Skip to content
Home » News » ภารกิจกู้เรือยักษ์

ภารกิจกู้เรือยักษ์

ภารกิจกู้เรือยักษ์ เป็นอีกหนึ่งข่าวที่กำลังเป็นที่สนใจของทั้งโลกในขณะนี้ สำหรับกรณีเรือบรรทุกสินค้าขนาดยักษ์ของบริษัทเอเวอร์กรีน มารีน จากไต้หวัน ซึ่งมีความยาวประมาณ 400 เมตร และระวางขับน้ำประมาณ 200,000 ตัน ประสบเหตุเกยตื้นชายฝั่งคลองสุเอซ ตั้งแต่วันที่ 23 มี.ค.ที่ผ่านมา

ภารกิจกู้เรือยักษ์ เจ้าหน้าที่ระดมช่วยให้หลุดเกยตื้น เริ่มกลับมาลอยได้แล้ว

นนี้ (29มี.ค.64) บริษัทอินช์เคป (Inchcape) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการทางทะเล ได้ประกาศผ่านทางทวิตเตอร์ว่า เรือ Ever Given ซึ่งเป็นเรือขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ที่เกยตื้นจนกีดขวางเส้นทางสัญจรในคลองสุเอซ ขณะนี้กลับมาลอยได้อีกครั้งแล้ว และกำลังได้รับการช่วยกู้เพิ่มเติมโดยทีมเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน อินช์เคปเปิดเผยผ่านทวิตเตอร์ว่า

ภารกิจกู้เรือยักษ์ขวางคลองสุเอซสำเร็จ จนกลับมาลอยอีกสำเร็จ ณ เวลา 04.30 น.ของวันที่ 29 มี.ค. 2564 ขณะนี้กำลังมีการช่วยกู้อย่างต่อเนื่อง และจะประกาศข้อมูลเพิ่มเติมเรื่องแผนดำเนินการขั้นต่อไปเมื่อทราบแน่นอนแล้ว”

อย่างไรก็ตาม  แม้ว่าจะกลับมาลอยได้อีกครั้ง แต่ก็ยังไม่มีรายงานว่าจะต้องใช้เวลาอีกนานเท่าไร กว่าเส้นทางเดินเรือของคลองสุเอซนี้จะกลับมาเป็นปกติอีกครั้ง เนื่องจากโดยปกติแล้วต่อวันจะมีเรือเพียง 50 ลำเท่านั้น และในขณะนี้ มีเรือมากกว่า 450 ลำยังคงรอใช้เส้นทางดังกล่าวอยู่อีกด้วย

https://www.tnnthailand.com/news/world/75530/

ภารกิจครั้งใหญ่กู้เรือคอนเทนเนอร์ขนาดยักษ์ ‘เอเวอร์ กิฟเวน’

นายปีเตอร์ เบอร์โดสกี ผู้บริหารบริษัท Boskalis ผู้ปฏิบัติการกู้เรือครั้งนี้ระบุว่า เรือเอเวอร์ กิฟเวน กลับมาลอยลำได้เมื่อเวลา 15:05 น. ตามเวลาท้องถิ่นวันนี้ “ทำให้เส้นทางสัญจรในคลองสุเอซกลับมาใช้งานได้อีกครั้ง”

เมื่อ 29 มีนาคม 64 เว็บไซต์เดลี่เมลเกาะติดภารกิจครั้งใหญ่กู้เรือคอนเทนเนอร์ขนาดยักษ์ ‘เอเวอร์ กิฟเวน’ ขวางคลองสุเอซ ในอียิปต์ และเมื่อเช้ามืดวันนี้ ทีมกู้เรือต้องดีใจกันสุดๆ เมื่อสามารถปลดปล่อยเรือยักษ์ให้กลับมาลอยน้ำอีกครั้ง หลังจากเกยตื้นมาเกือบสัปดาห์ โดยอาศัยโอกาสกระแสน้ำขึ้น ในวันพระจันทร์เต็มดวง ซุปเปอร์ฟูลมูน ประกอบกับมีการขุดทรายในบริเวณที่เรือเกยตื้นออกไปเป็นมากถึงอย่างน้อย 27,000 ลูกบาศก์เมตรนั้น หน่วยงานบริหารจัดการคลองสุเอซ เปิดเผยว่า ขณะนี้ ทีมกู้เรือสามารถปลดปล่อยเรือ เอฟเวอร์ กิฟเวน ออกมาจากจากริมฝั่งได้ประมาณ 335 ฟุต หรือราว 102.108 เมตร และเรือยักษ์ ซึ่งมีขนาดระวางขับน้ำถึง 2.2 แสนตัน ได้หันมาอยู่ทิศทางของตำแหน่งในการเดินเรือแล้วประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์

ก่อนหน้านี้ สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า บรรดาเจ้าหน้าที่จากองค์การคลองสุเอซและบริษัทกู้ภัยทางน้ำ สมิท ซัลเวจ จากเนเธอร์แลนด์ ได้ใช้เรือลากจูงเพื่อหันลำเรือจากฝั่งคลอง ทำให้ส่วนท้ายเรือถอยออกจากฝั่งเป็นระยะทาง 102 เมตรจากเดิมที่ห่างเพียง 4 เมตร ถือว่าเป็นความสำเร็จในการทำให้เรือขนส่งสินค้ายักษ์ลำนี้กลับมาลอยลำได้อีกครั้ง


ขณะที่ข้อมูลภาพถ่ายจากดาวเทียม ของ Vesselfinder ยังแสดงให้เห็นว่า ขณะนี้เรือยักษ์ เอฟเวอร์ กิฟเวน ถูกล้อมด้วยทัพเรือลากจูง ซึ่งทางเจ้าหน้าที่อียิปต์เผยด้วยว่า ทีมกู้เรือจะใช้เรือลากจูงประมาณ 10 ลำช่วยกันลากเรือยักษ์ เอฟเวอร์ กิฟเวน มายังบริเวณกลางคลองสุเอซทันทีที่น้ำขึ้นอีกครั้งในคืนนี้

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2059516

นายโอซามา ราบี ประธานสำนักงาน ‘Suez Canal Authority’ แถลงข่าวว่า เรือสินค้า 113 ลำ จะมีการทยอยแล่นผ่านคลองสุเอซ จนถึงเวลา 18.00 น.ของวันอังคารนี้ ตามเวลามาตรฐานสากล พร้อมกันนั้น นายราบียังได้กล่าวยกย่องทีมงานทุกคนที่ช่วยในปฏิบัติการกู้เรือยักษ์ เอฟเวอร์ กิฟเวน จนสำเร็จลุล่วงในเวลารวดเร็วจนทำลายสถิติ โดยอ้างว่าหากเป็นที่อื่นต้องใช้เวลานานนับ 3 เดือนเลยทีเดียว ด้านสำนักงานให้บริการจัดการคลอง ‘Leth Agencies’ ได้ทวีตข้อความแจ้งว่า ขณะนี้เรือยักษ์ เอฟเวอร์ กิฟเวน ได้ถูกคุ้มกันไปถึงทะเลสาบ เกรท บิตเทอร์ ‘Great Bitter Lake’ อย่างปลอดภัยแล้ว และได้ทอดสมอเพื่อรอการตรวจสอบต่อไป ถึงสาเหตุที่ทำให้เรือเกิดการเสียหลักขวางคลองสุเอซ

https://www.thairath.co.th/news/foreign/2060055

นายโอซามา ราบี ประธานสำนักงาน Suez Canal Authority แถลงข่าวหลังปฏิบัติการกู้เรือคอนเทนเนอร์ยักษ์ เอฟเวอร์ กิฟเวน ประสบความสำเร็จ

ด้านบริษัทบอสกาลิสที่ดูแลปฏิบัติการกู้เรือ เปิดเผยว่า เรือลำนี้กลับมาลอยลำได้อีกครั้งเมื่อเวลา 15.05 น. ตามเวลาท้องถิ่นของวันจันทร์ในอียิปต์ หรือตรงกับเวลา 20.05 น. ของเมื่อคืนที่ผ่านมาตามเวลาในไทย

โดยวิธีการกู้เรือ คือการขุดดินและทรายบริเวณหัวเรือ รวม 27,000 ลูกบาศก์เมตร ความลึก 18 เมตร จากนั้นจึงใช้เรือลากจูงและดันเพื่อให้เรือสินค้าขนาดใหญ่หลุดพ้นจากการเกยตื้น นอกจากนี้ยังมีการระบายน้ำออกจากเรือเพื่อลดน้ำหนักอีกด้วย ส่วนตัวเลขความเสียหายทางเศรษฐกิจจากการปิดคลองสุเอซในแต่ละวันมีการประเมินไว้ว่าส่งผลให้การค้าโลกเสียหายประมาณ 180,000 ถึง 300,000 ล้านบาทต่อวัน ในขณะที่ทางการอียิปต์สูญเสียรายได้วันละประมาณ 360 – 420 ล้านบาท เมื่อเดือนเมษายน ทางการอียิปต์ยึดเรือเอเวอร์ กิฟเวน ซึ่งเป็นหนึ่งในเรือขนส่งตู้คอนเทเนอร์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก ที่มีความยาวราว 400 เมตร และขนาดราว 200,000 ตัน หลังเรือยักษ์เกยตื้นเมื่อวันที่ 23 มี.ค. และปิดกั้นการสัญจรเป็นเวลา 6 วัน

อียิปต์ “ยึดเรือดัง”

นที่ 14 เม.ย. เดลีเมล์ รายงานว่า สำนักงานบริหารคลองสุเอซ (เอสซีเอ) ประเทศอียิปต์ ระบุเมื่อวันอังคารที่ 13 เม.ย.ว่า ทางการอียิปต์ดำเนินการตามหมายศาลยึด เรือเอ็มวี เอฟเวอร์ กิฟเวน เรือบรรทุกสินค้าขนาดใหญ่ที่ประสบเหตุเกยตื้นขวางคลองสุเอซเมื่อปลายเดือนมี.ค.ที่ผ่านมา จนกว่า บริษัท โชเอะ คิเซ็น ไคฉะ บริษัทญี่ปุ่น เจ้าของเรือลำนี้จะจ่ายเงิน 900 ล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือกว่า 28,300 ล้านบาท เพื่อชดเชยความเสียหายที่เกิดขึ้นจากเหตุเกยตื้นกระเทือนเศรษฐกิจโลก

บริษัทญี่ปุ่นเจ้าของเรือเอเวอร์ กิฟเวน โดนเรียกค่าเสียหายมหาศาลหลังเรือเกยตื้นขวางคลองทำการเดินผ่านคลองสุเอซเป็นอัมพาต ขณะที่เรือเจ้าปัญหายังจอดอยู่ที่อียิปต์ สำนักข่าว เอ็นเอชเค รายงาน หน่วยงานของอียิปต์ ได้เรียกร้องเงินค่าเสียหายมูลค่า 550 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 17,204 ล้านบาท จากบริษัทเรือสัญชาติญี่ปุ่นเจ้าของเรือเอเวอร์ กิฟเวน หลังเรือลำดังกล่าวได้ขวางคลองสุเอซ เป็นเวลานานเกือบสัปดาห์ในเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ขณะที่หน่วยงานบริหารจัดการคลองสุเอซ ได้เรียกเงินชดเชยจำนวน 920 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 28,765 ล้านบาทจากเหตุการณ์ดังกล่าว โดยชี้แจ้งว่าต้องใช้แรงงานกว่า 600 ราย ในขั้นตอนการผลักดันเรือให้สามารถลอยได้อีกครั้ง ซึ่งจำนวนเงินที่ได้เรียกร้องยังครอบคลุมค่าชดเชยแก่พนักงานเสียชีวิตจากการทำงานด้วย ขณะที่การพิจารณาของศาลระบุว่าเรือยักษ์เอเวอร์ กิฟเวน จะเทียบท่าที่ประเทศอียิปต์ไปจนกว่าจะมีการจ่ายเงินชดเชย

ส่วนบริษัทโชเอะ คิเซ็น ไคชา (Shoei Kisen Kaisha) เจ้าของเรือเอเวอร์ กิฟเวน ในจังหวัดเอฮิเมะ ทางตะวันตกของญี่ปุ่น ได้เสนอจ่ายเงินค่าเสียหายจำนวน 150 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือราว 4,690 ล้านบาท 

ทั้งนี้เรือเอเวอร์ กิฟเวน ที่เกยตื้นขวางคลองมีนาคม ส่งผลให้การเดินเรือผ่านคลองสุเอซเป็นอัมพาต สร้างความเสียหายให้แก่การค้าโลกคิดเป็นมูลค่าถึงพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ก่อนที่เจ้าหน้าที่จะสามารถกู้เรือให้กลับมาลอยเปิดทางการขนส่งอีกครั้งในวันที่ 29 พฤษภาคม 64 และต้องใช้เรือลากจูงมากถึง 15 ลำ.