Skip to content
Home » News » ธนาธร เข้าสู่การเมือง

ธนาธร เข้าสู่การเมือง

ธนาธร เข้าสู่การเมือง ภายหลังเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่อย่างเป็นทางการเมื่อ 15 มี.ค. นายธนาธรเปิดอนาคตตัวเองว่าเตรียมวางมือจากธุรกิจชิ้นส่วนยานยนต์ที่ร่วมบริหารมา 17 ปี แล้วเข้าสู่การการเมืองอย่างเต็มตัวทันทีที่มีพระราชกฤษฎีกา (พ.ร.ฎ.) กำหนดวันเลือกตั้งทั่วไป โดยทุนที่ใช้ขับเคลื่อนพรรค จะไม่ใช้เงินของตระกูล “จึงรุ่งเรืองกิจ”

เพราะไม่ต้องการให้เกิดภาพลักษณ์ “พรรคนายทุน” แต่ตั้งเป้าระดมทุนจากสมาชิกพรรคและประชาชนให้ได้ 350 ล้านบาท เพื่อสู้ศึกเลือกตั้งที่จะมาถึงนี้ จึงจัดกิจกรรม “ธนาธรออนทัวร์” ไปพบปะประชาชนตามจังหวัดต่าง ๆ

ส่วนอนาคตของอาณาจักรไทยซัมมิท จะผ่องถ่ายไปอยู่ในความดูแลของพี่น้อง เพื่อแยกภาพการเมืองกับภาพธุรกิจออกจากกันให้ชัดเจน

“เราก็เตรียมจัดทัพครอบครัวหลังจากนายธนาธรลาออก จากนั้นจะให้น้องชายคนกลาง (นายสกุลธร) เข้ามาทำหน้าที่รับไม้ต่อ คาดว่าทุกอย่างจะเป็นช่วงปลายปีนี้”น.ส.ชนาพรรณ จึงรุ่งเรืองกิจ รองประธานกรรมการบริษัทไทยซัมมิท โอโต พาร์ท อินดัสตรี จำกัด พี่สาวของนายธนาธร กล่าวกับประชาชาติธุรกิจในวันเปิดตัวพรรคอนาคตใหม่

ธนาธร เข้าสู่การเมือง
https://www.the101.world/thanathorn-interview/

ธนาธร เข้าสู่การเมือง ในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2561 เขาลาออกอย่างเป็นทางการเพื่อทำงานทางการเมืองภายใต้บทบาทหัวหน้าพรรคอนาคตใหม่ ซึ่งเขาเคยให้สัมภาษณ์ว่า จะยึดมั่นงานการเมืองอย่างเดียวนับจากนี้ และจะไม่กลับไปทำธุรกิจอีก

วันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ และ รศ. ปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และผู้สนับสนุนจำนวน 24 คน ได้ยื่นขอจดทะเบียนพรรคการเมืองภายใต้ชื่อ พรรคอนาคตใหม่ ต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ต่อมา เขาได้รับมติเห็นชอบ 473 เสียงจากที่ประชุมใหญ่ผู้จดจัดตั้งพรรค เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคคนแรก เขาประกาศเจตนารมณ์ของพรรคในการยุติระบอบรัฐประหาร กลับคืนสู่ระบอบรัฐสภา สร้างประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชนให้มั่นคงในสังคมไทย กระจายอำนาจ รวมทั้งร่างรัฐธรรมนูญขึ้นใหม่โดยประชาชนต้องมีส่วนร่วม

ในการเลือกตั้งทั่วไปปี 2562 พรรคอนาคตใหม่ชนะการเลือกตั้งใน 30 เขต และได้รับคะแนนมหาชนมากเป็นอันดับสาม รองจากพรรคพลังประชารัฐและพรรคเพื่อไทย และยังเป็นพรรคที่ได้คะแนนเสียงมหาชนในกรุงเทพมหานครมากที่สุดหลังการเลือกตั้ง พรรคอนาคตใหม่และพันธมิตรทางการเมือง รวมทั้งพรรคเพื่อไทย แถลงร่วมกันจัดตั้งรัฐบาล ธนาธรได้รับข้อเสนอตำแหน่งนายกรัฐมนตรีเพื่อแลกกับการเป็นพรรคร่วมรัฐบาล แต่ธนาธรปฏิเสธ

ธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจและปิยบุตร แสงกนกกุล พร้อมทั้งผู้ร่วมจดจัดตั้งอีก 24 คน ยื่นจดแจ้งชื่อจัดตั้งพรรคต่อคณะกรรมการการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2561 ในการประชุมใหญ่ของพรรคเมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561 ธนาธรได้รับเลือกเป็นหัวหน้าพรรคคนแรก และปิยบุตรได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรคคนแรกพรรคอนาคตใหม่ได้รับการรับรองจากคณะกรรมการการเลือกตั้งให้มีสถานะเป็นพรรคการเมืองอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2561

ช่วงที่เพิ่งก่อตั้งพรรคอนาคตใหม่นั้น ได้เกิดความขัดแย้งภายในพรรค 2 กรณี คือ กรณีกลุ่มเครือข่ายคนรุ่นใหม่ตัดขาดกับพรรคหลังถูกผู้บริหารสั่งให้ยุติการดำเนินกิจกรรมเนื่องจากพบความไม่โปร่งใส และกรณีผู้สมัครรับเลือกตั้งฝั่งธนบุรีไม่พอใจกับกระบวนการสรรหาผู้สมัครที่นำกลุ่มคนที่ใกล้ชิดกับผู้บริหารพรรคมาลงสมัคร

นโยบายของพรรคอนาคตใหม่ ได้แก่นโยบายฐานราก

  1. การกระจายอำนาจ
  2. รัฐสวัสดิการ
  3. ลงทุนการศึกษา

นโยบายเสาหลัก

  1. การต่อต้านการผูกขาด
  2. พัฒนาการขนส่งสาธารณะ
  3. การส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตร การแก้ปัญหาเอกสารสิทธิ์ที่ดิน และการพักหนี้เกษตรกร
  4. ส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล
  5. ส่งเสริมการปกครองแบบโปร่งใส
  6. ยอมรับความหลากหลาย
  7. การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
  8. การเลิกการเกณฑ์ทหาร และการปฏิรูปกองทัพ

สุดท้าย

  1. การล้างมรดกรัฐประหาร
https://mgronline.com/south/detail/9620000009316

พรรคอนาคตใหม่มีจุดยืนต่อต้านรัฐประหารเช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย แต่ฐานเสียงของพรรคอนาคตใหม่จะเป็นกลุ่มที่อยู่นอกเหนือความขัดแย้งทางการเมืองในพุทธทศวรรษ 2540 และมองว่าชนชั้นนำหลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เป็นแอกของคนรุ่นใหม่ อีกทั้งพรรคอนาคตใหม่ยังมีภาพลักษณ์เป็นหน้าใหม่ในการเมืองไทย มีลักษณะประชากรส่วนใหญ่เป็นชนชั้นกลางที่อาศัยอยู่ในเมือง นักศึกษา ผู้เบื่อหน่ายต่อความขัดแย้ง