Skip to content
Home » News » นายกฯ’ ขอบคุณ ‘โจ ไบเดน’ บริจาควัคซีน

นายกฯ’ ขอบคุณ ‘โจ ไบเดน’ บริจาควัคซีน

นายกฯ’ ขอบคุณ ‘โจ ไบเดน’ บริจาควัคซีน  “ทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ” ประจำยูเอ็น เข้าพบ “ประยุทธ์” ขอบคุณ “โจ ไบเดน” บริจาค วัคซีน “สหรัฐฯ” จ่อมอบอีก1ล้านโดส เร็วๆนี้ เห็นพ้องช่วยเหลือ ด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา ไทย พร้อมช่วยผู้หนีภัย

ที่ห้องสีงาช้าง ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล นางลินดา โธมัส-กรีนฟิลด์ (H.E. Mrs. Linda Thomas-Greenfield) เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ประจำสหประชาชาติ (Ambassador and Permanent Representative of the United States of America to the United  Nations) 

เข้าเยี่ยมคารวะ พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมเนื่องในโอกาสเดินทางเยือนประเทศไทยในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ โดยภายหลังการหารือ นายอนุชา บูรพชัยศรี โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้เปิดเผยสาระสำคัญดังนี้

นายกฯ' ขอบคุณ 'โจ ไบเดน' บริจาควัคซีน
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/954135

นายกฯ’ ขอบคุณ ‘โจ ไบเดน’ บริจาควัคซีน นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้พบหารือและกล่าวต้อนรับเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ สู่ประเทศไทยในครั้งนี้ ซึ่งที่ผ่านมานายกรัฐมนตรีได้พบกับรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ และได้หารือทางโทรศัพท์กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ ซึ่งนายกรัฐมนตรีคาดหวังให้ไทย-สหรัฐฯ มีการแลกเปลี่ยนการติดต่อกันอย่างต่อเนื่องต่อไป พร้อมฝากความระลึกถึงและขอบคุณประธานาธิบดีโจ ไบเดน สำหรับความร่วมมือและความสนับสนุนที่สหรัฐฯ มีให้กับไทยมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสถานการณ์โควิด–19 ครั้งนี้

นายกรัฐมนตรีเน้นย้ำว่า รัฐบาลไทยและสหรัฐฯ มีจุดร่วมด้านนโยบายที่สอดคล้องกันและสามารถร่วมมือกันได้ในหลายประเด็น รวมถึงความร่วมมือด้านการพัฒนาทั้งในระดับทวิภาคีภูมิภาค และอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ตลอดจนความร่วมมือในกรอบพหุภาคีอย่างสหประชาชาติเพื่อรับมือกับความท้าทายต่าง ๆ ทั้งในปัจจุบันและอนาคต

เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ กล่าวยินดีที่ได้เดินทางเยือนไทยและได้มีโอกาสหารือกับนายกรัฐมนตรี โดยประธานาธิบดีโจ ไบเดน ฝากความระลึกถึง และยืนยันว่าสหรัฐฯ ให้ความสำคัญกับการดำเนินความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับไทยในฐานะมิตรประเทศที่ใกล้ชิดยาวนานรวมทั้งให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโดแปซิฟิก ตลอดจนชื่นชมบทบาทนำของไทยในภูมิภาคนี้ซึ่งเอกอัครราชทูตกล่าวถึงความสัมพันธ์ไทย-สหรัฐ ว่ามีอนาคตที่ผูกไว้ด้วยกัน (Both futures tie to each other)

ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อสถานการณ์ในเมียนมา ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา ซึ่งนายกรัฐมนตรียืนยันว่า ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านได้ติดตามสถานการณ์มาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ และสหรัฐฯ เพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน พร้อมยืนยันว่าไทยยินดีให้ความช่วยเหลือแก่ผู้หนีภัยจากประเทศเพื่อนบ้านและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ดังกล่าว ถือเป็นความช่วยเหลือตามหลักการด้านมนุษยธรรมที่ไทยให้ความสำคัญและยึดมั่นเสมอมา

โดยเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ขอบคุณรัฐบาลไทยและเชื่อมั่นในการดำเนินการของไทย ในโอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้เน้นย้ำถึงการระดมความช่วยเหลือด้านมนุษยชน และด้านสาธารณสุขที่จำเป็นสำหรับประชาชนเมียนมา ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพร้อมแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและดำเนินการร่วมกันต่อไป

นอกจากนี้ จากประเด็นสถานการณ์โควิด – 19 เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ ได้กล่าวถึงสถานการณ์ที่มีผลกระทบต่อทั่วโลกว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทุกฝ่ายเผชิญกับความยากลำบากความร่วมมือกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ กล่าวถึงโอกาสที่ได้เห็นการดำเนินการของไทยในการฉีดวัคซีนและปกป้องประชาชนด้วยวัคซีนไฟเซอร์ที่สหรัฐฯ ได้มอบให้ ชื่นชมรัฐบาลไทยที่ได้จัดสรรวัคซีนอย่างรวดเร็ว และเหมาะสม ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไทย

โดยนายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณรัฐบาลสหรัฐฯ สำหรับความร่วมมือและการสนับสนุนที่ให้แก่ไทยในการรับมือกับโควิด-19 โดยเฉพาะการบริจาควัคซีนกว่า 1.5 ล้านโดส สะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพของทั้งสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน รวมถึงพื้นฐานความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่แนบแน่นและเป็นประโยชน์ร่วมกัน ซึ่งเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ กล่าวว่า สหรัฐฯ จะมอบวัคซีนเพิ่มเติมให้ไทยอีก 1 ล้านโดสเร็วๆ นี้ และจะมอบความช่วยเหลือมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับไทยเพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับโรคโควิด – 19 ในประเทศไทย

ในตอนท้าย ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งไทยและสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ โดยเอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐฯ กล่าวว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีไบเดนให้ความสำคัญกับความตกลงปารีส (Paris Agreement) นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาลไทย โดยไทยมีนโยบายลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070 และให้การสนับสนุนการลงทุนด้านโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio – Circular – Green Economy Model) ซึ่งยินดีหากเอกชนสหรัฐฯ สนใจลงทุนในประเทศไทย

https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/954135

ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีคาดหวังให้ไทย-สหรัฐ มีการแลกเปลี่ยนการติดต่อกันอย่างต่อเนื่องต่อไป พร้อมฝากความระลึกถึงและขอบคุณประธานาธิบดีโจ ไบเดน สำหรับความร่วมมือและความสนับสนุนที่สหรัฐ มีให้กับไทยมาตลอด โดยเฉพาะอย่างยิ่งต่อสถานการณ์โควิด – 19 ซึ่ง เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐได้กล่าวถึง สถานการณ์โควิด – 19 ที่มีผลกระทบต่อทั่วโลกว่าเป็นช่วงเวลาสำคัญที่ทุกฝ่ายเผชิญกับความยากลำบากความร่วมมือกันจึงเป็นสิ่งสำคัญ

ขณะเดียวกัน เอกอัครราชทูตผู้แทนถาวรสหรัฐ ยังกล่าวถึงโอกาสที่ได้เห็นการดำเนินการของไทยในการฉีดวัคซีนและปกป้องประชาชนด้วยวัคซีนไฟเซอร์ที่สหรัฐได้มอบให้ ชื่นชมรัฐบาลไทยที่ได้จัดสรรวัคซีนอย่างรวดเร็ว และเหมาะสม ซึ่งจะเป็นส่วนสนับสนุนมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของไทย โดยนายกรัฐมนตรีได้ขอบคุณรัฐบาลสหรัฐ สำหรับความร่วมมือและการสนับสนุนที่ให้แก่ไทยในการรับมือกับโควิด-19 โดยเฉพาะการบริจาควัคซีนกว่า 1.5 ล้านโดส สะท้อนให้เห็นถึงมิตรภาพของทั้งสองประเทศที่มีมาอย่างยาวนาน รวมถึงพื้นฐานความร่วมมือด้านสาธารณสุขที่แนบแน่นและเป็นประโยชน์ร่วมกัน

เอกอัครราชทูตฯ กล่าวว่า สหรัฐ จะมอบวัคซีนเพิ่มเติมให้ไทยอีก 1 ล้านโดสเร็วๆ นี้ และจะมอบความช่วยเหลือมูลค่า 5 ล้านเหรียญสหรัฐ ให้กับไทยเพื่อสนับสนุนการต่อสู้กับโรคโควิด – 19 ในประเทศไทย

นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นต่อสถานการณ์ในเมียนมา ซึ่งทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องถึงการให้ความช่วยเหลือทางด้านมนุษยธรรมแก่เมียนมา ซึ่งนายกฯยืนยันว่า ไทยในฐานะประเทศเพื่อนบ้านได้ติดตามสถานการณ์มาอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะบริเวณชายแดนไทย-เมียนมา ไทยพร้อมที่จะให้ความร่วมมือกับประชาคมระหว่างประเทศ และสหรัฐเพื่อให้เกิดการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน

อย่างไรก็ตามในตอนท้าย ทั้งสองฝ่ายได้หารือในประเด็นการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ซึ่งทั้งไทยและสหรัฐฯ ให้ความสำคัญ โดยเอกอัครราชทูตฯ กล่าวว่ารัฐบาลของประธานาธิบดีไบเดนให้ความสำคัญกับความตกลงปารีส (Paris Agreement) นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าสิ่งแวดล้อมเป็นประเด็นสำคัญของรัฐบาลไทย โดยไทยมีนโยบายลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์สุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutrality) ภายในปี ค.ศ. 2065 – 2070 และให้การสนับสนุนการลงทุนด้านโมเดลเศรษฐกิจ BCG (Bio – Circular – Green Economy Model) ซึ่งยินดีหากเอกชนสหรัฐ สนใจลงทุนในประเทศไทย