Skip to content
Home » News » ลีวาย สเตราส์ ผู้ให้กำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi’s)

ลีวาย สเตราส์ ผู้ให้กำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi’s)

ลีวาย สเตราส์ ผู้ให้กำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi’s) หลายคนน่าจะต้องรู้จัก “กางเกงยีนลีวายส์ (Levi’s)” และมีในครอบครองกางเกงยีนส์ลีวายส์เป็นหนึ่งในกางเกงยีนส์ชั้นนำของโลก และอยู่คู่กับโลกของกางเกงยีนส์มาเป็นเวลายาวนานผู้ให้กำเนิดกางเกงยีนระดับตำนานนี้คือ “ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss)”

ลีวาย สเตราส์ ผู้ให้กำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายส์ (Levi’s)
https://www.blockdit.com/posts/6054d90f84c5ef1a7ecb6204?id=6054d90f84c5ef1a7ecb6204&series=5fecc1fb186a470b2629256c

“ ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss)” ชื่อเดิมคือ “เลิบ สเตราส์ (Loeb Strauss)” เกิดในวันที่ 26 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1829 (พ.ศ.2372) ที่บาวาเรีย ประเทศเยอรมนีเลิบเป็นลูกคนเล็ก โดยเขาเป็นลูกคนที่เจ็ด พี่ๆ ห้าคนแรกเป็นพี่คนละแม่พ่อและแม่ของเลิบคือ “เฮิร์ช สเตราส์ (Hirsch Strauss)” และ “รีเบกกา สเตราส์ (Rebecca Strauss)”เฮิร์ชนั้นเป็นพนักงานขายอุปกรณ์เย็บผ้า เช่น ผ้า ด้าย กระดุม โดยเขาจะเดินเคาะตามบ้าน เสนอขายสินค้าของตน

นายลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) ชาวเยอรมัน เป็นผู้หนึ่งที่ร่วมอยู่ในยุคตื่นทอง เมื่อปี ๕.ศ.1850 ซึ่งทุกคนต่างมุ่งหน้าไปขุดทองที่เหมืองในเมืองซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกา สเตราส์เดินทางไปที่นั่นเช่นกัน เขาไปเพื่อขายของ ซึ่งของที่นำไปขายได้ขายหมดระหว่างทาง เหลือเพียงผ้าเต็นท์เท่านั้น เมื่อไปถึงเหมือง ชาวเหมืองคนหนึ่งบอกให้เขาหากางเกงที่ทนทานมาขายบ้าง เพราะกางเกงคนขุดเหมืองขาดง่าย

คำพูดนี้จุดประกายความคิดให้สเตราส์ทันที เขาจึงนำเอาผ้าเต็นท์มาให้ช่างตัดเป็นเสื้อและกางเกง แล้วนำออกขาย ปรากฏว่าขายดีอย่างนึกไม่ถึงจนผ้าเต็นท์หมดในไม่ช้าสเตราส์จึงสั่งผ้าใบเรือมาตัดเสื้อผ้า ในขณะที่ผ้าเต็นท์ขาดตลาด เขาสั่งผ้าหนาอีกหลายชนิดมาจากนิวยอร์ก และนำมาย้อมเป็นสีน้ำเงินคราม อันเป็นสัญลักษณ์ของเสื้อผ้ากรรมกร

ปี ค.ศ.1860 ช่างตัดเสื้อชื่อ นายจาคอบ เดวิส (Jacob Davis) จากรัฐเนวาดาได้ตอกหมุดตามมุมกระเป๋ากางเกงของคนงานเหมือง เพื่อให้บริเวณนั้นที่มักขาดเสมอแข็งแรงขึ้น สเตราส์นำวิธีการตอกหมุดมาใช้กับกางเกงเสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าหนาของเขาและตั้งชื่อว่า “ลีวาย” (Levi’s) ในวันที่ 20 พฤษภาคม ค.ศ.1873 สเตราส์ได้จดทะเบียนสิทธิบัตรขึ้น ถือเป็นวันกำเนิดกางเกงยีนส์ลีวายที่นิยมใช้ทั่วโลกขณะนี้

ในระหว่างที่เฮิร์ชทำงาน รีเบกกาก็ทำหน้าที่ดูแลลูกๆ โดยครอบครัวสเตราส์นั้นอาศัยอยู่ในห้องแคบๆ ที่มีเพียงแค่ห้องนั่งเล่น ห้องครัว และห้องนอนหนึ่งห้องครอบครัวสเตราส์เป็นครอบครัวชาวยิว ในวัยเด็ก เลิบจึงไปเรียนในโรงเรียนสำหรับชาวยิว และเมื่อมีเวลา ก็ช่วยงานในบ้าน เล่นกับพี่น้องและญาติๆผู้คนในบาวาเรียส่วนมากนับถือศาสนาคริสต์นิกายคาทอลิก และหลายคนก็เกลียดคนยิว

ซึ่งก็รวมถึงครอบครัวของเลิบด้วยไม่เพียงแค่ผู้คนเท่านั้น รัฐบาลเองก็ยังโหดร้ายกับคนยิว คนยิวจะถูกควบคุมแทบทุกอย่าง ต้องอยู่ในบริเวณพื้นที่ๆ กำหนด งานที่ทำได้ก็จำกัด ไม่มีสิทธิออกเสียงเลือกตั้ง ภาษีก็ต้องจ่ายแพงกว่าคนอื่น ซึ่งครอบครัวสเตราส์ก็ได้รับผลกระทบเต็มๆในปีค.ศ.1840 (พ.ศ.2383) “โจนาทาน (Jonathan)” พี่ชายของเลิบ ได้ย้ายไปยังนิวยอร์ก สหรัฐอเมริกา ก่อนที่ “ลิพพ์แมนน์ (Lippmann)” พี่ชายอีกคน จะตามไปในภายหลัง

ในเวลานั้น ผู้คนจำนวนมากในยุโรปได้ย้ายไปยังนิวยอร์ก ซึ่งในเวลานั้น นิวยอร์กเป็นเมืองที่กำลังเติบโต มีตำแหน่งงานและโอกาสรอคอยผู้ที่มีความสามารถ อีกทั้งยังมีการเปิดคลองใหม่ๆ ทำให้การขนส่งสินค้าง่ายขึ้นด้วยความรุ่งเรืองของนิวยอร์ก พี่น้องตระกูลสเตราส์

จึงต้องการจะสร้างธุรกิจของตนในเมืองนี้ภายหลังจากที่ลิพพ์แมนน์ได้มาอยู่ที่นิวยอร์กกับโจนาทาน ทั้งคู่ก็ได้เปิดร้านเล็กๆ ด้วยกันในนิวยอร์ก เป็นร้านขายอุปกรณ์เย็บผ้าในนิวยอร์ก ชื่อ “J. Strauss & Brother”ทางด้านครอบครัวสเตราส์ในบาวาเรีย เฮิร์ชนั้นทำงานหนักจนล้มป่วยและเสียชีวิตในปีค.ศ.1846 (พ.ศ.2389)

ซึ่งยิ่งทำให้สถานการณ์ในบ้านนั้นแย่กว่าเดิม เนื่องจากที่ผ่านมา ครอบครัวสเตราส์ก็ใช่ว่าจะร่ำรวย ตอนนี้เมื่อขาดเฮิร์ช ครอบครัวจึงลำบากกว่าเดิมเลิบนั้นต้องการที่จะช่วยครอบครัว เขาอยากหาเงินได้เยอะๆ และในเวลานั้น ชาวยิวในบาวาเรียต่างต้องการจะไปสหรัฐอเมริกา พวกเขาอยากจะไปหาโอกาสใหม่ๆ ที่นั่น

ชาวยิวในบาวาเรียนับพันมุ่งไปยังสหรัฐอเมริกา และครอบครัวสเตราส์ก็คิดว่าควรจะต้องย้ายไปยังสหรัฐอเมริกาแม่ของเลิบต้องทำเรื่องขออนุญาตจากรัฐบาลเพื่อย้ายไปสหรัฐอเมริกา ซึ่งก็ต้องใช้เวลานานกว่าหนึ่งปี รัฐบาลจึงอนุญาต และครอบครัวสเตราส์ก็ได้เก็บของ มุ่งสู่สหรัฐอเมริกาเลิบ แม่ และพี่สาวอีกสองคน ได้ลงเรือเดินทางไปสหรัฐอเมริกาในปีค.ศ.1848 (พ.ศ.2391) ขณะที่เลิบมีอายุได้ 19 ปี และทั้งครอบครัวก็ต้องไปอยู่ในห้องใต้ท้องเรือ ซึ่งห้องใต้ท้องเรือนั้น ถึงแม้ว่าตั๋วจะมีราคาถูก แต่สภาพความเป็นอยู่ก็ย่ำแย่

ภายหลังจากผ่านมาหลายสัปดาห์ เรือก็มาถึงนิวยอร์กทั้งครอบครัวได้เข้าไปอาศัยกับโจนาทานและลิพพ์แมนน์ อยู่รวมกันในอพาร์ทเม้นท์เล็กๆภายหลังจากย้ายมานิวยอร์ก เลิบก็ได้ไปทำงานในร้านของพี่ชาย ซึ่งในเวลานี้ เลิบได้เปลี่ยนชื่อเป็น “ลีวาย (Levi)” รวมทั้งพี่น้องคนอื่นๆ ก็เปลี่ยนชื่อเช่นกัน โจนาทานก็เป็น “โจนัส (Jonas)” ลิพพ์แมนน์ก็เป็น “หลุยส์ (Louis)”

ชีวิตในสหรัฐอเมริกานั้นดีกว่าที่บาวาเรีย พวกเขามีเงินพอใช้จ่าย รัฐบาลก็ไม่กดขี่พวกเขา พวกเขามีเงินใช้ไม่ขัดสน

ย่านที่ครอบครัวสเตราส์อาศัย เรียกว่า “Kleindeutchland” ซึ่งแปลว่า “ย่านเยอรมนีขนาดเล็ก” เนื่องจากเป็นบริเวณที่มีผู้อพยพชาวเยอรมันเข้ามาอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

31 มกราคม ค.ศ.1853 (พ.ศ.2396) ลีวายซึ่งขณะนั้นมีอายุเกือบ 24 ปี ได้เป็นพลเมืองอเมริกันเต็มตัวเขาย้ายมาอาศัยในสหรัฐอเมริกานานเกือบหกปีแล้ว และในเมื่อเขาได้สัญชาติแล้ว เขาก็ต้องการที่จะไปสำรวจทางด้านตะวันตกมีการพบทองคำในแคลิฟอร์เนีย และคนจำนวนมากก็มุ่งไปยังแคลิฟอร์เนียพร้อมความหวังที่จะรวยลีวายเองก็ต้องการจะไปยังแคลิฟอร์เนีย แต่ไม่ใช่เพื่อไปขุดทองลีวายและพี่ๆ ทราบดีว่านักขุดทองต้องการเสื้อผ้าที่เหมาะสม และพวกเขาก็มองเห็นโอกาส

ที่นิวยอร์กนั้นมีร้านเสื้อผ้าจำนวนมากอยู่แล้ว แต่หากพวกเขาไปซานฟรานซิสโก ร้านของพวกเขาจะเป็นร้านแรกๆ เพียงไม่กี่ร้าน

กุมภาพันธ์ ค.ศ.1853 (พ.ศ.2396) ลีวายตัดสินใจเดินทางไปแคลิฟอร์เนียลีวายยังหนุ่มแน่น การเดินทางจึงไม่หนักเกินไปสำหรับเขา และท้ายที่สุด เขาก็เลือกที่จะเดินทางๆ เรือภายหลังจากเดินทางเป็นเวลาหนึ่งเดือน ลีวายก็มาถึงอ่าวซานฟรานซิสโกในวันที่ 14 มีนาคม ค.ศ.1853 (พ.ศ.2396)จากแคลิฟอร์เนีย เดินทางไปถึงแม่น้ำอเมริกัน จะเป็นระยะทางประมาณ 160 กิโลเมตร ซึ่งแม่น้ำอเมริกันเป็นสถานที่ๆ พบทองคำเป็นแห่งแรก และเนื่องจากภาวะตื่นทองนี้เอง บริเวณนี้จึงเต็มไปด้วยผู้คน ตอนที่ลีวายมาถึง ก็มีคนอาศัยอยู่กว่าหนึ่งแสนคนแล้ว

ด้วยความที่มีผู้คนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะบริเวณท่าเรือ ทำให้บริเวณท่าเรือนั้นคึกคัก มีสินค้ามาลงเป็นจำนวนมากในแต่ละวันภายหลังจากที่ลีวายมาถึงซานฟรานซิสโกไม่กี่สัปดาห์ เขาก็ได้รับพัสดุจำนวนมากจากพี่ๆพัสดุที่เขาได้รับนั้น มีทั้งผ้าไหมและเสื้อผ้า ซึ่งลีวายก็เตรียมจะนำไปขายลีวายได้เปิดร้านขายเสื้อผ้าและอุปกรณ์เย็บผ้า