
ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากกรมตำรวจ ศาลชั้นต้น พิพากษาประหารชีวิตทั้งหมด ก่อนที่ศาลฎีกาจะยกฟ้องเมื่อปี 2538
แต่กว่าจะถึงวันนั้น นายรุ่งเฉลิม ก็ตรอมใจตายในคุก นายพิทักษ์ พ้นโทษออกมาไม่นานก็เสียชีวิตจากโรคที่ติดขณะถูกจองจำ นายกระแสร์ ถูกทำร้ายจนพิการแถมลูกเมียก็เสียชีวิตขณะที่ตัวเองอยู่ในเรือนจำ
มีเพียงนายธวัช ที่อยู่รอดปลอดภัยแต่ก็เสียโอกาสในอนาคตไปเกือบ 10 ปี
หลังมีคำพิพากษาไม่นานตำรวจกองปราบปรามชุด พล.ต.ต.คำนึง ธรรมเกษม ผบก.ป. รื้อคดีและสามารถจับฆาตกรตัวจริงคือ นายสมพงษ์ หรือจ้าย บุญฤทธิ์ และ นายสมัคร ธูปบูชากร และ น.ส.สุวิบูล พัฒนพงษ์พานิช แฟนอีกคนของนายวินัย ที่ถูกซัดทอดว่าเป็นผู้จ้างวาน
เดือนสิงหาคม 2538 ศาลชั้นต้นตัดสินประหาร น.ส.สุวิบูล และนายสมพงษ์ ส่วนนายสมัคร ลดโทษเหลือจำคุกตลอดชีวิต
เดือนพฤษภาคม 2542 ศาลฎีกายกฟ้อง น.ส.สุวิบูล ส่วนมือฆ่าเชอรี่แอน ต้องรับโทษตามที่ศาลชั้นต้นตัดสิน
“ช่วงเกิดคดีสื่อมวลชนออกข่าวทั่วประเทศ หนังสือพิมพ์ ทีวีทุกช่อง ลงข่าวกันครึกโครมหมดเลย แต่ตอนศาลยกฟ้องมีข่าวแค่นี้ (ทำมือให้ดูว่าเป็นข่าวสั้นๆ) แล้วประชาชนจะรู้หรือว่าพวกเราไม่ได้ผิด เขาต้องคิดว่าเรายังเป็นฆาตกรอยู่ เพราะเขาไม่รู้ว่าศาลยกฟ้องเรา ตอนออกมาจากคุกมีทนายอยู่ 1 คน
ช่วยเหลือว่า ฟ้องเรียกค่าเสียหาย จากกรมตำรวจ แต่ฟ้องแบบไม่มีสตางค์ ฟ้องอนาถา ศาลตัดสินแล้วว่าตำรวจพวกนั้นไม่เกี่ยว ให้ฟ้องกับกรมตำรวจ ตอนนี้ฟ้องกับกรมตำรวจอยู่ฟ้องเรียกค่าเสียหาย ตอนโดนจับเสียชื่อเสียง คนอื่นเกลียดว่าเป็นฆาตกร ทั่วประเทศลงข่าวครึกโครมส่วนนี้เรียก 10 ล้านบาท
และตำรวจทำร้ายร่างกายทำให้พิการทางสมอง ข้าพเจ้าก็เรียกอีก 5 ล้านบาท แล้วข้าพเจ้าเคยทำงานด้านรักษาความปลอดภัยได้เงินเดือนๆ ละ 3,300 บาทประมาณ 21 เดือนคิดเป็นเงิน 96,300 บาท แล้วก็ตอนที่ข้าพเจ้าเสียอิสรภาพถูกจับเข้าไปอยู่ในคุก ถูกใส่โซ่ตรวนตลอด 24 ชั่วโมง
มีกินบ้างไม่มีบ้างตอนอยู่ในคุก แล้วแดนประหารมีนักโทษทุกประเภท ไม่มีใครกลัวใคร บางคนก็ประสาทเสีย บางคนก็บ้า ก็ต้องทนอยู่กันอย่างนั้น ลำบากมาก ตรงนี้เรียก 10 ล้านบาท แล้วแต่ศาลจะเมตตาให้”ทนายไม่ได้บอกว่าคดีจะสิ้นสุดเมื่อไหร่ ข้าพเจ้าก็ไปขึ้นศาล ฝ่ายอัยการก็เลื่อนเรื่อย ศาลรัชดาเลื่อนเรื่อย นี้ก็เลื่อนข้าพเจ้าไป
วันที่ 3 เมษายน เวลา เช้า 09.00 น. ข้าพเจ้าไม่ได้หวังว่าจะชนะคดีได้เงิน 25 ล้านบาท แล้วแต่ศาลจะเมตตา ได้แค่ 1 ล้าน ครึ่งล้าน แค่ให้พอมีเงินไปใช้หนี้เขา ตอนที่แม่ข้าพเจ้ามาเยี่ยมในคุก แม่อยู่อยุธยาต้องยืมเงินเขามาเยี่ยมข้าพเจ้า ปัจจุบันมีอาชีพขายปลาตู้ ปลากัด และรับจ้างเป็นยามบ้างหรือใครจ้างให้ทำอะไรก็ไปไม่พอกินสำหรับแพะแดนประหารอยู่ในคุกบอกไม่ถูกว่าจะได้ออกหรือไม่ได้ออก คิดว่าจะได้ออกก็คิดไม่ได้ คิดว่าจะตายก็เอ๊ะ ยังไงก็บอกไม่ถูก
คล้ายๆ หมดอาลัยแล้ว ถึงคราวก็ตายคิดแบบนี้ เพราะไม่รู้ว่ากองปราบปรามกำลังเดินเรื่องให้เรา ไม่เคยมีใครมาส่งข่าวให้เลย ตอนไปศาล ตำรวจโรงพักมากันใหญ่เลยทั้งที่เราไม่ได้ผิดเลย ใส่ตรวน 2 เส้น ใส่กุญแจมืออีก จนจะเดินไม่ไหวอยู่แล้ว ทำกับเราน่าดู สุดท้ายตำรวจบอกทำไปตามหน้าที่ ทำไปตามพยานหลักฐาน เขาก็พ้นไป จะว่าเป็นเวรกรรมของข้าพเจ้า ก็เป็นกรรมที่มันพวกนี้สร้างกรรมให้เรา พวกตำรวจร่วมกันจับพวกเรา สร้างกรรมให้เรา
ทำให้หลายชีวิตต้องลำบาก ลูกเมียลำบาก ในแดนประหารมีคนทุกชนิด บางคนก็ไม่ได้ทำความผิด จับเขาไปไว้ในนั้น บางคนก็สู้คดี ได้คุยกับบางคนไม่ได้มีความผิดบางคนไม่รู้เรื่อง ตำรวจชอบปิดคดีเร็วๆ ข้าพเจ้าว่าตอนนี้ในแดนประหารมีคนที่ไม่ผิดอยู่ แต่เราไม่รู้ว่าเขาจับกันมาอย่างไร แต่คดีข้าพเจ้าเป็นคดีดัง
แต่อยู่ๆ ก็เงียบไม่มีใครรับผิดชอบ บางคนถ้าเกิดเป็นคดีแบบข้าพเจ้า ถ้าหลักฐานที่เขาสร้างมาแน่นหนาก็ต้องโดนประหารทั้งที่ตัวเองไม่ได้ทำความผิด อยากเรียกร้องให้ประเทศไทยมีกฎหมายจ่ายค่าเสียหายชดเชยให้กับคนที่ถูกจับไปอยู่ในคุกโดยไม่รู้เรื่อง ศาลเขาคงจะอ่านหนังสือบ้างว่าคดีแพะมาอีกแล้ว
ข้าพเจ้าเห็นข่าวในทีวีจับแพะคดีปล้นร้านทองอีก เขาคงคิดว่าเป็นเวรกรรมของมัน จับเขาไปแล้ว คนจับส่งเป็นใคร คดีข้าพเจ้าจำชื่อได้หมดตอนนี้เป็นนายตำรวจชั้นผู้ใหญ่กันแล้ว แต่อย่าไปเอ่ยชื่อเขาเลยไม่ดี เดี๋ยวส่งคนมาเก็บอีกจะยุ่ง”
จากการรื้อคดี เจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามสามารถจับกุมคนร้ายตัวจริงได้ คือนายสมัคร ธูปบูชาการ และนายสมพงษ์ บุญฤทธิ์ ผู้ต้องหารับสารภาพทุกข้อกล่าวหา ศาลตัดสินจำคุกตลอดชีวิต ส่วนผู้จ้างวานฆ่าเป็นสาวตระกูลดัง ซึ่งศาลชั้นต้นตัดสินประหารชีวิต แต่ต่อสู้คดีทั้งชั้นอุทธรณ์และฎีกาตามลำดับ กระทั่งศาลฎีกายกฟ้อง เนื่องจากหลักฐานไม่เพียงพอ
สุดท้ายคดีเชอร์รี่แอน 4 ผู้ต้องหาตกเป็นจำเลยของสังคมเป็นแพะติดคุกกว่า 6 ปี ซึ่งศาลพิพากษาสั่งให้ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายรวม 38 ล้านบาท คดีส่งผลให้ต่อมามีการตรา พ.ร.บ. ค่าตอบแทนผู้เสียหาย และค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายแก่จำเลยในคดีอาญา พ.ศ.2544 ส่วน
สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ออกคำสั่งที่ 658/2542 ลงโทษข้าราชการตำรวจที่มีส่วน กระทำผิดวินัยร้ายแรง ปั้นพยานเท็จ คนขับสามล้อที่มาให้การเท็จ ศาลพิพากษาจำคุก 8 ปี ทั้งนี้คดีเชอร์รี่แอนไม่ใช่เพียงเป็นคดีประวัติศาสตร์แต่ยังถือเป็นบทเรียนที่ยิ่งใหญ่ของวงการตำรวจไทยอีกด้วย
ตร.เผ่น-พยานเท็จใช้กรรม
พร้อมๆ กับการดำเนินคดีกับกลุ่มฆาตกรตัวจริง สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตั้งกรรมการสอบสวนตำรวจชุดจับแพะ ประกอบด้วย พล.ต.ต.กว้าง ชาญศิลป์ ผบก.ทท. (อดีต ผกก.ภ.สมุทรปราการ), พ.ต.อ.วิสาร เปล่งขำ, พ.ต.อ.สันติ เพ็ญสูตร, พ.ต.ท.ประหยัด เงางาม และ พ.ต.อ.มงคล ศรีโพธิ์
จริงแล้วยังมีอีก 1 คนคือ พ.ต.ท.ลำเลิศ ธรรมนิธา อดีตรอง ผกก.ภ.จ.สมุทรปราการ ซึ่งสนิทสนมกับ น.ส.สุวิบูล ถึงขั้นทำกิจการร่วมกัน แต่เสียชีวิตไปก่อนแล้วในขณะที่คดีแพะยังอยู่ในศาล
ผลที่ออกมาพบว่ามีผู้กระทำความผิดเพียง 2 คนคือ พ.ต.อ.มงคล และ พ.ต.ท.ล้ำเลิศ
พ.ต.อ.มงคล ถูกไล่ออกจากราชการ แต่ก็ไม่มีประโยชน์อะไรเนื่องจากช่วงที่ถูกตัดสินนั้นเกษียณอายุไปแล้ว จากนั้นก็เดินทางไปปักหลักที่สหรัฐอเมริกา
ส่วนนายตำรวจคนอื่นๆ ไม่มีความผิด และส่วนใหญ่ยังรับราชการเจริญก้าวหน้าในอาชีพอยู่ในขณะนี้
ตัวละครสำคัญอีกคนคือนายประเมิน พยานเอกที่ตำรวจใช้เล่นงานแพะทั้ง 4 คน ถูกจับกุมและสารภาพว่าให้การเท็จปรักปรำแพะเนื่องจากได้รับเงินค่าจ้างจากพนักงานสอบสวนจำนวน 20,000 บาท และสังกะสีมุงหลังคาอีก 50 แผ่น ถูกตัดสินใจำคุก 8 ปีข้อหาให้การเท็จ
ห้วงเวลาเดียวกันนี้เองแพะที่เหลืออีก 2 คนคือนายกระแสร์ และนายธวัช ร่วมกับทายาท-ภรรยาของนายรุ่งเฉลิม และนายพิทักษ์ ตัดสินใจร่วมกันเป็นโจทก์ฟ้องสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และพนักงานสอบสวนคดีนี้ทั้งหมด ในข้อหาละเมิด เรียกค่าเสียหาย 54 ล้านบาท
จากปี 2538 ที่มีการฟ้องร้อง ศาลแพ่งพิจารณาคดีนี้นานกว่า 6 ปี ก่อนที่จะมีคำพิพากษาออกมาเมื่อปลายเดือนกันยายน ที่ผ่านมา
น่าเสียดายที่แพะอีกคนคือนายธวัช เสียชีวิตระหว่างการต่อสู้คดีแพ่งนี้