
วีรบุรุษหรือจอมเผด็จการ!? เกร็ดสาระน่ารู้ของ ‘เจียง ไคเชก’ ผู้ก่อตั้งไต้หวันเจียง ไคเชก คือนักการเมืองและนักการทหารของสาธารณรัฐประชาชนจีน เขาเป็นบุคคลที่มีทั้งคนรักและคนชัง ในมุมแรก เขาเป็นผู้นำเหล่าบรรดาขุนศึกในจีนเพื่อต่อสู้กับการรุกรานของญี่ปุ่นในช่วงสงครามโลก
และอีกมุมหนึ่ง ผู้ก่อตั้งไต้หวันเจียง ไคเชก คือจอมเผด็จการที่ปกครองด้วยความเข้มงวดเด็ดขาดและปราบปรามผู้ที่คิดต่างแบบมีข้อยกเว้น แน่นอนว่าชีวิตของเจียง ไคเช็ค นั้นมีความซับซ้อนและยากที่จะหาข้อสรุปที่ชัดเจนได้ และนี่คือ ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับผู้นำที่ปกครองประเทศไต้หวันที่ยาวนานที่สุด
1. ในวัยเด็ก เจียง ไคเชก เคยเรียนในโรงเรียนเตรียมทหารที่ญี่ปุ่นเมื่อปี 1907 และนี่คือจุดเริ่มต้นในการโค่นล้มราชวงศ์ชิง หลังจากเกิดปฏิวัติซินไห่เมื่อปี 1911 เขาได้เดินทางกลับมาที่จีนและเข้าร่วมกับกลุ่มปฏิวัติเพื่อโค่นล้มราชวงศ์ชิงร่วมกับ ดร.ซุน ยัตเซ็น ทันที
2. เจียง ไคเชก คือสมาชิกรุ่นบุกเบิกผู้ก่อตั้งพรรคก๊กมินตั๋งร่วมกัน ดร.ซุน ยัตเซ็น พรรคการเมืองที่มีจุดเริ่มต้นจากสมาพันธ์ความร่วมมือเพื่อการปฏิวัติประชาธิปไตยในจีนหรือถงเหมิงฮุ่ย สมาคมลับที่ทำการเคลื่อนไหวเพื่อต่อต้านราชวงศ์ชิง โดยพรรคก๊กมินตั๋งนั้นได้ผ่านช่วงเวลาล้มลุกคลุกคลานอยู่หลายครั้ง ก่อนตั้งหลักได้อย่างมั่นคงในปี 1919
3. หลังจาก ดร.ซุน ยัตเซ็น เสียชีวิต ได้เกิดสงครามกลางเมืองขึ้นในจีนแผ่นดินใหญ่ เขาได้ทำการต่อต้านพวกคอมมิวนิสต์และต่อสู้กับพวกขุนศึกท้องถิ่นในประเทศจีน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้เขาสามารถควบคุมสามเมืองใหญ่ของประเทศอย่างกวางโจว, นานกิง และ ปักกิ่ง จนทำให้เขามีอำนาจเบ็ดเสร็จเด็ดขาดเหนือขุนศึกคนของประเทศจีนในขณะนั้น
4. เพราะความลุ่มหลงในอำนาจที่ตนมีของเจียง ไคเชก ก็เลยทำให้นายทหารของเขาบางคนรู้สึกกังวล เพราะเจียง ไคเชก นั้นทุ่มเทเวลาไปกับการรักษาฐานอำนาจของตนและจัดการพวกคอมมิวนิสต์ที่เป็นเพื่อนร่วมชาติเดียวกันมากกว่าให้ความสนใจการรุกรานแมนจูเรียของกองทัพญี่ปุ่น จนกระทั่งในปี 1936 จางเสวียเหลียง จอมพลหนุ่มลูกน้องของเจียง ไคเช็ค ได้ตัดสินใจก่อกบฏและจับตัวเจ้านายตัวเองเพื่อขอให้ร่วมมือกับคอมมิวนิสต์จีนเพื่อต่อต้านการรุกรานของญี่ปุ่น ถึงแม้ตนเองจะต้องโดนลงโทษสถานหนักก็ตาม
5. กล่าวกันว่า เจียง ไคเชก นั้นเกลียดชังพวกคอมมิวนิสต์เป็นอย่างมาก แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าฝ่ายคอมมิวนิสต์เคยช่วยชีวิตเขามาแล้ว ในเหตุการณ์กบฏซีอานเมื่อปี 1936 โจว เอินไหล นักการเมืองและขุนศึกคนสำคัญของเหมา เจ๋อ ตุงหัวหน้าพรรคคอมมิวนิสต์จีน เคยขอให้กลุ่มกบฏปล่อยตัว เจียง ไคเช็ค เพื่อให้เขาเป็นผู้นำชาติจีนต่อต้านการรุกรานจากญี่ปุ่น

6. ในสงครามระหว่างจีนที่ประกอบไปด้วยรัฐบาลก๊กมินตั๋งของ เจียง ไคเชก และกองทัพขุนศึกท้องถิ่นในจีน กับฝ่ายญี่ปุ่น วินสตัน เชอร์ชิล และ แฟรงคลิน รูสเวลต์ ให้การรับรองว่า เจียง ไคเชก คือผู้นำที่ถูกต้องตามกฎหมายของจีนเพียงหนึ่งเดียว แม้ว่าในตอนนั้น เหมา เจ๋อตุง จะเป็นขุนศึกที่โดดเด่นและสร้างความยุ่งยากให้กับฝ่ายญี่ปุ่นมากมายเพียงใด แต่สุดท้าย เจียง ไคเชก ก็ได้รับเครดิตจากฝ่ายสหรัฐฯ และอังกฤษอยู่ดี
7. ในช่วงสงครามกลางเมืองระหว่างพรรคก๊กมินตั๋งและพรรคอมมิวนิสต์จีน เจียง ไคเชก คาดว่าจะได้รับความช่วยเหลือจากชาติพันธมิตรตะวันตกอย่างอังกฤษและสหรัฐฯ แต่จากความบอบช้ำอย่างหนักหลังสิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษและสหรัฐฯ จึงเลือกที่จะวางตัวเป็นกลาง และสนับสนุนให้ทั้งสองฝ่ายหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ
8. ในเดือนธันวาคม 1949 เจียง ไคเชก ได้อพยพไปที่เกาะไต้หวัน และได้จัดตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่นั่นในเวลาต่อมา พร้อมกับประกาศกฎอัยการศึกแบบเต็มอัตรา เพื่อรักษาอำนาจของเขาเอาไว้ เนื่องจากในตอนนั้นจีนแผ่นดินใหญ่กำลังถูกกองทัพฝ่ายคอมมิวนิสต์จีนคุกคามอย่างหนัก
9. ภายใต้กฎอัยการศึกเพื่อควบคุมสถานการณ์ภายในประเทศ ภายหลังช่วงเวลาดังกล่าวได้ถูกเรียกว่า ‘ความน่ากลัวสีขาว’ (White Terror) กล่าวคือ รัฐบาลของเจียง ไคเชก ได้สั่งให้ประชาชนห้ามพูดภาษาท้องถิ่น ห้ามแสดงความคิดเห็นทางการเมือง หากใครแสดงท่าทีสนับสนุนหรือเห็นใจฝ่ายคอมมิวนิสต์จะต้องถูกจับกุมตัวเข้าคุกทันที
10. เจียง ไคเชก ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีแห่งไต้หวันนานถึง 25 ปี จนสิ้นอายุขัย ความตายของเขาได้นำมาสู่การโต้เถียงของประชาชน ที่แบ่งเป็นสองฝ่ายอย่างชัดเจน บ้างก็สนับสนุนเขาในฐานะผู้นำที่แท้จริงของจีน บ้างก็ต่อต้านเขาเพราะเขาได้ทำการปราบปรามผู้คนที่คิดต่างอย่างรุนแรง และมีคนสูญหาย บาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก ในช่วงที่เขาปกครองประเทศ เคยมีคนแสดงความเห็นว่าเขาควรลงจากตำแหน่งก่อนที่จะเสียชีวิต แต่ด้วยกฎอัยการศึกที่ถูกประกาศใช้ จึงทำให้เขาสามารถดำรงตำแหน่งได้นานที่สุดเท่าที่เขาต้องการจะให้เป็น บ้างก็ลือกันว่า เหตุผลที่เขาครองอำนาจนานขนาดนั้น เพราะหวังว่าสักวันหนึ่ง กองทัพจากชาติพันธมิตรอย่างสหรัฐฯ จะเข้ามาช่วยกอบกู้แผ่นดินจีนคืนจากพรรคคอมมิวนิสต์ที่เขาจงเกลียดจงชังนั่นเอง
ผู้ก่อตั้งไต้หวันเจียง ไคเชก สร้างชาติยิ่งใหญ่ด้วยผู้นำเกรียงไกร
อนุสรณ์สถานเจียง ไคเช็ก เป็นโครงการของรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งในปี 1976 (สร้างแล้วเสร็จในปี 1980) หลังการอสัญกรรมของอดีตผู้นำรัฐบาลชาตินิยมเพื่อสรรเสริญความยิ่งใหญ่ดีงามของเขา โดยก่อนหน้านี้นอกจากจะมีการจัดแสดงประวัติชีวิตและการทำงานของเจียง ไคเช็ก ควบคู่ไปกับประวัติศาสตร์ไต้หวันแล้ว ยังมีการขายของที่ระลึกที่เกี่ยวกับเจียง ไคเช็ก ด้วย
แต่คำถามคือสำหรับประชาชนไต้หวันแล้ว เจียง ไคเช็ก คือรัฐบุรุษ คือผู้นำที่ควรค่าสรรเสริญ หรือเป็นจอมเผด็จการผู้อยู่เบื้องหลังการทรมานและสังหารหมู่ผู้เห็นต่างอย่างไร้ปรานี?
หากจะพูดถึงความย้อนแย้งนี้ คงเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่พูดถึงเหตุการณ์ 228 (228 Incident) ที่ยังคงทิ้งรอยแผลเป็นให้กับชาวไต้หวันหลายครอบครัวไม่ได้ เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ ปี 1947 เมื่อกลุ่มผู้ต่อต้านรัฐบาลพรรคก๊กมินตั๋งรวมตัวกันครั้งใหญ่และถูกปราบปรามด้วยความรุนแรง มีรายงานผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ทั่วเกาะไต้หวันหลายพันคน และมีการประเมินว่าอาจสูงถึง 20,000 คน
นอกจากนี้ยังมีห้วงแห่งความน่าสะพรึงกลัวสีขาว (White Terror) ระหว่างปี 1949-1987 ซึ่งเป็นช่วงครองอำนาจของพ่อลูกตระกูลเจียง–เจียง ไคเช็ก และเจียง จิงกว๋อ มีการประกาศใช้กฎอัยการศึกนานกว่า 38 ปี เนื่องจากพรรคก๊กมินตั๋งเป็นพรรครัฐบาลที่ครองอำนาจในสาธารณรัฐจีนมายาวนาน ห้วงเวลานั้นใครที่มีทีท่าว่าอาจเป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐบาลสามารถถูกตัดสินว่าก่อการกบฏหรือฝักใฝ่คอมมิวนิสต์ได้ง่ายๆ หรืออาจถูกลงโทษด้วยการสั่งจำคุกนักโทษการเมือง การกระทำเพียงเล็กน้อยที่ทำให้รัฐบาลจับตามองอาจส่งผลถึงชีวิต นั่นทำให้ชาวไต้หวันส่วนใหญ่ในช่วงนั้นไม่กล้าแม้แต่จะแสดงออกถึงความคิดเห็นของตัวเองอย่างตรงไปตรงมา
ตั้งแต่ที่เรามาเรียนต่อในไต้หวันจนทำงานแล้ว ทุกปีจะได้ยินข่าวคนไปปาสีใส่รูปปั้นเจียง ไคเช็ก บ้าง ทำลายรูปปั้นบ้าง ถ้าจำไม่ผิด ประมาณปี 2019 ในเขตมหาวิทยาลัยของเรามีคนแอบเข้าไปตัดขาม้าที่เป็นส่วนหนึ่งของรูปปั้นเจียง ไคเช็ก ในเขตมหาวิทยาลัย เป็นเหตุให้ในปัจจุบันหลายๆ สถานที่สร้างรั้วขึ้นมากั้นไม่ให้มีคนเข้าไปทำลายสิ่งของสาธารณะได้อีก
เมื่อเวลาเปลี่ยน การตีความสถานะของอดีตผู้นำที่เกรียงไกรก็เปลี่ยน รูปปั้นหลายร้อยชิ้นในที่สุสานฉือหูถูกทิ้งไว้โดยไร้การบูรณะ เหมือนจะให้เป็นประจักษ์พยานถึงการเปลี่ยนผ่านของเวลา ถึงอย่างนั้นก็ยังมีคนไต้หวันบางคนตั้งคำถามว่าควรหรือไม่ที่เมืองเถาหยวนจะประชาสัมพันธ์สถานที่แห่งนี้ในฐานะแหล่งท่องเที่ยว เพราะการนำชื่อหรือตัวแทนของอดีตผู้นำเผด็จการมาประชาสัมพันธ์ในฐานะแหล่งท่องเที่ยวก็ดูจะลักลั่นย้อนแย้งอยู่ไม่น้อย
วันที่ในข่าวนี้ 1 ธันวาคม 1949 วันที่ประมาณการ