Skip to content
Home » News » ผู้ลงมือฆ่า เชอร์รี่ แอน และการพิพากษา

ผู้ลงมือฆ่า เชอร์รี่ แอน และการพิพากษา

ผู้ลงมือฆ่า เชอร์รี่ แอน และการพิพากษา วันที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2538 ข่าวการฆาตกรรม เชอรี่ แอน กลับมาโด่งดังอีกครั้ง เมื่อเจ้าหน้าที่กองปราบจับกุมผู้ต้องหาคดีนี้เป็นครั้งที่สอง ประกอบไปด้วย นายสมใจ และ นายสมพงษ์ บุญญฤทธิ์ สองศรีพี่น้อง ที่เชื่อกันว่าเป็นคนสังหาร เชอรี่ แอน ตัวจริง

วันที่ 19 กุมภาพันธ์ ปี พ.ศ. 2538 จับนายสมัคร ธูปบูชาการ และนายว่องไว ผู้ร่วมทีมสังหาร

วันที่ 1 พฤศจิกายน ปี พ.ศ. 2538 สุวิบูล เดินเข้ามามอบตัวในฐานะถูกกล่าวหา ว่าเป็นผู้จ้างวาน แต่ใช้หลักทรัพย์ 5,000,000 บาท ประกันตัวออกไปได้

วันที่ 18 มกราคม ปี พ.ศ. 2539 ตัวรวจจับกุม นายประมวล พลัดโพชน์ คนขับรถสามล้อในข้อหาแจ้งความเท็จ และในที่สุดศาลตัดสินจำคุกเขาเป็นเวลา 8 ปี

ผู้ลงมือฆ่า เชอร์รี่ แอน
https://www.blockdit.com/posts/5cb4bae45d02ee10145b9568

ผู้ลงมือฆ่า เชอร์รี่ แอน และการพิพากษา ในชั้นศาล ตำรวจได้ประมวลเหตุการณ์ และหลักฐานต่าง ๆ สรุปส่งฟ้องศาล ดังต่อไปนี้

ผู้ลงมือฆ่า เชอร์รี่ แอน นงสาวสุวิบูลย์ เกิดความหึงหวง เชอรี่ แอน ขึ้นมา เมื่อสืบรู้ว่านายวินัย มีความสัมพันธ์สวาทกับเธอ อย่างลับๆ และได้นำ เชอรี่ แอน มาเลี้ยงดูจนออกหน้าออกตา ส่งเสียค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ให้ด้วยความแค้นและริษยา หึงหวง จึงจ้างวานให้คนอื่น อุ้ม เชอรี่ แอนไปฆ่าโดยไตร่ตรองและวางแผนไว้ก่อน

โดยมี นายสมพงษ์และนายสมใจ สองมือฆ่า ซึ่งทั้งคู่เคยเป็นพนักงานบริษัทของเสี่ยวินัยมาก่อน จึงรู้จัก เชอรี่ แอน พอสมควร อีกทั้งยังเคยรับส่งเชอรี่แอนอยู่บ่อยครั้ง และบางครั้งภรรยาของเขาทั้งสองก็เคยเป็นพี่เลี้ยง เชอรี่ แอน มาก่อนเป็นบางครั้งที่เสี่ยวินัยติดธุระ แต่ภายหลังเกิดมีเรื่องบาดหมางกับเสี่ยวินัย จนต้องย้ายมาทำงานกับสุวิมลแทน

ด้วยความแค้นที่มีต่อเสี่ยวินัยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ทั้งสองจึงรับปากกับ สุวิบูลย์อย่างง่ายได้และด้วยความรู้จักสนิทสนมกับ เชอรี่ แอน จึงเป็นเรื่องง่ายมากที่จะหลอกเธอไปฆ่านายสมัคร ธูปบูชาการ ก็มีความสนิทสนมกับกลุ่มฆาตกรกลุ่มนี้ด้วย

นายพีระ ว่องไววุฒิ เป็นเพื่อนสนิทกับนายสมพงษ์ และนายสมใจ และเป็นโซเฟอร์แท็กซี่มรณะ หมายเลขทะเบียน 1ท-3992 กรุงเทพมหานคร ที่ไปรับส่งเชอรี่แอนที่หน้าประตูโรงเรียน จนพบจุดจบของชีวิต แต่เจ้าหน้าที่กันตัวเขาไว้เพื่อเป็นพยานในคดีนี้

แผนการฆ่าก็ง่ายดายนัก คือ เดินทางไปรับเชอรี่ แอน ที่โรงเรียนพระกุมารเยซูวิทยา ในซอยสุขุมวิท 101 โดยนายสมพงษ์ และนายสมใจ ใช้อุบายล่อหลอก เชอรี่ แอน ในเรื่องที่เกี่ยวกับเสี่ยวินัย จนเธอหลงเชื่อ วางใจ และยอมขึ้นรถไปด้วยระหว่างทางที่ขับรถไปบางปู

เธออาจรู้สึกตัวว่ามันมาผิดเส้นทางที่ควรจะเป็น เธอคงพยายามหนีออกจากรถ และมีการต่อสู้ขัดขืนเกิดขึ้นในแท็กซี่มรณะคันนั้น ด้วยรู้ล่วงแล้วว่าซะตาชีวิตจะเป็นอย่างไรในอีกไม่กี่นาทีข้างหน้ากลุ่มฆาตกรจำเป็นต้องบีบคอเธอจนเสียสติ จนถึงหลักกิโลที่ 43 ตำบลบางปูใหม่ จังหวัดสมุทรปราการ

ซึ่งเป็นป่าแสม รกชัฏและเปล่าเปลี่ยว กลุ่มฆาตกรนำร่างของเธอ ไปทิ้งไว้ในร่องน้ำจนจมน้ำตาย และชาวบ้านมาพบศพในอีก 2 วันต่อมา

นี่..อาจเป็นผลการตัดสินที่ล้มมวยคนดูทั้งประเทศก็ได้ !! วันที่ 6 สิงหาคม ปี พ.ศ.2540 เกือบสองปีต่อมาหลังจากจับกุมกลุ่มฆาตกรและผู้จ้างวานตัวจริง ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษา ให้ตัดสินประหารชีวิต สุวิบูลย์ พัฒน์พงษ์พานิช ผู้จ้างวาน รวมทั้งนายสมพงษ์ บุญฤทธิ์ และนายสมัคร ธูปบูชากร สองมือฆ่า ก็ถูกพิพากษาให้ประหารชีวิตเช่นเดียวกัน

ต้นปี พ.ศ.2542 ศาลอุทรณ์พิพากศาลยืนตาม ศาลชั้นต้นให้ประหารชีวิตโดยไม่ลดหย่อนผ่อนโทษ

แต่…. วันที่ 29 พฤษภาคม ปี พ.ศ.2542 ศาลฎีกา พลิกคำตัดสินจากสองศาลแรก โดยให้ปล่อยตัว สุวิบูลย์ไป เพราะหลักฐานไม่เพียงพอ แม้ว่าจะทำให้เชื่อว่า สุวิบูลย์ เป็นคนจ้างวานฆ่าเชอรี่แอนตัวจริงก็ตาม ส่วนสองมือฆ่า ศาลตัดสินให้จำคุกตลอดชีวิตส่วนกลุ่มตำรวจชุดแรกของ สภอ. เมืองสมุทรปราการ

ที่สืบสวนคดีนี้และปั้นพยานเท็จเพื่อจับแพะขึ้นมานั้น ทั้งหมดไม่ได้ถูกลงทัณฑ์แต่อย่างใด เพราะศาลตัดสินแล้วว่า กระทำลงไปตามขั้นตอนของการสอบสอน ตามกฎหมายทุกประการ ปัจจุบันบางคนก็ได้ดีในหน้าที่การงานด้วยซ้ำ

ส่วนเสี่ยวินัย ต้นเหตุทุกวันนี้ยังไม่เลิกพฤติกรรมเดิม ๆ นอกจากนี้ยังฟ้องร้องครอบครัวของแพะรับบาปในเรื่องการแบ่งฟ้องค่าสินไหมทดแทนคดีนี้อย่างไม่รู้จักจบสิ้นความตายของ เชอรี่ แอน กลายเป็นตำนานฆาตกรรมสะเทือนขวัญที่สุดในประเทศไทย ผลพวงของคดีนี้ที่ตามมาคือเกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการยุติธรรมมากมายทั้งเจ้าหน้าที่ตำรวจ อัยการ และผู้พิพากษา

ปี พ.ศ.2539 สำนักงานอัยการสูงสุด จัดเสวนาวิชาการเรื่อง “คดีเชอรี่แอนกระบวนการจะคุ้มครองเสรีภาพของผู้บริสุทธิ์อย่างไร”จากการเสวนาครั้งนั้นได้มีการปรับปรุงขั้นตอนยุติธรรมบางอย่าง ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันนี้อีกด้วย”