Skip to content
Home » News » พัฒนาการทางสังคมและการเมือง

พัฒนาการทางสังคมและการเมือง

พัฒนาการทางสังคมและการเมือง
https://th.wikipedia.org/wiki/อาณาจักรอยุธยา

พัฒนาการทางสังคมและการเมือง นับแต่การปฏิรูปของสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ พระมหากษัตริย์อยุธยาทรงอยู่ ณ ศูนย์กลางแห่งลำดับชั้นทางสังคมและการเมืองที่จัดช่วงชั้นอย่างสูง ซึ่งแผ่ไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยขาดหลักฐาน จึงเชื่อกันว่า หน่วยพื้นฐานของการจัดระเบียบสังคมในราชอาณาจักรอยุธยา คือ ชุมชนหมู่บ้าน

ที่ประกอบด้วยครัวเรือนครอบครัวขยาย กรรมสิทธิ์ในที่ดินอยู่กับผู้นำ ที่ถือไว้ในนามของชุมชน แม้ชาวนาเจ้าของทรัพย์สินจะพอใจการใช้ที่ดินเฉพาะเท่าที่ใช้เพาะปลูกเท่านั้น ขุนนางค่อย ๆ กลายไปเป็นข้าราชสำนัก (หรืออำมาตย์) และผู้ปกครองบรรณาการ (tributary ruler) ในนครที่สำคัญรองลงมา

ท้ายที่สุด พระมหากษัตริย์ทรงได้รับการยอมรับว่าเป็นพระศิวะ (หรือพระวิษณุ) ลงมาจุติบนโลก และทรงกลายมาเป็นสิ่งมงคลแก่พิธีปฏิบัติในทางการเมือง-ศาสนา ที่มีพราหมณ์เป็นผู้ประกอบพิธี ซึ่งเป็นข้าราชบริพารในราชสำนัก ในบริบทศาสนาพุทธ เทวราชาเป็นพระโพธิสัตว์ ความเชื่อในเทวราชย์ (divine kingship) คงอยู่ถึงคริสต์ศตวรรษที่ 18 แม้ถึงขณะนั้น นัยทางศาสนาของมันจะมีผลกระทบจำกัดก็ตาม

เมื่อมีที่ดินสำรองเพียงพอสำหรับการกสิกรรม ราชอาณาจักรจึงอาศัยการได้มาและการควบคุมกำลังคนอย่างพอเพียงเพื่อเป็นผู้ใช้แรงงานในไร่นาและการป้องกันประเทศ การเติบโตอย่างรวดเร็วของอยุธยานำมาซึ่งการสงครามอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากไม่มีแว่นแคว้นใดในภูมิภาคมีความได้เปรียบทางเทคโนโลยี

ผลแห่งยุทธการจึงมักตัดสินด้วยขนาดของกองทัพ หลังจากการทัพที่ได้รับชัยชนะในแต่ละครั้ง อยุธยาได้กวาดต้อนผู้คนที่ถูกพิชิตกลับมายังราชอาณาจักรจำนวนหนึ่ง ที่ซึ่งพวกเขาจะถูกกลืนและเพิ่มเข้าไปในกำลังแรงงาน สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสถาปนาระบบกอร์เว (Corvée) แบบไทยขึ้น

ซึ่งเสรีชนทุกคนจำต้องขึ้นทะเบียนเป็นข้า (หรือไพร่) กับเจ้านายท้องถิ่น เป็นการใช้แรงงานโดยไม่ได้รับค่าตอบแทนใด ๆ ไพร่ชายต้องถูกเกณฑ์ในยามเกิดศึกสงคราม เหนือกว่าไพร่คือนาย ผู้รับผิดชอบต่อราชการทหาร แรงงานกอร์เวในการโยธาสาธารณะ และบนที่ดินของข้าราชการที่เขาสังกัด ไพร่ส่วยจ่ายภาษีแทนการใช้แรงงาน หากเขาเกลียดการใช้แรงงานแบบบังคับภายใต้นาย เขาสามารถขายตัวเป็นทาสแก่นายหรือเจ้าที่น่าดึงดูดกว่า ผู้จะจ่ายค่าตอบแทนแก่การสูญเสียแรงงานกอร์เว จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 19 กำลังคนกว่าหนึ่งในสามเป็นไพร่

พัฒนาการทางสังคมและการเมือง ระบบไพร่เป็นการลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างมากเมื่อเทียบกับสมัยสุโขทัย โดยกำหนดให้ชายทุกคนที่สูงตั้งแต่ 1.25 เมตรขึ้นไปต้องลงทะเบียนไพร่ ระบบไพร่มีความสำคัญต่อการรักษาอำนาจทางการเมืองของพระมหากษัตริย์ เพราะหากเจ้านายหรือขุนนางเบียดบังไพร่ไว้เป็นจำนวนมากแล้ว ย่อมส่งผลต่อเสถียรภาพของราชบัลลังก์ ตลอดจนส่งผลให้กำลังในการป้องกันอาณาจักรอ่อนแอ ไม่เป็นปึกแผ่น นอกจากนี้ ระบบไพร่ยังเป็นการเกณฑ์แรงงานเพื่อใช้ประโยชน์ในโครงการก่อสร้างต่าง ๆ ซึ่งล้วนแต่เกี่ยวข้องกับมาตรฐานชีวิตและความมั่นคงของอาณาจักร

ความมั่งคั่ง สถานภาพ และอิทธิพลทางการเมืองสัมพันธ์ร่วมกัน พระมหากษัตริย์ทรงแบ่งสรรนาข้าวให้แก่ข้าราชสำนัก ผู้ว่าราชการท้องถิ่น ผู้บัญชาการทหาร เป็นการตอบแทนความดีความชอบที่มีต่อพระองค์ ตามระบบศักดินา ขนาดของการแบ่งสรรแก่ข้าราชการแต่ละคนนั้นตัดสินจากจำนวนไพร่หรือสามัญชนที่เขาสามารถบัญชาให้ทำงานได้

จำนวนกำลังคนที่ผู้นำหรือข้าราชการสามารถบัญชาได้นั้น ขึ้นอยู่กับสถานภาพของผู้นั้นเทียบกับผู้อื่นในลำดับขั้นและความมั่งคั่งของเขา ที่ยอดของลำดับขั้น พระมหากษัตริย์เป็นเสมือนผู้ถือครองที่ดินรายใหญ่ที่สุดในราชอาณาจักร ตามทฤษฎีแล้วทรงบัญชาไพร่จำนวนมากที่สุด เรียกว่า ไพร่หลวง ที่มีหน้าที่จ่ายภาษี รับราชการในกองทัพ และทำงานบนที่ดินของพระมหากษัตริย์

พัฒนาการทางสังคมและการเมือง
https://jutatip14.wordpress.com/อาณาจักรอยุธยา/

พัฒนาการทางสังคมและการเมือง อย่างไรก็ดี การเกณฑ์กองทัพขึ้นอยู่กับมูลนาย ที่บังคับบัญชาไพร่สมของตนเอง มูลนายเหล่านี้จำต้องส่งไพร่สมให้อยู่ภายใต้บังคับบัญชาของพระมหากษัตริย์ในยามศึกสงคราม ฉะนั้น มูลนายจึงเป็นบุคคลสำคัญในการเมืองของอยุธยา มีมูลนายอย่างน้อยสองคนก่อรัฐประหารยึดราชบัลลังก์มาเป็นของตน ขณะที่การสู้รบนองเลือดระหว่างพระมหากษัตริย์กับมูลนายหลังจากการกวาดล้างข้าราชสำนัก พบเห็นได้บ่อยครั้ง

สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงกำหนดการแบ่งสรรที่ดินและไพร่ที่แน่นอนให้แก่ข้าราชการแต่ละขั้นในลำดับชั้นบังคับบัญชา ซึ่งกำหนดโครงสร้างสังคมของประเทศกระทั่งมีการนำระบบเงินเดือนมาใช้แก่ข้าราชการในสมัยรัตนโกสินทร์[34]

พระสงฆ์อยู่นอกระบบนี้ ซึ่งชายไทยทุกชนชั้นสามารถเข้าสู่ชนชั้นนี้ได้ รวมถึงชาวจีนด้วย วัดกลายมาเป็นศูนย์กลางการศึกษาและวัฒนธรรม ระหว่างช่วงนี้ ชาวจีนเริ่มเข้ามาตั้งถิ่นฐานในอยุธยา และไม่นานก็เริ่มควบคุมชีวิตเศรษฐกิจของประเทศ อันเป็นปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นช้านานอีกประการหนึ่ง

สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงเป็นผู้รวบรวมธรรมศาสตร์ (Dharmashastra) ประมวลกฎหมายที่อิงที่มาในภาษาฮินดูและธรรมเนียมไทยแต่โบราณ ธรรมศาสตรายังเป็นเครื่องมือสำหรับกฎหมายไทยกระทั่งปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 มีการนำระบบข้าราชการประจำที่อิงลำดับชั้นบังคับบัญชาของข้าราชการที่มีชั้นยศและบรรดาศักดิ์มาใช้ และมีการจัดระเบียบสังคมในแบบที่สอดคล้องกัน แต่ไม่มีการนำระบบวรรณะในศาสนาฮินดูมาใช้

หลังสมเด็จพระนเรศวรมหาราชทรงประกาศอิสรภาพจากราชวงศ์ตองอู พระองค์ทรงจัดการรวมการปกครองประเทศอยู่ใต้ราชสำนักที่กรุงศรีอยุธยาโดยตรง เพื่อป้องกันมิให้ซ้ำรอยพระราชบิดาที่แปรพักตร์เข้ากับฝ่ายราชวงศ์ตองอูเมื่อครั้งการเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่หนึ่ง พระองค์ทรงยุติการเสนอชื่อเจ้านายไปปกครองหัวเมืองของราชอาณาจักร แต่แต่งตั้งข้าราชสำนักที่คาดว่าจะดำเนินนโยบายที่พระมหากษัตริย์ส่งไป ฉะนั้น เจ้านายทั้งหลายจึงถูกจำกัดอยู่ในพระนคร การช่วงชิงอำนาจยังคงมีต่อไป แต่อยู่ใต้สายพระเนตรที่คอยระวังของพระมหากษัตริย์

เพื่อประกันการควบคุมของพระองค์เหนือชนชั้นผู้ว่าราชการใหม่นี้ สมเด็จพระนเรศวรมหาราชมีกฤษฎีกาให้เสรีชนทุกคนที่อยู่ในระบบไพร่มาเป็นไพร่หลวง ขึ้นตรงต่อพระมหากษัตริย์โดยตรง ซึ่งจะเป็นผู้แจกจ่ายการใช้งานแก่ข้าราชการ วิธีการนี้ให้พระมหากษัตริย์ผู้ขาดแรงงานทั้งหมดในทางทฤษฎี และเนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงเป็นเจ้าของกำลังของทุกคน

พระองค์ก็ทรงครอบครองที่ดินทั้งหมดด้วย ตำแหน่งรัฐมนตรีและผู้ว่าราชการ และศักดินาที่อยู่กับพวกเขา โดยปกติเป็นตำแหน่งที่ตกทอดถึงทายาทในไม่กี่ตระกูลที่มักมีความสัมพันธ์กับพระมหากษัตริย์โดยการแต่งงาน อันที่จริง พระมหากษัตริย์ไทยใช้การแต่งงานบ่อยครั้งเพื่อเชื่อมพันธมิตรระหว่างพระองค์กับตระกูลที่ทรงอำนาจ ซึ่งเป็นธรรมเนียมที่ปฏิบัติสืบต่อมาถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ผลของนโยบายนี้ทำให้พระมเหสีในพระมหากษัตริย์มักมีหลายสิบพระองค์

หากแม้จะมีการปฏิรูปโดยสมเด็จพระนเรศวรมหาราชก็ตาม ประสิทธิภาพของรัฐบาลอีก 150 ปีถัดมาก็ยังไม่มั่นคง พระราชอำนาจนอกที่ดินของพระมหากษัตริย์ แม้จะเด็ดขาดในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติถูกจำกัดโดยความหละหลวมของการปกครองพลเรือน อิทธิพลของรัฐบาลกลางและพระมหากษัตริย์อยู่ไม่เกินพระนคร เมื่อเกิดสงครามกับพม่า หัวเมืองต่าง ๆ ทิ้งพระนครอย่างง่ายดาย เนื่องจากกำลังที่บังคับใช้ไม่สามารถเกณฑ์มาป้องกันพระนครได้โดยง่าย กรุงศรีอยุธยาจึงไม่อาจต้านทานผู้รุกรานได้

พัฒนาการทางสังคมและการเมือง ศิลปะและวัฒนธรรม

การแสดงโขน และศิลปะนาฏศิลป์สยามประเภทต่างๆนั้นมีหลักฐานอย่างชัดเจนว่า มีการให้จัดแสดงขึ้นในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยาในลักษณะที่กล่าวได้ว่าเกือบจะเหมือนกับรูปแบบของนาฏศิลป์ไทยที่ปรากฏอยู่ในประเทศไทยในปัจจุบัน และที่แพร่หลายไปยังประเทศเพื่อนบ้าน

ทำให้สันนิษฐานได้ว่าศิลปะการละครของไทยน่าจะต้องถูกพัฒนาขึ้นจนสมบูรณ์ มาตั้งแต่ศตวรรษที่ 17 ตามสมัยคริสตกาลเป็นอย่างน้อย โดยในระหว่างที่ราชอาณาจักรอยุธยายังมีสัมพันธ์ทางการทูตโดยตรงกับฝรั่งเศส พระเจ้าหลุยส์ที่ 14 สุริยะกษัตริย์ (Sun King) แห่งราชอาณาจักรฝรั่งเศส

ได้ส่งราชทูต ชื่อ ซีมง เดอ ลาลูแบร์ มายังประเทศสยาม ในปี ค.ศ. 1687 และพำนักอยู่ในกรุงศรีอยุธยาเป็นเวลา 3 เดือน เพื่อให้จดบันทึกทุกอย่างเกี่ยวกับประเทศสยาม ตั้งแต่การปกครอง ภาษา ตลอดจนวัฒนธรรมประเพณี โดย ลา ลูแบร์ ได้มีโอกาสได้สังเกตการแสดงนาฏศิลป์ประเภทต่างๆในราชสำนักไทย และจดบันทึกไว้โดยละเอียดดังนี้:

“ชาวสยามมีศิลปะการเวทีอยู่สามประเภท: ประเภทที่เรียกว่า “โขน” นั้น เป็นการร่ายรำเข้า ๆ ออก ๆ หลายคำรบ ตามจังหวะซอและเครื่องดนตรีอย่างอื่นอีก ผู้แสดงนั้นสวมหน้ากาก และถืออาวุธ แสดงบทหนักไปในทางสู้รบกันมากกว่าจะเป็นการร่ายรำ และมาตรว่าการแสดงส่วนใหญ่จะหนักไปในทางโลดเต้นเผ่นโผนโจนทะยาน และวางท่าอย่างเกินสมควร

แต่ก็มีการหยุดเจรจาออกมาสักคำสองคำอยู่ไม่ได้ขาด หน้ากาก (หัวโขน) ส่วนใหญ่นั้นน่าเกลียด เป็นหน้าสัตว์ที่มีรูปพรรณวิตถาร หรือไม่เป็นหน้าอสูรปีศาจ ” ส่วนการแสดงประเภทที่เรียกว่า “ละคร” นั้นเป็นบทกวีที่ผสมผสานกัน ระหว่างมหากาพย์ และบทละครพูด ซึ่งแสดงกันยืดยาวไปสามวันเต็มๆ ตั้งแต่ ๘ โมงเช้า จนถึง ๑ ทุ่ม

ละครเหล่านี้เป็น ประวัติศาสตร์ที่ร้อยเรียงเป็นบทกลอนที่เคร่งครึม และขับร้องโดยผู้แสดงหลายคนที่อยู่ในฉากพร้อมๆกัน และเพียงแต่ร้องโต้ตอบกันเท่านั้น โดยมีคนหนึ่งขับร้องในส่วนเนื้อเรื่อง ส่วนที่เหลือจะกล่าวบทพูด แต่ทั้งหมดที่ขับร้องล้วนเป็นผู้ชาย ไม่มีผู้หญิงเลย … ส่วน “ระบำ” นั้นเป็นการรำคู่ของหญิงชาย ซึ่งแสดงออกอย่างอาจหาญ … นักเต้นทั้งหญิงและชายจะสวมเล็บปลอมซึ่งยาวมาก และทำจากทองแดง นักแสดงจะขับร้องไปด้วยรำไปด้วย พวกเขาสามารถรำได้โดยไม่เข้าพัวพันกัน เพราะลักษณะการเต้นเป็นการเดินไปรอบๆ อย่างช้าๆ โดยไม่มีการเคลื่อนไหวที่รวดเร็ว แต่เต็มไปด้วยการบิดและดัดลำตัว และท่อนแขน”

— ซีมง เดอ ลาลูแบร์,
จดหมายเหตุว่าด้วยราชอาณาจักรสยาม (ค.ศ.1693), หน้า 49

ในส่วนที่เกี่ยวกับการแต่งกายของนักแสดงโขน ลา ลูแบร์ ได้บันทึกไว้ว่า: “นักเต้นใน “ระบำ” และ “โขน” จะสวมชฎาปลายแหลมทำด้วยกระดาษมีลวดลายสีทอง ซึ่งดูคล้ายๆหมวกของพวกข้าราชการสยามที่ใส่ในงานพิธี แต่จะหุ้มตลอดศีรษะด้านข้างไปจนถึงใต้หู และตกแต่งด้วยหินอัญมณีเลียนแบบ โดยมีห้อยพู่สองข้างเป็นไม้ฉาบสีทอง”

เนื่องจากในสมัยอยุธยามีการสร้างสรรค์วรรณคดีไว้มาก วัตถุดิบวรรณคดีเหล่านั้นส่งผลให้การนาฏศิลป์ และการละครของสยาม ได้รับพัฒนาขึ้นจนมีความสมบูรณ์แบบทั้งในการแต่งกาย และการแสดงออกในระดับสูง และมีอิทธิพลต่ออาณาจักรข้างเคียงมาก ดังที่ กัปตันเจมส์ โลว์ นักวิชาการอังกฤษผู้เชี่ยวชาญด้านวัฒนธรรมเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ได้บันทึกไว้ในช่วงต้นรัตนโกสินทร์:

“พวกชาวสยามได้พัฒนาศิลปะการแสดงละครของตนจนเข้าถึงความสมบูรณ์แบบในระดับสูง — และในแง่นี้ศิลปะของสยามจึงเผยแพร่ไปสู่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งในพม่า ลาว และกัมพูชา ซึ่งล้วนแต่เสาะหานักรำละครของสยามทั้งสิ้น”

วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1687 วันที่ประมาณการ