenian reforms) แต่ไม่เคยได้ปฏิบัติจริง เพราะสงครามโลกครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในกลางปีนั้น และผู้นำของ CUP ไม่เห็นด้วยกับแผนดังกล่าวอยู่แล้ว เพราะกลัวการแยกประเทศของอาร์เมเนียจะทำได้สำเร็จ จึงนำไปสู่การกำจัดชนิดขุดรากถอนโคนในปีต่อมา นอกจากนี้ความอับอายที่พ่ายแพ้ในสงครามบอลข่าน ครั้งที่ 1 (ปี 1912-1913) ต่อชาติคริสเตียนทำให้สูญเสียดินแดนในบอลข่านเกือบทั้งหมด ก็เป็นเหตุผลสำคัญในการเอาคืนกับชาวอาร์เมเนีย

1ม.ค.1894(วันที่ประมาณการ)