Skip to content
Home » News » ฟอร์ดได้รับการยกย่อง ให้เป็น “บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน”

ฟอร์ดได้รับการยกย่อง ให้เป็น “บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน”

ฟอร์ดได้รับการยกย่อง ให้เป็น “บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน”
https://www.blockdit.com/posts/607087e797d95812c141237d?id=607087e797d95812c141237d&series=5fecc1fb186a470b2629256c

ฟอร์ดได้รับการยกย่อง ให้เป็น “บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน” ก่อนที่ฟอร์ดจะประสบความสำเร็จ เขาต้องผ่านความล้มเหลวถึงสองครั้ง โดยบริษัทแรกที่เขาก่อตั้งขึ้นคือ บริษัทรถยนต์ดีทรอยต์ ฟอร์ดอยู่เบื้องหลังในการออกแบบและผลิตรถยนต์ โดยมีวิลเลี่ยม เอช เมอร์ฟี่ เป็นผู้สนับสนุนทางการเงินให้เขา แต่ผ่านมา 1 ปี บริษัทก็ล้มละลาย เพราะรถที่ผลิตออกมามีราคาแพงไป 

ฟอร์ดไม่ยอมแพ้ ขอโอกาสครั้งที่สองเรื่องเงินทุนกับเมอร์ฟี่อีกครั้งเพื่อก่อตั้งบริษัทใหม่ และเมอ์ฟี่ยินดีจะช่วยเหลือ แต่ท้ายที่สุดบริษัทก็ล้มเหลวอีกครั้ง   อย่างไรก็ตาม ฟอร์ดไม่ยอมแพ้ เขาก่อตั้งบริษัทขึ้นใหม่อีกครั้งในชื่อ “ฟอร์ด มอเตอร์” เมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ปี ค.ศ. 1903

แต่ครั้งนี้มีแหล่งเงินทุนใหม่ที่ยินดีพร้อมจะช่วยเหลือเขาอย่างเต็มที่ นั่นก็คือ เลกซานเด มาลคัมสัน และด้วยความช่วยเหลือนี้เอง ทำให้เขาสามารถออกแบบรถยนต์ราคาถูกและทนทาน และทำให้บริษัทของเขามั่นคงและโด่งดังจนมาถึงทุกวันนี้

เฮนรี่ ฟอร์ด อาจจะไม่ใช่นักประดิษฐ์รถยนต์ที่เก่งที่สุดในโลก แต่เขาไม่เป็นรองใครในการทำธุรกิจด้านรถยนต์ เพราะเขาสามารถผลิตรถยนต์ที่มีรูปทรงดูดีขึ้น มีความแข็งแรงและทนทานมากขึ้น และมีราคาลดลงไปกว่าเดิมเรื่อยๆ ในยุคที่คนทั่วไปมองว่ารถยนต์เป็นของอันตรายและไว้ใจไม่ได้อีกทั้งมีราคาที่แพงมากไป

ในปี ค.ศ. 1925 บริษัทสามารถผลิตรถยนต์ 10,000 คันต่อวัน ซึ่งพลังการผลิตนี้คิดเป็น  60% ของรถที่ผลิตออกมาทั้งหมดในสหรัฐอเมริกา

สหรัฐอเมริกาได้เข้าร่วมในสงครามโลกครั้งที่ 2 ในปีค.ศ.1941 (พ.ศ.2484) ซึ่งบริษัทของเฮนรีก็ได้ผลิตเครื่องยนต์ของเครื่องบิน รวมทั้งรถจี๊ปทหาร ส่งให้กองทัพในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 นี้เอง

นอกจากผลิตรถยนต์แล้วบริษัทฟอร์ดยังกระโดดเข้ามาทำธุรกิจผลิตเครื่องบินอีกด้วย ซึ่งเครื่องบินที่ประสบความสำเร็จของฟอร์ดมากที่สุดคือ Ford 4ATrimotor บรรทุกผู้โดยสารได้ทั้งสิ้น 12 คน ซึ่งถือว่าเป็นครั้งแรกของสหรัฐอเมริกาที่เครื่องบินสามารถบรรทุกผู้โดยสารได้

สุขภาพของเฮนรีก็แย่ลงเรื่อยๆ เขาเริ่มจะจำชื่อคนไม่ได้ค.ศ.1942 (พ.ศ.2485) เอ็ดเซลเป็นมะเร็งกระเพาะอาหาร และในปีค.ศ.1943 (พ.ศ.2486) ก็ได้วางแผนจะลาออกจากบริษัท หากแต่เอ็ดเซลก็เสียชีวิตก่อนที่จะทันลาออกเฮนรีนั้นเศร้าโศกต่อการจากไปของลูกชาย โดยภายหลังจากที่เอ็ดเซลจากไป

เขามักจะพูดถึงลูกชายอย่างรักใคร่ บางครั้งก็ร้องไห้และเสียใจที่ตนนั้นเข้มงวดและไม่ได้ปฏิบัติกับลูกชายดีเท่าที่ควรในเดือนมิถุนายน ค.ศ.1943 (พ.ศ.2486) เฮนรีขึ้นเป็นประธานบริษัท Ford Motor Company อีกครั้งคลาราและเอเลนอร์ ได้เสนอแนะให้เฮนรีแต่งตั้ง “เฮนรีที่ 2 (Henry Ford II)” ลูกชายคนโตของเอ็ดเซล ขึ้นเป็นผู้บริหาร

หากแต่เฮนรีก็เป็นคนหัวดื้อ เขาไม่ไว้ใจให้ใครขึ้นมาบริหารอาณาจักรที่สร้างเองกับมือ ต่อให้เป็นหลานชายแท้ๆ ก็ตามแต่ถึงอย่างนั้น เฮนรีที่ 2 ก็ได้มาทำงานในบริษัทของปู่ และเรียนรู้งานด้วยตนเอง ซึ่งผู้เป็นปู่ก็มักจะหมางเมิน ไม่สนใจหลานชาย

ขณะที่สงครามโลกครั้งที่ 2 ใกล้จะสิ้นสุด สุขภาพของเฮนรีก็แย่ลงเรื่อยๆ ความจำของเขาเริ่มเลือนไปเรื่อยๆเฮนรีที่ 2 ได้ไปเยี่ยมเฮนรี และกล่าวว่าถึงเวลาที่ปู่ต้องวางมือจากบริษัทแล้วคลาราก็สนับสนุนหลานชาย โดยเธอได้พูดกับเฮนรีว่า“เฮนรี ฉันคิดว่าหลานของเราควรต้องสืบต่อบริษัทนะ”เฮนรียังคงไม่ต้องการที่จะวางมือ เขาสร้างบริษัทมากับมือ ทุ่มเททั้งชีวิตและจิตวิญญาณไปกับบริษัทนี้ แต่สุดท้าย เฮนรีก็ต้องยอมรับความจริงเขายอมให้เฮนรีที่ 2 ขึ้นเป็นผู้บริหาร

ฟอร์ดได้รับการยกย่อง ให้เป็น “บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน” ในปีค.ศ.1945 (พ.ศ.2488) เฮนรีที่ 2 ขึ้นเป็นผู้บริหารบริษัทที่ใหญ่ระดับโลก มีคนงานกว่า 120,000 คน และมีมูลค่าบริษัทมากกว่า 1,000 ล้านดอลลาร์ (ประมาณ 30,000 ล้านบาท)เฮนรีใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายอย่างสงบ ก่อนที่จะเสียชีวิตในวันที่ 7 เมษายน ค.ศ.1947 (พ.ศ.2490) จากอาการเลือดออกในสมองสองวันต่อมา คนกว่า 100,000 คนมาร่วมไว้อาลัยที่หมู่บ้านของเขา

ฟอร์ดได้รับการยกย่อง ให้เป็น “บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน”
https://www.blockdit.com/posts/607087e797d95812c141237d?id=607087e797d95812c141237d&series=5fecc1fb186a470b2629256c

ชาวอเมริกันและอาจจะคนทั้งโลก ชื่นชมในความเก่งกาจและการที่เขาสามารถทำให้รถยนต์เข้าถึงผู้คน กลายเป็นส่วนหนึ่งของวิถีชีวิตผู้คนในช่วงที่รุ่งเรืองที่สุด เฮนรีได้เคยเขียนแนวคิดของตนเองลงหนังสือพิมพ์ โดยเขากล่าวว่า“คุณค่าของผู้คนและแนวคิด คือการใช้ความสามารถที่มีในการทำให้โลกน่าอยู่ขึ้น”จากเด็กในครอบครัวชาวไร่ ผู้ชื่นชอบในเรื่องของเครื่องยนต์กลไก สามารถก้าวขึ้นมาเปลี่ยนแปลงโลกแห่งยานยนต์และดูเหมือนว่าเขาจะสามารถทำให้โลกน่าอยู่ขึ้นได้จริงๆ

เฮนรี่ ฟอร์ด เสียชีวิตเมื่อวันที่ 7 เมษายนต์ ค.ศ.1947 ที่แฟร์เลน ด้วยวัย 84 ปี บ้านในเมืองเดียร์บอร์นของเขา และร่างของเขาถูกนำไปฝังไว้ที่สุสานฟอร์ดในกรุงดีทรอยด์ แม้จะจากไปนานแล้วกว่า 6 ทศวรรษแต่ชื่อของเขาก็กลายเป็นตำนานแห่งวงการผู้ผลิตรถยนต์แบบใหม่มาจนถึงทุกวันนี้

ฟอร์ดได้รับการยกย่องให้เป็น “บิดาแห่งการผลิตระบบสายพาน” ปัจจุบันบริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ ได้ขยายกิจการธุรกิจรถยนต์ไปทั่วโลก โดยเป็นเจ้าของธุรกิจรถยนต์แบรนด์อเมริกันคือ “ฟอร์ด” (Ford) “ลินคอล์น” (Lincoln) และ “เมอร์คิวรี” (Mercury) และปัจจุบันยังมีหุ้น แอสตันมาร์ติน (Aston Martin) อยู่

นอกจากนี้ยังร่วมลงทุนกับบริษัทผลิตรถยนต์ของญี่ปุ่นคือ “มาสด้า” (Mazda) และเคยเป็นเจ้าของแบรนด์อังกฤษคือ จากัวร์ (Jaguar) แลนด์ โรเวอร์ (Land Rover) และแบรนด์สวีเดนคือ “วอลโว่” (Volvo) ฟอร์ด มอเตอร์ทำรายได้ต่อปีประมาณ 12.6 พันล้านบาท (ปี 2549) มีพนักงานทั่วโลกราว 280,000 คน (ปี 2549)

วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1941 วันที่ประมาณการ