
บทบาทพระมหากษัตริย์ พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวและสำนักพระราชวังไม่มีความเห็นใด ๆ เกี่ยวกับการประท้วงต่อสาธารณะตั้งแต่เดือนกรกฎาคม ในเดือนสิงหาคม หนังสือพิมพ์ เอเชียไทมส์ รายงานอ้างข้าราชการคนหนึ่งว่า พระมหากษัตริย์ทรงไม่รู้สึกถูกรบกวนจากการประท้วง และผู้ประท้วงควรสามารถแสดงความคิดเห็นได้ อย่างไรก็ดี อัลจาซีรารายงานว่า พระมหากษัตริย์ทรงให้สื่อไทยตรวจพิจารณาข้อเรียกร้อง 10 ข้อ
วันที่ 24 ตุลาคม 2563 พระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัวตรัสชมอดีตพระพุทธะอิสระและผู้ชูพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร กลางกลุ่มผู้ชุมนุม บทบาทพระมหากษัตริย์ นับเป็นการแสดงความเห็นต่อสาธารณะครั้งแรกต่อสถานการณ์การเมืองในประเทศตั้งแต่เดือนกรกฎาคม
ทำให้แฮชแท็ก #23ตุลาตาสว่าง ติดเทรนด์ทวิตเตอร์ของประเทศไทย โดยมีการรีทวีตกว่า 500,000 ครั้ง ผู้ประท้วงคนหนึ่งออกความเห็นว่า พระมหากษัตริย์อยู่ ณ ใจกลางของปัญหาการเมืองไทยมาโดยตลอด แพทริก จอรี อาจารย์มหาวิทยาลัยควีนส์แลนด์ ระบุว่า พระองค์ทรงมีอุปนิสัยทำนายไม่ได้ ทรง “เต็มพระทัยใช้ความรุนแรง” และอาจกดดันประยุทธ์ให้ปราบปรามผู้ประท้วง
วันที่ 9 พ.ย. ที่ ม.รามคำแหง กลุ่มภาคีเครือข่ายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ประกอบด้วยกลุ่มศิษย์ มร. ศิษย์เก่าอาชีวะ และประชาชนจัดชุมนุมใหญ่กลุ่มคนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ที่ลานพ่อขุนรามคำแหง ม.รามคำแหง หัวหมาก บรรยากาศเป็นไปอย่างคึกคัก มีกลุ่มประชาชน และนักศึกษาสมาชิกแนวกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (ศปปส.) และสมาชิกแนวร่วมกลุ่มไทยภักดี
ทยอยเดินทางมาร่วมชุมนุมตั้งแต่เวลา 15.00 น. มีการตั้งเวทีปราศรัยทางวิชาการเกี่ยวกับคุณูปการของสถาบันที่มีต่อประเทศและประชาชนชาวไทย รวมถึงท่าทีการแสดงออก หากพบว่าสถาบันถูกรังแก สลับกับการแสดงดนตรี จะถึงการยุติชุมนุม ในเวลา 21.00 น.

เวลา 16.30 น. คณะแกนนำภาคีเครือข่าย นำโดย นายพานสุวรรณ ณ แก้ว นายทินกร ปลอดภัย นายทศพล มนูญญรัตน์ นายสมเดช คงวิจิตร์ ได้ร่วมกันแถลงข่าวแสดงจุดยืนว่า สืบเนื่องจากการเคลื่อนไหวเรียกร้องของกลุ่มบุคคลที่ใช้ชื่อคณะราษฎร ในช่วงระยะเวลาที่ผ่านมา ที่มีการใช้วาทกรรมให้มีการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์ นอกจากนี้ยังมีการแสดงพฤติกรรม อันเป็นการจาบจ้วงล่วงละเมิด จงใจเสียดสีล้อเลียนดูหมิ่น ให้สถาบันพระมหากษัตริย์เสื่อมเสียพระเกียรติ
เป็นที่ประจักษ์ชัดเจนตามสื่อต่างๆ อย่างต่อเนื่อง และทวีความรุนแรงหนักข้อขึ้นทุกที พวกเราในนามภาคีเครือข่าย จะไม่อดทนนิ่งเฉย และจะไม่ยอมให้กลุ่มบุคคลใดมาเข้าร่วมสถาบันพระมหากษัตริย์อันเป็นที่รักของปวงชนชาวไทยอีกต่อไป หลังจากวันนี้เป็นต้นไป พวกเราจะดำเนินกิจกรรมโต้กลับอย่างเข้มข้น หากจำเป็นต้องปิดถนนเผชิญหน้ากับกลุ่มคณะราษฎร พวกเราก็จะทำ รวมทั้งการเคลื่อนไหวรณรงค์ให้ความรู้สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์แก่เยาวชนคนรุ่นใหม่
นายทินกร ปลอดภัย กล่าวว่า ระดับความรุนแรงในกระบวนการตอบโต้ของภาคีเครือข่ายฯ ขึ้นอยู่กับพฤติกรรมแสดงออกของกลุ่มคณะราษฎร หรือกลุ่มแนวร่วมอื่นๆ หากเป็นการชุมนุมทางการเมืองโดยสันติวิธีตามกฎหมาย พวกเราก็จะไม่ยุ่ง แต่หากมีการ แสดงพฤติกรรมละเมิดจาบจ้วงสถาบันพระมหากษัตริย์ อย่างเหตุการณ์ล่าสุดในวันที่ 8 พ.ย.ที่ผ่านมา พวกเราก็พร้อมจะลงถนนอยู่หน้าแนวตำรวจ ทหาร เผชิญหน้ากับกลุ่มบุคคลดังกล่าวทันที และขอยืนยันว่า พวกเรามีหน้าที่ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์เท่านั้น ไม่ได้มีแนวคิดหรือต้องการให้มีการรัฐประหาร หรือชัตดาวน์ประเทศไทย
ด้าน นายจักรพงศ์ กลิ่นแก้ว แกนนำกลุ่มศูนย์รวมประชาชนปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ (ศปปส.) ชี้แจงกรณีที่มีสื่อบางสำนักนำเสนอข่าวว่า ทางกลุ่มรวมตัวยื่นจดหมายถึง พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ ผบ.ทบ. ในวันนี้ เพื่อเรียกร้องให้มีการรัฐประหารชัตดาวน์ประเทศ หน้าทำเนียบฯ เพื่อให้เกิดการรัฐประหารนั้น ว่า ขอยืนยันว่าไม่เป็นความจริง ซึ่งได้ชี้แจงข้อเท็จจริงไปแล้วว่า วานนี้เพียงไปปักหลักสังเกตการณ์เท่านั้น จึงจำเป็นต้องออกมาชี้แจง เพื่อไม่ต้องการให้ภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้องถูกเข้าใจผิด
คนรุ่นใหม่ที่ยังห่วงใยในความคงอยู่ของพระมหากษัตริย์ยังคงมีอยู่ไม่น้อย
วันก่อนผู้เขียนได้พูดคุยกับคนรุ่นใหม่คนหนึ่ง ความจริงเธอก็เป็นญาติห่าง ๆ และได้พบกันโดยบังเอิญ แบบว่านานปีทีหนจึงจะได้มาเจอกัน ผู้เขียนจึงขอเลี้ยงอาหารกลางวันและพูดคุยถามสารทุกข์สุขดิบกันและกัน ช่วงหนึ่งเธอพูดถึงม็อบเยาวชนว่าน่าจะมีต่างชาติหนุนหลัง แต่ที่เธอสงสัยมากก็คือทำไมเยาวชนเหล่านี้ไม่รักสถาบัน(พระมหากษัตริย์) และถามผู้เขียนว่า “คุณลุงคิดว่าพวกเขาจะทำสำเร็จไหม?”
ผู้เขียนเริ่มต้นด้วยการตอบปัญหาอันแรกที่ว่าม็อบนี้มีต่างชาติหนุนหลังหรือไม่ ซึ่งคำตอบก็คือ “มี” แต่คงเป็นม็อบบางกลุ่ม เพราะม็อบนี้มีหลากหลายกลุ่มด้วยกัน มีทั้งที่จัดตั้งกันมา และที่เข้ามาร่วมด้วยตามเชื่อความคิดที่มาต้องตรงกัน รวมถึงพวก “ผสมโรง” ที่มาร่วมเอาสนุก สร้างสีสัน หรือเอาเด่นเอาดัง หาพื้นที่ในการแสดงออก รวมถึงที่เราเรียกว่า “ไทยมุง”
ซึ่งก็มีอยู่ไม่น้อย สำหรับม็อบที่มีต่างชาติหนุนหลังนั้น ก็ได้แต่คาดเดาว่าเขา(ต่างชาติ)คงจะต้องมีเป้าหมายอะไรบางอย่าง ถ้าในทางวิชาการเขาเรียกว่า “ผลประโยชน์แห่งชาติ” (คุยกับคนรุ่นใหม่ก็ต้องวางฟอร์มให้เป็นนักวิชาการนิด ๆ) เช่น ในสมัยก่อนช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2
โลกก็แบ่งเป็น 2 ค่าย คือค่ายคอมมิวนิสต์กับค่ายประชาธิปไตย ผลประโยชน์แห่งชาติจึงเป็นเรื่องของการต่อสู้ในทางอุดการณ์ เราเรียกว่า “สงครามเย็น” แต่ว่าในปัจจุบันเป็นยุคสงครามเศรษฐกิจ ผลประโยชน์แห่งชาติคือการแข่งขันกันในทางค้าขาย ยิ่งไปกว่านั้นการเมืองระหว่างประเทศก็ลดระดับลงจากระดับนานาชาติมาเป็นระดับกลุ่ม
คือมีการแข่งขันกันระหว่างกลุ่มที่ก็มีความหลากหลายเช่นกัน บางกลุ่มนั้นอาจจะมีผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจแอบแฝงโดยอาศัยประเด็นทางการเมือง เช่น ในการก่อม็อบนี้ก็เพื่อสร้างเรตติ้งให้กับเครือข่ายการสื่อสาร หรือเพื่อเพิ่มยอดกดไลค์กดแชร์ เป็นต้น ด้วยเหตุนี้กลุ่มทุนจากต่างประเทศที่มาสร้างสถานการณ์ม็อบนี้ก็อาจจะหวังผลบางอย่างในทางเศรษฐกิจนั้นด้วย