Skip to content
Home » News » ปลดเขี้ยวเล็บ กองทัพเรือ ผลกระทบจากกบฏแมนฮัตตัน

ปลดเขี้ยวเล็บ กองทัพเรือ ผลกระทบจากกบฏแมนฮัตตัน

ปลดเขี้ยวเล็บ กองทัพเรือ ผลกระทบจากกบฏแมนฮัตตัน แม้กบฏแมนฮัตตันที่เกิดขึ้นเมื่อบ่ายวันที่ 29 มิถุนายน 2494  จะสิ้นสุดลงในตอนเย็นจองวันที่ 1 กรกฎาคม 2494 แต่เวลาเพียง 3 วันนี้ ได้สร้างผลกระทบอย่างมากกับ “กองทัพเรือ” เนื่องจากเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นความพยายามของทหารเรือกลุ่มหนึ่งซึ่งต้องการโค่นล้มรัฐบาลจอมพล ป. พิบูลสงคราม ที่มาจากการรัฐประหาร  

ผลกระทบอย่างมากนั้นมีอะไรบ้าง พล.ร.อ.หลวงพลสิธราณัติก์ บันทึกไว้ในบทความชื่อว่า “กบฎแมนฮัตตัน”

ปลดเขี้ยวเล็บ กองทัพเรือ ผลกระทบจากกบฏแมนฮัตตัน
https://www.silpa-mag.com/history/article_62702

ปลดเขี้ยวเล็บ กองทัพเรือ ผลกระทบจากกบฏแมนฮัตตัน โดยขณะเกิดเหตุนั้น พล.ร.อ.หลวงพลสิธราณัติก์ มีตำแหน่งเป็น “รองเสนาธิการกลาโหม” และเป็นทหารเรือคนเดียวที่อยู่ในกองบัญชาการปราบปราม จึงได้รู้เห็นสิ่งต่างๆ ที่เกิดขึ้น ซึ่งท่านได้บันทึกไว้ดังนี้ [จัดย่อหน้าใหม่ และสั่งเน้นคำโดยผู้เขียน]

วันที่ 2 ก.ค. 2494 ได้มีมติคณะรัฐมนตรีให้ปลดผู้บัญชาการทหารเรือและนายพล เรือชั้นผู้ใหญ่ รวม 7 คน ออกจากประจำการ และสั่งพักราชการทหารเรืออีกหลายคน บางคนก็ถูกนําตัวไปกักไว้เพื่อทําการสืบสวนสอบสวนและฟ้องร้องกันต่อไป และในโอกาสเดียวกันก็ได้มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ข้าพเจ้าเป็นผู้บัญชาการทหารเรือ ซึ่งตําแหน่งนี้ ข้าพเจ้าเองก็ไม่รู้มีความสนใจนัก

แต่เมื่อเกิดความจําเป็นขึ้นแก่กองทัพเรือในระยะบ้านแตก สาแหรกขาดแล้ว ข้าพเจ้าก็จําต้องรับเอาไว้ ถึงแม้ในระยะหลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อ พ.ศ. 2475 มาแล้ว ผู้บัญชาการทหารเรือแต่ละคนเมื่อพ้นตําแหน่งไปแล้ว มักจะเลยไปอยู่ในคุกบ้าง เขาดินบ้าง กระทรวงกลาโหมบ้าง สําหรับข้าพเจ้าเองก็นึกเสี่ยงอยู่เหมือนกัน แต่นึกว่าถ้ามีอะไรเกิดขึ้นก็พอแก้ไขเอาตัวรอดได้ เพราะข้าพเจ้าถือว่า ข้าพเจ้าทำดีเพื่อประเทศชาติ มิได้มีความมุ่งร้ายหมายขวัญใด และกระทำไปโดยความยุติธรรมที่สุด แต่กระนั้นก็เกือบไปอย่างอดีตๆ ผู้บัญชาการทหารเรือในสมัยนั้นเหมือนกัน

ในวันนี้ กระทรวงกลาโหมได้ออกคำสั่ง ลับ ด่วน ที่ จ. 6578/12878 ลงวันที่ 2 ก.ค. 2494 ให้แต่งตั้งคณะกรรมการปรับปรุงกองทัพเรือขน 12 คน ดังมีรายนามต่อไปนี้

จอมพล ป. พิบูลสงคราม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม  พล.อ. ผิน ชุณหวัณ ผู้บัญชาการทหารบก  พล.ร.ท. หลวงสุนาวินวิวัฒน์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม พล.อ. หลวงหาญสงคราม เสนาธิการกลาโหม พล.อ.อ. ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคณี ผู้บัญชาการทหารอากาศ พล.อ. หลวงเสนาณรงค์ ปลัดกระทรวงกลาโหม พล.ร.ท. หลวงพลสินธวาณัติก์ ผู้บัญชาการทหารเรือ พล.อ. หลวงวิชิตสงคราม พล.อ. หลวงชาตินักรบ พล.ท. สฤษดิ์ ธนะรัชต์ แม่ทัพที่ 9 พล.ต.ท. เผ่า ศรียานนท์ รองอธิบดีตํารวจ พล.ต. บัญญัติ เทพหัสดินทร ณ อยุธยา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย และมี พล.อ. เดช เดชประดิยุทธ รองผู้บัญชาการทหารบก เข้าร่วมประชุมด้วย อีกผู้หนึ่ง

คณะกรรมการชุดนี้ได้เริ่มประชุมกันตั้งแต่วันที่ 3 ก.ค. 94 เป็นต้นไป การประชุมนี้ ก็เป็นการปรับปรุงให้กองทัพเรือลดกำลังลง มิได้ปรับปรุงเพื่อให้กองทัพเรือมีสมรรถภาพดีขึ้นเพื่อให้เป็นกำลังรบอันเข็มแข็งของประเทศ…

ข้อตกลงของการประชุมคณะกรรมการปรับปรุงกองทัพเรือเท่าที่จำได้ ที่สำคัญๆ มีดังนี้

  1. ยุบกรมนาวิกโยธินที่กรุงเทพฯ และสัตหีบให้หมด คงเหลือไว้ 1 กองพัน ให้ปลดนายทหารที่เกินอัตรากำลังออกให้หมด

2. ให้ย้ายกองบัญชาการกองทัพเรือไปอยู่ที่ป้อมพระจุลจอมเกล้า

3. ให้ย้ายกองเรือรบตลอดทั้งเรือในสังกัดไปอยู่ที่สัตหีบ และเปลี่ยนชื่อกองเรือรบเป็นกองเรือยุทธกา

4. กองสัญญาณทหารเรือที่ศาลาแดงให้ย้ายไปอยู่ที่อื่น

5. ให้โอนกองบินทหารเรือสัตหีบให้กองทัพอากาศ

6. กองสารวัตรทหารเรือของมณฑลทหารเรือกรุงเทพ ฯ ให้ยุบเลิก

7. ที่ทําการกองเรือรบเดิมที่ท่าราชวรดิฐไม่ให้ทหารเรือหรือทหารเหล่านั้นเข้าอยู่

8. โอนสถานที่ทําการหมวดเรือพระราชพิธีแจวบางส่วนให้ทหารบก

9. สถานที่ นย. 4-5 ตําบลสวนอนันต์ ไม่ให้ทหารเรือเข้าอยู่

เมื่อได้สํารวจและรวมค่าเสียหายต่างๆ แล้ว ปรากฏดังนี้

  1. ค่าเสียหายของหน่วยต่างๆ เกี่ยวกับเรือ เครื่องจักร อาคาร เครื่องมอ ตลอดทั้งพัสดุต่างๆ 39,458,401 บาท
  2. ค่าเสียหายของหน่วยๆ เกี่ยวกับสรรพาวุธ 58,062,258 บาท
  3. ค่าเสียหายเกี่ยวกับรถยนต์ จักรยานยนต์ และเครื่องอะไหล่ 8,394,501 บาท
  4. เกี่ยวกับเงินราชการ เงินสโมสร และเงินอื่นๆ 1,218,511 บาท

รวมทั้งสิ้น 107,133,761 บาท

มีผู้เสียชีวิตเเละบาดเจ็บดังนี้

นายทหารเสียชีวิต 5 บาดเจ็บ 5 พันจ่าบาดเจ็บ 2 จ่าเสียชีวิต 2 บาดเจ็บ 35

พลทหารเสียชีวิต 26 บาดเจ็บ 42 นักเรียนเตรียมนายเรือเสียชีวิต 5

พลเรือนเสียชีวิต 2 บาดเจ็บ 3 ไม่ทราบยศนามเสียชีวิต 43 บาดเจ็บ 87”

โดยภาพรวมความเสียหายของกองทัพเรือคือ “กบฏคราวนี้เป็นจุดกลับของกองทัพเรือจากความเจริญที่สุดมาสู่จุดเสื่อมที่สุด” พล.ร.อ.หลวงพลสิธราณัติก์ กล่าว

https://www.silpa-mag.com/history/article_62702