Skip to content
Home » News » ลีวายธุรกิจ “Levi Strauss & Company”

ลีวายธุรกิจ “Levi Strauss & Company”

ลีวายธุรกิจ
https://www.blockdit.com/posts/6054d90f84c5ef1a7ecb6204?id=6054d90f84c5ef1a7ecb6204&series=5fecc1fb186a470b2629256c

ลีวายธุรกิจ “Levi Strauss & Company” ลีวายตั้งชื่อธุรกิจของตนว่า “Levi Strauss & Company” และได้ขายเสื้อผ้าและเครื่องนอนแก่พ่อค้าท้องถิ่น ลูกค้าจำนวนมากก็เป็นคนงานเหมือง ซึ่งบางครั้งก็จ่ายค่าสินค้าด้วยทองคำสินค้าของลีวายนั้นได้รับความนิยมมาก หมดเร็ว และลีวายก็ต้องให้พี่ๆ ส่งสินค้ามาให้ทางเรือ เรียกได้ว่าธุรกิจของเขากำลังไปได้ดีในเวลานั้น

สินค้าต่างๆ ในซานฟรานซิสโกนั้นมีราคาแพงกว่าที่นิวยอร์ก เนื่องจากในแคลิฟอร์เนีย ซึ่งเป็นรัฐที่ซานฟรานซิสโกเป็นเมืองอยู่ สินค้าต่างๆ นั้นหายากเมื่อคนจำนวนมากมายังแคลิฟอร์เนีย พ่อค้าขี้โกงหลายๆ คนก็หลอกขายสินค้าปลอมๆ ไม่ว่าจะเป็นแผนที่ปลอมที่บอกว่ามีทองคำอยู่ที่ไหนบ้าง หรืออุปกรณ์ขุดทองที่มีคุณภาพไม่ดีนัก

หากแต่ลีวายนั้นแตกต่างออกไป เขาจำได้ดีว่าสมัยอยู่ที่บาวาเรีย ครอบครัวเขาต้องลำบากอย่างไร และไม่ต้องการทำเช่นนั้นกับผู้อื่น เขาจึงคอยเช็คว่าสินค้าของตนนั้นมีคุณภาพดี ให้ลูกค้าได้รับของที่มีคุณภาพ

ลูกค้าส่วนมากก็เชื่อใจลีวาย อีกทั้งลีวายยังขายสินค้าในราคาสมเหตุสมผล ทำให้ลีวายมีลูกค้าประจำเป็นจำนวนมาก และทำให้ลีวายมีเงินหมุนเวียนเป็นจำนวนไม่น้อยค.ศ.1855 (พ.ศ.2398) ลีวายส่งทองคำกลับไปให้พี่ชายทางเรือเป็นครั้งแรก โดยทองคำที่เขาส่งไปนั้นมีมูลค่ามากกว่า 10,000 ดอลลาร์

แต่หากคิดตามค่าเงินปัจจุบัน จะมีมูลค่าประมาณ 250,000 ดอลลาร์ (ประมาณ 7.5 ล้านบาท)ขณะเดียวกัน พี่ๆ ของลีวายซึ่งอยู่ในนิวยอร์กก็ได้เปลี่ยนชื่อบริษัท จาก “J. Strauss & Brother” เป็น “J. Strauss Brother & Company” แต่ที่แคลิฟอร์เนีย ลีวายได้สร้างชื่อและธุรกิจด้วยตนเองในปีค.ศ.1855 (พ.ศ.2398)

พี่สาวคนหนึ่งของลีวาย พร้อมสามีและลูกๆ ได้มาเข้าร่วมกับธุรกิจของลีวาย และธุรกิจของลีวายก็เริ่มจะขยับขยายในเวลาต่อมา กำไรของธุรกิจก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ อีกทั้งในปีค.ศ.1860 (พ.ศ.2403)

ได้มีการตั้งระบบบริการไปรษณีย์ ทำให้การส่งจดหมายรวดเร็วขึ้น และทำให้สามารถสั่งสินค้าได้รวดเร็วขึ้นธุรกิจของลีวายก็เติบโตขึ้นเรื่อยๆ ในเวลานี้ ร้านค้าของลีวายไม่ได้ขายสินค้าให้แค่ลูกค้าในซานฟรานซิสโกเท่านั้น แต่ยังขยายไปขายให้แก่ลูกค้าทั่วทั้งตะวันตกลีวายเริ่มจะมีชื่อเสียง เวลาไปทานข้าวที่ร้านอาหาร หลายๆ คนก็จำเขาได้ เริ่มเป็นที่รู้จัก

ลีวายธุรกิจ
https://www.blockdit.com/posts/6054d90f84c5ef1a7ecb6204?id=6054d90f84c5ef1a7ecb6204&series=5fecc1fb186a470b2629256c

ลีวายธุรกิจ “Levi Strauss & Company” นอกจากธุรกิจแล้ว ลีวายได้บริจาคเงินสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ จำนวนหนึ่ง รวมทั้งสถานที่ประกอบพิธีกรรมของชาวยิวแต่ในขณะที่ชีวิตธุรกิจของลีวายกำลังรุ่งเรือง อีกด้านหนึ่งของประเทศ “สงครามกลางเมือง (American Civil War)” ก็กำลังเริ่มขึ้นในปีค.ศ.1861 (พ.ศ.2404)สงครามกลางเมืองไม่ได้เกิดในแคลิฟอร์เนีย แต่ผู้คนส่วนมากในแคลิฟอร์เนีย รวมทั้งลีวาย ก็สนับสนุนสหพันธรัฐ

ในช่วงสงคราม บริษัทของลีวายได้บริจาคเงินจำนวนมากให้องค์กรที่ทำหน้าที่รักษาพยาบาลทหารสหพันธรัฐที่ได้รับบาดเจ็บลีวายนั้นถึงแม้จะไม่ได้เกิดในสหรัฐอเมริกา แต่เขาก็ภูมิใจในความเป็นอเมริกัน และต้องการให้สหรัฐอเมริกาเป็นปึกแผ่นต่อมา ได้มีการสร้างทางรถไฟเพิ่ม ทำให้ธุรกิจของลีวายสะดวกยิ่งขึ้นที่ผ่านมา เรือที่ขนส่งทองคำของลีวายมักจะอับปางกลางทะเล ทางรถไฟจะทำให้การขนส่งรวดเร็วขึ้นและปลอดภัยยิ่งขึ้น

ในเวลานี้ บริษัทของลีวายได้ขายเสื้อผ้าผู้ชายและผู้หญิง ซึ่งเสื้อผ้านั้นถูกผลิตที่นิวยอร์ก และส่งไปแคลิฟอร์เนียทางเรือกรกฎาคม ค.ศ.1872 (พ.ศ.2415) ลีวายก็ได้รับจดหมายที่จะเปลี่ยนชีวิตของเขาไปตลอดกาลจดหมายนั้นส่งมาจาก “จาคอบ เดวิส (Jacob Davis)” ช่างตัดเสื้อที่เนวาด้า

เดวิสนั้นเป็นลูกค้าที่สั่งผ้าเดนิมจากลีวาย และนำไปทำกางเกงเดนิมสำหรับคนงานเหมืองเหล่าคนงานทางตะวันตกต่างบ่นว่ากางเกงนั้นไม่มีความทนทาน กระเป๋าข้างนั้นหลุดออกง่ายดาย โดยเฉพาะเมื่อนำอุปกรณ์ต่างๆ ใส่กระเป๋าเดวิสเขียนมาเล่าให้ลีวายฟังว่าเขาคิดทางแก้ได้แล้ว เขาเอาหมุดเล็กๆ ไปปักไว้รอบๆ กระเป๋ากางเกงและด้านหน้า ซึ่งทำให้กระเป๋ากางเกงทนทานมากขึ้น และยังไม่เคยมีใครทำมาก่อน

เดวิสเล่าว่ากางเกงนี้เป็นที่นิยมมากเนื่องจากความทนทาน เหล่าคนงานนิยมมากกางเกงเหล่านี้เดวิสทำด้วยตนเอง และเริ่มจะทำไม่ทัน จึงขอให้ลีวายมาช่วยนอกจากนั้น เดวิสยังบอกว่าเขาคิดจะไปจดสิทธิบัตรกางเกงที่ตนคิดขึ้น แต่ปัญหาคือเขาไม่มีเงินมากพอ เขาจึงมาขอให้ลีวายช่วย และเขาก็ไว้ใจลีวาย อยากให้ลีวายมาช่วยผลิตกางเกงลีวายเป็นนักธุรกิจที่ฉลาด เขามองเห็นโอกาส และตกลงที่จะช่วยเดวิส

20 พฤษภาคม ค.ศ.1873 (พ.ศ.2416) ลีวายและเดวิสก็ได้รับสิทธิบัตรในด้านการพัฒนากระเป๋ากางเกงคนงานในที่สุด “บลูยีนส์” ก็ได้ถือกำเนิดแล้วจากนั้น ลีวายก็ได้เปิดโรงงานเพื่อผลิตกางเกง ซึ่งอยู่ไม่ห่างจากสำนักงานของลีวาย ส่วนเดวิสก็ย้ายไปซานฟรานซิสโกเพื่อรับตำแหน่งหัวหน้าช่างตัดเสื้อลีวายได้สั่งเครื่องจักรและจ้างพนักงานประจำเครื่องทอผ้าจำนวน 50 คนมาประจำการ และลีวายกับเดวิสยังทำเสื้อแจ๊คเก็ตอีกด้วยกางเกงของลีวายนั้นมีต้นทุนในการผลิตที่แพงกว่ากางเกงอื่นๆ จึงต้องขายในราคาที่แพงกว่า หากแต่คนงานเหมืองและคาวบอย ต่างก็ต้องการมากลีวายเริ่มลงโฆษณากางเกงของตนไปทั่วประเทศ ซึ่งผลตอบรับก็ดีมาก เกิดกระแสปากต่อปาก ทำให้ร้านค้าต่างๆ ทางภาคตะวันตกเริ่มจะซื้อกางเกงของลีวายเพื่อนำไปจำหน่ายต่อ

ภายในสิ้นปีค.ศ.1873 (พ.ศ.2416) ลีวายได้ขายกางเกงและเสื้อแจ๊คเก็ตไปแล้วกว่า 21,000 ตัว ก่อนที่ในปีต่อมา จะขายได้กว่า 70,500 ตัว ซึ่งทำให้ลีวายกลายเป็นเศรษฐีธุรกิจของลีวายนั้นเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และเริ่มส่งออกไปยังต่างประเทศ ตั้งแต่แคนาดาไปจนถึงฝรั่งเศสในปลายศตวรรษที่ 19 กางเกงที่โด่งดังของลีวาย ได้ใช้ชื่อรุ่นว่า “501” และโด่งดังไปทั่ว

ในปีค.ศ.1902 (พ.ศ.2445) ลีวายอายุได้ 73 ปีแล้ว เขามีฐานะร่ำรวย และบริจาคเงินสร้างสิ่งก่อสร้างต่างๆ มากมาย26 กันยายน ค.ศ.1902 (พ.ศ.2445) ลีวายเสียชีวิตขณะนอนหลับหลังจากลีวายเสียชีวิต หลานๆ ของลีวายก็ยังคงบริหารบริษัทต่อ และบริษัทก็รุ่งเรือง ผ่านร้อนผ่านหนาวมาถึงปัจจุบันในปัจจุบัน บริษัทลีวายส์ (Levi’s) เป็นบริษัทผลิตกางเกงยีนส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก มีพนักงานกว่า 16,000 คน และมีสาขาอยู่ในประเทศต่างๆ กว่า 110 ประเทศ

ลีวายธุรกิจ
https://www.blockdit.com/posts/6054d90f84c5ef1a7ecb6204?id=6054d90f84c5ef1a7ecb6204&series=5fecc1fb186a470b2629256c

สำหรับสโลแกนของบริษัทคือ“คุณภาพไม่เคยตกยุค”

สำหรับตัวผมเองนั้น ไม่ได้มีกางเกงยีนส์หลายตัว ไม่ได้เป็นยีนส์เลิฟเวอร์ แต่ก็มีกางเกงยีนส์ของลีวายส์จำนวนสองตัว เป็นรุ่น 510 ทั้งคู่ และต้องยอมรับว่าคุณภาพสมราคาจริงๆ ครับ

วันที่ในข่าวนี้ 1 มกราคม 1855 วันที่โดยประมาณการ