Skip to content
Home » News » ศาลประหารชีวิต สมคิด พุ่มพวง

ศาลประหารชีวิต สมคิด พุ่มพวง

ศาลประหารชีวิต สมคิด พุ่มพวง ตัดสินประหารชีวิต “คิด เดอะริปเปอร์” หรือ “สมคิด พุ่มพวง” ฆาตกรต่อเนื่อง 6 ศพ ฆ่ารัดคอหญิงวัย 51 ปี ชี้ไม่สำนึกต่อการกระทำความผิด ฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรอง และทรมาน ขาดความเมตตา คงประหารสถานเดียว

เมื่อเวลา 11.00 น. วันที่ 2 เม.ย.64 ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้เผยแพร่และประชาสัมพันธ์ข่าวสารคดีที่ประชาชนให้ความสนใจ ด้วยการจัดทำข้อมูลติดประกาศที่บริเวณด้านหน้าศาล ในคดี นายสมคิด พุ่มพวง ผู้ก่อเหตุฆาตกรรมรัดคอหญิงม่าย อายุ 51 ปี ชาว อ.กระนวน จ.ขอนแก่น เหตุเกิดเมื่อปลายปี 2562

ศาลประหารชีวิต สมคิด พุ่มพวง โดยระบุว่าเมื่อวันที่ 17 มี.ค.64 เวลา 09.00 น. ศาลจังหวัดขอนแก่น ได้อ่านคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 87/2564 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น โจทก์ นายสมคิด พุ่มพวง จำเลย โดยคดีนี้ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) (5) มาตรา 199 และ มาตรา 334 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ทวิ วรรคสอง

การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยทรมานหรือโดยการกระทำทารุณโหดร้าย ลงโทษประหารชีวิต ฐานลักทรัพย์ จำคุก 2 ปี

ศาลประหารชีวิต สมคิด พุ่มพวง
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_2654142

สำหรับความผิดซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพหรือส่วนของศพ เพื่อปิดบังการเกิด การตาย หรือสาเหตุแห่งการตาย และฐานเป็นการกระทำใดๆ ต่อศพหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น ในประการที่น่าจะทำให้การชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไปเพื่ออำพรางคดี

เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ทวิ วรรคสอง อันเป็นบทกฎหมายบทที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 12 เดือน ฐานลักทรัพย์เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 เป็นจำคุก 3 ปี

ฐานเป็นการกระทำใดๆ ต่อศพหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น ในประการที่น่าจะที่น่าจะทำให้การชันสูตรพลิกศพ หรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไปเพื่ออำพรางคดี เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 16 เดือน

สำหรับความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย เนื่องจากศาลลงโทษประหารชีวิต ซึ่งเป็นโทษสูงสุดแล้ว จึงไม่อาจเพิ่มโทษได้อีก

จำเลยให้การรับสารภาพในชั้นจับกุมและชั้นสอบสวนในครั้งแรก เพราะจำนนต่อพยานหลักฐาน แต่ให้การปฏิเสธในชั้นพิจารณา ต่อสู้คดีอย่างเต็มที่ คำรับสารภาพดังกล่าวไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา เป็นเพียงกลวิธีในการต่อสู้คดีของจำเลยเพื่อให้ศาลพิจารณาลดโทษให้เท่านั้น

ประกอบกับพฤติการณ์การกระทำความผิดของจำเลยได้กระทำต่อเนื่องในลักษณะเดียวกันรวมคดีนี้ด้วยถึง 6 คดี หลังจากจำเลยพ้นโทษจากคดีทั้งห้าคดีก่อนนั้นเป็นเวลาเพียง 6 เดือนเศษ ทั้งไม่สำนึกในการกระทำความผิด ขาดความเมตตาปราณี สร้างความสูญเสียแก่สุจริตชนและเป็นอันตรายต่อสังคมอย่างใหญ่หลวง

จึงไม่มีเหตุบรรเทาโทษ เมื่อลงโทษประหารชีวิตจำเลยในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยทรมานหรือโดยกระทำทารุณโหดร้าย จึงไม่อาจนำโทษจำคุกในความผิดกระทงอื่นของจำเลยมารวมได้อีก คงให้ประหารชีวิตจำเลยสถานเดียว และ ริบของกลาง

สำหรับ คดีดังกล่าวเกิดขึ้นเมื่อช่วงเย็นวันที่ 15 ธ.ค.2562 โดยมีผู้พบศพ นางรัศมี มุลิจันทร์ หรือ ฝ้าย อายุ 51 ปี เจ้าของบ้านตายในสภาพถูกห่อด้วยผ้าห่ม ท่อนล่างเปลือย ส่วนท่อนบนสวมเพียงเสื้อยืด บริเวณลำคอถูกพันด้วยเทปใสและสายไฟ ที่ข้อเท้าถูกมัดด้วยสายชาร์จแบตเตอรี่โทรศัพท์ เสียชีวิตมาแล้วประมาณ 8 ชั่วโมง ร่างกายไม่มีร่องรอยการถูกทำร้าย ไม่มีร่องรอยการต่อสู้ และไม่มีร่องรอยการรื้อค้นสิ่งของในบ้าน

จนกระทั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจจับกุมตัวนายสมคิด พุ่มพวง ได้ขณะนั่งรถไฟหลบหนีที่ อ.แก่งคอย จ.สระบุรี และคุมตัวมาดำเนินคดีที่ขอนแก่น.

https://www.nationtv.tv/main/content/378819995

ศาลจังหวัดขอนแก่นได้อ่านคำพิพากษาในคดีอาญาหมายเลขดำที่ 87/2563 หมายเลขแดงที่ 174 /2564 ระหว่างพนักงานอัยการจังหวัดขอนแก่น โจทก์ นายสมคิด พุ่มพวง จำเลย คดีนี้ศาลพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289(4) (5) , 334 ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ทวิ วรรคสอง การกระทำของจำเลยเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน ให้ลงโทษทุกกรรมเป็นกระทงความผิดไป ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 ฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยทรมานหรือกระทำทารุณโหดร้าย ลงโทษประหารชีวิต ฐานลักทรัพย์ จำคุก 2 ปี
สำหรับความผิดฐานซ่อนเร้น ย้าย หรือทำลายศพ หรือส่วนของศพเพื่อปิดบังการเกิด การตาย หรือสาเหตุแห่งการตาย และฐานเป็นการกระทำใด ๆ ต่อศพหรือสภาพแวดล้อมในบริเวณที่พบศพ ก่อนการชันสูตรพลิกศพเสร็จสิ้น ในประการที่น่าจะทำให้การชันสูตรพลิกศพหรือผลทางคดีเปลี่ยนแปลงไป เพื่ออำพรางคดี เป็นการกระทำกรรมเดียว เป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 ทวิ วรรคสอง

อันเป็นบทกฎหมายที่มีโทษหนักที่สุด ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 90 จำคุก 12 เดือน ฐานลักทรัพย์ เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 93 เป็นจำคุก 3 ปี ฐานเป็นการกระทำใด ๆ ต่อศพฯ เพิ่มโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 92 เป็นจำคุก 16 เดือน สำหรับฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อนฯ เนื่องจากศาลลงโทษประหารชีวิต ซึ่งเป็นโทษสูงสุดแล้ว จึงไม่อาจเพิ่มโทษได้อีก

https://www.thairath.co.th/news/crime/2062148