Skip to content
Home » News » ทักษิณดำรงตำแหน่งนายก

ทักษิณดำรงตำแหน่งนายก

ทักษิณดำรงตำแหน่งนายก เมื่อทักษิณเข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในวันที่ 9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 ขณะนั้นเศรษฐกิจของประเทศไทยอยู่ในภาวะหดตัว ทักษิณตระหนักว่ากลุ่มผู้เดือดร้อนจากวิกฤตการณ์ต้มยำกุ้งนั้นล้วนเป็นกลุ่มผู้มีอันจะกิน ในขณะที่ชนชั้นเกษตรกรซึ่งเป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศไม่ได้รับผลกระทบมากนัก เขาจึงเริ่มดำเนินนโยบายพื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศจากฐานล่างขึ้นบนว่า “จากรากหญ้าสู่รากแก้ว” นโยบายแรกที่ทักษิณได้ทำคือ “หนึ่งตำบล หนึ่งผลิตภัณฑ์” ต่อมามีการจัดตั้งกองทุนหมู่บ้าน หมู่บ้านละหนึ่งล้านบาทเพื่อปล่อยกู้ให้แก่คนในชุมชนในอัตราดอกเบี้ยต่ำเพื่อนำไปสร้างอาชีพ มีการพักชำระหนี้เกษตรกรสามปี

ทักษิณดำรงตำแหน่งนายก นายกรัฐมนตรีวาระแรก (พ.ศ. 2544-48)

นโยบายด้านสุขภาพ จากการสำรวจพบว่าประเทศไทยขณะนั้นมีคนจนถึง 10 ล้านคนที่ไม่สามารถซื้อประกันสุขภาพ ทักษิณได้รับเอาแนวคิดของนายแพทย์สงวนท นิตยารัมภ์พงศ์ที่จะจัดตั้งระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้า และสามารถผลักดันแผนดังกล่าวเกิดเป็นโครงการ  “30บาทรักษาทุกโรค”

การแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

  • ในปี 2545 แปรรูปการท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย (ทอท.) เป็นบริษัท ท่าอากาศยานไทย จำกัด (มหาชน)
  • ในปี 2546 แปรรูปการสื่อสารแห่งประเทศไทย (ก.ส.ท.) เป็นสองบริษัทคือบริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (CAT) และบริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด
  • ในปี 2546 แปรรูปองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย (ทศท.) เป็น บริษัท ทศท คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน)
  • ในปี 2547 แปรรูปองค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อสมท.) เป็นบริษัท อสมท จำกัด (มหาชน)

ในปี 2544 ทักษิณได้สั่งการแก้ปัญหาภาวะขาดทุนของบางจากปิโตรเลียม โดยแปรรูปบริษัทบางจากให้พ้นจากการเป็นรัฐวิสาหกิจและไปเป็นบริษัทลูกของปตท.แทน ทักษิณยังมีความพยายามแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเข้าตลาดหลักทรัพย์ แต่ถูกระงับแผนไว้จากคำสั่งศาลปกครอง

  • ก่อสร้างท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • เหตุจลาจลในพนมเปญ
  • การปลดหนี้ไอเอ็มเอฟ
  • หวยบนดิน
ทักษิณดำรงตำแหน่งนายก
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/89903

การดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีวาระที่สอง (พ.ศ. 2548-49)

ทักษิณ เข้ารับตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง จากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2548 ด้วยคะแนนเสียงอันเป็นประวัติศาสตร์กว่า 19 ล้านเสียง โดยได้ตำแหน่ง ส.ส.ในสภา จำนวน 376 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นคู่แข่งสำคัญ กลับได้เพียง 96 ที่นั่ง โดยคะแนนเสียงหลักของพรรคไทยรักไทยมาจากภาคเหนือภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และกรุงเทพมหานคร โดยในกรุงเทพมหานคร พรรคไทยรักไทยได้ถึง 32 ที่นั่ง จาก 37 เขตเลือกตั้ง จากนโยบายเมกะโปรเจกต์ สร้างรถไฟฟ้า 7 สาย และการช่วยเหลือผู้ประสบภัยสึนามิ

รัฐบาลทักษิณออกแบบนโยบายเพื่อตอบสนองผู้ออกเสียงลงคะแนนฝ่ายข้างมากในชนบท ริเริ่มโครงการอย่างกองทุนพัฒนาไมโครเครดิตที่หมู่บ้านเป็นผู้จัดการ เงินกู้ยืมการเกษตรดอกเบี้ยต่ำ การอัดฉีดเงินสดเข้ากองทุนพัฒนาหมู่บ้านโดยตรง (แผนเอสเอ็มแอล) การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (โอทอป) โครงการพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมชนบท

ทักษิโณมิค นโยบายเศรษฐกิจของทักษิณ ช่วยเร่งการฟื้นฟูเศรษฐกิจไทยจากวิกฤตการณ์ทางการเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 และลดความยากจน จีดีพีเติบโตจาก 4.9 ล้านล้านบาทเมื่อปลายปี 2544 เป็น 7.1 ล้านล้านบาทเมื่อปลายปี 2549 ประเทศไทยจ่ายหนี้ของกองทุนการเงินระหว่างประเทศก่อนกำหนดสองปี ระหว่างปี 2543 ถึง 2547 รายได้ของภาคอีสานซึ่งเป็นภาคที่ยากจนที่สุดในประเทศเพิ่มขึ้น 40% และอัตราความยากจนทั่วประเทศลดลงจาก 21.3% เหลือ 11.3%ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยมีการซื้อขายเหนือตลาดอื่นในภูมิภาค หลังขาดดุลการคลังในปี 2544 และ 2545 ทักษิณได้ปรับดุลงบประมาณของชาติ ซึ่งทำให้มีงบประมาณส่วนเกินเหลือไว้สำหรับปี 2546 ถึง 2548 แม้ว่ามีโครงการการลงทุนสาธารณูปโภคขนาดใหญ่ แต่มีการกำหนดงบประมาณสมดุลสำหรับปี 2550หนี้สาธารณะของไทยลดลงจาก 57% ของจีดีพีเมื่อเดือนมกราคม 2544 เหลือ 41% ของจีดีพีในเดือนกันยายน 2549 เงินทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นจาก 30,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2544 เป็น 64,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐในปี 2549

นักวิจารณ์อ้างว่าทักษิโณมิคไม่ได้มากไปกว่านโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจแบบเคนส์ซึ่งนำมาทำใหม่เท่านั้น นักเศรษฐศาสตร์จากสถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทยแย้งว่าปัจจัยอื่น อย่างเช่นการฟื้นตัวของความต้องการการส่งออก เป็นปัจจัยหลักเบื้องหลังการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ส่วนคนอื่นอ้างว่านโยบายดังกล่าวทำให้คนยากจนในชนบท “ยึดติดกับการแจกเงินของทักษิณ

ผลงานที่โดดเด่น

นโยบายการขยายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การลดความยากจนและลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการประกาศสงครามยาเสพติด ซึ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท ดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยแรกจนครบวาระสี่ปี ผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปปี 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์

จากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ.2540 ทำให้ประเทศไทยจำเป็นต้องกู้เงินจากกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) เพื่อมาประคองเศรษฐกิจของประเทศ ประเทศไทยไม่สามารถดำเนินนโยบายเศรษฐกิจได้อย่างเสรี จำยอมต้องดำเนินนโยบายการเงินและคลังตามเงื่อนไขที่เข้มงวดของไอเอ็มเอฟ  แม้ทักษิณจะได้รับคำทัดทานว่าอาจจะทำให้ประเทศขาดสภาพคล่อง แต่ก็เร่งรัดให้มีการใช้หนี้ไอเอ็มเอฟก่อนกำหนด

การชำระหนี้ดังกล่าวเป็นการชำระก่อนกำหนดถึงสองปี การพ้นพันธะจากไอเอ็มเอฟทำให้รัฐบาลสามารถแก้ไขกฎหมายฟื้นฟูเศรษฐกิจ 11 ฉบับ และไม่ต้องเพิ่มภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นร้อยละ 10 นักลงทุนเกิดความเชื่อมั่นในเศรษฐกิจไทย ส่งผลให้มีกระแสเงินเข้ามาลงทุนในภาคเศรษฐกิจของไทยมากขึ้น