ผลกระทบหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การล่มสลายของสหภาพโซเวียตเมื่อ 20 ปีก่อน
ได้ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงสมดุลของภูมิศาสตร์การเมืองโลกในช่วงที่ผ่านมา จากที่เคยมีเพียง 2 ขั้วอำนาจใหญ่คือสหภาพโซเวียตกับสหรัฐกลายเป็นหลายขั้วอำนาจในปัจจุบัน
นักวิเคราะห์เชื่อกันว่าแม้รัสเซียซึ่งเป็นประเทศใหญ่ที่สุดที่หลงเหลือจากระบอบการปกครองสหภาพโซเวียตเดิมได้พยายามผลักดันประเทศให้ยิ่งใหญ่เช่นในอดีต แต่เมื่อมองจากมุมของภูมิศาสตร์การเมืองโลกในปัจจุบันจะเห็นได้ว่ารัสเซียยากที่จะทำเช่นนั้น
ในวันที่ 1 มกราคม ปีค.ศ.1991 สหภาพโซเวียตนับเป็นประเทศที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก มีพื้นที่รวมมากกว่า 22,400,000 ตารางกิโลเมตร เกือบจะเป็น 1 ใน 6 ของพื้นที่ทั้งหมดบนโลก จำนวนประชากรในสหภาพโซเวียตมีมากกว่า 290 ล้านคน ผู้คนมากถึง 100 ชนชาติ ผลิตอาวุธนิวเคลียร์ได้นับหมื่น การทหารเข้มแข็งด้วยกติกาสัญญาวอร์ซอ อย่างไรก็ตาม ในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ.1991 สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลง
รัฐต่าง ๆ ประกาศเป็นประเทศอิสระทั้ง 15 แห่ง ได้แก่ อาร์เมเนีย อาเซอร์ไบจาน เบลารุส เอสโตเนีย จอร์เจีย คาซัคสถาน คีร์กีซสถาน ลัตเวีย ลิทัวเนีย มอลโดวา รัสเซีย ทาจิกิสถาน เติร์กเมนิสถาน ยูเครน และอุซเบกิสถาน
จุดเปลี่ยนที่สำคัญของการสหภาพโซเวียต ได้แก่ นโยบายการเมืองของมิคาอิล กอร์บาชอฟ ผู้นำสหภาพโซเวียตที่เข้ารับตำแหน่งตั้งแต่ปีค.ศ. 1985 [4] กอร์บาชอฟได้เสนอนโยบายกลาสนอสต์ (การเปิดกว้างทางการเมือง) และ เปเรสตรอยกา (การวางโครงสร้างเศรษฐกิจใหม่)

กลาสนอสต์ คือนโยบายที่เน้นการเปิดกว้าง ทั้งการเซ็นเซอร์สื่อน้อยลง อนุญาตให้สื่อนำเสนอด้านลบของสหภาพโซเวียตและด้านบวกของประเทศในโลกตะวันตกได้ อนุญาตให้พรรคการเมืองที่ไม่เป็นคอมมิวนิสต์ลงสมัครเลือกตั้งได้ ร่วมมือทางการค้ากับตะวันตกมากขึ้น ถอนกำลังจากยุโรปตะวันออกและอัฟกานิสถาน เปเรสตรอยกา คือการปฏิรูปเศรษฐกิจใหม่ที่มีจุดประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจที่สะสมมายาวนาน มีการเปิดตลาดเสรี อนุญาตให้ประชาชนเป็นเจ้าของกิจการ และอนุญาตให้ชาวต่างชาติมีส่วนร่วมในกิจการร่วมค้าได้
นโยบายเหล่านี้ดูเหมือนจะสร้างผลดี แต่กลับกลายเป็นว่าการให้เสรีกับสื่อและการเปิดตลาดเสรีมีส่วนทำให้สหภาพโซเวียตสูญเสียการควบคุมอำนาจ ในช่วงปลายปีค.ศ. 1989 รั้วพรมแดนระหว่างออสเตรียและฮังการีถูกรื้อถอน โปแลนด์และรัฐบอลติกเริ่มมีอำนาจเข้มแข็งมากขึ้น กำแพงเบอร์ลินและม่านเหล็กล่มสลาย สหภาพโซเวียตไม่ได้เป็นศูนย์รวมอำนาจอีกต่อไป
สหภาพโซเวียตยังประสบปัญหาด้านเศรษฐกิจจากนโยบายเปเรสตอยกา ตลาดมืดเข้ามามีอิทธิพลต่อจีดีพีของประเทศมากกว่าร้อยละ 10 เศรษฐกิจของสหภาพโซเวียตยิ่งปั่นป่วนไปอีกเมื่อราคาน้ำมันดิบตกต่ำลงจากบาร์เรลละ 120 ดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ.1980 เหลือเพียงบาร์เรลละ 24 ดอลลาร์สหรัฐในปีค.ศ.1986 สหภาพโซเวียตที่เคยส่งออกน้ำมันดิบเป็นอันดับต้น ๆ ของโลกย่อมได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง และในขณะเดียวกัน สหภาพโซเวียตยังสูญเสียงบประมาณมากถึงร้อยละ10-20 ของจีดีพีไปกับการทหารอีกด้วย
นอกจากปัจจัยทางการเมืองและเศรษฐกิจแล้ว ปัจจัยสำคัญที่ทำให้สหภาพโซเวียตล่มสลายได้แก่ปัจจัยทางสังคม เมื่อสหภาพโซเวียตเปิดกว้างทางการเมืองและการค้ามากขึ้น ผู้คนได้มีโอกาสเรียนรู้สังคมแบบใหม่ และได้เรียนรู้ว่าสภาพสังคมคอมมิวนิสต์ที่เป็นอยู่มีข้อจำกัด ส่งผลให้ผู้คนต้องการเปิดหูเปิดตาเรียนรู้สิ่งใหม่ แม้แต่การเข้าคิวรอเข้าร้านแมคโดนัลด์ที่เป็นตัวแทนของร้านอาหารฟาสต์ฟู้ดตะวันตก ที่เปิดในสหภาพโซเวียตเป็นครั้งแรกในปีค.ศ. 1990
ผลกระทบหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต การล่มสลายของสหภาพโซเวียตที่เคยยิ่งใหญ่เกิดขึ้นจากหลากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายนอกและปัจจัยภายใน ไม่ว่าจะเป็นปัจจัยทางด้านการเมือง เศรษฐกิจ การทหาร และสังคม [1] ปัจจัยต่าง ๆ ดังที่ได้กล่าวมานี้นำไปสู่การแยกตัวประกาศเอกราชของรัฐต่าง ๆ รวมถึงความพยายามในการรัฐประหารในเดือนสิงหาคม ปีค.ศ. 1991 [2] จนกระทั่งกอร์บาชอฟ ได้ประกาศลาออกในวันที่ 25 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ส่งผลให้สหภาพโซเวียตล่มสลายลงในวันที่ 26 ธันวาคม ค.ศ. 1991 ในที่สุด
ผลกระทบหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต
- ทำให้สงครามเย็นระหว่างฝ่ายเสรีประชาธิปไตยกับฝ่ายประเทศสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ต้องสิ้นสุดลง
- ดุลแห่งอำนาจของโลกเปลี่ยนแปลงไป สหรัฐอเมริกาได้กลายเป็นประเทศมหาอำนาจอันดับหนึ่งของโลก
- การที่สหภาพโซเวียตแตกออกเป็นสาธารณรัฐต่างๆ ทำให้ประเทศในสหภาพโซเวียตเดิมมีความอ่อนแอ
- ทำให้องค์การระหว่างประเทศต่างๆ เปิดรับประเทศสมาชิกใหม่จากภูมิภาคยุโรปตะวันออกได้
