พระธัมมชโย ยักยอกเงินวัด ปี 2541 ข่าวพฤติกรรมฉาวของพระราชภาวนาวิสุทธิ์ หรือธัมมชโย หรือนายไชยบูลย์ สุทธิผล เจ้าอาวาสวัดพระธรรมกาย ได้ถูกเปิดขึ้นมา หลังพระอดิศักดิ์ วิริสโก อดีตพระลูกวัดพระธรรมกายได้ออกมากล่าวหาธัมมชโยว่า ยักยอกเงินและที่ดินที่บรรดาญาติโยมบริจาคให้วัด และมีพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น ใกล้ชิดสีกา และอวดอุตริมนุสธรรม ซึ่งต่อมา กรมที่ดินได้สำรวจพบ ธัมมชโยมีชื่อเป็นเจ้าของโฉนดที่ดินและ บริษัทที่เกี่ยวกับวัดพระธรรมกายกว่า 400 แปลง เนื้อที่กว่า 2 พันไร่ ใน จ.พิจิตร และเชียงใหม่
หลังจากนั้น นายวรัญชัย โชคชนะ แกนนำกลุ่มพุทธศาสนิกชนชาวไทย ได้เข้าแจ้งความต่อกองปราบปราม กล่าวหาธัมมชโยทำผิดกฎหมายอาญา มาตรา 314 และ 343 ฐานหลอกลวงผู้อื่นเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สินและฉ้อโกงทรัพย์ที่มีผู้บริจาคให้วัดไปเป็นของตัวเองและพวก
ด้านพระพรหมโมลี เจ้าอาวาสวัดยานนาวา ในฐานะเจ้าคณะภาค 1 ได้รับมอบหมายจากมหาเถรสมาคม (มส.) ให้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเรื่องทั้งหมด ขณะที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ได้มีพระลิขิตให้ธัมมชโยคืนที่ดินและทรัพย์สินขณะเป็นพระให้วัดพระธรรมกาย

ต่อมา มส.มีมติให้วัดพระธรรมกายปฏิบัติตามคำวินิจฉัย 4 ข้อของเจ้าคณะภาค 1 ที่สรุปไว้หลังตรวจสอบข้อเท็จจริง ได้แก่ ให้ปรับปรุงแนวทางคำสอนของวัดพระธรรมกายว่า นิพพานเป็นอนัตตา ไม่ใช่อัตตา และยุติการเรี่ยไรเงินนอกวัด เป็นต้น ส่วนคดีทางโลกนั้นให้เจ้าหน้าที่บ้านเมืองเป็นฝ่ายดำเนินการต่อไป
หลังจากผู้เกี่ยวข้องพยายามให้ธัมมชโยคืนที่ดินและเงินบริจาคแก่วัดพระธรรมกาย แต่ไม่สำเร็จ กรมการศาสนาจึงได้เข้าแจ้งความต่อกองปราบปราม กล่าวโทษธัมมชโยในคดีอาญา มาตรา 137, 147 และ 157 ฐานเป็นเจ้าพนักงานเบียดบังยักยอกทรัพย์และปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
นอกจากนี้ยังมีอดีตทนายความวัดพระธรรมกายและญาติธรรมเข้าแจ้งความดำเนินคดีธัมมชโยเช่นกัน ฐานฉ้อโกงเงิน 35 ล้าน โดยมีข่าวว่าอัยการได้ยื่นฟ้องต่อศาล โดยแยกเป็น 3 คดี
ขณะที่คดีดำเนินไปตั้งแต่ปี 2542 ถึงเดือน ส.ค.ปี 2549 เกือบ 7 ปีเต็ม มีการสืบพยานไปแล้วกว่า 100 นัด เหลือเพียงการสืบพยานจำเลยอีก 2 นัดในวันที่ 23-24 ส.ค. 2549
พระธัมมชโย ยักยอกเงินวัด ปรากฏว่าได้เกิดเหตุการณ์ที่ไม่มีใครคาดคิด เมื่อจู่ๆ พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ได้ขอถอนฟ้องจำเลย คือ ธัมมชโย และนายถาวร พรหมถาวร ลูกศิษย์คนสนิท ที่ถูกฟ้องฐานเป็นเจ้าพนักงานและสนับสนุนเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ โดยร่วมกันยักยอกทรัพย์และเงินบริจาคของวัดพระธรรมกายจำนวน 6.8 ล้าน ไปซื้อที่ดินเขาพนมพา ต.หนองพระ อ.วังทรายพูน จ.พิจิตร โดยโอนกรรมสิทธิ์ใส่ชื่อนายถาวร จำเลยที่ 2 และนำเงินอีกเกือบ 30 ล้านไปซื้อที่ดินกว่า 900 ไร่ ใน ต.หนองพระ (จ.พิจิตร) และที่ ต.ท่าข้าม อ.ชนแดน จ.เพชรบูรณ์
โดยโอนกรรมสิทธิ์ให้นายถาวรเช่นกัน โดยพนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ได้ขอถอนฟ้องเมื่อวันที่ 21 ส.ค. 2549 ก่อนหน้าจะถึงวันที่ศาลนัดสืบพยานจำเลย 2 นัดสุดท้ายแค่ 2 วัน ซึ่งศาลอาญาได้มีคำสั่งเมื่อวันที่ 22 ส.ค. 2549 อนุญาตให้โจทก์ถอนฟ้องได้
เป็นที่น่าสังเกตว่า ตอนฟ้อง อัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ให้เหตุผลในการฟ้องธัมมชโยและนายถาวรว่า เนื่องจากธัมมชโยกับพวกไม่ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ บิดเบือนพุทธธรรมคำสั่งสอน โดยกล่าวหาว่า พระไตรปิฎกบกพร่อง ทำให้สงฆ์ที่หลงเชื่อแตกแยกออกเป็น 2 ฝ่าย เป็นการทำลายพระพุทธศาสนา ทำให้สงฆ์แตกแยกเป็นอนันตริยกรรม
มีโทษทั้งปัจจุบันและอนาคตที่หนัก นอกจากนี้จำเลยไม่ยอมมอบสมบัติทั้งหมดขณะเป็นพระคืนให้วัดฯ แสดงชัดแจ้งว่า ต้องอาบัติ ปาราชิก ต้องพ้นจากความเป็นสมณะโดยอัตโนมัติ ต้องถูกจัดการอย่างเด็ดขาดเช่นเดียวกับผู้ไม่ใช่พระ
แต่พอจะถอนฟ้อง เรืออากาศโท วิญญู วิญญกุล อัยการพิเศษฝ่ายคดีอาญา 5 กลับให้เหตุผลว่า บัดนี้ปราฏข้อเท็จจริงว่า ธัมมชโยกับพวกได้เผยแผ่พระพุทธศาสนาตรงตามพระไตรปิฎกและนโยบายของสงฆ์แล้ว ด้วยการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ ทำให้เป็นที่ยอมรับทั่วไปทั้งในและต่างประเทศ นอกจากนี้ยังได้ให้ความร่วมมือช่วยเหลือกิจการของศาสนา ทั้งของคณะสงฆ์ ภาครัฐ และเอกชนจำนวนมาก ส่วนเรื่องทรัพย์สิน ธัมมชโยกับพวกก็ได้มอบทรัพย์สินทั้งหมด ทั้งที่ดินและเงินกว่า 959 ล้านบาทคืนแก่วัดพระธรรมกายแล้ว
ดังนั้นการกระทำของธัมมชโยกับพวก จึงเป็นการปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชฯ ครบถ้วนทุกประการแล้ว ประกอบกับขณะนี้(ขณะนั้น) บ้านเมืองต้องร่วมกันสร้างความสามัคคีของคนในชาติทุกหมู่เหล่า จึงเห็นว่า หากดำเนินคดีธัมมชโยกับพวกต่อไปอาจก่อให้เกิดความแตกแยกในศาสนจักร โดยเฉพาะพระภิกษุ สามเณร และประชาชนทั้งในและต่างประเทศที่นับถือศาสนาพุทธ นอกจากนี้การดำเนินคดีต่อไปยังไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ อัยการสูงสุดจึงมีคำสั่งให้ถอนฟ้องธัมมชโยและนายถาวร
ทั้งนี้ ผลจากการที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้ถอนฟ้องธัมมชโยกับพวกในคดีดังกล่าว และศาลอาญาอนุญาตให้ถอนฟ้องได้ ไม่เพียงทำให้ธัมมชโยกับนายถาวร รอดพ้นจากความผิดในคดียักยอกทรัพย์ดังกล่าว แต่ยังส่งผลให้อีก 3 คดีที่เหลือที่ธัมมชโยกับพวกถูกฟ้องฐานยักยอกทรัพย์เช่นกัน ซึ่งอัยการอยู่ระหว่างรอการสั่งคดี ต้องมีอันยุติและล้มเลิกไปด้วย โดยอ้างว่า เมื่ออัยการสูงสุดมีนโยบายให้ถอนฟ้อง พนักงานอัยการฝ่ายคดีอาญา 5 ก็ต้องมีความเห็นให้ยุติการสั่งคดีทั้ง 3 คดีไว้ เนื่องจากการดำเนินคดีจะไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ
สำหรับ 3 คดีดังกล่าว ประกอบด้วย
- คดีที่ธัมมชโย ,นางกมลศิริ คลี่สุวรรณ และนายมัยฤทธิ์ ปิตะวนิค ลูกศิษย์คนสนิท ตกเป็นผู้ต้องหาร่วมกันเบียดบังเงินวัดพระธรรมกายกว่า 95 ล้านบาท ไปซื้อที่ดิน
- คดีที่ธัมมชโย ,นางสงบ ปัญญาตรง ,นายมัยฤทธิ์ ปิตะวณิค และนายชาญวิทย์ ชาวงษ์ ลูกศิษย์คนสนิท ตกเป็นผู้ต้องหาเบียดบังเงินวัดฯ กว่า 845 ล้านบาท
- คดีที่ธัมมชโย ร่วมกับนายเทิดชาติ ศรีนพรัตน์ ,นายมัยฤทธิ์ ปิตะวณิค และนางอมรรัตน์ สุวิพัฒน์ หรือ “สีกาตุ้ย” ลูกศิษย์คนสนิท ตกเป็นผู้ต้องหาร่วมกันปลอมแปลงเอกสารและสนับสนุนเจ้าพนักงานให้ปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
การถอนฟ้องธัมมชโยกับพวกของอัยการสูงสุดในยุคนั้น (นายพชร ยุติธรรมดำรง) โดยอ้างเหตุว่า จำเลยได้ปฏิบัติตามพระลิขิตของสมเด็จพระสังฆราชแล้ว แถมเงินและที่ดินที่ทั้งสองเคยยักยอกไป ก็ได้คืนให้วัดพระธรรมกายแล้ว นับเป็นเหตุผลที่สร้างความกังขาต่อบรรทัดฐานทางกฎหมายว่า ถ้าบุคคลใดกระทำผิดด้วยการยักยอกทรัพย์ หรือหากโจรปล้นเงินใครไป แล้ววันหนึ่งถูกจับได้ รีบนำเงินนั้นมาคืนก็ไม่ต้องมีความผิดแล้ว ไม่ต้องถูกดำเนินคดีแล้วอย่างนั้นหรือ?
และการอ้างว่าบ้านเมืองต้องการความสามัคคี หากดำเนินคดีธัมมชโยกับพวกจะทำให้วงการสงฆ์และประชาชนแตกแยก นั่นแสดงว่าอัยการสูงสุดกำลังบอกกับสังคมว่าธัมมชโยและธรรมกายมีอิทธิพลมากในบ้านเมืองนี้ แม้จะทำผิดแค่ไหนก็ไม่ควรดำเนินคดี เพราะถ้าศาลสั่งลงโทษธัมมชโยขึ้นมาวันใด สังคมจะเกิดการลุกฮือ-ไม่ยอมรับผลคำตัดสินของศาลที่สั่งลงโทษผู้กระทำผิดใช่หรือไม่? และการอ้างว่า การดำเนินคดีธัมมชโยต่อไป ก็ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

นั่นแสดงว่า อัยการสูงสุดเห็นว่า กระบวนการยุติธรรมที่ศาลจะพิสูจน์ความจริงให้ปรากฏต่อสังคม และพิพากษาลงโทษหากจำเลยกระทำผิดจริง เพื่อไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่างแก่คนอื่นต่อไป ไม่ใช่ประโยชน์ต่อสาธารณะอย่างนั้นหรือ?
นี่ยังไม่รวมว่า สังคมมองอัยการสูงสุดยุคนั้นอย่างไร เอื้อต่อการเมืองและอำนาจรัฐที่เข้ามาแทรกแซงแค่ไหน แถมการถอนฟ้องธัมมชโยกับพวกในครั้งนั้น ยังเกิดขึ้นหลังจากรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร ใช้วัดพระธรรมกายรวมพลองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเกือบ 8 หมื่นคน ภายใต้ชื่องาน ”รวมใจทุกศาสนา พัฒนาท้องถิ่นไทย ถวายองค์ราชา ครองราชย์ 60 ปี” ไปหมาดๆ ในวันที่ 17-18 ก.ค. 2549 ซึ่งนอกจาก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกฯ จะเดินทางไปเป็นประธานด้วยตัวเองแล้ว ยังปาฐกถาชื่นชมความยิ่งใหญ่ของวัดพระธรรมกายด้วย!!
การถอนฟ้องธัมมชโยกับพวกในครั้งนั้น แม้ไม่มีใครกล้าออกมาวิพากษ์วิจารณ์ ทั้งที่รู้ว่าไม่เหมาะสม แต่ก็มีข้อคิดที่โดนใจจากบางบุคคลในสังคมขณะนั้น เช่น อ.เจริญ คัมภีรภาพ
1.ม.ค.1999 (วันที่ประมาณการ)