
ช่วงแรก ซักเคอร์เบิร์ก ได้ใช้คอมพิวเตอร์ในการเขียน มาร์ก พัฒนาซอฟต์แวร์ ตั้งแต่ยังเป็นเด็กในชั้นประถมปลาย พ่อเขาสอนให้ใช้โปรแกรมพื้นฐานของอาตาริในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1990 และต่อมายังจ้างนักพัฒนาซอฟต์แวร์ ที่ชื่อ เดวิด นิวแมน มาสอนเป็นการส่วนตัว นิวแมนเรียกเขาว่า “เด็กอัจฉริยะ” และกล่าวต่อว่า “ยากที่จะล้ำหน้าเกินเขา”
ย้อนกลับไวัยเด็ก “มาร์ค” มีชีวิตแสนจะธรรมดา เขาเกิดในครอบครัวอเมริกันเชื้อสายยิว เมื่อวันที่ 14 พ.ค. ปี 1984 โตมาในย่าน ดอบส์ เฟอร์รี รัฐนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา มีพ่อเป็นหมอฟันและนักจิตวิทยา ชีวิตวัยเด็กของเขาค่อนข้างจะสุขสบาย ไม่เคยผ่านความลำบากยากจน เขามีพี่น้อง 4 คน ทว่า เป็นลูกชายคนเดียวของบ้าน เป็นเด็กเรียนเก่งออกแนวเนิร์ดๆ ชอบขลุกอยู่แต่ในห้อง
มาร์ก พัฒนาซอฟต์แวร์ ซักเกอร์เบิร์กยังเรียนคอร์สที่วิทยาลัยเมอร์ซี ใกล้กับบ้านของเขาขณะที่เรียนระดับไฮสคูลอยู่ เขามีความสนุกกับการพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เครื่องมือด้านการสื่อสารและเกม ตัวอย่างเช่น มีโปรแกรมหนึ่ง ซึ่งพ่อของเขาที่เป็นทันตแพทย์ เขาสร้างโปรแกรมที่ชื่อ “ซักเน็ต”
ที่จะให้คอมพิวเตอร์สามารถสื่อสารได้ระหว่างบ้านกับสำนักงานทันตแพทย์ โดยใช้ระบบปิงหากัน ถือว่าเป็นเมสเซนเจอร์รุ่นดึกดำบรรพ์ของเอโอแอล ซึ่งออกมาภายหลัง
ในช่วงระหว่างเรียนไฮสคูล ภายใต้การทำงานกับบริษัท อินเทลลิเจนต์มีเดียกรุ๊ป เขาได้สร้างโปรแกรมเล่นดนตรีที่เรียกว่า ไซแนปส์มีเดียเพลเยอร์ (Synapse Media Player) ใช้ปัญญาประดิษฐ์เรียนรู้พฤติกรรมการฟังเพลงของผู้ใช้ โดยได้โพสต์ลงที่ สแลชด็อต ได้รับคะแนน 3 เต็ม 5 จาก พีซีแม็กกาซีน ไมโครซอฟท์และเอโอแอลพยายามจะซื้อไซแนมป์และรับซักเคอร์เบิร์กเข้าทำงาน แต่เขาเลือกที่จะสมัครเรียนที่ฮาร์วาร์ดในเดือนกันยายน ค.ศ. 2002
ฮาร์วาร์ด
มาร์ก พัฒนาซอฟต์แวร์ ในช่วงที่เขาเรียนอยู่ที่ฮาร์วาร์ด เขามีกิตติศัพท์ด้านความอัจฉริยะในการเขียนโปรแกรมแล้ว เขาศึกษาด้าน วิทยาศาสตร์คอมพิวเตอร์และจิตวิทยา และเป็นสมาชิก อัลฟาเอปซิลอนไพ สมาคมยิวในมหาวิทยาลัย พอเรียนชั้นปีที่ 2 เขาสร้างโปรแกรมจากห้องพักของเขาที่ชื่อ “คอร์สแมตช์”
ที่ให้ผู้ใช้สามารถตัดสินใจเรื่องการเลือกเรียนวิชา จากการตัดสินใจของนักเรียนคนอื่น และยังช่วยให้พวกเขาร่วมก่อกลุ่มการเรียน ต่อจากนั้นไม่นาน เขาสร้างโปรแกรมที่แตกต่างกันออกไป เรียกว่า “เฟซแมช” ที่ให้ผู้ใช้เลือกหน้าผู้ใช้ที่หน้าตาดีที่สุดในบรรดารูปที่ให้มา เพื่อนร่วมห้องของเขาเวลานั้นที่ชื่อ อารี ฮาซิต กล่าวว่า “เขาสร้างเว็บไซต์นี้เพื่อความสนุก”
“เรามีหนังสือ ที่เรียกว่า เฟซบุ๊กส์ ที่รวบรวมรายชื่อและภาพของทุกคนที่อยู่ในหอพัก ในตอนแรกเขาสร้างเว็บไซต์ที่ วางรูป 2 รูป หรือรูปของผู้ชาย 2 คน และผู้หญิง 2 คน ผู้เยี่ยมเยือนเว็บไซต์จะเลือกว่า ใครร้อนแรงกว่ากัน และรวบรวมจัดอันดับเป็นผลโหวต”
เว็บไซต์เปิดในช่วงวันหยุด แต่พอถึงเช้าวันจันทร์ เว็บไซต์ก็ถูกปิดโดยมหาวิทยาลัย เว็บไซต์ได้รับความนิยมในช่วงเวลาอันสั้น จนทำให้เซิร์ฟเวอร์ของฮาร์วาร์ดล่ม นักศึกษาจะถูกห้ามใช้เข้าเว็บไซต์ นอกจากนั้นมีนักศึกษาหลายคนร้องเรียนเรื่องภาพที่ใช้ไม่ได้รับอนุญาต เขาออกขอโทษต่อสาธารณะ หนังสือพิมพ์นักเรียนจะพาดหัวเกี่ยวกับเว็บไซต์ของเขาว่า “ไม่เหมาะสม”
อย่างไรก็ตาม นักเรียนก็ได้เรียกร้องให้มหาวิทยาลัยพัฒนาเว็บไซต์ที่ให้ข้อมูล รายชื่อ รวมถึงรูป ในส่วนหนึ่งของเครือข่ายมหาวิทยาลัย ฮาซิตเพื่อนร่วมห้องเขากล่าวว่า “มาร์กได้ยินคำร้องเหล่านี้และตัดสินใจว่า ถ้ามหาวิทยาลัยจะไม่ทำอะไรเลยก็ตาม เขาก็จะสร้างเว็บไซต์ที่ดีกว่าที่มหาวิทยาลัยจะทำ”
ไอเดียสำคัญที่จุดประกายให้นักศึกษาวิชาคอมพิวเตอร์ วัย 20 ปีคนนี้ ลุกขึ้นทำเฟซบุ๊กเกิดจากความหมกมุ่นอยู่กับเรื่องคอมพิวเตอร์ และการเขียนโปรแกรม จนค้นพบปัญหาว่ามหาวิทยาลัยระดับโลก อย่างฮาร์วาร์ดไม่มีระบบหนังสือรุ่นทางออนไลน์ เขาจึงนำไอเดียไปเสนอเพื่อขอจัดทำ แต่กลับถูกมหาวิทยาลัยปฏิเสธ โดยบอกว่าไม่มีนโยบายให้นักศึกษาเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว
กระนั้น ด้วยความคันไม้คันมือ และอยากเอาชนะ เขาจึงสวมวิญญาณแฮ็กเกอร์เจาะเข้าไปในระบบทะเบียนประวัตินักศึกษาของฮาร์วาร์ด ดึงรูปนักศึกษาและประวัติส่วนตัวจากฐานข้อมูลมหาวิทยาลัยมาใส่ในเว็บไซต์ Facemash พร้อมกันนี้ยังเชิญชวนเพื่อนๆนักศึกษาเล่นเกม Hot or Not โดยโพสต์รูป นักศึกษาให้เพื่อนๆเข้ามาช่วยกันโหวตว่าใครฮอต หรือไม่ฮอต
ผลตอบรับดีเกินคาด เพราะภายในเวลาแค่ 4 ชั่วโมง มีนักศึกษาเข้ามาโหวตถึง 450 คน สร้างสถิติคลิกชม 22,000 ครั้ง แต่แทนที่จะได้รับเสียงชมจากอาจารย์ เขากลับถูกมหาวิทยาลัยลงโทษระงับการใช้อินเตอร์เน็ต
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกลายเป็นแรงบันดาลใจให้เขาลุยต่อเพื่อสร้าง Facebook โดยเขานั่งเขียนโปรแกรมอยู่ในหอพักมหาวิทยาลัย และได้รับความช่วยเหลือจากรูมเมต “ดัสติน มาสโควิตซ์” ซึ่งภายหลังได้กลายมาเป็นผู้ร่วมก่อตั้งเฟซบุ๊ก และรั้งตำแหน่งวีพีด้านเอนจิเนียริ่ง
แรกเริ่มเขาพยายามเชิญชวนเพื่อนๆนักศึกษาส่งรูปและข้อมูลส่วนตัวเข้ามาโพสต์บนเว็บไซต์ ซึ่งมีคนส่งรูปเข้ามาถึง 500 รูป ต่อมาได้พัฒนาโปรแกรมโดยสร้างเว็บเพจให้ เพื่อนร่วมชั้นสามารถส่งอีเมล์เข้ามาช่วยกันเขียนความคิดเห็น และเพิ่มเติม ประวัติได้อย่างไม่จำกัด ปรากฏว่าได้รับการตอบรับอย่างดีจากเว็บไซต์
เพื่อสร้างสัมพันธ์ในหมู่นักศึกษาฮาร์วาร์ด จึงขยายความฮิตฮอตไปยังมหาวิทยาลัยอื่นๆกว่า 30 สถาบัน ผู้ก่อตั้ง Facebook เครือข่ายสังคมออนไลน์ขนาดใหญ่สุดของโลก จนโด่งดังเปรี้ยงปร้างไปทั่ว