Skip to content
Home » News » ทักษิณ เข้าสู่การเมือง

ทักษิณ เข้าสู่การเมือง

ทักษิณ เข้าสู่การเมือง ทักษิณ ชินวัตร (เกิด 26 กรกฎาคม 2492) หรือชื่อในสื่อสังคมออนไลน์คือ โทนี่ วูดซัม ( Tony Woodsome) เป็นนักธุรกิจและนักการเมืองชาวไทยและ เข้าสู่การเมือง เป็นนายกรัฐมนตรีไทยคนที่ 23 ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ปี 2544 ถึง 2549 เขาดำเนินธุรกิจโทรคมนาคมและการสื่อสาร ผู้ก่อตั้งกลุ่มบริษัท ชิน คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) อดีตเจ้าของและประธานสโมสรฟุตบอลแมนเชสเตอร์ซิตี มีสัญชาติไทยโดยการเกิด ปัจจุบันอาศัยอยู่นอกประเทศและถือสัญชาติมอนเตเนโกร

ทักษิณ เข้าสู่การเมือง ในระหว่างที่ “ ทักษิณ” ป็นนักเรียนเตรียมทหาร พ่อของเขา มักจะพาไปสัมผัสบรรยากาศการประชุมพรรคและการประชุมสภาฯอยู่เสมอ  โดย “ทักษิณ” สอบติดนักเรียนเตรียมทหารรุ่นที่ 10 รุ่นเดียวกับบุคคลสำคัญๆหลายคน เช่น พล.อ.อนุพงษ์ เผ่าจินดา รมว.มหาดไทย และ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต อดีตรมว.กลาโหม ในสมัยเป็นนักเรียนเตรียมทหารเพื่อนๆมักจะเรียกเขาว่า “แม้ว” เนื่องจากเพื่อนไม่รู้จักชื่อเล่น แต่จริงๆแล้วชื่อเล่นของทักษิณ คือ “น้อย”

หลังจากจบจากโรงเรียนเตรียมทหารในปี 2512 ได้เลือกศึกษาต่อในเหล่าตำรวจ เป็นนักเรียนนายร้อยตำรวจรุ่นที่ 26 และ สำเร็จการศึกษาในปี 2516 จากนั้นจึงเข้ารับราชการตำรวจ และได้ทุนไปเรียนอยู่ต่างประเทศด้วย

ในปี 2517 ได้แต่งงานกับคุณหญิง พจมาน ณ ป้อมเพชร และรับราชการตำรวจจนถึงปี 2527 จึงหันเหชีวิตเข้าสู่วงการธุรกิจอย่างเต็มตัว สำหรับวิธีการคิดแบบนักธุรกิจ แบบกล้าได้กล้าเสีย กล้าตัดสินใจทันที พร้อมที่จะเผชิญการเปลี่ยนแปลง ซึ่งได้รับการฝึกฝนและซึมซับมาแต่วัยเยาว์จากผู้เป็นพ่อจึงได้ถูกนำมาใช้อย่างเต็มที่ โดยได้เริ่มธุรกิจแรก คือ การจัดตั้ง “ห้างหุ้นส่วนจำกัด ไอซีเอสไอ”

 2537 ทักษิณเข้าสู่วงการเมืองสังกัดพรรคพลังธรรม โดยการชักนำของพลตรี จำลอง ศรีเมือง ต่อมาก่อตั้งพรรคไทยรักไทย ในปี 2541 หลังการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเป็นการทั่วไปปี 2544 พรรคไทยรักไทยได้รับเสียงข้างมากในสภา จึงดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเป็นสมัยแรก นโยบายเด่นของเขา ได้แก่ การขยายหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า การลดความยากจนและลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน การส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และการประกาศสงครามยาเสพติด

ซึ่งได้รับความนิยมอย่างล้นหลามโดยเฉพาะอย่างยิ่งในชนบท เขาดำรงตำแหน่งสมัยแรกจนครบวาระสี่ปี ผลการเลือกตั้งเป็นการทั่วไปปี 2548 ทำให้ทักษิณดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีสมัยที่สอง ด้วยคะแนนเสียงสูงที่สุดเป็นประวัติการณ์ รัฐบาลทักษิณถูกกล่าวหาหลายอย่าง เช่น ละเมิดสิทธิมนุษยชน ฉ้อราษฎร์บังหลวง เป็นเผด็จการรัฐสภา มีผลประโยชน์ทับซ้อน และควบคุมสื่อ ส่วนข้อกล่าวหาของตัวทักษิณเอง ก็มีว่าเลี่ยงภาษี หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ตลอดจนขายทรัพย์สินของบริษัทไทยให้นักลงทุนต่างชาติ กรณีขายหุ้นชินคอร์ปเป็นชนวนเหตุให้เกิดการประท้วงใหญ่โดยพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในปี 2549

วันที่ 19 กันยายน 2549 คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ก่อรัฐประหารล้มรัฐบาลทักษิณ ทำให้ทักษิณพ้นจากตำแหน่ง คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ (คตส.) ที่ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งชาติ (คมช.) คณะรัฐประหารซึ่งแปรสภาพมาจาก คปค. เป็นผู้แต่งตั้ง ทำการอายัดทรัพย์ของทักษิณและครอบครัวในประเทศไทยรวม 76,000 ล้านบาท โดยอ้างว่าเขาร่ำรวยผิดปกติขณะอยู่ในตำแหน่งทักษิณเคยเดินทางกลับประเทศไทยครั้งหนึ่งเมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2551 หลังพรรคพลังประชาชนชนะการเลือกตั้ง แต่หลังจากนั้นอาศัยอยู่ต่างประเทศโดยตลอด เขาถูกตัดสินจำคุก 2 ปีในคดีที่ดินรัชดาฯ ทักษิณเป็นผู้สนับสนุนแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ในปี 2552 รัฐบาลอภิสิทธิ์เพิกถอนหนังสือเดินทางของทักษิณ วันที่ 26 กุมภาพันธ์ 2553 ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองพิพากษาให้ทรัพย์สินของทักษิณประมาณ 46,000 ล้านบาทตกเป็นของแผ่นดิน ทักษิณถูกถอดยศพันตำรวจโทเมื่อวันที่ 5 กันยายน 2558

ทักษิณ เข้าสู่การเมือง
https://www.pptvhd36.com/news/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%94%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%99/89903

ในช่วงที่เขาเป็นนักธุรกิจ ได้รู้จักกับ “พล.ต.จำลอง ศรีเมือง” อดีตหัวหน้าพรรคพลังธรรม และแกนนำกลุ่มพันธมิตรฯ โดยตัวเขามักจะพูดคุยเสวนาเรื่องสถานการณ์บ้านเมืองกับพล.ต.จำลอง อยู่บ่อยครั้ง จนพล.ต.จำลอง ลองเอ่ยปากชวนลงสนามการเมือง แต่ยังปฏิเสธเพราะคุณหญิงพจมาน ไม่เห็นด้วย จนเวลาล่วงเลยมาสักระยะ พล.ต.จำลอง กลับไปชวนมาเล่นการเมืองอีกครั้งคราวนี้เขาจึงตอบตกลง

โดยครั้งแรกสนามการเมืองเขามาดำรงตำแหน่งรมว. ต่างประเทศ เมื่อวันที่ 2 พ.ย. 2537 ในสมัยรัฐบาลของนายชวน หลีกภัย สมัยนั้น เป็นที่ฮือฮาในแวดวงทางการเมืองเป็นอย่างมาก ทุกสายตาต้องจับจ้องมาที่เขาเพราะเป็นนักธุรกิจแนวคิดใหม่ไฟแรง แต่ก็ทำงานในตำแหน่งนี้ได้เพียง 101 วัน ก็ต้องลาออกจากตำแหน่งก่อนเนื่องจากรัฐธรรมนูญขณะนั้น ระบุว่ารัฐมนตรีต้องไม่มีกิจการสัมปทานกับรัฐ จากนั้นเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2538 ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคพลังธรรม และลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส. เขต 2 กรุงเทพมหานคร และผ่านการเลือกตั้งในวันที่ 2 ก.ค. 2538 โดยมีคะแนนเสียงเป็นลำดับที่ 1 ในเขตดังกล่าว ซึ่งในครั้งนั้นพรรคพลังธรรมได้เก้าอี้ ส.ส.ในสภาฯจำนวน 23 ที่นั่ง ทักษิณ จึงได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี โดยรับผิดชอบงานด้านการจราจรและระบบขนส่งมวลชนในสมัยรัฐบาลของ นายบรรหาร ศิลปอาชา แต่ความขัดแย้งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล และ ขัดแย้งภายในพรรคพลังธรรม ทำให้ ทักษิณ ตัดสินใจลาออกจากการร่วมรัฐบาล และลาออกจากพรรคพลังธรรมด้วย

ในปี2541 หลังจากที่ได้ลาออกจากพรรคพลังธรรม เขาได้ก่อตั้งพรรคไทยรักไทยขึ้น โดยมีคำขวัญของพรรคที่ได้รับความสนใจจากประชาชนคือ “คิดใหม่ ทำใหม่ เพื่อไทยทุกคน”