ประวัติโรว์ลิง ในวัยเด็กโรว์ลิงมักจะเขียนเรื่องราวแฟนตาซี ซึ่งเธอมักจะอ่านให้น้องสาวฟังอยู่บ่อย ๆ เมื่ออายุเก้าขวบ ครอบครัวเธอย้ายไปอยู่ที่บ้านกระต๊อบ ในหมูบ้านทัดชิล มณฑลกลอสเตอร์เชอร์ ใกล้กันกับเมืองเช็พสโตว์ ประเทศเวลส์ เธอเข้าเรียนในระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนไวย์ดีน
ที่ที่แม่ของเธอทำงานอยู่ในหมวดวิชาวิทยาศาสตร์ ในช่วงวัยรุ่นตอนต้นโรว์ลิงได้รับหนังสือจากพี่สาวของปู่เป็นอัตชีวประวัติของเจสสิกา มิดฟอร์ด เรื่อง Hons and Rebels โรว์ลิงอ่านหนังสือของเธอทุกเล่มและมิดฟอร์ดได้กลายเป็นวีรสตรีของโรว์ลิงไปในที่สุด
โรว์ลิงเล่าถึงชีวิตในวัยรุ่นของเธอว่าไม่มีความสุข เนื่องจากครอบครัวมีปัญหาหลายอย่าง ทั้งอาการป่วยของแม่และความสัมพันธ์ที่ตึงเครียดระหว่างเธอกับพ่อ ซึ่งปัจจุบันทั้งสองก็ไม่ยอมพูดด้วยกัน โรว์ลิงกล่าวในภายหลังว่าเธอสร้างตัวละครเฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ขึ้นโดยอิงจากนิสัยของเธอตอนอายุ 11 ปี
ในขณะที่สตีฟ เอ็ดดี้ ครูสอนภาษาอังกฤษของโรว์ลิงจดจำเธอได้ว่า”เธอเป็นเด็กที่ไม่ถึงกับโดดเด่น แต่ก็เป็นหนึ่งในนักเรียนเรียนหญิงที่ฉลาดและเก่งภาษาอังกฤษเอามาก ๆ” โรว์ลิงมีเพื่อนสนิทชื่อณอน แฮร์ริส เจ้าของรถฟอร์ดแองเกลียสีเทอร์ควอยซ์ ที่ต่อมาก็ได้กลายเป็นแรงบันดาลใจให้เธอสร้างรถฟอร์ดแองเกลียบินได้ของพวกวิสลีย์ที่ปรากฏอยู่ใน แฮร์รี่ พอตเตอร์กับห้องแห่งความลับ ขึ้น
ในช่วงนั้นเธอชอบฟังเพลงของวงเดอะสมิธส์และเดอะแคลช โรว์ลิงเลือกเรียนหลักสูตรเอเลเวลในวิชาภาษาอังกฤษ ภาษาฝรั่งเศส และภาษาเยอรมัน เธอได้เกรดเอสองตัวและบีหนึ่งตัวตามลำดับ นอกจากนี้เธอยังเป็นประธานนักเรียนหญิงอีกด้วย
หากจะเปรียบกับตัวละครในแฮร์รี พอตเตอร์ โจอาจจะใกล้เคียงกับ “เฮอร์ไมโอนี เกรนเจอร์ (Hermione Granger)”โจนั้นมักจะดูเป็นคนที่มั่นใจในตัวเอง หากแต่ข้างใน เธอยังคงรู้สึกหวาดกลัว นอกจากนั้น เธอยังมีผลการเรียนที่ดีอีกด้วยขณะอายุ 15 ปี โจก็ยังคงเพลิดเพลินกับจินตนาการ ก่อนที่บางอย่างจะเปลี่ยนไปแม่ของโจเป็นโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็ง (Multiple Sclerosis) หรือโรคเอ็มเอส (MS) ซึ่งเป็นโรคทางระบบประสาทและอาการก็แย่ลงเรื่อยๆ

โจนั้นใกล้ชิดกับแม่มาก และการที่เห็นแม่อาการแย่ลงเรื่อยๆ ก็ทำให้เธอรู้สึกเจ็บปวดถึงแม้ว่าโจจะรู้สึกแย่ แต่เธอก็มีเพื่อนที่ชื่อ “ฌอน แฮร์ริส (Sean Harris)” ที่คอยปลอบเธอ และเป็นต้นแบบของตัวละคร “รอน วีสลีย์ (Ron Weasley)”นอกจากเป็นคนสนุกสนานแล้ว ฌอนยังเป็นคนที่ช่วยให้โจได้รับใบขับขี่ และในเวลาที่โจรู้สึกแย่ ฌอนก็จะพาโจขับรถเล่นในแถบชนบท
โจเล่าให้ฌอนฟังว่าเธออยากจะเป็นนักเขียน ซึ่งเป็นความลับที่เธอไม่เคยบอกใครมาก่อน และฌอนก็ตอบโจว่าเขาเชื่อว่าโจจะต้องประสบความสำเร็จโจเรียนจบชั้นมัธยมในปีค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) และเข้าศึกษาระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยเอ็กเซเตอร์ (University of Exeter) โดยวิชาโปรดของเธอคือวรรณคดีอังกฤษในช่วงที่เป็นนักศึกษา โจได้ไปปารีสและทำงานเป็นผู้ช่วยสอนในชั้นเรียน ซึ่งโจก็ได้ศึกษาเพิ่มเติม ทั้งภาษาฝรั่งเศส ละติน และกรีก
ในปี 1982 โรว์ลิงสอบเข้าศึกษาต่อในระดับมหาวิทยาลัยที่มหาวิทยาลัยออกซฟอร์ดแต่ไม่ผ่านการคัดเลือก เธอจึงเข้าศึกษาในคณะศิลปศาสตร์สาขาภาษาฝรั่งเศสและวรรณกรรมคลาสสิค ที่มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์แทน มาร์ติน ซอเรล อาจารย์สอนภาษาฝรั่งเศสที่มหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์จดจำเธอได้ว่า “เธอเป็นเด็กที่มีความสามารถ ผมสีดำ ใส่แจ๊กเก็ตยีนส์ ในด้านการเรียนก็ให้ความสำคัญกับสิ่งที่ควรทำ”
โรว์ลิงเล่าถึงช่วงนั้นว่าเธอทำงานพิเศษเล็กน้อย ชื่นชอบการฟังเพลงของวงเดอะสมิธส์ และอ่านงานเขียนของดิกคินส์และโทลคีน หลังจากศึกษาที่ปารีสเป็นเวลาหนึ่งปี โรว์ลิงได้จบการศึกษาจากมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์ในปี 1986 จากนั้นจึงย้ายมาอยู่ที่ลอนดอน โดยทำงานเป็นนักวิจัยและเลขานุการสองภาษาให้กับองค์การนิรโทษกรรมสากล[ ในปี 1988 โรว์ลิงได้เขียนบทความสั้นเกี่ยวกับช่วงเวลาที่เธอเรียนวิชาวรรณกรรมคลาสสิค ในบทความเรื่อง “What was the Name of that Nymph Again? or Greek and Roman Studies Recalled” ตีพิมพ์โดยนิตยสารเพกาซัส นิตยสารข่าวของมหาวิทยาลัยเอ็กซิเตอร์
ประวัติโรว์ลิง โจเรียนจบมหาวิทยาลัยในปีค.ศ.1987 (พ.ศ.2530) และได้ย้ายไปทำงานที่ลอนดอน โดยเธอได้งานเป็นเลขานุการในองค์การแอมเนสตี (Amnesty International) ซึ่งเป็นองค์กรที่เรียกร้องสิทธิและความเท่าเทียมให้กับผู้คนในประเทศต่างๆ ซึ่งโจเองก็รู้สึกมีส่วนในการช่วยเหลือผู้คนในช่วงพักกลางวัน โจจะนั่งเขียนนิยาย และเพลิดเพลินในงานเขียนทางด้านแม่ของโจที่รักษาตัวอยู่ที่ทุตชิลล์ ก็ไม่มีทีท่าว่าจะดีขึ้น โจจึงตัดสินใจ ย้ายจากลอนดอนไปแมนเชสเตอร์ ซึ่งถึงแม้จะอยู่ไกล แต่ก็สามารถไปเยี่ยมแม่ได้เรื่อยๆในวันหยุด โจจะนั่งรถไฟจากลอนดอนไปยังแมนเชสเตอร์เพื่อหาที่พัก ซึ่งในช่วงวันหยุดในปีค.ศ.1990 (พ.ศ.2533) นี้เอง ไอเดียเรื่องแฮร์รี พอตเตอร์ก็ผุดขึ้นมาในหัวของโจ

เมื่อเรื่องราวของแฮร์รี พอตเตอร์ผุดขึ้นมาในหัว โจก็ไม่สามารถคิดเรื่องอื่นได้เลย ที่พักในแมนเชสเตอร์ของโจเต็มไปด้วยร่างโครงเรื่องแฮร์รี พอตเตอร์ โดยเรื่องราวต่างๆ นั้น มีต้นแบบมาจากคนรอบข้างและสิ่งที่โจพบเห็นไม่นานหลังจากโจได้ไอเดียเรื่องแฮร์รี พอตเตอร์ แม่ของโจก็เสียชีวิต
การเสียชีวิตของแม่ทำให้โจและได รวมทั้งพ่อ ต่างโศกเศร้าเสียใจ ถึงแม้ทุกคนจะรู้ดีว่าแม่ป่วยแค่ไหน แต่ก็ไม่มีใครอยากเชื่อว่าแม่จะเสียชีวิตจริงๆ
แรงดลใจและการสูญเสียแม่
โรว์ลิงตัดสินใจลาออกจากงานที่องค์การนิรโทษกรรมสากลที่ลอนดอน เธอและแฟนหนุ่มของเธอในขณะนั้นจึงได้ตัดสินใจย้ายไปอยู่ที่เมืองแมนเชสเตอร์ เธอได้รับงานใหม่ที่หอการค้า และในปี 1990 ระหว่างที่เธออยู่บนรถไฟขบวนจากแมนเชสเตอร์ไปลอนดอนซึ่งล่าช้าไปกว่า 4 ชั่วโมง ภาพของเด็กชายที่เข้าเรียนโรงเรียนพ่อมดก็ได้ “ประดัง” เข้ามาอยู่ในความคิดของเธอ
เมื่อเดินทางกลับถึงแฟลตของเธอที่อยู่แถวสถานีรถไฟแคลปแฮมจังชั่น เธอจึงเริ่มลงมือเขียนในทันที และในเดือนธันวาคมปีเดียวกัน แอนน์ แม่ของเธอเสียชีวิตหลังจากทนทุกข์กับโรคปลอกประสาทเสื่อมแข็งมานานกว่า 10 ปี โรว์ลิงไม่เคยบอกแม่ว่าในตอนนั้นเธอกำลังเขียนแฮร์รี่ พอตเตอร์อยู่ และการตายของแม่ก็ส่งผลกระทบต่องานเขียนของโรว์ลิงเป็นอย่างมาก เธอจึงสามารถเพิ่มเติมรายละเอียดเรื่องการสูญเสียพ่อแม่ของแฮร์รี่ได้มากกว่าเดิมเนื่องจากเธอรู้ดีว่ามันรู้สึกอย่างไร
แต่งงาน หย่าร้าง และการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
โรว์ลิงย้ายไปทำงานเป็นครูสอนภาษาอังกฤษเป็นภาษาต่างประเทศที่เมืองปอร์โต ประเทศโปรตุเกส หลังเห็นโฆษณาในหนังสือพิมพ์เดอะการ์เดียน เธอสอนในเวลากลางคืนและเริ่มงานเขียนในเวลากลางวันพร้อมกับฟังไวโอลินคอนแชร์โตของไชคอฟสกีไปด้วย 18 เดือนหลังย้ายมาอยู่ที่ปอร์โต
เธอได้พบกับยอร์จ อารังชีส นักข่าวโทรทัศน์ชาวโปรตุเกส ที่บาร์แห่งหนึ่ง ก่อนจะแลกเปลี่ยนความสนใจกันเกี่ยวกับเจน ออสเตน ทั้งคู่แต่งงานกันในวันที่ 16 ตุลาคม ค.ศ. 1992 และมีลูกสาวด้วยกันหนึ่งคนชื่อเจสสิกา อิซาเบล โรว์ลิง อารังชีส (ตั้งชื่อตามเจสสิกา มิดฟอร์ด) ซึ่งก่อนหน้านี้โรว์ลิงเคยแท้งบุตรมาแล้วหนึ่งครั้ง
ทั้งสองแยกทางกันในวันที่ 17 พฤศจิกายน ค.ศ. 1993 แม้จะไม่ทราบรายละเอียดที่แน่ชัดแต่ผู้เขียนชีวประวัติของเธอได้ระบุว่าโรว์ลิงต้องพบเจอกับปัญหาความรุนแรงในครอบครัวตลอดช่วงชีวิตคู่ของเธอกับอารังชีส ในเดือนธันวาคม ค.ศ. 1993 โรว์ลิงและลูกสาว ซึ่ง ณ ขณะนั้นยังเป็นทารก ได้ย้ายไปอยู่บ้านในละแวกใกล้กันกับบ้านของน้องสาวโรว์ลิงในเอดินบะระ ประเทศสก็อตแลนด์ พร้อมกับสามบทแรกของแฮร์รี่ พอตเตอร์ในกระเป๋าเดินทาง
เจ็ดปีหลังจากจบการศึกษาในระดับมหาวิทยาลัย โรว์ลิงมองดูตัวเองเป็นคนที่ประสบความล้มเหลวคนหนึ่ง ชีวิตคู่ของเธอล้มเหลว เธอตกงานและมีลูกอีกหนึ่งคนที่ต้องดูแล แต่เธอได้อธิบายความล้มเหลวของเธอว่าเป็นการมอบอิสระและสามารถทำให้เธอมีเวลาจดจ่อกับการเขียนมากขึ้น
ในช่วงเวลานั้นโรว์ลิงได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคซึมเศร้าและมีความคิดที่จะฆ่าตัวตาย อาการป่วยของเธอได้เป็นแรงบันดาลใจให้เธอสร้างตัวละครผู้คุมวิญญาณ สิ่งมีชีวิตที่ดูดกินวิญญาณและความสุขซึ่งปรากฏตัวในเล่มที่สาม[51] และด้วยปัญหาทางการเงิน โรว์ลิงจึงได้ยื่นเรื่องเพื่อขอรับเงินสงเคราะห์ของรัฐบาล เธอได้อธิบายสถานภาพทางการเงินของเธอ ณ ตอนนั้นว่า “ไม่ได้ไร้บ้าน แต่ก็ยากจนเท่าที่มันจะเป็นได้ในประเทศอังกฤษสมัยปัจจุบัน”

โรว์ลิงรู้สึกเป็นห่วงความปลอดภัยของตัวเองและลูกสาว หลังอารังชีสบินมาสก็อตแลนด์เพื่อตามหาเธอและลูก ภายหลังเธอได้รับคำสั่งให้ได้รับการคุ้มครอง ทำให้อารังชีสต้องกลับโปรตุเกสไป จนกระทั่งเธอได้ยื่นฟ้องหย่าเขาในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1994 หลังจากนั้นเธอเขียนนิยายเล่มแรกเสร็จโดยอาศัยเงินสงเคราะห์เพื่อยังชีพ
และในเดือนสิงหาคม ค.ศ. 1995 เธอเริ่มต้นเข้ารับการอบรมการสอนที่วิทยาลัยมอร์เรย์เฮ้าส์ คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเอดินบะระ เธอได้เขียนที่ร้านกาแฟหลายแห่งโดยเฉพาะร้านนิโคลสันส์คาเฟ่ (เจ้าของร้านเป็นน้องเขยของเธอเอง) และร้านดิเอเลเฟ่นท์เฮ้าส์ ร้านกาแฟเป็นสถานที่ที่เธอสามารถทำให้เจสสิกายอมนอนได้ โรว์ลิงได้ให้การปฏิเสธข่าวลือในบทสัมภาษณ์ของบีบีซีเมื่อปี 2001
ที่ลือว่าเธอเขียนในร้านกาแฟละแวกบ้านเพื่อที่จะไม่ต้องอยู่ที่ห้องของเธอซึ่งอากาศในห้องไม่อบอุ่น เธอได้บอกว่าห้องของเธอนั้นมีฮีตเตอร์ โดยเหตุผลหนึ่งที่เธอเลือกเขียนในร้านกาแฟก็เป็นเพราะการพาลูกออกไปเดินเล่นข้างนอกเป็นทางเลือกที่ดีที่สุดที่จะทำให้เจสสิกาหลับได้