ผลของสงครามโลกครั้งที่2 ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
วันที่ 16 ธันวาคม ค.ศ. 1944 กองทัพเยอรมันได้พยายามอย่างเข้าตาจนเพื่อความสำเร็จโดยการเรียกระดมกองหนุนเยอรมัน และตีโต้ตอบครั้งใหญ่ที่ป่าอาร์เดนเนส เพื่อที่จะแบ่งแยกฝ่ายพันธมิตรตะวันตก โอบล้อมกองกำลังฝ่ายพันธมิตรตะวันตกขนาดใหญ่และยึดครองเมืองท่าเสบียงที่สำคัญที่อันท์เวิร์พ เพื่อที่จะรักษาความสงบทางการเมือง ซึ่งกินเวลาจนถึงเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 โดยไม่บรรลุวัตถุประสงค์ทางยุทธศาสตร์แต่อย่างใดเลย
ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก กองทัพโซเวียตโจมตีถึงฮังการี และกองทัพเยอรมันจำเป็นต้องทิ้งกรีซและยูโกสลาเวีย ขณะที่ในอิตาลี กองทัพสัมพันธมิตรยังคงไม่สามารถโจมตีผ่านแนวป้องกันของเยอรมันได้ และกลางเดือนมกราคม ค.ศ. 1945 สหภาพโซเวียตโจมตีโปแลนด์ สามารถผลักดันกองทัพเยอรมันจากแม่น้ำวิสตูลาถึงแม่น้ำโอเดอร์ในเยอรมนี และยึดครองปรัสเซียตะวันออก เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ ผู้นำสหรัฐอเมริกา สหราชอาณาจักร และสหภาพโซเวียตได้เข้าร่วมการประชุมที่ยัลตา ซึ่งได้ข้อสรุปถึงการแบ่งปันดินแดนของเยอรมนีภายหลังสงคราม และกำหนดเวลาที่สหภาพโซเวียตจะเข้าร่วมสงครามกับญี่ปุ่น

ผลของสงครามโลกครั้งที่2
ในเดือนกุมภาพันธ์ กองทัพฝ่ายสัมพันธมิตรตะวันตกได้เข้าสู่แผ่นดินของเยอรมนีและเข้าประชิดแม่น้ำไรน์ ขณะที่กองทัพโซเวียตโจมตีพอเมอเรเนียตะวันออกและไซลีเซีย เมื่อถึงเดือนมีนาคม กองทัพสัมพันธมิตรตะวันตกได้ข้ามแม่น้ำไรน์ทั้งทางเหนือและทางใต้ของแคว้นไรน์-รูร์ และสามารถล้อมกองทัพเยอรมันขนาดใหญ่เอาไว้
ส่วนด้านกองทัพโซเวียตสามารถรุกเข้าถึงกรุงเวียนนา ในที่สุดกองทัพสัมพันธมิตรตะวันดกก็สามารถตีฝ่าแนวป้องกันของเยอรมันได้ในอิตาลี และสามารถโจมตีได้ทางตะวันตกของเยอรมนี เมื่อต้นเดือนเมษายน ค.ศ. 1945 ขณะที่ปลายเดือนเดียวกัน กองทัพโซเวียตเข้าถล่มกรุงเบอร์ลิน กองทัพฝ่ายพันธมิตรตะวันตกและกองทัพโซเวียตได้มาบรรจบกันที่แม่น้ำเอลเบอ เมื่อวันที่ 25 เมษายน เมื่อวันที่ 30 เมษายน ค.ศ. 1945 อาคารรัฐสภาไรช์สทักถูกยึดครอง แสดงถึงความพ่ายแพ้ทางการทหารของนาซีเยอรมนี
ด้มีการประมาณว่ามีผู้เสียชีวิตจากสงครามโลกครั้งที่สองไว้อย่างหลากหลาย แต่ส่วนใหญ่ได้เสนอว่าคิดเป็นจำนวนมากกว่า 60 ล้านคน ประกอบไปด้วยทหารอย่างน้อย 22 ล้านคน และพลเรือนอย่างน้อย 40 ล้านคน สาเหตุเสียชีวิตของพลเรือนส่วนใหญ่นั้นมาจากโรคระบาด การอดอาหาร การฆ่าฟัน และการทำลายพืชพันธุ์ ด้านสหภาพโซเวียตสูญเสียประชากรราว 27 ล้านคนระหว่างช่วงสงคราม คิดเป็นเกือบครึ่งหนึ่งของความสูญเสียทั้งหมดระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง
จากความสูญเสียร้อยละ 85 เป็นของฝ่ายสัมพันธมิตร (ส่วนใหญ่เป็นชาวจีนและชาวโซเวียต) และร้อยละ 15 เป็นของฝ่ายอักษะ มีการประมาณว่ามีพลเรือนราว 12 ล้านคนเสียชีวิตในค่ายกักกันนาซี 1.5 ล้านคนจากการทิ้งระเบิด และสาเหตุอื่นๆ ในยุโรปอีก 7 ล้านคน รวมไปถึงอีก 7.5 ล้านคนในจีน โดยเหตุการณ์ที่โด่งดัง ได้แก่ การสังหารหมู่ที่นานกิง โดยสาเหตุที่ตัวเลขความสูญเสียมีความแตกต่างกันมากนั้นมีสาเหตุมาจากว่าการตายส่วนใหญ่ไม่ได้มีการจดบันทึกเอาไว้
จำนวนการเสียชีวิตจำนวนมากเป็นผลมาจากการล้างชาติพันธุ์ที่เกิดขึ้นในดินแดนภายใต้การยึดครองของฝ่ายอักษะ และอาชญากรรมสงครามอื่น ๆ ซึ่งถูกกระทำโดยชาวเยอรมันและชาวญี่ปุ่น โดยเหตุการณ์ที่เป็นที่รู้จักกันดีของอาชญากรรมสงครามชาวเยอรมัน ได้แก่ ฮอโลคอสต์ ซึ่งเป็นการล้างชาติอย่างเป็นระบบในเขตยึดครองของเยอรมนีและพันธมิตร โดยนอกจากชาวยิวแล้ว ยังมีกลุ่มชาติพันธุ์หรือกลุ่มความคิดอื่น ๆ ถูกสังหารอีกเป็นจำนวนกว่า 5 ล้านคนและด้านทหารญี่ปุ่นก็ได้สังหารพลเรือนราว 3 – 10 ล้านคน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวจีน ระหว่างสงครามโลกครั้งทีสอง
นอกจากนั้น เรื่องของการใช้อาวุธชีวภาพและอาวุธเคมียังได้ถูกนำมาตัดสินด้วย ทหารอิตาลีได้ใช้แก๊สมัสตาร์ดในการบุกครองเอธิโอเปีย ส่วนญี่ปุ่นได้ใช้อาวุธดังกล่าวในสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่สอง และในสงครามชายแดนโซเวียต-ญี่ปุ่น โดยทั้งเยอรมนีและญี่ปุ่นได้มีการทดลองอาวุธกับพลเรือนและเชลยสงครามจำนวนมาก
ขณะที่การตัดสินคดีความอาชญากรรมสงครามของฝ่ายอักษะถูกชำระความในศาลชำระความระหว่างประเทศแห่งแรก แต่ว่าอาชญากรรมของฝ่ายสัมพันธมิตรกลับตรงกันข้าม ตัวอย่างอาชญากรรมสงคราม เช่น การถ่ายเทพลเรือนในสหภาพโซเวียต ค่ายใช้แรงงานของโซเวียต การกักกันชาวญี่ปุ่น-อเมริกันในสหรัฐอเมริกา ปฏิบัติการคีลฮาล (Operation Keelhaul) การขับไล่ชาวเยอรมันหลังสงครามโลกครั้งที่สอง การข่มขืนระหว่างการยึดครองเยอรมนี การสังหารหมู่คาตินของสหภาพโซเวียต นอกจากนี้ ในสงครามยังมีผู้เสียชีวิตเป็นอันมากจากทุพภิกขภัย เช่น ทุพภิกขภัยแคว้นเบงกอล ค.ศ. 1943 และทุพภิกขภัยเวียดนาม ค.ศ. 1944-45
นักประวัติศาสตร์บางคนเสนอว่า การทิ้งระเบิดขนานใหญ่ในเขตพลเรือนในดินแดนข้าศึกของสัมพันธมิตรตะวันตก รวมทั้งโตเกียว และที่โดดเด่นที่สุดคือ นครเดรสเดิน ฮัมบูร์ก และโคโลญของเยอรมนี อันเป็นผลให้นครกว่า 160 แห่งถูกทำลายล้าง และพลเรือนชาวเยอรมันเสียชีวิตกว่า 600,000 คน ควรถูกพิจารณาว่าเป็นอาชญากรรมสงครามด้วย

สงครามโลกครั้งที่ 2 ส่งผลกระทบต่อการเมืองการปกครองอย่างไร
อย่างที่รู้กันดีว่าสงครามโลกครั้งที่ 2 ถือเป็นสงครามโลกที่มีความรุนแรงมากติดอันดับนับตั้งแต่ที่มนุษย์ที่การเกิดขึ้นมาบนโลกใบนี้เลยก็ว่าได้ ถือเป็นสงครามที่ทำลายล้างทุกสิ่งทุกอย่างจนแทบจะเป็นการเริ่มต้นโลกใบใหม่กันเลยทีเดียว แม้จะกินระยะเวลาแค่ 6 ปี แต่ช่วงหลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 กลับเกิดการเปลี่ยนแปลงในเรื่องต่างๆ มากมาย จุดเริ่มต้นก็อย่างที่พอจะได้ศึกษาประวัติศาสตร์กันมาก็คือการขึ้นมามีอำนาจของเหล่าบรรดาพรรคนาซีของเยอรมันที่นำโดย อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ รวมไปถึงการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวยิวส่งผลให้ผู้คนจำนวนมากล้มตายในสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้ และเมื่อสงครามสิ้นสุดลงจากการที่ฝ่ายของเยอรมันและพรรคพวกแพ้สงครามก็ได้เกิดการเปลี่ยนแปลงในหลายๆ ด้านรวมไปถึงเรื่องของการเมืองการปกครองที่มีการเปลี่ยนแปลงไปด้วย
การเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองการปกครองหลังยุคสงครามโลกครั้งที่ 2
หลังสิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 การเมืองการปกครองได้มีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอย่างมากนั่นคือดินแดนอาณานิคมทั้งหลายต่างก็ได้รับเอกราช ส่งผลให้มีประเทศที่เกิดขึ้นมาใหม่ทั้งในเอเชียและแอฟริกาเป็นจำนวนมาก จากสาเหตุดังกล่าวนี้ส่งผลให้อำนาจของประเทศแถบฝั่งยุโรปเสื่อมถอยลงจนต้องมีการรวมตัวกันเพื่อเป็นสหภาพยุโรปไว้คอยเจรจาด้านต่างๆ ให้ดูเป็นปึกแผ่นและมีพลังอำนาจมากยิ่งขึ้นกว่าการที่จะต่อสู้ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมืองหรือเศรษฐกิจเพียงแค่ประเทศเดียว ทางด้านของสหรัฐฯ ที่ถือได้ว่าเป็นผู้กอบกู้วิกฤตสงครามโลกในครั้งนี้และยังเป็นผู้ที่ได้รับชัยชนะดังกล่าวจากฝ่ายสัมพันธมิตรก็ได้ก้าวขึ้นมาเป็นผู้นำโลกอย่างเต็มตัว สหรัฐฯ ได้เข้ามามีบทบาทกับการจัดระเบียบของโลก มีการวางกฎเกณฑ์ต่างๆ เกิดขึ้นกับโลกโดยเฉพาะเรื่องของการนำประชาคมโลกทั้งหลายเข้าสู่สภาวะสงครามเย็นที่ยังคงส่งผลต่อชะตาชีวิตของมวลมนุษยชาติมาจนถึงทุกวันนี้ อีกสิ่งหนึ่งที่เห็นได้อย่างชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องของการเมืองการปกครองหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ สหภาพโซเวียตได้ล่มสลายลงเหลือเพียงแค่ประเทศรัสเซียและประเทศอื่นๆ ที่เกิดขึ้นมาใหม่
นานาประเทศต่างก็สร้างรูปการเมืองการปกครองของตนเองขึ้นมาจนทุกวันนี้แทบจะไม่ค่อยได้เห็นยุคของสงครามกันสักเท่าไหร่นักยกเว้นแถบตะวันออกกลางกับแถบแอฟริกาที่ยังมีให้เห็น ทว่ารูปแบบการเมืองอีกสิ่งหนึ่งที่เรายังเห็นได้หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ก็คือ การแบ่งคาบสมุทรเกาหลีออกเป็น 2 ประเทศ และยังคงมีระบอบการปกครองที่ต่างกันมาจนถึงปัจจุบันนี้ เป็นสิ่งที่ทั่วโลกก็ยังคงให้ความสนใจเสมอมาว่าจะเกิดอะไรขึ้นต่อไปในอนาคตกันแน่
