รำลึกสังหารหมู่ชาวอาร์เมเนีย 1.5 ล้านคน ประชาชนหลายพันคน เดินขบวนตามท้องถนนในนครลอสแอนเจลีส รัฐฟลอริดา ของสหรัฐฯ รำลึกเหตุการณ์กองทัพออตโตมัน ฆ่าหมู่ชาวอาร์เมเนีย 1.5 ล้าคนในสงครามโลกครั้งที่ 1
รำลึกสังหารหมู่ชาวอาร์เมเนีย 1.5 ล้านคน เมื่อวันที่ 24 เม.ย. ประชาชนหลายพันคน ร่วมเดินขบวนในลอสแอนเจลีส เพื่อรำลึกถึงเหยื่อในเหตุการณ์กองทัพออตโตมันตุรกี ฆ่าหมู่ชาวอาร์เมเนียในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยประชาชนหลั่งไหลเข้าสู่ถนนหลายสายในลอสแอนเจลีส เมืองที่มีประชากรชาวอาร์เมเนียอาศัยอยู่มากที่สุดในสหรัฐ ซึ่งอาร์เมเนียเองก็เรียกร้องให้มีการยอมรับว่า การสังหารหมู่ดังกล่าวเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ อย่างไรก็ตาม ตุรกีปฏิเสธว่าการเข่นฆ่าชาวอาร์เมเนีย 1.5 ล้านคน ในปี พ.ศ.2458 เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ แต่ก็ทำให้ความสัมพันธ์ของตุรกีกับอาร์เมเนียในปัจจุบันยังคงเลวร้าย

การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนีย (Armenian Genocide)(ยังเป็นที่รู้จักกันอีกอย่างว่า ฮอโลคอสต์ของอาร์มีเนีย) เป็นการสังหารหมู่อย่างเป็นระบบและทำการขับไล่เนรเทศชนเชื้อชาติอาร์มีเนียจำนวนประมาณ 1.5 ล้านคน ที่ดำเนินในตุรกีและดินแดนภูมิภาคที่อยู่ติดกันโดยรัฐบาลออตโตมันในช่วงระหว่างปี ค.ศ. 1914 และ ค.ศ. 1923 วันแห่งการเริ่มต้นจะถูกจัดตั้งขึ้นโดยไม่เป็นไปตามแผน เมื่อวันที่ 24 เมษายน ค.ศ. 1915 วันที่เจ้าหน้าที่ออตโตมันได้ทำการไล่ต้อน จับกุม และเนรเทศออกไปจากกรุงอิสตันบูลไปยังภูมิภาคอังโกรา(อังการา) กลุ่มปัญญาชนและผู้นำชุมชนชาวอาร์มีเนียประมาณ 235 คน ถึง 270 คน ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนถูกสังหารในที่สุด
การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ครั้งนี้ถูกดำเนินในช่วงระหว่างและหลังสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง และดำเนินการในขั้นที่สอง – การสังหารประชากรชายฉกรรจ์จนหมดสิ้นผ่านทางสังหารหมู่ และการเกณฑ์ทหารของกองทัพเพื่อบังคับใช้แรงงาน ตามมาด้วยการเนรเทศสตรี เด็ก ผู้สูงวัย และผู้ทุพพลภาพด้วยการเดินขบวนแห่งความตายที่นำไปสู่ทะเลทรายซีเรียการเคลื่อนไปข้างหน้าด้วยการคุ้มกันทางทหาร ผู้ถูกเนรเทศจะถูกกีดกันไม่ให้ได้รับอาหารและน้ำ และถูกปล้นชิงทรัพย์เป็นระยะๆ ข่มขืน และสังหารหมู่ ชุมชนชาวอาร์มีเนียที่ผลัดถิ่นส่วนใหญ่ในทั่วโลกนั้นเป็นผลโดยตรงจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
กลุ่มชาติพันธ์อื่นๆ ที่มีเป้าหมายเดียวกันสำหรับการกำจัดในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอัสซีเรียและการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวกรีก และการกระทำของพวกเขาได้ถูกพิจารณาโดยนักประวัติศาสตร์บางคนว่าเป็นส่วนหนึ่งของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์แบบเดียวกัน
Raphael Lemkin ได้ถูกย้ายโดยเฉพาะเจาะจงโดยการทำลายล้างชาวอาร์มีเนียเพื่อกำหนดการกำจัดอย่างเป็นระบบและไตร่ตรองไว้ก่อนภายในการจำกัดทางกฎหมายและการประกาศใช้คำว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ในปี ค.ศ. 1943การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์มีเนียได้รับการยอมรับว่าเป็นหนึ่งในการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์สมัยใหม่เป็นครั้งแรก เพราะนักวิชาการได้ชี้ไปที่ลักษณะการจัดการอย่างเป็นระเบียบด้วยการสังหารได้ถูกดำเนินการ มันเป็นกรณีของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่มีการศึกษาอย่างมากเป็นอันดับสองรองลงจากฮอโลคอสต์
ทางตุรกีได้ออกมาปฏิเสธด้วยคำว่า การฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ เป็นคำที่ใช้อย่างถูกต้องสำหรับการก่ออาชญากรรมเหล่านี้ แต่ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมาก็ต้องเผชิญหน้ากับการเรียกร้องที่เพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้พวกเขารับรู้ในปี ค.ศ. 2019 รัฐบาลและรัฐสภาของ 32 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกา รัสเซีย และเยอรมนี ได้ตระหนักถึงเหตุการณ์นี้ว่า เป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์
การกระทำและการยอมรับ
ออตโตมันปราชัยในสงครามโลกครั้งที่ 1 ร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลาง ส่งผลให้ฝ่ายสัมพันธมิตรเข้ามาจัดระเบียบการปกครอง อาร์เมเนียได้ดินแดนเดิมส่วนหนึ่งในอนาโตเลียตะวันออก จัดตั้งเป็น “สาธารณรัฐอาร์เมเนียที่ 1” กองกำลังอาร์เมเนียได้จังหวะล้างแค้น ฆ่าชาวเติร์กไปราว 4-6 หมื่นคน ต่อมาตุรกีลุกขึ้นต่อสู้เพื่อเอกราช เริ่มในปี 1919 และสำเร็จได้เป็นสาธารณรัฐตุรกีเมื่อปี 1923 ในระหว่างนี้ชาวอาร์เมเนียถูกฆ่าไปอีกจำนวนมากก่อนที่จะตกเป็นของสหภาพโซเวียตในปี 1921 จึงถือว่ามีผู้ปกป้องอย่างเป็นทางการ
การดำเนินคดีโดยศาลทหารของฝ่ายสัมพันธมิตรต่อรัฐมนตรีทั้งหมด ผู้นำกองทัพ และคณะกรรมการ CUP ตัดสินออกมาว่าเป็น “การสังหารหมู่” ที่ดำเนินการโดยกลุ่มผู้นำของ CUP (สมัยนั้นยังไม่มีคำว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” คำนี้เกิดขึ้นในปี 1944) จำเลย 18 คนถูกพิพากษาประหารชีวิต แต่การประหารเกิดขึ้นกับ 3 คนเท่านั้น เพราะที่เหลือหนีไปก่อนแล้ว ด้าน “ตาลัต ปาชา” ถูกลอบสังหารในกรุงเบอร์ลิน เมื่อวันที่ 15 มีนาคม 1921 จาก “ปฏิบัติการเทวทัณฑ์” กลุ่มลับของพรรคสหพันธรัฐอาร์เมเนีย
จำนวนผู้เสียชีวิตของชาวอาร์เมเนียทั้งหมดประมาณกันว่ามีไม่น้อยกว่า 8 แสนคน “ตาลัต ปาชา” ก็เคยให้ตัวเลขไว้ที่ 924,158 คน นักประวัติศาสตร์ให้บวกอีก 30 เปอร์เซ็นต์ จึงตกอยู่ที่ราว 1.2 ล้านคน ขณะที่ชาวอาร์เมเนียเองประมาณว่าพี่น้องของพวกเขาตายไปถึงประมาณ 1.5 ล้านคน
พลันที่ “โจ ไบเดน” ประกาศรับรองว่าเหตุการณ์เมื่อ 1 ศตวรรษก่อนเป็นการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ “เรเจป ทายยิป แอร์โดอัน” ประธานาธิบดีตุรกีสวนกลับไปว่า “ไร้หลักฐาน” และ “เป็นการรับรองที่ไม่ยุติธรรม” รัฐมนตรีต่างประเทศตุรกีเรียกทูตสหรัฐเข้าพบเพื่อประท้วงและประณาม นอกจากนี้ยังได้ทวีตว่า “คำพูดไม่สามารถเปลี่ยนประวัติศาสตร์ได้ และเราไม่จำเป็นต้องศึกษาบทเรียนจากผู้อื่นสำหรับประวัติศาสตร์ของเราเอง”
ตุรกีแสดงความไม่พอใจไม่ว่าใครก็ตามที่ใช้คำว่า “ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์” กับเหตุการณ์ที่เกิดกับชาวอาร์เมเนียเมื่อศตวรรษก่อน พวกเขายืนยันว่าเป็นความสูญเสียระหว่างสงคราม ซึ่งเกิดขึ้นทั้ง 2 ฝ่าย ปัจจุบันมี 32 ประเทศให้การรับรองการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวอาร์เมเนีย มีชาติมหาอำนาจอย่างเยอรมนี, ฝรั่งเศส, รัสเซีย, อิตาลี และล่าสุดสหรัฐอเมริกา รวมถึงสวิตเซอร์แลนด์ชาติเป็นกลาง
