Skip to content
Home » News » ฝูงบินคามิคาเซ่โจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์

ฝูงบินคามิคาเซ่โจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์

ฝูงบินคามิคาเซ่โจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์ 7 ธันวาคม 2484 ฝูงบินรบ กามิกาเซ่ (kamikaze) ของกองทัพอากาศญี่ปุ่นลอบโจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์ ซึ่งเป็นฐานทัพที่สำคัญที่สุดของสหรัฐฯ ในภาคพื้นแปซิฟิก

การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์ เป็นการโจมตีทางทหารอย่างน่าประหลาดใจของกองกำลังพิเศษทางอากาศแห่งกองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่นต่อฐานทัพเรือสหรัฐที่ท่าเพิร์ล ดินแดนฮาวาย ในเช้าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 การโจมตีครั้งนี้ได้เป็นที่รู้จักกันคือ ยุทธการเพิร์ลฮาร์เบอร์ นำไปสู่การเข้าร่วมสงครามโลกครั้งที่สองของสหรัฐอเมริกา ผู้นำทางทหารญี่ปุ่นได้เรียกการโจมตีครั้งนี้ว่า ปฏิบัติการฮาวายและปฏิบัติการเอไอ และปฏิบัติการแซดในช่วงระหว่างการวางแผน

ฝูงบินคามิคาเซ่โจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์ การโจมตีครั้งนี้ได้เจตนาเป็นการปฏิบัติป้องกันเพื่อไม่ให้กองเรือแปซิฟิกของสหรัฐเข้าแทรกแซงการปฏิบัติทางทหารซึ่งจักรวรรดิญี่ปุ่นกำลังวางแผนในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ต่อดินแดนโพ้นทะเลของสหราชอาณาจักร เนเธอร์แลนด์และสหรัฐ มีการโจมตีของญี่ปุ่นพร้อมกันที่ฟิลิปปินส์ซึ่งสหรัฐถือครองอยู่ และต่อมาด้วยจักรวรรดิบริติชในมาลายา สิงคโปร์และฮ่องกง

ฝูงบินคามิคาเซ่โจมตี เพิร์ล ฮาร์เบอร์
https://www.bloggang.com/m/viewdiary.php?id=murder-serialkiller&month=07-2014&date=24&group=7&gblog=28

จากในแง่ผู้ป้องกัน การโจมตีเริ่มเมื่อ 7.48 น. ตามเวลาฮาวาย (18:18 GMT) ฐานทัพได้ถูกโจมตีโดยเครื่องบินญี่ปุ่น 353 ลำ (รวมทั้งเครื่องบินขับไล่, เครื่องบินทิ้งระเบิดแบบระดับและดำดิ่ง และทิ้งระเบิดตอร์ปิโด) แบ่งเป็นสองระลอก บินขึ้นจากเรือบรรทุกเครื่องบิน 6 ลำ เรือรบแห่งกองทัพเรือสหรัฐทั้งแปดลำเสียหาย โดยสี่ลำจม

ทั้งหมดถูกซ่อมแซมขึ้นใหม่ (ยกเว้นยูเอส แอริโซนา) เรือรบหกลำจากแปดลำได้กลับเข้าประจำการและออกสู้รบในสงคราม ฝ่ายญี่ปุ่นยังจมหรือสร้างความเสียหายแก่เรือลาดตระเวนสามลำ เรือพิฆาตสามลำ เรือฝึกต่อสู้อากาศยานหนึ่งลำ และเรือวางทุ่นระเบิดหนึ่งลำ เครื่องบินสหรัฐ 188 ลำถูกทำลาย ฝ่ายอเมริกันเสียชีวิต 2,403 นาย บาดเจ็บ 1,178 นาย สถานที่ตั้งฐานทัพสำคัญอย่างโรงไฟฟ้า อู่ต่อเรือแห้งและน้ำ โรงซ่อมบำรุง เชื้อเพลิงและเก็บตอร์ปิโด ตลอดจนสะพานเทียบเรือดำน้ำและอาคารกองบัญชาการ (ซึ่งเป็นที่ตั้งของฝ่ายข่าวกรอง) ไม่ถูกโจมตี ฝ่ายญี่ปุ่นสูญเสียเล็กน้อย คือ เครื่องบิน 29 ลำและเรือดำน้ำขนาดเล็กมากห้าลำ และทหารเสียชีวิตหรือบาดเจ็บ 65 นาย กะลาสีชาวญี่ปุ่นถูกจับได้หนึ่งคน คือ คะซุโอะ ซะกะมะกิ

การโจมตีครั้งนี้ได้สร้างความตกตะลึงอย่างมากแก่อเมริกันชนและนำให้สหรัฐเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่สองโดยตรงทั้งในเขตสงครามแปซิฟิกและยุโรป วันรุ่งขึ้น คือ วันที่ 8 ธันวาคม สหรัฐได้ประกาศสงครามต่อญี่ปุ่น และหลายวันต่อมา, เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม เยอรมนีและอิตาลีได้ประกาศสงครามต่อสหรัฐ สหรัฐได้ตอบโต้ด้วยการประกาศสงครามต่อเยอรมนีและอิตาลี การสนับสนุนลัทธิไม่แทรกแซงภายในประเทศ ซึ่งเคยมีมากมายนับตั้งแต่ฝรั่งเศสพ่ายแพ้ในปี ค.ศ. 1940 จนหมดสิ้น

มีบรรทัดฐานประวัติศาสตร์จำนวนมากของการปฏิบัติทางทหารของญี่ปุ่นซึ่งไม่ประกาศ ทว่าการขาดคำเตือนอย่างเป็นทางการใด ๆ โดยเฉพาะระหว่างการเจรจายังดำเนินอยู่ ทำให้ประธานาธิบดีแฟรงกลิน ดี. โรสเวลต์ประกาศว่าวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เป็น “วันซึ่งจะอยู่ในความอดสู” เพราะการโจมตีนี้เกิดขึ้นโดยไม่มีการประกาศสงครามและไม่มีคำเตือนชัดเจน การโจมตีเพิร์ลฮาร์เบอร์จึงได้ถูกตัดสินในภายหลังที่การพิจารณาคดีโตเกียวด้วยข้อหาอาชญากรรมสงคราม

สาเหตุของการโจมตีผลสืบเนื่องมาจากสงครามจีน-ญี่ปุ่นครั้งที่ 2 จุดเริ่มต้นของสงครามคือจักรวรรดิญี่ปุ่นได้บุกเข้ายึดครองดินแดนแมนจูเรียหลังเกิดกรณีมุกเดน เพราะเนื่องจากญี่ปุ่นได้เล็งเห็นผลประโยชน์ในดินแดนแมนจูเรียหลายประการ หลังจากยึดครองสำเร็จก็แต่งตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดให้อยู่ภายใต้การนำของจักรวรรดิญี่ปุ่น โดยมีจักรพรรดิปูยี (อดีตจักรพรรดิองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์ชิง1) ให้มาเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินและเป็นจักรพรรดิแห่งแมนจูเรียได้แต่เพียงในนามเท่านั้น เหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความไม่พอใจแก่สาธารณรัฐจีนเป็นอย่างมากจึงได้ไปร้องเรียนขอความช่วยเหลือไปยังสันนิบาตชาติ เวลาต่อมาสันนิบาตชาติดำเนินการสอบสวนเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น หลังจากนั้นสันนิบาตชาติก็ได้ลงความเห็นเห็นว่า จักรวรรดิญี่ปุ่นเป็นฝ่ายผิดและเป็นผู้รุกราน จึงออกแถลงการณ์ลิตตัน เพื่อประณามการกระทำของญี่ปุ่นในการรุกรานแมนจูเรียและออกคำสั่งให้ญี่ปุ่นถอนกองทัพออกจากดินแดนแมนจูเรีย ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจพร้อมประกาศถอนตัวออกจากสันนิบาตชาติไปโดยสิ้นเชิง
ด้วยการที่สันนิบาตชาติทำอะไรกับญี่ปุ่นไม่ได้ ทำให้จีนผิดหวังและญี่ปุ่นก็เริ่มฮึกเหิมที่คิดจะทำการยึดครองจีนต่อไปโดยไม่มีประเทศใดๆมาขัดขวาง และแล้วจักรวรรดิญี่ปุ่นก็ได้ส่งกองทัพเข้าไปรุกรานจีนได้อย่างเต็มตัว แม้กองทัพจีนจะพยายามต้านทานอย่างสุดกำลังแต่ก็ไม่อาจต้านทานกองกำลังแห่งจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ทำให้จีนต้องสูญเสียดินแดนให้กับญี่ปุ่น เช่น ปักกิ่ง เป่ยผิง เทียนจิน เป็นต้น ในขณะเดียวกันเมืองนานกิงเองก็ได้ถูกกองทัพญี่ปุ่นเข้ายึดครองและทำการสังหารหมู่ชาวจีนไปเป็นจำนวนมาก สร้างความโกรธแค้นให้กับชาวจีนเป็นอย่างมาก ในช่วงที่กองทัพจีนได้พ่ายแพ้กองทัพญี่ปุ่นมาติดต่อกันอย่างต่อเนื่อง และแล้วความหวังก็ได้ปรากฏขึ้น เนื่องจากจีนได้เล็งเห็นประเทศสหรัฐอเมริกาที่เป็นชาติมหาอำนาจหนึ่งที่สามารถถ่วงดุลอำนาจของจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ ดังนั้นจีนจึงส่งขอความช่วยเหลือไปยังสหรัฐฯทันที แม้ว่าสหรัฐฯจะพยายามทำตัวเป็นกลางไม่เข้าไปยุ่งเกี่ยวกับสงครามก็ตามแต่ก็ยินดีให้ความช่วยเหลือกับจีนอย่างเต็มที่สหรัฐฯภายใต้การนำโดยประธานาธิปดีรูสเวลท์ก็ได้ประกาศยุติการส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่น เช่น น้ำมัน เหล็ก เป็นต้น ทำให้ญี่ปุ่นขาดปัจจัยในการบำรุงกองทัพโดยเฉพาะน้ำมัน ทำให้การบุกเข้ายึดจีนต่อไปต้องหยุดชะงักลง จักรวรรดิญี่ปุ่นญี่ปุ่นจึงได้ส่งทูตไปเจรจากับสหรัฐฯเพื่อขอให้ส่งน้ำมันต่อ แต่ว่าการเจรจาก็ล้มเหลวหมดเพราะสหรัฐฯได้ยื่นคำขาดว่าให้ญี่ปุ่นยุติการยึดครองจีน และถอนกำลังออกจากอินโดจีนไป ทำให้ญี่ปุ่นไม่พอใจเป็นอย่างมาก จึงตัดสินใจโจมตีที่อ่าวเพิร์ลฮาเบอร์ที่อยู่บริเวณของหมู่เกาะฮาวายที่เป็นฐานทัพเรือสหรัฐฯประจำภาคพื้นทะเลแปซิพิกด้วยการเป็นอย่างลับๆ เพื่อเปิดเส้นทางการขยายอำนาจในภาคพื้นทะเลแปซิพิกแก่จักรวรรดิญี่ปุ่น

การโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ (World War II: The Attack on Pearl Harbor)การโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์โดยกองทัพญี่ปุ่นนั้น เป็นผลมาจากความไม่ลงรอยกันระหว่างสองประเทศ ที่กินเวลายาวนานกว่าสองทศวรรษ ความพยายามขยายอาณาเขตของฝ่ายญี่ปุ่น ทำให้เกิดความตึงเครียดกับเหล่าประเทศฝั่งตะวันตก อย่างสหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษมากขึ้นไปอีก การเข้าโจมตีประเทศจีนของฝ่ายญี่ปุ่นเมื่อปี ค.ศ. 1937 ได้ถูกประเทศในองค์การสันนิบาติชาติ (The League of Nations) วิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก และยังแสดงให้เห็นถึงแสนยานุภาพและความพร้อมที่จะลงมือของประเทศจากเอเชียแห่งนี้ด้วย

หลังสงครามโลกครั้งที่สองปะทุขึ้น ความพยายามยับยั้งญี่ปุ่นยิ่งไร้ผล และเมื่อวันที่ 27 กันยายน ค.ศ. 1940 ญี่ปุ่นก็ได้ลงนามในสนธิสัญญาสามฝ่าย (Tripartite Pact) เพื่อเข้าร่วมกับฝ่ายอักษะ พร้อมกับนาซีเยอรมนี และฟาสซิสต์อิตาลี นี่เป็นการคุกคามที่มีผลต่อสหรัฐอเมริกาโดยตรง เนื่องจากสหรัฐฯ จะตกอยู่ในความเสี่ยงที่อาจถูกโจมตีได้จากทั้งสองฝั่งของมหาสมุทร สหรัฐฯ ได้เตรียมการรับมือสงคราม แต่ยังคงวางตัวเป็นกลางอยู่
ช่วงปี ค.ศ. 1940-1941 ญี่ปุ่นยังคงเดินหน้ารุกรานดินแดนในแถบอินโดจีน (Indo-China)ต่อไป ขณะที่สหรัฐฯ ก็พยายามขัดขวาง โดยห้ามส่งออกสินค้าสำคัญ อย่างน้ำมันดิบและวัตถุดิบต่างๆไปยังญี่ปุ่น ปิดเส้นทางการเดินเรือสินค้า หรือยุทธวิธีอื่นๆที่คล้ายกัน ญี่ปุ่นจำเป็นต้องได้น้ำมันดิบจากสหรัฐ แต่สหรัฐยื่นคำขาดว่าญี่ปุ่นต้องถอนทัพออกจากประเทศจีนก่อน ประเทศญี่ปุ่นปฏิเสธ และตัดสินใจว่าการลงมือทางการทหารที่รวดเร็วเป็นทางเลือกเดียวที่ทำได้ การเจรจาระหว่างทั้งสองฝ่ายถูกเลื่อนออกไป จนในที่สุด เมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1941 รัฐบาลญี่ปุ่นได้ยินยอมให้ประเทศทำสงครามกับสหรัฐฯ อังกฤษ และฮอลแลนด์ อย่างเป็นทางการ การโจมตีของญี่ปุ่นจะเริ่มขึ้นด้วยการทำลายกองกำลังในฝั่งมหาสมุทรแปซิฟิกของสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ บนเกาะโอวาฮู (O’aho) รัฐฮาวาย (Hawaii) ญี่ปุ่นหวังว่าจะสามารถเข้าควบคุมประเทศในแถมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้โดยไม่มีใครมาขัดขวาง พวกเขาโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์เพื่อจุดประสงค์นี้ ในขณะเดียวกันยังสามารถทำลายขวัญและกำลังใจของชาวอเมริกันได้ และยังลดความสามารถของสหรัฐ เพื่อให้ตนขยายอำนาจไปในพื้นที่อื่น ๆ ได้อีกด้วย การต่อสู้ที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์เริ่มขึ้นก่อนที่ญี่ปุ่นจะประกาศสงครามกับสหรัฐฯอย่างเป็นทางการ การโจมตีครั้งนี้จึงเกิดขึ้นโดยฝ่ายสหรัฐไม่ทันได้ตั้งตัว และจำต้องป้องกันตัวเองอย่างฉุกละหุก โดยการโจมตีจากญี่ปุ่นมีมาสองระลอก จากทั้งทางอากาศและทางน้ำ การโจมตีระลอกแรก เริ่มขึ้นก่อน 8 นาฬิกาของวันที่ 7 ธันวาคมเพียงเล็กน้อย และระลอกที่สองก็ตามมาอีกหนึ่งชั่วโมงให้หลัง

https://www.nanitalk.com/interesting-story/important-day/this-day-in-history/9198