
รูปแบบทางศิลปะ และสถาปัตยกรรม อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ เป็นอนุสาวรีย์ในกรุงเทพมหานคร โดยรอบเป็นวงเวียนอยู่กึ่งกลางระหว่างทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนราชวิถี และถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5.0 ถนนพหลโยธิน โดยที่ กม. 0 ของถนนพหลโยธินอยู่ที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยซึ่งอยู่ห่างจากอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นระยะทาง 5 กิโลเมตร
ประวัติ
อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสซึ่งในครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 160 นาย พลเอกพระยาพหลพลพยุหเสนา เป็นผู้วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2484 และจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นผู้กระทำพิธีเปิดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2485 สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์คือ หม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล
ก่อนที่จะมีการสร้างวงเวียนอนุสาวรีย์ บริเวณจุดตัดของถนนพญาไท ถนนราชวิถี และถนนพหลโยธิน นี้มีชื่อเรียกว่า “สี่แยกสนามเป้า”
สถาปนิกผู้ออกแบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิคือหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล มีแรงบันดาลใจ 5 ประการ คือ
- ปฏิบัติการของกองทัพทั้งสี่
- ปฏิบัติการอย่างกล้าหาญของกำลังพลโดยเฉพาะ
- อาวุธที่ทหารใช้สู้รบเหตุการณ์สำคัญที่ต้องเปิดการสู้รบ
- ความสนใจของประชาชน
รูปแบบทางศิลปะ และสถาปัตยกรรม นอกจากนี้จากคำบอกเล่าของนายธนู มาลากุล ณ อยุธยา บุตรชายหม่อมหลวงปุ่ม มาลากุล ได้เล่าว่า งานออกแบบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินี้น่าจะได้รับแรงบันดาลใจมาจากพระปรางค์วัดอรุณราชวราราม เพราะพระปรางค์วัดอรุณฯ นั้นเป็นสัญลักษณ์ทางทัศนคติทางพระพุทธศาสนา
และยังเป็นสัญลักษณ์ของการกอบกู้บ้านเมืองให้ได้รับอิสรภาพ และสร้างบ้านแปงเมืองขึ้นใหม่ กอบกู้เอาเอกราชคืนมา และได้สร้างกรุงเทพมหานครเป็นราชธานี พระปรางค์วัดอรุณฯ จึงเป็นสัญลักษณ์ที่สำคัญตราบจนเท่าทุกวันนี้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมินั้น เมื่อดูองค์รวมแล้วก็มีความคล้ายคลึงกับพระปรางค์วัดอรุณฯ
เพียงแต่องค์ประกอบและรายละเอียดต่างกันไปตามเนื้อหาสาระของเรื่องราวตรงกลางอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเปรียบเสมือนดาบปลายปืนให้เห็นถึงการต่อสู้อันแหลมคมทั้งปัญญาและอาวุธ องค์ประกอบโดยรอบคือทหารหาญแห่งกองทัพไทยที่เข้ารบกับอริราชศัตรูเป็นสามารถ เสียสละเลือดเนื้อและชีวิตเพื่อปกป้องดินแดนอันเป็นราชอาณาจักรไทย รักษาเอกราชของชาติไทย
จึงเห็นได้ว่ารูปแบบของอนุสาวรีย์ใช้สัญลักษณ์เป็นรูปดาบปลายปืน ซึ่งเป็นอาวุธประจำกายทหาร จำนวน 5 เล่ม ประกอบรวมกันจัดตั้งเป็นกลีบแบบรูปมะเฟือง ปลายดาบชี้ขึ้นบน ส่วนคมของดาบหันออก ก่อสร้างด้วยคอนกรีตเสริมเหล็ก พื้นผิวประดับด้วยหินอ่อน
มีความสูงจากฐานถึงยอดประมาณ 50 เมตร (เฉพาะส่วนของดาบปลายปืนสูงประมาณ 30 เมตร) ดาบปลายปืนส่วนด้ามตั้งเป็นฐานเหนือเพดานห้องโถงใหญ่ ภายในห้องโถงใช้เก็บกระสุนปืนใหญ่และบรรจุอัฐิทหารที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสส่วนด้านนอกรอบโคนดาบปลายปืน
มีรูปปั้นหล่อทองแดงวีรชน ขนาดความสูงขนาด 2 เท่าของคนจริง ประกอบด้วย 5 เหล่า ได้แก่ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน ที่ฐานอนุสาวรีย์มีแผ่นจารึกทำด้วยหินอ่อน ตัวอักษรหล่อด้วยทองแดง แสดงรายชื่อวีรชนที่เสียชีวิตจากกรณีพิพาทไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศสจำนวน 59 นายไว้
ผู้ปั้นรูปเหล่านี้เป็นลูกศิษย์ของ ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เช่น สิทธิเดช แสงหิรัญ, อนุจิตร แสงเดือน, พิมาน มูลประสุข, แช่ม ขาวมีชื่อ ภายใต้การควบคุมของ ศ.ศิลป์ พีระศรี
และต่อมากระทรวงกลาโหมได้ประกอบพิธีบรรจุอัฐิวีรชนผู้กล้าหาญจากสมรภูมิอื่นๆ และจารึกชื่อเพิ่มไว้ที่แท่นฐานอนุสาวรีย์(**ปัจจุบันปรากฏรายชื่อผู้เสียชีวิตที่จารึกไว้รอบอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิด้านนอก
นับตั้งแต่ พ.ศ. 2483 – 2497 จำนวน 807 ชื่อ และที่ปรากฏด้านในอนุสาวรีย์ มีรายชื่อผู้เสียชีวิตทุกสมรภูมิทั้งที่มีอัฐิและไม่มีอัฐิ จำนวน 7,297 ราย – นับโดยองค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก เมื่อ พฤษภาคม พ.ศ. 2558)บริเวณอนุสาวรีย์ล้อมด้วยรั้วเหล็ก และมีการประดับด้วยไม้ดอกไม้ประดับโดยรอบ
มีประตูทางเข้า 8 ด้าน ลานรอบอนุสาวรีย์เป็นพื้นคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 131 เมตร ยาว 260 เมตร แท่นฐานอนุสาวรีย์เป็นรูปวงกลม วัดเส้นผ่านศูนย์กลางได้ 51 เมตร มีบันได้ขึ้นไปสู่อนุสาวรีย์ 4 ชั้น
ด้านนอกของผนังห้องโถง เป็นแผ่นทองแดงจารึกนามผู้เสียชีวิต รายนามผู้ที่ได้รับการจารึกไว้มีทั้งสิ้น 160 นาย เป็นทหารบก 94 นาย ทหารเรือ 41 นาย ทหารอากาศ 13 นาย และตำรวจสนาม 12 นาย จนถึงปัจจุบันแผ่นทองแดงจารึกรายนามผู้เสียชีวิต และผู้สละชีพเพื่อชาติจากสงครามต่าง ๆ ตั้งแต่ พ.ศ. 2483-2497 รวมทั้งสิ้น 801 นาย
ประวัติการอนุรักษ์และซ่อมแซม
- พ.ศ. 2486 มีพิธีเปิดแผ่นจารึกนามผู้เสียชีวิต โดยแผ่นที่นำมาเปลี่ยนใหม่นี้มีรายนามผู้เสียชีวิตเพิ่มเติมจากสงครามอินโดจีนฝรั่งเศสและสงครามมหาเอเชียบูรพา (สงครามโลกครั้งที่ 2) จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิด
- พ.ศ. 2490 กระทรวงกลาโหมทำการบูรณะซ่อมแซมบริเวณอนุสาวรีย์ ได้แก่ เพิ่มเสาไฟฟ้าดวงโคมรอบอนุสาวรีย์ 8 ต้น หล่อตัวอักษรรายชื่อทหารเสียชีวิตเพิ่มเติม พร้อมจารึกชื่อในแผ่นป้ายจารึกชื่อ และซ่อมตัวอักษรชื่อทหารที่จารึกไว้แล้ว
- พ.ศ. 2491 กระทรวงกลาโหมทำพิธีบรรจุอัฐิทหาร 656 นายไว้ในอนุสาวรีย์
- พ.ศ. 2495 ได้ทำการจารึกรายชื่อผู้ที่เสียชีวิตในกรณีสงครามเกาหลีเพิ่มเติม
- พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานครได้ทำการซ่อมแซม ดังนี้ บันไดคอนกรีต พื้นดาดฟ้าโถงเก็บอัฐิวีรชน ขัดพื้นหินขัด ผนัง และทาสีโถงเก็บอัฐิวีรชน ซ่อมพื้นลานที่ชำรุด
- พ.ศ. 2558 กรุงเทพมหานครได้ทำการบูรณะบริเวณลานและโถงเก็บอัฐิวีรชน ได้แก่ การขัดล้างทำความสะอาด ฟื้นฟูบูรณะผิวเดิม ขูดลอกล้างสีเดิม และทาสีใหม่
ความสำคัญ
นอกจากเป็นอนุสรณ์สถานที่สำคัญ และเป็นที่จารึกรายนามทหารที่เสียชีวิต ในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีน) สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลีแล้ว ยังเป็นต้นทางของถนนพหลโยธิน รวมไปถึงศูนย์กลางการคมนาคมที่มีรถโดยสารให้บริการในหลายเส้นทาง เป็นจำนวนมาก
ทั้งรถเมล์ รถไฟฟ้า BTS และรถตู้ ผ่านตลอด 24 ชั่วโมง จึงทำให้อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นชุมทางการคมนาคมที่สำคัญของกรุงเทพมหานครในปัจจุบัน
สิ่งก่อสร้างบริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้า วิทยาลัยแพทยศาสตร์พระมงกุฎเกล้า ทางพิเศษศรีรัช สถานีรถไฟฟ้า BTS อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ แฟชั่นมอลล์ เซ็นเตอร์วัน กูดเดย์