Skip to content
Home » News » ผู้นำญี่ปุ่นไว้อาลัยที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์

ผู้นำญี่ปุ่นไว้อาลัยที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์

ผู้นำญี่ปุ่นไว้อาลัยที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ นายกรัฐมนตรีชินโซ อาเบะ ของญี่ปุ่น พร้อมด้วยประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ ได้เข้าร่วมพิธีไว้อาลัยแก่ทหารอเมริกันที่เสียชีวิตจากเหตุโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ล ฮาร์เบอร์ เมื่อปี 1941 โดยทั้งสองต่างเป็นผู้นำคนแรกของญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ที่ไปเยือนสถานที่แห่งนี้อย่างเป็นทางการในรอบ 75 ปี

ผู้นำทั้งสองได้โปรยดอกไม้ลงในทะเล บริเวณอนุสรณ์สถานเรือรบ ยูเอสเอส แอริโซนา ซึ่งจมลงพร้อมกับร่างของทหารผู้เสียชีวิตนับพันคน หลังการโจมตีอย่างกะทันหันของกองทัพญี่ปุ่น ซึ่งทำให้มีทหารสหรัฐฯเสียชีวิตรวม 2,300 นาย และเรือรบที่ฐานทัพเพิร์ล ฮาร์เบอร์ จมลงถึง 4 ลำ ถือเป็นจุดหักเหทางประวัติศาสตร์ครั้งสำคัญที่ผลักดันให้สหรัฐฯเข้าร่วมรบในสงครามโลกครั้งที่สอง

ผู้นำญี่ปุ่นไว้อาลัยที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์ นายอาเบะได้กล่าวแสดงความเสียใจต่อผู้วายชนม์ และให้คำมั่นว่าชาวญี่ปุ่นจะไม่ทำให้โศกนาฏกรรมดังกล่าวเกิดขึ้นซ้ำรอยอีก ผู้นำญี่ปุ่นยังแสดงความชื่นชมต่อความพยายามของสหรัฐฯ ในการปรองดองกับญี่ปุ่นหลังสงคราม และเรียกความเป็นไมตรีระหว่างสองชาติที่ฟื้นกลับคืนมาอีกครั้งว่าเป็น “พันธมิตรแห่งความหวัง”

แต่อย่างไรก็ตาม ไม่มีการกล่าวคำขออภัยจากผู้นำญี่ปุ่นแต่อย่างใด

ผู้นำญี่ปุ่นไว้อาลัยที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์
https://www.bbc.com/thai/international-38448201

ผู้นำญี่ปุ่นไว้อาลัยที่เพิร์ล ฮาร์เบอร์

ด้านประธานาธิบดีบารัก โอบามา ของสหรัฐฯ กล่าวยกย่องถึงความกล้าหาญของเหล่าทหารผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์โจมตีเพิร์ล ฮาร์เบอร์ และกล่าวกับนายอาเบะว่า ขอแสดงการต้อนรับด้วยความยินดีและเป็นมิตร เช่นเดียวกับที่ตัวเขาเคยได้รับเมื่อครั้งไปเยือนญี่ปุ่น

การเยือนฐานทัพเรือเพิร์ล ฮาร์เบอร์ในครั้งนี้ มีขึ้นหลังจากที่เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีโอบามาได้เป็นผู้นำสหรัฐฯคนแรกที่ไปเยือนเมืองฮิโรชิมาของญี่ปุ่น ซึ่งได้รับความเสียหายอย่างมหาศาลจากระเบิดปรมาณู

หลังพิธีไว้อาลัยดังกล่าว ผู้นำญี่ปุ่นและสหรัฐฯ ได้เข้าประชุมร่วมกันที่เมืองฮอนโนลูลูของฮาวาย ซึ่งถือเป็นการประชุมร่วมกันครั้งสุดท้าย ก่อนที่นายโอบามาจะหมดวาระการดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีในเดือนมกราคม

ะหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 นักบินชาวญี่ปุ่นหลายพันนายอาสาเข้าร่วมภารกิจกามิกาเซเพื่อองค์จักรพรรดิของญี่ปุ่น ด้วยการขับเครื่องบินพุ่งชนเป้าหมายของศัตรู ผ่านไป 70 ปี มาริโกะ โออิ ผู้สื่อข่าวบีบีซี ได้พูดคุยกับเยาวชนของญี่ปุ่นเกี่ยวกับมุมมองที่มีต่อกลุ่มคนที่ครั้งหนึ่งเคยได้รับการเคารพนับถือว่าเป็นวีรบุรุษเหล่านี้

ไม่มีเหตุผล, กล้าหาญ, งี่เง่า คือ คำตอบที่ผู้สื่อข่าวบีบีซีได้จากการพูดคุยกับเยาวชนญี่ปุ่นในกรุงโตเกียว 3 คน เมื่อพวกเขาถูกถามเกี่ยวกับมุมองที่มีต่อนักบินกามิกาเซ

“กล้าหาญ?” ชุนเปอิ แสดงความสงสัยต่อคำตอบของโช น้องชายของเขา และพูดว่า “ฉันไม่รู้เลยว่านายจะขวาจัดขนาดนี้”

เป็นเรื่องยากที่จะระบุจำนวนที่ถูกต้อง แต่เชื่อว่ามีนักบินชาวญี่ปุ่น 3,000-4,000 นาย ขับเครื่องบินพุ่งชนเป้าหมายของศัตรู และมีเพียง 10% ของภารกิจเหล่านี้ที่คาดว่าประสบความสำเร็จ โดยสามารถจมเรือของฝ่ายสัมพันธมิตรได้ราว 50 ลำ

หลายสิบปีหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ความเห็นที่มีต่อเหล่านักบินกามิกาเซยังคงมีหลากหลาย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะสิ่งที่พวกเขาทิ้งไว้ให้แก่คนรุ่นหลัง ถูกใช้เป็นเครื่องมือทางการเมืองซ้ำแล้วซ้ำเล่า

“ระหว่างที่ฝ่ายสัมพันธมิตรบุกญี่ปุ่น 7 ปี ปฏิบัติการกามิกาเซที่โด่งดังเป็นหนึ่งในสิ่งแรก ๆ ที่พวกเขามุ่งมั่นจะทำให้สำเร็จ” ศาสตราจารย์ เอ็มจี เชฟต์ทอลล์ จากมหาวิทยาลัยชิซุโอกะอธิบาย

กลยุทธ์ในการฆ่าตัวตายนี้ถูกหาว่าเป็น “ความบ้าคลั่ง”

“แต่เมื่อฝ่ายสัมพันธมิตรออกไปเมื่อปี 1952 กลุ่มชาตินิยมฝ่ายขวาก็ปรากฏชัดมากขึ้น และก็พยายามที่จะเล่าเรื่องนี้ใหม่” เขากล่าว

“แม้ว่าในทศวรรษ 1970 และ 1980 ประชาชนญี่ปุ่นส่วนใหญ่คิดว่ากามิกาเซเป็นเรื่องที่น่าอับอาย เป็นอาชญากรรมที่รัฐกระทำต่อสมาชิกครอบครัวของผู้ร่วมภารกิจกามิกาเซ แต่ในทศวรรษ 1990 กลุ่มชาตินิยมได้เริ่มโยนหินถามทาง เพื่อดูว่าพวกเขาจะทำให้เหล่านักบินกามิกาเซถูกเรียกว่าวีรบุรุษได้หรือไม่ เมื่อไม่มีกระแสต่อต้านมากนัก พวกเขาก็เริ่มพยายามมากขึ้น ๆ” เขากล่าวเพิ่มเติม

ในศวรรษที่ 21 มีภาพยนตร์หลายเรื่องอย่างเช่น For Those We Love และ The Eternal Zero เล่าเรื่องราวของนักบินกามิกาเซในลักษณะของวีรบุรุษ

แต่แม้แต่ โช วัยรุ่นที่มองว่าพวกเขาคือวีรบุรุษผู้กล้าหาญ ก็ยังยอมรับว่า มุมมองของเขาได้รับอิทธิพลมาจากภาพยนตร์ และระบุว่าถ้าญี่ปุ่นทำสงครามพรุ่งนี้ เขาคงไม่พร้อมที่จะตายเพื่อชาติ

โชบอกว่า “เพราะว่าผมไม่อาจทำได้ ผมว่าพวกเขากล้าหาญและองอาจมาก”

ตามการสำรวจของ วิน/แกลลัพ อินเตอร์เนชั่นแนล มีชาวญี่ปุ่นเพียง 11% ที่เต็มใจสู้รบเพื่อประเทศชาติ ทำให้ญี่ปุ่นอยู่ท้ายสุดของตาราง

ผลการสำรวจนี้ไม่ได้น่าแปลกใจนัก เพราะชาวญี่ปุ่นในยุคหลังสงครามเติบโตมาภายใต้รัฐธรรมนูญที่ใฝ่สันติ ซึ่งห้ามญี่ปุ่นมีทหารของตัวเอง

ผมไม่อยากตาย

จริงหรือไม่ที่นักบินกามิกาเซทุกนายซึ่งส่วนใหญ่มีอายุระหว่าง 17-24 ปี เต็มใจที่จะตายเพื่อชาติ?

เมื่อผู้สื่อข่าวบีบีซีได้พูดคุยกับผู้รอดชีวิต 2 คนจากปฏิบัติการกามิกาเซ ซึ่งปัจจุบันอยู่ในวัยกว่า 90 ปี คำตอบดูเหมือนว่า ไม่ใช่

“ผมว่า 60-70% ของพวกเรากระตือรือร้นที่จะสละชีวิตตัวเองเพื่อองค์จักรพรรดิ แต่ที่เหลือคงสงสัยว่า ทำไมพวกเขาต้องทำเช่นนั้นด้วย” โอซามุ ยามาดะ วัย 94 ปี กล่าวที่บ้านของเขาในเมืองนาโงยา โดยเขารอดชีวิตเพราะก่อนที่จะได้ปฏิบัติภารกิจกามิกาเซ สงครามก็ยุติลงก่อน

“ตอนนั้นผมโสด ไม่มีอะไรมาฉุดรั้ง ก็เลยมีความคิดที่ออกมาจากใจอย่างแท้จริงว่า ผมต้องสละชีวิตเพื่อปกป้องญี่ปุ่น แต่ใครที่มีครอบครัว พวกเขาคงคิดไม่เหมือนกัน” เขากล่าว

เคอิจิ คุวาฮารา วัย 91 ปี เป็นหนึ่งในผู้ที่ยังห่วงครอบครัวของตัวเองอยู่ในขณะนั้น เขาเล่าถึงช่วงเวลานั้นว่า เขาถูกบอกให้เข้าร่วมหน่วยกามิกาเซ

“ผมรู้สึกหมดสิ้นเรี่ยวแรง” เขามีอายุเพียง 17 ปีในขณะนั้น “ผมกลัว ผมไม่อยากตาย”

“ผมเสียพ่อในปีก่อนหน้านั้น และเหลือเพียงแม่และพี่สาวทำงานจุนเจือครอบครัว ผมส่งเงินเดือนให้พวกเขา ผมคิดว่าจะเกิดอะไรขึ้นถ้าผมตาย ครอบครัวผมจะกินอยู่อย่างไร”

เมื่อเครื่องยนต์ของเขาขัดข้อง และจำต้องบินกลับ เขารู้สึกเหมือนยกภูเขาออกจากอก

แต่ในเอกสารระบุว่า นายคุวาฮาราเต็มใจเข้าร่วมภารกิจ “ผมถูกบังคับหรือผมเต็มใจ เป็นคำถามที่ยากจะตอบ ถ้าคุณไม่เข้าใจแก่นแท้ของทหาร” เขากล่าว

ศาสตราจารย์ เชฟต์ทอลล์ กล่าวว่า นักบินเหล่านี้ถูกขอให้ยกมือขึ้นขณะอยู่รวมกันเป็นกลุ่มใหญ่ ถ้าพวกเขาไม่ต้องการอาสาเข้าร่วมภารกิจ ท่ามกลางความกดดันในหมู่เพื่อน ก็แทบไม่มีใครปฏิเสธการเข้าร่วมภารกิจนี้

นักบินกามิกาเซมักถูกนำไปเปรียบเทียบกับ ผู้ก่อการร้ายในยุคสมัยใหม่ ซึ่งปฏิบัติภารกิจฆ่าตัวตาย แต่นายคุวาฮาระบอกว่า นั่นไม่ถูกต้อง

“ผมคิดว่าสองอย่างนี้แตกต่างกันอย่างสิ้นเชิง” นายคุวาฮาระ กล่าว “การทำกามิกาเซเกิดขึ้นเฉพาะในยามสงครามเท่านั้น ส่วนกลุ่มที่เรียกว่ารัฐอิสลามก่อเหตุโจมตีอย่างไม่อาจคาดเดาได้”

นายยามาดะ คิดว่า คำว่า กามิกาเซ ซึ่งแปลว่า “สายลมศักดิ์สิทธิ์” ในภาษาญี่ปุ่น มีการเข้าใจผิดและถูกนำไปใช้ในภาษาอังกฤษอย่างไม่เหมาะสม ปราศจากความเข้าใจในบริบททางประวัติศาสตร์และสิ่งที่ญี่ปุ่นเผชิญอยู่ในขณะนั้น

“ผมรู้สึกเจ็บปวด เพราะว่ากามิกาเซคือช่วงวัยรุ่นของผม มันคือสิ่งที่บริสุทธิ์ มันคือสิ่งที่ไม่มีอะไรเจือปนจริง ๆ มันคือสิ่งที่มีค่าสูงส่งอย่างมาก แต่ตอนนี้มันถูกพูดถึงว่า พวกเราถูกโน้มน้าวให้เข้าร่วม”

หลังจากสงคราม นายคุวาฮาระ ซึ่งเคยเข้าร่วมภารกิจอย่างไม่เต็มใจนัก กล่าวว่า เขารู้สึกได้รับการปลดปล่อย และจำเป็นต้องคิดถึงเรื่องการฟื้นฟูประเทศ

แต่นายยามาดะใช้เวลาช่วงหนึ่งในการปรับตัว เขาเล่าว่า “ผมสับสน รู้สึกไร้พลัง สูญเสียความเป็นตัวเอง ราวกับว่าวิญญาณได้หลุดออกจากร่าง”

“ในฐานะนักบินกามิกาเซ พวกเราทุกคนต่างพร้อมที่จะตาย พอผมได้ยินว่าเราแพ้แล้ว ผมจึงรู้สึกเหมือนกับโลกนี้พังทลายลง” นายยามาดะเล่า

แต่เขาก็ต้องเดินหน้าต่อไป เพราะชีวิตในยุคหลังสงครามของญี่ปุ่นที่ต้องดิ้นรนเอาชีวิตรอด ต้องหางานทำ หาอาหารยังชีพ

ขณะที่บุคคลที่เขาเคยเต็มใจสละชีพให้คือ จักรพรรดิฮิโรฮิโตะ ก็ทรงมีบทบาทสำคัญในการทำให้เขาต้องเดินหน้าต่อไป เพราะพระองค์เองก็ทรงปฏิบัติพระองค์เป็นแบบอย่างด้วยการจับมือกับชาวอเมริกัน

https://www.bbc.com/thai/international-41862206

“องค์จักรพรรดิ พระองค์คือดวงใจของญี่ปุ่น ผมคิดว่า การปรากฏพระองค์ของจักรพรรดิฮิโรฮิโตะช่วยทำให้ชาวญี่ปุ่นฟื้นตัวเองขึ้นมาได้จากสงคราม” เขากล่าว

สำหรับชาวญี่ปุ่นยุคหลังสงคราม ประสบการณ์ของเหล่าอดีตนักบินกามิกาเซเป็นเรื่องที่ไม่อาจคาดคิดได้

“เมื่อฉันคิดถึงชีวิตของคุณตา ฉันก็รู้สึกว่าชีวิตฉันไม่ใช่ของฉันเพียงคนเดียว” โยชิโกะ ฮาเซกาวา หลานสาวของนายยามาดา กล่าว “ฉันจะต้องมีชีวิตอยู่เพื่อผู้ที่ไม่มีโอกาสได้เกิดมาเป็นลูกหลานของเหล่าทหารที่เสียชีวิตระหว่างสงคราม”

ส่วนหลานชายของนายคุวาฮาระ ไม่รู้ว่าคุณปู่ของเขาต้องพบเจออะไรบ้างในการเป็นนักบินฝึกหัดอายุ 17 ปี”

“แต่สิ่งที่ผมต้องการสร้างก็คือ ประเทศญี่ปุ่นที่สงบสุข” เขายิ้ม สำหรับนายคุวาฮาราแล้ว การที่หลานชายของเขาไม่รู้เรื่องรู้ราวอะไร ก็เป็นการพิสูจน์ว่า ญี่ปุ่นได้ก้าวออกมาจากช่วงประวัติศาสตร์อันแสนเจ็บปวดนั้นแล้ว

https://www.bbc.com/thai/international-38448201

1ม.ค.2016(วันที่ประมาณการ)