Skip to content
Home » News » ลิเบียปล่อยตัวลูกชายกัดดาฟี

ลิเบียปล่อยตัวลูกชายกัดดาฟี

ลิเบียปล่อยตัวลูกชายกัดดาฟี นายซาอีฟ อัล-อิสลาม กัดดาฟี ลูกชายคนที่สองของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบียที่ถูกโค่นอำนาจ ได้รับการอภัยโทษ และปล่อยตัวจากเรือนจำแล้ว โดยการเคลื่อนไหวครั้งนี้ ที่ถูกมองว่าอาจจุดชนวนให้เกิดความไร้เสถียรภาพมากขึ้น

ลิเบียปล่อยตัวลูกชายกัดดาฟี ลูกชายคนที่สองของอดีตผู้นำลิเบียผู้นี้ เคยถูกวางตัวให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งต่อจากผู้เป็นพ่อ แต่เท่าที่ผ่านมา 6 ปี เขาถูกควบคุมตัวอยู่ในเมืองซินตัน ซึ่งเป็นที่มั่นของฝ่ายกบฎ โดยกองกำลัง อาบู บาคห์ อัล ซาดิค ระบุว่า ลูกชายของพันเอกกัดดาฟี ได้รับการปล่อยตัวแล้ว แต่ยังไม่ปรากฎตัวต่อสาธารณะ โดยการปล่อยตัวนี้มีขึ้นหลังจากที่รัฐบาลรักษาการร้องขอ

สื่อท้องถิ่นระบุว่า ขณะนี้ เขาอาศัยอยู่กับญาติในเมืองเบย์ดา ทางตะวันออกของลิเบีย และรัฐบาลรักษาการได้ให้อภัยโทษเขาแล้ว หลังจากที่เคยถูกศาลในกรุงตริโปลี ตัดสินประหารชีวิต

อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ มีรายงานข่าวที่ขัดแย้งกันว่า เขายังไม่ได้รับการปล่อยตัวด้วย

ลิเบียปล่อยตัวลูกชายกัดดาฟี
https://www.thairath.co.th/news/foreign/969188

บทวิเคราะห์ โดย ออร์ลา กูเอรินผู้สื่อข่าว บีบีซี

หากนายซาอีฟ อัล อิสลาม กัดดาฟี ได้รับการปล่อยตัวจริง ก็จะถือเป็นอีกปัจจัยที่จะสร้างความไม่แน่นอนและสั่นคลอนเสถียรภาพให้กับสถานการณ์ของลิเบียในตอนนี้ โดยเขาเป็นผู้ที่ชาติตะวันตกคุ้นหน้าดี จากการเดินทางไปปรากฎตัวบ่อย และถูกมองว่าเป็นผู้ที่พันเอกกัดดาฟี วางตัวให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่ง

นอกจากนี้ เขายังมีผู้ให้การสนับสนุนอยู่บ้างในประเทศลิเบีย และอาจจะกลับเข้าสู่แวดวงการเมืองได้

นอกจากนี้ เขายังเป็นที่ต้องการตัวของศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ จากการก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในช่วงที่พ่อของเขาพยายามกำจัดกลุ่มต่อต้านแต่ล้มเหลว

ปัจจุบันเขามีอายุ 44 ปี เมื่อปี 2008 เคยได้รับปริญญาเอกจากแอลเอสอี หรือ London School of Economics ท่ามกลางกรณีถกเถียง และกลับมาถูกจับที่ลิเบียเมื่อเดือนพ.ย. ปี 2011 หลังจากหลบหนีอยู่ 3 เดือน ต่อจากช่วงที่พันเอกกัดดาฟี ถูกโค่นอำนาจ

นอกจากนี้ เขายังเคยถูกมองว่า มีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์กับกลุ่มประเทศตะวันตก ในช่วงหลังปี 2000 และถูกมองว่าเป็นตัวแทนด้านการปฏิรูป ของระบอบการปกครองภายใต้อำนาจของพ่อ

แต่หลังจากที่ลิเบียมีความเคลื่อนไหวต่อต้านรัฐบาล เมื่อปี 2011 เขา ถูกกล่าวหาว่า เป็นผู้ปลุกปั่นให้เกิดการใช้ความรุนแรงและสังหารผู้ประท้วง และจากนั้น 4 ปี เขาก็ถูกตัดสินประหารชีวิตด้วยการยิงเป้า หลังมีการดำเนินคดีกับคนใกล้ชิดของพันเอกกัดดาฟี อีก 30 ราย

ซาอิฟ อัล-อิสลาม ซึ่งเคยถูกมองว่าเป็นผู้สืบทอดของกัดดาฟี ถูกกองกำลังติดอาวุธ ‘อาบู บาคาร์ อัล-ซิดดิก’ จับกุมตัวเอาไว้ที่เมืองซินตัน ตลอดช่วง 6 ปีที่ผ่านมา หลังจากการปฏิวัติอาหรับสปริงในลิเบียจบลงเมื่อปี 2011 อย่างไรก็ตาม ล่าสุดกลุ่ม อาบู บาคาร์ อัล-ซิดดิก ออกมาเปิดเผยว่า ลูกชายคนรองของกัดดาฟีผู้นี้ถูกปล่อยตัวแล้วตั้งแต่เมื่อวันศุกร์ที่ 9 มิ.ย. ตามคำขอของรัฐบาลชั่วคราวแห่งลิเบีย และตอนนี้เชื่อว่าอยู่ที่เมืองเบย์ดา ทางตะวันออก

ทั้งนี้ รัฐบาลชั่วคราวแห่งลิเบีย ปกครองพื้นที่ฝั่งตะวันออกของประเทศเอาไว้ และได้ออกคำสั่งอภัยโทษซาอิฟ อัล-อิสลาม ไปก่อนหน้านี้แล้ว แต่เพิ่งมีการปล่อยตัว ขณะที่ศาลในกรุงตริโปลี ทางตะวันตกของประเทศซึ่งปกครองโดยรัฐบาลร่วมแห่งชาติ (จีเอ็นเอ) ที่ได้รับการสนับสนุนจากสหประชาชาติ ตัดสินลับหลังจำเลยให้ลงโทษประหารชีวิต ซาอิฟ อัล-อิสลาม

นอกจากนี้ ซาอิฟ อัล-อิสลาม ยังเป็นที่ต้องการตัวของศาลอาชญากรรมระหว่างประเทศ (ไอซีซี) ในข้อหาก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ ในระหว่างที่พ่อของเขาใช้กำลังเข้าปราบปรามประชาชนที่ลุกฮือขึ้นมาเพื่อโค่นล้มเขา จนทำให้มีผู้เสียชีวิตจำนวนมาก

อนึ่ง ซาอิฟ อัล-อิสลาม ปัจจุบันมีอายุ 44 ปี ได้รับปริญญาเอกจากสถาบันเศรษฐกิจลอนดอน ในปี 2008 ถูกจับกุมตัวในเดือน พ.ย. 2011 ราว 3 เดือนหลังจากกัดดาฟีผู้พ่อถูกสังหาร เขาเคยมีบทบาทสำคัญในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างลิเบียกับชาติตะวันตกในช่วงหลังปี 2000 และถูกมองว่าเป็นกลุ่มปฏิรูปในรัฐบาลของกัดดาฟี แต่หลังการลุกฮือในปี 2011 เขาถูกกล่าวหาว่าใช้ความรุนแรงเข่นฆ่าผู้ประท้วง และถูกกลุ่มปฏิวัติจับกุมตัวเอาไว้.

https://www.bbc.com/thai/international-40237547

เมื่อปี 2015 ศาลในกรุงตริโปลีได้ตัดสินลงโทษประหารชีวิตซาอีฟ ในความผิดฐานก่ออาชญากรรมสงครามหลายกระทง ซึ่งในนั้นคือการเข่นฆ่าพวกผู้ประท้วงในระหว่างเกิดการปฏิวัติลุกฮือโค่นระบอบปกครองของบิดาของเขา

รัฐบาลในกรุงตริโปลีเวลานี้ซึ่งใช้ชื่อว่า “รัฐบาลของการปรองดองแห่งชาติ (government of National Accord ใช้อักษรย่อว่า GNA)” ได้รับการหนุนหลังจากสหประชาชาติ และพยายามดิ้นรนอย่างหนักเพื่อประกาศบังคับใช้อำนาจควบคุมของตน ทว่ายังคงถูกปฏิเสธจากฝักฝ่ายทรงอำนาจต่างๆ ซึ่งตั้งฐานอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ

ขณะที่ซินตัน ซึ่งมีอำนาจเพิ่มพูนขึ้นมามากจากบทบาทที่แสดงอยู่ในการลุกฮือโค่นกัดดาฟีเมื่อปี 2011 ได้แสดงการไม่ยอมรับอำนาจของตริโปลีเรื่อยมา รวมทั้งปฏิเสธไม่ยอมส่งตัวซาอีฟไปให้ โดยที่ซาอีฟยังเป็นที่ต้องการตัวของศาลอาญาระหว่างประเทศในกรุงเฮก ซึ่งระบุว่าการไต่สวนพิจารณาคดีซาอีฟที่กระทำในลิเบีย ไม่ได้มาตรฐานของนานาชาติ

ไม่เป็นที่ทราบกันว่า พวกที่คุมขังซาอีฟอยู่ได้ตั้งเงื่อนไขอะไรหรือไม่ในการปล่อยตัวเขา รวมทั้งทำไมพวกเขาจึงยอมปล่อยตัว ทั้งๆ ที่เห็นกันอยู่ว่านักโทษผู้นี้คือเบี้ยหมากสำหรับใช้ในการต่อรองตัวสำคัญตัวหนึ่ง

ซินตัน ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากตริโปลีไปทางตะวันตกเฉียงใต้ราว 145 กม. ก็มีความแตกแยกภายในตัวเองเช่นกัน ทว่า กลุ่มต่างๆ ในเมืองนี้ยังคงจับกลุ่มเป็นพันธมิตรอย่างหลวมๆ กับรัฐบาลและพวกกองกำลังในภาคตะวันออกของลิเบีย

อย่างไรก็ดี ยังคงปรากฏคำแถลงฉบับหนึ่งระบุว่าออกมาจากสภาฝ่ายทหารและสภาเทศบาลของซินตัน ซึ่งประณามการตัดสินปล่อยตัวซาอีฟในคราวนี้อย่างรุนแรง

คำแถลงกล่าวว่า ความเคลื่อนไหวครั้งนี้ “ไม่ได้มีอะไรเกี่ยวกับการทำตามกระบวนวิธีทางกฎหมายแต่อย่างใด หากแต่เป็นการสมคบกันและเป็นการการทรยศต่อเลือดเนื้อของผู้เสียสละพลีชีพและของสถาบันทางทหาร ซึ่งพวกเขาอวดอ้างว่าตนเองเป็นส่วนหนึ่งของสถาบันนี้”

https://mgronline.com/around/detail/9600000059531