Skip to content
Home » News » ราชวงศ์โรมานอฟตกต่ำลงนำไปสู่การปฏิวัติรัสเซีย

ราชวงศ์โรมานอฟตกต่ำลงนำไปสู่การปฏิวัติรัสเซีย

ราชวงศ์โรมานอฟตกต่ำลงนำไปสู่การปฏิวัติรัสเซีย เป็นเวลาราว 300 ปี ที่รัสเซียอยู่ภายใต้การปกครองของราชวงศ์โรมานอฟอันทรงอำนาจ ทว่าพระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ 2 ซึ่งปกครองรัสเซียในขณะนั้น ถูกมองว่าเป็นจักรพรรดิที่เลวร้าย

วันที่ 24 กุมภาพันธ์ ได้เกิดการจลาจลครั้งใหญ่ทั่วเมืองหลวงเซนต์ปีเตอร์สเบิร์ก ชาวเมืองต่างแค้นเคืองที่ต้องอยู่อย่างอดอยาก

พระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ 2 ตัดสินพระทัยว่า ทรงไม่อาจปกครองรัสเซียได้อีกต่อไป เพราะเหล่าทหารจำนวนมากไม่ปฏิบัติตามบัญชาของพระองค์ที่ให้ควบคุมจลาจล และทรงสละราชสมบัติ เมื่อวันที่ 2 มีนาคม ซึ่งถือเป็นจุดจบของราชวงศ์โรมานอฟ

ในขณะนั้นมีประชาชนจำนวนหนึ่งเรียกร้องให้จัดตั้งรัฐบาลเฉพาะกาลขึ้นปกครองประเทศ

สำหรับชาวรัสเซียแล้วพวกเขาหวังว่าเมื่อราชวงศ์โรมานอฟพ้นไปแล้ว จะสามารถลืมตาอ้าปากและได้รับการปฏิบัติที่เป็นธรรม ทว่า รัฐบาลเฉพาะกาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาอีกหลายด้านที่ค้างคาได้ และนำไปสู่การปฏิวัติอีกเป็นครั้งที่ 2 ในเดือนตุลาคม

หากมองในหลาย ๆ แง่ ถือได้ว่าการเปลี่ยนแปลงในครั้งที่ 2 นี้ มีความสลักสำคัญมากกว่าครั้งแรก เพราะเป็นจุดเริ่มต้นของระบอบการเมืองที่ไม่เคยมีการทดลองใช้มาก่อน นั่นก็คือระบอบคอมมิวนิสต์ ซึ่งมีผู้นำคนแรกคือนายวลาดิเมียร์ เลนิน

นายวลาดิเมียร์ เลนิน รู้ดีว่าชนชาวรัสเซียระทมทุกข์มากน้อยเพียงใด เขาประกาศนโยบายแก้ปัญหาหลายอย่าง ภายใต้สโลแกน สันติภาพ ขนมปัง และแผ่นดิน ที่ทำให้เขากลายเป็นที่นิยมในหมู่ชน

ราชวงศ์โรมานอฟตกต่ำลงนำไปสู่การปฏิวัติรัสเซีย
https://www.bbc.com/thai/international-41968313

เหตุแห่งการปฏิวัติ?

ราชวงศ์โรมานอฟตกต่ำลงนำไปสู่การปฏิวัติรัสเซีย มีเหตุผลอยู่หลายประการ ส่วนใหญ่เกี่ยวเนื่องกับการบริหารปกครองประเทศในขณะนั้น

ชาวรัสเซียจำนวนมากรู้สึกว่าชีวิตเต็มไปด้วยความยากลำบากและไม่เป็นธรรม พวกเขารู้สึกได้ว่าคนกลุ่มน้อยที่ร่ำรวยและทรงพลังนั้นมีทุกสิ่งทุกอย่าง แต่หมู่คนยากจนกลับสิ้นไร้ทรัพย์สิน ชาวบ้านรู้สึกด้วยว่าพระเจ้าซาร์ไม่ได้พยายามนำความเป็นธรรมมาสู่ปวงชน

และเพื่อให้เข้าใจถึงเหตุการณ์ในช่วงปี 1917 ได้ถ่องแท้มากขึ้น เราอาจต้องย้อนกลับไปดูเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นก่อนหน้านั้นในปี 1905

ในปี 1905 ชาวบ้านไปรวมตัวกันประท้วงต่อต้านพระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ 2 ที่ด้านนอกพระราชวังฤดูหนาวในเมืองปีเตอร์สเบอร์ก และเรียกร้องสิทธิที่พึงมี รวมทั้งให้ดูแลความเป็นอยู่และสภาพการจ้างงาน

แม้การประท้วงครั้งนั้นจะดำเนินไปอย่างสงบ แต่กลุ่มผู้ประท้วงกลับถูกกองกำลังรักษาพระองค์ทำร้าย เหตุการณ์ครั้งนั้นเป็นที่จดจำในประวัติศาสตร์รัสเซียว่าเป็นเหตุการณ์วันอาทิตย์ทมิฬ

ชาวบ้านจำนวนมากพากันตำหนิว่าพระเจ้าซาร์ทรงสั่งให้ทำร้ายประชาชน ดังนั้นเพื่อเรียกความไว้วางใจจากประชาชนกลับคืนมา พระเจ้าซาร์ทรงจัดตั้งสภาดูมาขึ้น ทำหน้าที่ดูแลประชาชนให้ได้รับความเป็นธรรมและมีพลังมากขึ้น

อย่างไรก็ดี องค์จักรพรรดิมิได้รักษาคำมั่นสัญญาที่ให้ไว้ และทรงสั่งยุติการทำหน้าที่ของสภาดูมา เมื่อองค์กรแห่งนี้ดำเนินการในสิ่งที่ไม่ทรงปรารถนา ในเวลาเดียวกัน สภาดูมาเองก็มีอำนาจอยู่เพียงน้อยนิด

สงคราม ความยากจนและความหิวโหย

ตลอดเวลา 10 ปี จากนั้น รัสเซียภายใต้การปกครองของพระเจ้าซาร์ นิโคลัส ที่ 2 ยังตกอยู่ในห้วงแห่งปัญหา

ในปี 1914 เยอรมนีประกาศสงครามกับรัสเซีย นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่ 1 ซึ่งขยายวงกว้าง หลายชาติประกาศตัวเข้าร่วม

ในส่วนของรัสเซียนั้นสูญเสียกองทหารไปจำนวนมาก และต้องพ่ายแพ้ในการสู้รบหลายสมรภูมิ ในขณะที่กองกำลังขาดแคลนทั้งเสบียงและยุทโธปกรณ์

ในรัสเซียเองชาวบ้านต้องเผชิญกับความอดอยาก หิวโหย ท่ามกลางสภาพอากาศหนาวเหน็บและราคาอาหารที่พุ่งสูงลิ่ว ไม่นับรวมปัญหาอื่น ๆ อีกหลายประการ

ขณะนั้นพระเจ้าซาร์ตัดสินพระทัยที่จะเป็นผู้นำทัพไปสู้รบในแนวหน้า โดยมอบให้พระมเหสี ซารินา อเล็กซานดรา เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ แต่การตัดสินพระทัยดังกล่าวไม่ได้รับการขานรับจากประชาชน เพราะซารินา อเล็กซานดรา ทรงมีเชื้อสายเยอรมันซึ่งไม่ใช่เรื่องที่น่าพึงใจของชาวรัสเซีย

นอกจากนี้พระนางยังถูกมองว่าตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของรัสปูติน บุรุษลึกลับที่เข้าไปมีอิทธิพลในราชวงศ์โรมานอฟ โดยรัสปูตินนั้นเป็นที่ชังทั้งในหมู่คนยากจนและร่ำรวย

เกิดอะไรขึ้นหลังรัสเซียปกครองด้วยระบอบคอมมิวนิสต์?

หลังจากคอมมิวนิสต์กุมอาจการปกครองในรัสเซียแล้ว รัสเซียและอีกหลายชาติภายใต้การปกครองได้รับการเรียกชื่อใหม่ว่าเป็นสหภาพสาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียต (The Union Soviet Socialist Republics-USSR) หรือที่รู้จักกันว่าสหภาพโซเวียต

ในยุคนั้นถือได้ว่ารัสเซียมีอำนาจและบทบาทสำคัญต่อภูมิภาคอื่น ๆ ทั่วโลก โดยหลังจากการปฏิวัติเมื่อเดือนตุลาคม หลายชาติรวมทั้งจีน เกาหลีเหนือและคิวบา ต่างหันมายึดแนวทางการปกครองแบบคอมมิวนิสต์

ตลอดช่วงเวลาดังกล่าวชาติคอมมิวนิสต์และประเทศอื่น ๆ อาทิ สหรัฐฯ ก็มีความบาดหมางกันมากขึ้นเรื่อย ๆ ความตึงเครียดทางการเมืองและการทหารที่เกิดขึ้นนั้น นำโลกให้อยู่ในภาวะสงครามเย็น เป็นเวลายาวนาน จนกระทั่งยุติลงในปี 1991

ภาพที่หายไปของซาร์นิโคลาสที่ 2

https://www.silpa-mag.com/history/article_40786

วันสุดท้ายของระบอบซาร์อาจไม่เป็นที่จดจำของชาวรัสเซียในวันนั้นมากนัก แต่สำหรับชาวยุโรป
ด้วยกันที่ไม่เคยมีอคติต่อซาร์ก็ยังคงรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงมีต่อประชาคมยุโรปตลอดรัช
สมัยของพระองค์ เอกสารจากวันวานของซาร์นิโคลาสที่ 2 ทุกวันนี้กลับกลายเป็นของหายากและเป็นที่
แสวงหาของนักสะสมอยู่เสมอ

ข้อมูลอันระทึกใจของเหตุการณ์ในวันนั้นถูกถ่ายทอดไว้โดยสื่อมวลชนชั้นแนวหน้าของทุกประเทศจากฝีมือนักข่าวหัวเห็ดที่ประจำกันอยู่ภายในกรุงเปโตรกราด นักข่าวคนหนึ่งรายงานว่า “สถานการณ์เริ่มแย่ลงตั้งแต่เช้าวันที่ 8 มีนาคม (ค.ศ. 1917) เมื่อคนที่มาเข้าแถวรอซื้อขนมปังยาวเหยียดได้รับคำตอบว่าขนมปังหมดแล้ว! ประชาชนส่วนใหญ่ที่เป็นแม่บ้านแสดงความไม่พอใจ และนัดหมายกับบรรดาสาวโรงงานทอผ้าหลายแห่งในกรุงเปโตรกราดออกมาเดินขบวนพร้อมกับตะโกนว่า ‘เราต้องการขนมปัง!’ และ ‘เบื่อสงครามเต็มทน!’ด้วยจุดหมายเดียวกัน

พอถึงเช้าวันที่ 9 มีกรรมกรจากโรงงานต่างๆอีกมากเข้ามาสมทบเพิ่มขบวนใหญ่ขึ้นจนเต็มท้องถนน ดูเหมือนไม่ต่ำกว่า 2 แสนคนจากโรงงานทั้งหมดในเมืองหลวงก็ว่าได้ ณ จุดนี้เองที่ทหารม้าคอสแซค (ของซาร์) ถูกเรียกเข้ามาควบคุมสถานการณ์ ทหารม้าชุดใหม่นี้เป็นพวกคนหนุ่มที่ถูกเกณฑ์เข้ามารับราชการจากหัวเมือง ส่วนใหญ่เป็นชาวนาที่ไม่มีระเบียบวินัยมากนัก เนื่องจากทหารชุดเก่าถูกส่งออกไปแนวหน้าหมดแล้ว ทหารใหม่ส่วนใหญ่กลับหลีกเลี่ยงที่จะปะทะกับประชาชน แต่พากันทิ้งดาบและเข้าร่วมกับการเดินขบวนหน้าตาเฉย จำนวนของพลเมืองที่แห่กันมาสมทบดูจะเป็นพลังอันมหาศาลเกินกว่าจะยับยั้งได้อีกต่อไป

ซาร์ซึ่งในเวลานั้นทรงบัญชาการรบอยู่ที่แนวหน้า ทรงได้รับโทรเลขรายงานสถานการณ์ที่เกิดขึ้นมีพระราชบัญชาให้กองทัพรักษาพระนครควบคุมสถานการณ์ให้ได้ แต่ดูเหมือนว่าจะสายไปเสียแล้วอาวุธของทหารบัดนี้กลายเป็นอาวุธของฝูงชนป้องกันตนเอง

กองทัพหรือประชาชนเรือนแสนเคลื่อนตัวไปยังพระราชวังทอรีด (Tauride Palace=เป็นที่ตั้งของสภาดูมา) และแม้นว่าซาร์ทรงยุบสภาไปแล้ว แต่สมาชิกสภาก็มารอกันพร้อมหน้าอยู่หลายวันแล้วเพื่อรอการประชุมวาระฉุกเฉิน ต่อมาคณะมนตรีความมั่นคงก็ถูกจัดตั้งขึ้นเองหลังจากที่ไม่มีพระราชกฤษฎีกาเปิดสภาอีกต่อไปโดยเรียกตนเองใหม่ว่า ‘สภาโซเวียต’ ที่เป็นอิสระจากรัฐบาล

ประธานคนใหม่เป็นนักการเมืองสายกลางชื่อเคเรนสกี ได้เรียกร้องให้คณะมนตรีชุดใหม่มาจากตัวแทนคนทุกกลุ่มจากภาคประชาชน ในระหว่างนี้คณะรัฐบาลชุดเก่าของซาร์ก็ถูกจับกุมตัวในข้อหากบฏ6

เช้าวันที่ 13 มีนาคม คณะปฏิวัติที่ประชุมกันที่สภาดูมาอย่างเคร่งเครียดมา 3 วันตื่นขึ้นจากภวังค์ หลังจากที่พักค้างแรมกันภายในสภาแบบตามมีตามเกิด โดยพบว่าพระบรมสาทิสลักษณ์ของซาร์ขนาดใหญ่บนผนังเหนือบัลลังก์ถูกถอดลงมาตั้งแต่เมื่อคืน เหลือไว้แต่กรอบรูปที่ไร้ความหมายติดอยู่เท่านั้น5

ภาพนั้นถูกฉีกเป็นชิ้นๆ แล้วนำออกไปเผาทิ้งที่ด้านนอกท่ามกลางเสียงเชียร์ของประชาชน สัญลักษณ์ของราชวงศ์ที่เหลืออยู่ภายใน เช่น ตราแผ่นดินรูปนกอินทรี 2 หัวที่เคยติดเป็นสง่าอยู่ ณ โพเดียมของประธานสภาถูกงัดแกะออกมาโยนเข้ากองเพลิงเช่นกัน

14 มีนาคม มติของคณะปฏิวัติก็ถูกส่งออกไปยังแนวหน้าเพื่อเรียกร้องให้ซาร์ทรงสละพระราชอำนาจและราชสมบัติในทันที8

15 มีนาคม สภาโซเวียตที่จัดตั้งขึ้นใหม่ โดยคณะปฏิวัติออกแถลงการณ์แห่งชาติเรียกประชุมตัวแทนจากทั่วประเทศเพื่อตัดสินอนาคตของรัสเซียโดยไม่ให้มีระบอบซาร์อีกต่อไป

15 มีนาคม 1917 สภาดูมาที่ซาร์นิโคลาสที่ 2 ทรงสร้างด้วยพระหัตถ์เพื่อการปกครองระบอบประชา
ธิปไตยแต่ไร้ผล บัดนี้กลับกลายเป็นสภาของนักปฏิวัติโดยสิ้นเชิง สถานที่แห่งเดียวกันเป็นสัญลักษณ์แห่ง
ความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองในชั่วข้ามคืน”7

พระบรมสาทิสลักษณ์ของซาร์ในรัฐสภาที่เคยได้รับการเทิดทูนบูชาดุจเทพเจ้าบัดนี้กลายเป็นอดีตถูกปลดลงมาเผาทิ้งท่ามกลางความสับสนอลหม่านของฝูงชนชาวเมืองโปโตรกราดที่เมื่อ 100 ปีมาแล้วตกลงจะเขียนประวัติศาสตร์เสียใหม่แทนฉบับเดิมที่หมดความหมายเสียแล้ว

https://www.bbc.com/thai/international-41968313