Skip to content
Home » News » ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุ เฉินหลง

ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุ เฉินหลง

ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุ เฉินหลง
https://th.wikipedia.org/wiki/เฉินหลง

ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุ เฉินหลง แรงบันดาลใจ “แรงบันดาลใจของเฉินหลงไม่ใช่บรู๊ซลี” เฉินหลงเคยบอกว่าเขาไม่ต้องการจะเป็นบรู๊ซลีคนที่ 2 แต่เขาต้องการต่างออกไปจากตัวของบรู๊ซลี เฉินหลงจึงผสมผสานงานของเขาให้ออกมาในแบบที่ไม่รุนแรง ซึ่งงานของบรู๊ซลีมักจะเป็นในรูปแบบที่จริงจัง หนักหน่วง ภาพยนตร์ของเฉินหลงเป็นในรูปแบบกังฟูสมัยใหม่ผสมกับความตลก ซึ่งแรงบันดาลใจมาจากดาราตลกเงียบ 3 คน อันได้แก่

  • ชาร์ลี แชปลิน ในส่วนนี้เฉินหลงได้แรงบันดาลใจมากจากการแสดงหน้า ท่าทาง
  • ฮาร์โรลด์ ลอยด์ เฉินหลงได้ไอเดียจากการแสดงฉากหัวเราะในเวลาที่สถานการณ์ขับขัน ตัวอย่างที่เห็นได้ชัด คืองานของเฉินหลงในเรื่อง เอไกหว่า หรือ Project A (เอไกหว่า)(1984) ในฉากตกหอนาฬิกา โดยเหมือนกันทุก ๆ อย่าง ต่างกันที่เฉินหลงเลือกที่จะตกลงมาจากความสูงจริง ๆ แต่ฮาร์โรลด์ ลอยด์ ใช้ความสูงที่ต่างจากเฉินหลง
  • บัสเตอร์ คีตัน เฉินหลงได้ไอเดียของการแสดงตลกหน้าตาย ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดอีกคือ ฉากที่ฝาบ้านในเรื่อง Project A Part II (เอไกหว่า ภาค2)(1987) ตกลงมาใส่ตัวของเฉินหลง แต่เฉินหลงกลับอยู่ในจุดที่ตรงกับประตูของฝาบ้าน จึงทำให้เฉินหลงไม่เป็นอะไร ซึ่งคล้ายกับฉาก Steamboat Bill Jr. (เรือกลไฟวิลลี่)(1928) ของบัสเตอร์ คีตัน

ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุ

ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุ เฉินหลงได้จัดตั้งทีมงานสตั๊นท์ของตนเองโดยใช้ชื่อว่า Jackie Chan Stunt Team (หรืออีกชื่อ Jackie Chan’s Stuntmen Association) ซึ่งเฉินหลงตั้งทีมนี้ในปี 1983 โดยทำงานในการออกแบบท่าทางและสร้างสรรค์ฉากแอ็คชั่นในหนังของเฉินหลง โดยแรกเริ่มมีสมาชิกเพียง 6 คน จากนั้นก็มีคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกในทีมนับสิบกว่า ทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติ ซึ่งทีมของเฉินหลงยังประสานงานร่วมกันกับทีมของ หงจินเป่า และ หยวนเปียว ด้วย โดยใช้ชื่อว่า Hung Ga Ban และ Yuen Ga Ban ตามลำดับ

การเกิดอุบัติเหตุก็ดูว่าจะเป็นของคู่กันกับการแสดงฉากเสี่ยงตายของเฉินหลง ซึ่งบาดแผลจากอุบัติเหตุของเฉินหลงนั้นมีมากมายจนนับไม่ถ้วน แต่ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดก็คือในหนังเรื่อง Armour of God (1987) : ใหญ่สั่งมาเกิด โดยในฉากแรกของหนังที่เฉินหลงจะต้องกระโดดจากตึกแล้วมาเกาะต้นไม้

แต่ในการถ่ายทำครั้งแรกเฉินหลงรู้สึกไม่ดีพอเลยต้องการถ่ายใหม่ แต่การถ่ายครั้งที่สองต้นไม้ที่เฉินหลงเกาะนั้นเกิดหัก ทำให้เฉินหลงตกลงมาในความสูงที่พอสมควร ผลก็คือ กะโหลกศีรษะของเฉินหลงร้าว ทำให้ต้องมีการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แต่ในที่สุดเฉินหลงก็รอดมาได้ ทว่าหูของเขาได้รับความกระทบกระเทือนพอสมควร จึงทำให้ประสิทธิภาพในการได้ยินลดลง

เฉินหลงได้จัดตั้งทีมงานสตั๊นท์ของตนเองโดยใช้ชื่อว่า Jackie Chan Stunt Team (หรืออีกชื่อ Jackie Chan’s Stuntmen Association) ซึ่งเฉินหลงตั้งทีมนี้ในปี 1983

โดยทำงานในการออกแบบท่าทางและสร้างสรรค์ฉากแอ็คชั่นในหนังของเฉินหลง โดยแรกเริ่มมีสมาชิกเพียง 6 คน จากนั้นก็มีคนที่เข้ามาเป็นสมาชิกในทีมนับสิบกว่า ทั้งชาวจีนและชาวต่างชาติ ซึ่งทีมของเฉินหลงยังประสานงานร่วมกันกับทีมของ หงจินเป่า และ หยวนเปียว ด้วย โดยใช้ชื่อว่า Hung Ga Ban และ Yuen Ga Ban ตามลำดับการเกิดอุบัติเหตุก็ดูว่าจะเป็นของคู่กันกับการแสดงฉากเสี่ยงตายของเฉินหลง

ฉากเสี่ยงตายและอุบัติเหตุ บาดแผลของเฉินหลง

ซึ่งบาดแผลจากอุบัติเหตุของเฉินหลงนั้นมีมากมายจนนับไม่ถ้วน แต่ครั้งที่ร้ายแรงที่สุดก็คือในหนังเรื่อง Armour of God (1987) : ใหญ่สั่งมาเกิด โดยในฉากแรกของหนังที่เฉินหลงจะต้องกระโดดจากตึกแล้วมาเกาะต้นไม้ แต่ในการถ่ายทำครั้งแรกเฉินหลงรู้สึกไม่ดีพอเลยต้องการถ่ายใหม่ แต่การถ่ายครั้งที่สองต้นไม้ที่เฉินหลงเกาะนั้นเกิดหัก

ทำให้เฉินหลงตกลงมาในความสูงที่พอสมควร ผลก็คือ กะโหลกศีรษะของเฉินหลงร้าว ทำให้ต้องมีการผ่าตัดอย่างเร่งด่วน แต่ในที่สุดเฉินหลงก็รอดมาได้ ทว่าหูของเขาได้รับความกระทบกระเทือนพอสมควร จึงทำให้ประสิทธิภาพในการได้ยินลดลงในการถ่ายทำหนังเฉินหลงผ่านการบาดเจ็บมามากมายนับครั้งไม่ถ้วน ได้แก่

  • ศีรษะ – สมองได้รับความกระทบกระเทือนจากหนังเรื่อง Armour of God, ได้รับความกระทบกระเทือนจนหมดสติใน Hand of Death
  • หู – ในอุบัติเหตุครั้งเดิมใน Armour of God หูข้างซ้ายของเฉินหลง มีประสิทธิภาพทางการได้ยินน้อยลง
  • ตา – หางคิ้วบาดเจ็บ และเกือบตาบอดใน Drunken Master
  • จมูก – จมูกใหญ่ๆ ของเฉินหลงเคยหักมาสองครั้ง ใน The Young MasterProject A และเกือบๆ หักใน Mr. Nice Guy
  • แก้ม – กระดูกแก้มเคลื่อนใน Police Story 3
  • ฟัน – ฟันหักไปหนึ่งซี่ โดยการแตะของ Hwang Jang Lee ใน Snake in the Eagle’s Shadow
  • คาง – ใน Dragon Lord ที่เฉินหลงกำกับเอง เขาบาดเจ็บคางจนเจ็บแม้กระทั่งเวลาพูด ซึ่งทำให้เกิดปัญหาเวลาต้องกำกับหนัง ส่วนการแสดงไม่สามารถทำได้เลย
  • ช่องคอ – จากการเกิดอุบัติเหตุในการถ่ายทำเรื่อง The Young Master
  • คอ – เกิดขึ้นบ่อยครั้ง ครั้งที่หนักที่สุดก็คือฉาก “หอนาฬิกา” ใน Project A และจากการถ่ายฉากตีลังกาใน Mr. Nice Guy
  • ไหล่ – เจ็บไหล่จาก City Hunter
  • มือ – จาก The Protector ที่เฉินหลงเจ็บมือ และกระดูกนิ้วร้าว
  • แขน – ในเรื่อง Snake in the Eagle’s Shadow เฉินหลงต้องถ่ายทำฉากการต่อสู้โดยใช้ดาบ เกิดอุบัติเหตุจนดาบไปเฉือนเนื้อของเขาเข้าจริงๆ จนเลือดพุ่งออกมา แต่กล้องก็ยังถ่ายต่อไป ทำให้อุบัติเหตุนี้ปรากฏอยู่ในฉากนั้นด้วย อีกเรื่องคือ “The Accidental Spy” ในฉากสุกท้ายที่เฉินหลงต้องกระโดดออกจากรถบรรทุกที่ต้องเกาะตาข่าย ที่ข้างทางถึงแม้จะมี Sling แต่ นั่นก้อยังทำให้เฉินหลงแขนหักอยู่ดี
  • หน้าอก – ฉากที่เฉินหลงต้องถูกห้อยด้วยโซ่ใน Armour of God II: Operation Condor ทำให้กระดูกหน้าอกเคลื่อน
  • หลัง – เกิดขึ้นบ่อยๆ ในหนังของเฉินหลง โดยเฉพาะใน Police Story ในฉากที่เฉินหลงสไลด์ตัวลงมาจากเสา เกือบทำให้เขาเป็นอัมพาต เพราะกระดูกสันหลังเกือบหัก
  • กระดูกเชิงกราน – ในฉากเดียวกันกับด้านบน กระดูกเชิงกรานของเฉินหลงเคลื่อน
  • ขา – ขาหักใน Crime Story จากอุบัติเหตุจากรถ
  • เข่า – เข่าก็เป็นอีกส่วนที่หักเป็นประจำ ครั้งที่รุนแรงที่สุดคือฉากสเก็ตบอร์ดใน City Hunter
  • เท้า – เฉินหลงเท้าหักในฉากที่ต้องกระโดดลงไปใน hovercraft ในภาพยนตร์เรื่อง Ruตmble in the Bronx หลังจากไปเข้าเฝือก เฉินหลงก็กลับไปแสดงทั้งๆ ที่ยังใส่เฝือกที่ขาอยู่

วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1983 วันที่ประมาณการ