Skip to content
Home » News » มหากาพย์คดีเพชรซาอุ

มหากาพย์คดีเพชรซาอุ

มหากาพย์คดีเพชรซาอุ ส.ค. 2532 เกรียงไกร เตชะโม่ง แรงงานไทยชาวลำปาง คนงานในพระราชวังของเจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด โจรกรรมเพชร ทอง และอัญมณี ช่วงที่เจ้าชายไฟซาลเสด็จไปพักผ่อนที่ต่างประเทศ

สื่อไทยรายงานว่าเขาขโมยเครื่องเพชรออกมาได้นับร้อยชิ้น น้ำหนักรวมกันกว่า 90 กก. รวมทั้ง “บลูไดมอนด์” ซึ่งเป็นเพชรเก่าแก่หายากสีน้ำเงินขนาด 50 กะรัต ว่ากันว่าเพชรล้ำค่าประจำราชวงศ์ซาอุดีอาระเบียเม็ดนี้เป็นหนึ่งในเพชรที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก

มหากาพย์คดีเพชรซาอุ
https://www.voicetv.co.th/read/340023

มหากาพย์คดีเพชรซาอุ ปี 2532  นายเกรียงไกร เตชะโม่ง ชาว จ.ลำปางถูกระบุว่าเป็นคนร้าย ขโมยเพชรจากพระราชวังของกษัตริย์ซาอุดีอาระเบียหนีกลับประเทศ ไทย    หลังเข้าไปเป็นแรงงานจ้างทำความสะอาดพระราชวังของ เจ้าชายไฟซาล บินซาฮัด อับดุลลาซิส กษัตริย์ซาอุฯ      เกรียงไกร ฉวยโอกาสที่กษัตริย์ไฟซาลและมเหสีแปรพระราชฐานไปพักผ่อน เวลา 15 วัน  ขนเครื่องเพชร อัญมณีมีค่า  ใส่กระสอบปุ๋ย แล้วเหวี่ยงออกนอกกำแพงพระราชวัง และนำกลับที่พัก

การทำงานอยู่ที่ประเทศซาอุ นาน7 ปี ทำให้เกรียงไกร รู้ทางหนีทีไล่ และจุดอ่อนในการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ รวมถึงคุ้นเคยกับวิธีส่งสิ่งของกลับประเทศไทย  หลังจานั้น รัฐบาลซาอุดิอาระเบีย  ประสานมายังรัฐบาลไทย ขอให้ติดตามเครื่องเพชรประจำราชวงศ์ส่งคืน   โดยเฉพาะ “บลูไดมอนด์” เพชรประจำราชวงศ์

นายเกรียงไกรอาศัยช่วงเวลาที่เจ้าชายไฟซาล บิน ฟาฮัด บิน อับดุล อซิซ  แปรพระราชฐานไปพักผ่อนในแถบทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ในเดือนธันวาคม 2532 ทำการขโมยเครื่องเพชร 91 กิโลกรัม (200 ปอนด์) ซึ่งรวมไปถึงเพชรน้ำเงินกับอัญมณีอื่น ๆ รวม 50 กะรัต โดยแอบนำถุงกระสอบขนาดใหญ่เข้าไปในพระราชวัง ซ่อนตัวอยู่ภายในพระราชวังจนถึงเวลากลางคืน แล้วจึงทำการขโมยเครื่องเพชรใส่ถุงกระสอบแล้วโยนถุงกระสอบลงมาออกนอกกำแพงพระราชวัง

เมื่อได้เครื่องเพชรมาแล้ว นายเกรียงไกรใช้วิธีส่งเครื่องเพชรกลับมายังประเทศไทยล่วงหน้า ด้วยบริการขนส่งพัสดุทางอากาศ โดยปะปนกับเสื้อผ้าและเครื่องใช้ส่วนตัว ซึ่งด่านศุลกากรของทั้งสองประเทศไม่สามารถตรวจพบ เมื่อทำการโจรกรรมเรียบร้อยแล้ว เกรียงไกรได้เดินทางกลับประเทศไทยทันที ก่อนที่เจ้าชายไฟซาลจะเสด็จกลับมายังพระราชวัง ทั้งที่เหลือเวลาทำงานตามสัญญาอีก 2 เดือน

https://www.blockdit.com/series/5f443b8cf0d45b16f62640b2

โดยเครื่องเพชรดังกล่าวถูกนำมายังจังหวัดลำปาง เนื่องจากเครื่องเพชรเหล่านั้นแยกยาก เขาจึงขายมันเป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย โดยเครื่องเพชรส่วนใหญ่ถูกขายให้กับช่างทำเพชรพลอยชาวกรุงเทพ สันติ ศรีธนะขัณฑ์ หลังจากนั้นไม่นานรัฐบาลซาอุดิอาระเบีย ประสานมายังรัฐบาลไทย ขอให้ติดตามเครื่องเพชรประจำราชวงศ์ส่งคืน

ปฏิบัติการติดตาม “บลูไดมอนด์” ในไทยจึงเกิดขึ้น เมื่อปี 2533 โดยพล.ต.ท.ชลอ เป็นหัวหน้าชุดติดตามเพชร  นาย เกรียงไกรให้การว่าบลูไดมอนด์น่าจะอยู่ในมือของ “สันติ ศรีธนะขัณฑ์” เจ้าของร้านเพชรสันติมณี ย่านเจริญ กรุง จนกลายเป็นที่มาของคดีอุ้มฆ่าสองแม่ลูกศรีธนะขัณฑ์      

พล.ต.ท.ชลอ   ที่เป็นหัวหน้าทีมชุดเฉพาะกิจแต่กลับตกเป็นผู้ต้องหา ในคดีการฆาตกรรมนางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ศรีธนะขัณฑ์  ที่ฆ่าอำพรางคดีเพราะประสงค์ต่อทรัพย์และต้องการรีดเงินจากนายสันติ    พล.ต.ท.ชลอ ถูกศาลฎีกาตัดสินประหารชีวิต พร้อมถูกถอดยศ  แต่ได้รับการอภัยโทษเพราะมีอายุเกิน 70 ปี และต้องไปรายงานตัวทุก 1 เดือน  ถือเป็นการปิดฉากชีวิตนายตำรวจมือปราบเจ้าของฉายาสิงห์เหนือ

เครื่องเพชรบลูไดมอนด์ ถูกหยิบยกขึ้นมาจากสื่อในประเทศไทยฝ่ายเดียว ตั้งแต่เริ่มมี “คดีเพชรซาอุ” โดยมีนายเกรียงไกรเป็นผู้กระทำความผิด พล.ต.ท.วรรณรัตน์ คชรัตน์ ผช.อตร. เจ้าของคดี ทราบเรื่องนี้ดี เพราะเป็นผู้ถามสื่อมวลชนเองว่า “ไปเอาเรื่องนี้มาจากไหน ตนไม่เคยได้ยิน หรือเห็นมาก่อนเลย” จากนั้นก็มีการไปเอารูปภริยาอธิบดีกรมตำรวจในขณะนั้น พล.ต.อ. แสวง ธีระสวัสดิ์ ภาพใน น.ส.พ. ฉบับหนึ่ง ผู้หญิงสวมสร้อยคอที่มีจี้เป็นอัญมณีสีน้ำเงินล้อมเพชรและทอง ปรากฏตัวในงานเลี้ยงงานหนึ่ง แล้วก็ลือกันตามมาว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ของเจ้าฟ้าชายไฟซาล

เรื่องนี้ได้มีการพิสูจน์กันสองทางคือ ประการแรกตำรวจได้ส่งภาพถ่ายดังกล่าวไปให้สถาบันอัญมณีในกรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ ตรวจพิสูจน์ ได้ข้อยุติว่า วัตถุที่ว่าเป็นอัญมณีสีน้ำเงินแล้วอนุมานว่าเป็นเพชรบลูไดมอนด์ ได้คำตอบ ไม่ใช่เพชรหรืออัญมณีแต่อย่างใด แต่เป็นวัตถุที่ทำด้วยผ้ากำมะหยี่สีน้ำเงินเข้มที่นำมาประดิษฐ์เข้าคู่กับเพชรและทอง ผลพิสูจน์นี้อยู่ ในสำนวนการสอบสวนของตำรวจ ประการที่สอง บุตรชายของสุภาพสตรีท่านนั้นได้นำสร้อยและจี้ที่ปรากฏในภาพถ่ายมาแสดงต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดี ซึ่งปรากฏข้อเท็จจริงเช่นเดียวกับผลตรวจพิสูจน์ของสถาบันในลอนดอน

ข้อพิสูจน์ในเรื่องนี้อีกประการหนึ่งก็คือ ผลการสอบสวนนายเกรียงไกรพบว่า นายเกรียงไกรได้แบ่งเครื่องเพชรให้กับเพื่อนที่มีส่วนรู้เห็น ทั้งไม่รู้ด้วยว่าแบ่งเครื่องเพชรชนิดและประเภทใดให้เพื่อนไปบ้าง เนื่องจากมีความรู้เรื่องอัญมณีน้อยมาก เมื่อนำเครื่องเพชรทั้งหมดกลับมาที่บ้านใน จ.ลำปาง ก็ได้ทำการแยกชิ้นส่วนเอาเพชรกับทองแยกออกจากกัน เพราะรู้แต่ทองมีค่า โดยนำทองไปขายที่ร้านทองใน จ.ลำปาง และ จ.แพร่ ผลการสอบสวนเจ้าของร้านทองไม่ปรากฏว่าพบเห็น หรือรู้เรื่องเพชรบลูไดมอนด์ ส่วนเพชรนายเกรียงไกรไม่รู้จัก รู้แต่ว่าเพชรมีความแข็งมาก จึงลองทุบบางส่วน เม็ดไหนแตกก็ทิ้งไป เม็ดไหนไม่บุบสลายก็แยกไว้ ไม่ได้ทุบทั้งหมด จากนั้นได้นำเพชร พลอย อัญมณีอื่น ๆ ที่แยกออกจากทองแล้วไปฝังดินไว้บางส่วน บางส่วนทยอยขายให้แก่นายสันติ ศรีธนขัณฑ์ เจ้าของร้านเพชรชื่อดัง ย่านถนนเจริญกรุง ซึ่งบางส่วนถูกนำไปขายต่ออีกทอดโดยมี พล.ต.อ. คนหนึ่ง ซึ่งเป็น อดีตรอง ผบ.ตร. ชอบค้าของเก่าและของมีค่า ร่วมมือกับนายสันติขายเพชรซาอุ แต่หลักฐานสาวไปไม่ถึงจึงลอยนวลอยู่จนทุกวันนี้

การให้การของนายเกรียงไกร กรณีเพชรบลูไดมอนด์ มีความคลุมเครือ ไม่ชัดเจน เหมือนว่าขายให้นายสันติ แต่นายเกรียงไกรก็ไม่เคยยืนยันอย่างหนักแน่นกับพนักงานสอบสวนในเรื่องดังกล่าว เนื่องจากไม่มีความมั่นใจ เพราะนำเครื่องเพชรออกมาเป็นจำนวนมากจนไม่สามารถจดจำรายละเอียดได้ครบถ้วน

พนักงานสอบสวน และราชสำนักซาอุดิอาระเบีย ประมาณการณ์ว่า เพชรซาอุถูกขายไปประมาณ 20 % ทั้งนายสันติ และภริยา ต่างยืนยันว่า ไม่เคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์ ความตายของนางดาราวดี และ ด.ช.เสรี ศรีธนขันฑ์ เป็นข้อพิสูจน์ได้ดีว่า ผู้รับซื้อเพชรซึ่งมีอยู่รายเดียวจากนายเกรียงไกร ต่างไม่เคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์ มิฉะนั้นคงรับสารภาพและคืนให้ไปแล้วเมื่อเห็นความตายและความเดือดร้อนของตนเอง ครอบครัว และบุตรอยู่ตรงหน้า

ผลสรุปของการสอบสวนคดีเพชรซาอุ มีข้อยุติว่า ไม่มีใครที่เกี่ยวข้องในประเทศไทยเคยเห็นเพชรบลูไดมอนด์อยู่ในเครื่องเพชรที่นายเกรียงไกรขโมยมา กล่าวอีกนัยหนึ่งคือเพชรบลูไดมอนด์ไม่เคยมีอยู่ในประเทศไทย การกล่าวหากล่าวอ้างว่าบุคคลนั้นบุคคลนี้ครอบครองเพชรบลูไดมอนด์ไว้ จึงไม่เป็นความจริง

https://www.voicetv.co.th/read/340023