นิโคลา เทสลา อัจฉริยะสติเฟื่อง การส่งพลังงานแบบไร้สายด้วยต้นทุนต่ำเป็นเรื่องที่สำคัญอย่างยิ่งยวดต่อมนุษย์ เพราะมันจะทำให้เขาเป็นนายเหนือท้องฟ้ามหาสมุทร และทะเลทราย ทำให้เขาสามารถขจัดความจำเป็นในการขุดเจาะ สูบ ขนส่ง และเผาผลาญเชื้อเพลิง และดังนั้นจึงกำจัดแหล่งที่มาไม่รู้จบของความสิ้นเปลืองอันชั่วร้าย
นิโคลา เทสลา (Nikola Tesla) เกิดเมื่อ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2399 – ถึงแก่กรรม 7 มกราคม พ.ศ. 2486 (86 ปี) เป็นนักประดิษฐ์ นักฟิสิกส์ วิศวกรเครื่องกล และวิศวกรไฟฟ้าที่เปี่ยมด้วยอัจฉริยภาพ
เทสลาถือเป็นวิศวกรที่สร้างนวัตกรรมล้ำยุคที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งในปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 และต้นคริสต์ศตวรรษที่ 20 สิทธิบัตรของเทสลาและผลงานเชิงทฤษฎีของเขากลายเป็นพื้นฐานของระบบไฟฟ้ากระแสสลับ ได้แก่ ระบบจ่ายกำลังหลายเฟส และมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ ซึ่งเขามีส่วนผลักดันเป็นอย่างมากในช่วงปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่สอง
เขาไม่เพียงเป็นอัจฉริยะเจ้าของสิทธิบัตรกว่า ๓๐๐ รายการ หากยังเป็นบิดาแห่งวงการวิศวกรรมศาสตร์ไฟฟ้า มีชื่อเสียงโด่งดังทัดเทียมเอดิสันในครึ่งแรกของชีวิต เป็นผู้ประดิษฐ์และค้นพบสิ่งอำนวยความสะดวกมากมาย อาทิ มอเตอร์ไฟฟ้ากระแสสลับ (ปัจจัยสำคัญที่ทำให้เวสติงเฮาส์เอาชนะเอดิสันในสงครามคลื่นได้) ขดลวดเทสลา (Tesla coil) เครื่องวัดความเร็วติดรถยนต์ การกระจายเสียงผ่านวิทยุ และวิธีการเปลี่ยนสนามแม่เหล็กเป็นสนามไฟฟ้า อันเป็นที่มาของหน่วยวัดสนามแม่เหล็กเทสลาซึ่งวิศวกรรุ่นหลังตั้งชื่อเพื่อเป็นเกียรติแก่เขา
การค้นพบเหล่านี้ล้วนเป็น “ฟันเฟือง” สำคัญที่ทำให้สังคมได้รับประโยชน์อย่างยั่งยืนจากงานของเอดิสัน มาร์โคนี เวสติงเฮาส์ และนักประดิษฐ์อีกจำนวนมาก จนกล่าวได้ว่าวิถีชีวิตสมัยใหม่ที่เราคุ้นเคยไม่อาจสัมฤทธิผลได้ถ้าปราศจากงานของเทสลา

นิโคลา เทสลา อัจฉริยะสติเฟื่อง นอกจากเขาจะ เกิดมาพร้อมสมองอันชาญฉลาดแล้ว เขายังมีพลังจิตอีกด้วย โดยตั้งแต่เด็กเขามักจะเห็นแสงไฟแวบเข้าตาตามด้วยภาพหลอน และหลายครั้งที่เพียงแค่เขาได้ยินชื่อของสิ่งของ เขาก็จะเกิดภาพรายละเอียดของสิ่งของชิ้นนั้นๆ ขึ้นในใจ และนั่นคือสิ่งที่สร้างความรำคาญใจให้เขาเป็นอย่างมาก
ครั้งหนึ่งเขาเคยล้มป่วยเป็นโรคประหลาดที่หาสาเหตุไม่ได้ โรคนั้นทำให้ประสาทรับรู้ต่างๆ ของเขาไวต่อสิ่งเร้ามากกว่าปกติ อีกทั้งการอยู่ในสถานที่ที่มีแสงจ้า นอกจากจะทำให้เขาปวดตาแล้ว มันยังแผดเผาผิวหนังของเขาจนเป็นแผลผุผองอีกด้วย
ด้วยอาการประหลาดต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเขา ทำให้เขากลัวการสัมผัสทางร่างกายกับบุคคลอื่น เขาจึงปฏิเสธความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม และการแตะเนื้อต้องตัวหรือการจับมือกับใคร ได้แต่โกหกว่ามือของเขาได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุในห้องทดลอง
พฤติกรรมเพี้ยน ๆ อีกเรื่องของนิโคลา
ก็คือ เขามักจะทำสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันซ้ำ ๆ หลายครั้ง จนกว่าจำนวนครั้งที่ทำจะหารด้วย 3 ได้ลงตัว ถ้าไม่ลงตัวเขาจะทำใหม่จนกว่าจะได้ผลลัพธ์ที่ต้องการ เช่น การนับก้าวเดิน จำนวนครั้งที่นิโคลาชอบเป็นพิเศษคือ 27 เพราะว่ามันเท่ากับ 3 ยกกำลัง 3 ( 3x3x3 ) เทสลาพูดได้หลายภาษาและอ่านหนังสืออย่างกว้างขวาง
นอกจากนั้นเขายังกำหนดกะเกณฑ์ปริมาณอาหารที่เขากินในแต่ละมื้อ ด้วยการนำเอาไม้บรรทัดมาวัดดูว่า
ภาชนะที่ใช้บรรจุอาหารของเขานั้นมีปริมาตร ความจุเท่าใด
ความโชคร้ายของเทสลา ในวัยเด็กเขาได้ล้มป่วยจากการติดเชื้ออหิวาตกโรคเป็นเวลา 9 เดือน ขณะนั้นอาการก็ทรุดลงเรื่อยๆ เหตุการณ์ในอดีตที่มีผลต่อการใช้ชีวิตของเขามีมากมาย เช่น แดเนียล พี่ชายของเทสลาเสียชีวิตในอุบัติเหตุขี่ม้าเทสลาที่ตอนนั้นอายุเพียง 7 ปี เขาเสียใจมากทำให้มีความผิดปกติทางจิต และนอกจากนี้แล้วเทสลาเรียนไม่จบขณะที่ได้มาศึกษาต่อที่ มหาวิทยาลัยชาร์ลส์ – เฟอร์ดินานด์ในปราก ได้ไม่นาน เพราะพ่อของเขาก็เสียชีวิต ทำให้เขาต้องออกจากมหาวิทยาลัย หลังจากเข้าศึกษาได้เพียงเทอมเดียว
เทสลานั้นมีอาการแปลกๆ เช่น การไม่นอนมากกว่าสองชั่วโมงต่อคืน เทสลายังกลัวการสัมผัสร่างกายจึงไม่อยากแต่งงาน กลัวความสกปรก กลัวเชื้อโรค และเขาเป็นโรคย้ำคิดย้ำทำ โดยเขามักจะทำสิ่งต่างๆ ในชีวิตประจำวันซ้ำๆ หลายครั้ง จนกว่าจำนวนครั้งที่ทำจะหารด้วย 3 ได้ลงตัว เช่น การนับก้าวเดิน
เรื่องที่เทสลากับโทมัสเอดิสันไม่ถูกกันก็เพราะทั้งสองมีความเห็น เรื่องกระแสไฟฟ้าไม่ตรงกันและครั้งหนึ่งเทสลาได้รับการว่าจ้างเป็นวิศวกรที่บริษัทของเอดิสัน เมื่อทำงานได้ 1 ปี เอดิสันบอกกับเทสลาว่าจะจ่ายเงินให้50,000 ดอลลาร์ ถ้าหากเทสลาปรับปรุงไดนาโมของบริษัทให้ดีขึ้นได้ ซึ่งเทสลาได้ทำสำเร็จ แต่เอดิสันกลับทำผิดสัญญา โดยบอกว่ามันเป็นแค่มุกตลกเท่านั้น ไม่นานเทสลาก็ออกจากงานที่นี่ ไปหางานทำใหม่ ส่วนเอดิสันก็ปล่อยข่าวเสียๆหายๆใส่ร้ายเทสลาอยู่ตลอด
ช่วงบั้นปลายชีวิตของเทสลา ถูกศาลสั่งให้เป็นบุคคลล้มละลาย จึงค่อนข้างลำบาก เพราะนอกจากจะล้มละลายแล้ว ยังมีความผิดปกติทางจิต มีอาการแปลกๆ เทสลาเสียชีวิตในวัย 86 ปี เมื่อวันที่ 7 มกราคม พ.ศ. 2486 ที่ห้อง 3327 โรงแรม New Yorker Hotel ในเมืองนิวยอร์ก แพทย์วินิจฉัยว่าเทสลาเสียชีวิตด้วยอาการหัวใจล้มเหลว
สิ่งประดิษฐ์รวมทั้งแนวคิดต่างๆของเทสลาถูกนำมาต่อยอด เช่น โครงการ HAARP (High Frequency Active Auroral Research Program) โครงการเพื่อศึกษาคุณสมบัติการสะท้อน (resonant properties) ของโลกและชั้นบรรยากาศโลกของสหรัฐอเมริกา หรือTesla Motors บริษัทออกแบบ ผลิตและจำหน่ายรถพลังงานไฟฟ้าชื่อดังจากอเมริกา ได้นำชื่อ Tesla มาตั้งชื่อเพื่อให้เครดิตกับ นิโคลัสเทสลา ผู้พัฒนาเทคโนโลยีมอเตอร์ไฟฟ้าและไฟฟ้ากระแสสลับ
ในบั้นปลายของชีวิต นิโคลาเสียชีวิตอย่างเงียบๆ ที่โรงแรมในนครนิวยอร์ค ตลอดชีวิตเขาถูกคนในวงการวิทยาศาสตร์ดูถูกในความคิดที่ดูเพี้ยน ๆ ขณะที่ประชาชนทั่วไปแทบจะไม่มีใครรู้จักเขาเลย
ชีวิตของเขาจึงแตกต่างจาก โทมัส เอดิสัน มาก ในขณะที่ เอดิสัน กลายเป็นบุคคลสำคัญของโลกที่ได้รับการเชิดชูว่าเป็นสุดยอดนักประดิษฐ์ แต่เขากลับเป็นเพียงนักวิทยาศาสตร์สติเพี้ยนในสายตาของคนทั่วไป เขาจึงได้ชื่อว่าเป็น “นักประดิษฐ์ที่โลกลืม” ซ้ำร้ายกว่านั้นชื่อและสิ่งประดิษฐ์ของเขาถูกนำมาแต่งเป็นผู้ร้ายในการ์ตูนยอดฮิต ซูเปอร์แมน ( Superman ) มีอยู่ตอนหนึ่ง ซูเปอร์แมนต้องต่อสู้กับนักวิทยาศาสตร์สติเฟื่องชื่อ ” เทสลา ” ที่พยายามทำลายล้างโลกด้วยอาวุธลำแสงมหาประลัย ( Death Ray )
แต่ทว่า เทสล่ามีความคิดที่น่ายกย่องนั้นก็คือ ทำอย่างไร ผู้คนถึงจะใช้ไฟฟ้าได้โดยไม่ต้องพึ่งสายไฟ ซึ่งเป็นที่มาของ เทคโนโลยี wireless ที่เราใช้กันในปัจจุบัน
