Skip to content
Home » News » สงครามนากอร์โน-คาราบัค

สงครามนากอร์โน-คาราบัค

สงครามนากอร์โน-คาราบัค เป็นความขัดแย้งทางอาวุธในภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคระหว่างอาเซอร์ไบจานซึ่งได้รับการสนับสนุนจากตุรกี กับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อาร์ทซัค) ซึ่งประกาศตัวเองเป็นเอกราชและได้รับการสนับสนุนจากอาร์มีเนีย นับเป็นความขัดแย้งที่บานปลายครั้งล่าสุดในภูมิภาคซึ่งได้รับการรับรองจากนานาชาติว่าเป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน แต่ส่วนใหญ่อยู่ภายใต้การปกครองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคและมีชาวอาร์มีเนียเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หลักที่อาศัยอยู่

สงครามนากอร์โน-คาราบัค การปะทะเริ่มขึ้นในเช้าวันที่ 27 กันยายน ตามแนวติดต่อนากอร์โน-คาราบัซึ่งได้รับการกำหนดขึ้นหลังสงครามนากอร์โน-คาราบัค (พ.ศ. 2531–2537) เพื่อเป็นการตอบสนองต่อการปะทะครั้งนี้ อาร์มีเนียและสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคได้ประกาศกฎอัยการศึกและการระดมพลทั้งหมดในขณะที่อาเซอร์ไบจานได้ประกาศกฎอัยการศึกและเคอร์ฟิว

 และต่อมาได้ประกาศการระดมพลบางส่วนในวันที่ 28 กันยายน ตุรกีให้การสนับสนุนทางทหารแก่อาเซอร์ไบจาน แม้ว่าขอบเขตของการสนับสนุนจะยังเป็นที่ถกเถียงก็ตาม เชื่อกันว่าการเข้ามามีส่วนร่วมของตุรกีเป็นความพยายามที่จะขยายเขตอิทธิพลของตนทั้งโดยการเสริมสถานะของอาเซอร์ไบจานในความขัดแย้งและโดยการลดอิทธิพลของรัสเซียในภูมิภาค

สงครามนากอร์โน-คาราบัค
https://www.khaosod.co.th/bbc-thai/news_5006864

นักวิเคราะห์ระหว่างประเทศเชื่อว่าอาเซอร์ไบจานเป็นผู้เปิดฉากรุกก่อน และเป้าหมายหลักของการรุกน่าจะเป็นไปเพื่อยึดพื้นที่ตอนใต้ของนากอร์โน-คาราบัคซึ่งมีภูเขาน้อยกว่าและง่ายต่อการเข้ายึดมากกว่าพื้นที่ตอนในของภูมิภาคซึ่งมีการป้องกันอย่างดี ในสงครามครั้งนี้มีการโจมตีโดยใช้อากาศยานไร้คนขับ เครื่องรับรู้ ปืนใหญ่พิสัยไกล และขีปนาวุธ ตลอดจนการโฆษณาชวนเชื่อโดยรัฐและการใช้บัญชีสื่อสังคมทางการในยุทธการข้อมูลข่าวสารออนไลน์ผู้เสียชีวิตจากการสู้รบของทั้งสองฝ่ายรวมกันแล้วอาจอยู่ในระดับหลายพันคน

หลายประเทศและสหประชาชาติออกมาประณามอย่างรุนแรงต่อการใช้กำลังและเรียกร้องให้ทั้งสองฝ่ายผ่อนคลายความตึงเครียดและกลับสู่การเจรจาที่มีนัยสำคัญโดยไม่รอช้า

 ข้อตกลงหยุดยิงเพื่อมนุษยธรรมตามแนวทางของคณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศซึ่งมีรัสเซียเป็นคนกลางไกล่เกลี่ยและได้รับความเห็นชอบจากทั้งอาร์มีเนียและอาเซอร์ไบจานมีผลอย่างเป็นทางการในวันที่ 10 ตุลาคมอย่างไรก็ตาม ข้อตกลงดังกล่าวถูกทั้งสองฝ่ายเพิกเฉยอย่างสิ้นเชิง ส่งผลให้แผนการส่งร่างผู้เสียชีวิตกลับประเทศและการแลกเปลี่ยนผู้บาดเจ็บและเชลยหยุดชะงัก

หลังจากอาเซอร์ไบจานเข้ายึดชูชาซึ่งเป็นเมืองใหญ่อันดับที่สองของสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค มีการลงนามข้อตกลงสันติภาพระหว่างอิลฮัม แอลีเยฟ ประธานาธิบดีอาเซอร์ไบจาน, นีกอล พาชินยัน นายกรัฐมนตรีอาร์มีเนีย และวลาดีมีร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย ซึ่งยุติการสู้รบทั้งหมดในพื้นที่ตั้งแต่เวลา 00:00 น. ของวันที่ 10 พฤศจิกายน ตามเวลามอสโกอารายิก ฮารุทยุนยัน ประธานาธิบดีสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค ตกลงที่จะยุติการสู้รบด้วยเช่นกัน ตามข้อตกลงดังกล่าว แต่ละฝ่ายจะยังคงปักหลักในพื้นที่ที่ตนเองควบคุมอยู่ในปัจจุบัน

ในขณะที่ชาวอาร์มีเนียตกลงที่จะคืนดินแดนรอบภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคที่ตนเองยึดครองให้แก่อาเซอร์ไบจาน นอกจากนี้อาเซอร์ไบจานยังจะสามารถเข้าถึงดินแดนส่วนแยกนาคีชีวันทางบกได้อีกด้วยส่วนรัสเซียจะส่งทหารจำนวนเกือบ 2,000 นายไปเป็นกองกำลังรักษาสันติภาพเพื่อคุ้มครองเส้นทางเชื่อมต่อระหว่างอาร์มีเนียกับสาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัคเป็นเวลาอย่างน้อยห้าปี

เหตุปะทะเกิดขึ้นเมื่อวันที่  27 กันยายน โดยกองทัพของทั้งสองประเทศต่างกล่าวหาอีกฝ่ายเปิดฉากโจมตีใส่เป้าหมายในเขตนาร์กอโน-คาราบัค ซึ่งเป็นเขตพิพาทระหว่างกันที่ยืดเยื้อมายาวนาน การโจมตีทางอากาศและการใช้ปืนใหญ่ได้สร้างความเสียหายให้แก่ทั้งสองประเทศ ในคำประกาศเมื่อวันที่  28 กันยายนกระทรวงกลาโหมอาเซอร์ไบจานได้ยืนยันว่า ได้สังหารทหาร 550 นาย ทำลายรถหุ้มเกราะ 22 คัน ฐานยิงระบบป้องกันภัยทางอากาศ 15 แห่ง เครื่องบินไร้คนขับ 18 ลำ ฐานปืนใหญ่ แห่งและคลังกระสุน แห่งของอาร์เมเนีย  ส่วนกองทัพอาร์เมเนียได้เผยว่า อาเซอร์ไบจานมีทหารเสียชีวิตเกือบ 200 นาย รถหุ้มเกราะถูกทำลาย 30 คัน อีกทั้งปฏิเสธตัวเลขผู้ที่ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตที่อาเซอร์ไบจานได้ประกาศ โดยยืนยันว่า อาร์เมเนียมีทหารเสียชีวิต 16 นายและได้รับบาดเจ็บ  100 นายนอกจากนี้กองทัพทั้งสองประเทศยังเผยแพร่วีดีโอและภาพถ่ายเกี่ยวกับการโจมตีใส่กองทัพของอีกฝ่ายเพื่อเป็นหลักเห็นยืนยันถึงความเสียหายของอีกฝ่าย

การปะทะที่ดุเดือดและเสี่ยงทวีความรุนแรง

ตามแหล่งข่าวต่างๆและจากความเห็นบรรดานักวิเคราะห์การปะทะระหว่างอาเซอร์ไบจานกับอาร์เมเนียเมื่อวันที่ 27 กันยายนมีความดุเดือดมากกว่าหลายเท่าเมื่อเทียบกับการปะทะเมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา เนื่องจากทั้งสองฝ่ายได้ใช้อาวุธสงครามหนักหลายชนิด แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่น่ากังวลกว่าในช่วงนี้คือ ทั้งสองฝ่ายยังคงแสดงทัศนะที่แข็งกร้าว ซึ่งอาจทำให้วิกฤตในปัจจุบันมีความรุนแรงมากขึ้น

โดยทั้งอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานต่างกล่าวหาอีกฝ่ายว่าได้ระดมกองกำลังจากภายนอกเข้าร่วมการปะทะ ฝ่ายอาร์เมเนียได้กล่าวหาโดยไม่แสดงหลักฐานว่า ตุรกีส่งนักรบซีเรียเกือบ 4 พันนายพร้อมเครื่องบินไร้คนขับและผู้เชี่ยวชาญด้านทหารไปยังเขตนาร์กอโน-คาราบัคเพื่อสนับสนุนกองทัพอาเซอร์ไบจาน ส่วนทางการอาเซอร์ไบจานได้ปฏิเสธข้อมูลนี้พร้อมกล่าวหาอาร์เมเนียว่ากำลังใช้ทหารรับจ้างจากซีเรียและบางประเทศในตะวันออกกลางในการปะทะในเขตนาร์กอโน-คาราบัคแต่ก็ไม่ได้แสดงหลักฐานใดๆเช่นกัน

โดยเฉพาะ เมื่อวันที่ 28กันยายน เอกอัครราชทูตอาเมเนียประจำรัสเซีย Vardan Toghanyan  ได้เตือนว่า จะใช้ขีปนาวุธอิสกันเดอร์ ถ้าหากตุรกีส่งเครื่องบิน F-16 ไปยังเขต นาร์กอโน-คาราบัค เพื่อสนับสนุนอาเซอร์ไบจาน ส่วนรัฐมนตรีต่างประเทศอาเซอร์ไบจาน Jeyhun Bayramov ก็ได้ประกาศตอบทันทีว่า จะใช้มาตรการตอบโต้ที่เหมาะสมถ้าหากอาร์เมเนียใช้ขีปนาวุธอิสกันเดอร์ ในขณะเดียวกัน เมื่อวันที่ 27 กันยายน ประธานาธิบดีตุรกีไตยิป แอร์โดอัน ได้ยืนยันว่า จะสนับสนุนอาเซอร์ไบจานต่อไป

https://vovworld.vn/th-TH/%E0%B8%A7%E0%B9%80%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%B0%E0%B8%AB%E0%B8%AA%E0%B8%96%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%93/%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%9B%E0%B8%B0%E0%B8%97%E0%B8%B0%E0%B9%83%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%95-%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%84-nagornokarabakh-%E0%B8%95%E0%B8%81%E0%B9%80%E0%B8%82%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B8%A0%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A2-906578.vov

ประชาคมโลกแสดงความวิตกกังวล

จากสถานการณ์ที่รุนแรงในเขตนาร์กอโน-คาราบัคประเทศมหาอำนาจต่างๆได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายใช้ความอดกลั้น โดยเมื่อวันที่ 27 กันยายน ประธานาธิบดีรัสเซีย วลาดีเมียร์ ปูติน ได้แสดงความกังวลเป็นอย่างมากและเรียกร้องให้อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานทำทุกอย่างเพื่อป้องกันไม่ให้การปะทะลุกลามและยุติความเกลียดชัง ในวันเดียวกัน ประธานาธิบดีสหรัฐ โดนัลด์ ทรัมป์ ได้ประกาศว่า กำลังพิจารณาเรื่องนี้และแสดงความประสงค์ว่า ทั้งสองประเทศจะยุติการปะทะ เช่นเดียวกับทัศนะนี้ สหภาพยุโรปหรืออียูได้เตือนว่า ความตึงเครียดในเขตนาร์กอโน-คาราบัคมีความเสี่ยงที่จะยืดเยื้อและสร้างความเสียหายที่รุนแรง สร้างภัยคุกคามต่อเสถียรภาพในภูมิภาคอียูได้เรียกร้องให้ทุกฝ่ายหยุดยิงทันที ยุติปฏิบัติการที่เป็นศัตรู ลดความตึงเครียดและประเทศมหาอำนาจในภูมิภาคไม่ควรเข้าไปแทรกแซง

โดยเฉพาะ แหล่งข่าวด้านการทูตเมื่อวันที่  28 กันยายนได้เผยว่า คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติอาจจะจัดการประชุมลับฉุกเฉินในวันที่ 29 กันยายนเพื่อหารือเกี่ยวกับปัญหาการปะทะในเขตนาร์กอโน-คาราบัคโดยเยอรมนีและฝรั่งเศสเป็นฝ่ายเสนอให้จัดการประชุมดังกล่าว ในขณะที่ประเทศยุโรปอื่นๆซึ่งกำลังเป็นสมาชิกในคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ ประกอบด้วย เบลเยียม อังกฤษและเอสโตเนียได้สนับสนุนท่าทีนี้

บรรดานักวิเคราะห์แสดงความเชื่อมั่นว่า ถึงแม้การปะทะในนาร์กอโน-คาราบัคยังคงรุนแรง แต่การเข้าร่วมอย่างรวดเร็วของประชาคมโลกเป็นสิ่งที่จำเป็นเป็นอย่างยิ่ง เพราะอาจช่วยคลี่คลายความตึงเครียดในปัจจุบัน โดยเฉพาะประเทศรัสเซียที่มีสถานะและความสัมพันธ์ด้านผลประโยชน์พิเศษในภูมิภาคจะพยายามป้องกันการปะทะที่อันตรายที่อาจเกิดขึ้นใกล้ชายแดนของตน

อาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต ซึ่งก่อตั้งเมื่อปี 1922 และล่มสลายไปเมื่อปี 1991

ทั้งสองประเทศตั้งอยู่บริเวณตะวันตกเฉียงใต้หรือภูมิภาคที่ชื่อว่าคอเคซัส ซึ่งมีความสำคัญในเชิงยุทธศาสตร์มาก เนื่องจากฝั่งตะวันตกอยู่ติดกับตุรกี อิหร่านอยู่ทางใต้ จอร์เจียอยู่ทางเหนือ รัสเซียก็อยู่ทางตอนเหนือฝั่งอาเซอร์ไบจาน

ประชาชนส่วนใหญ่ในอาร์เมเนียเป็นชาวคริสต์ ส่วนอาเซอร์ไบจานซึ่งร่ำรวยจากการค้าน้ำมันเป็นชาวมุสลิม

สมัยสหภาพโซเวียต ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคมีชาวเชื้อสายอาร์เมเนียอาศัยอยู่ แต่กลับถูกปกครองโดยทางการอาเซอร์ไบจาน

เข้าช่วงปลายทศวรรษที่ 80 เมื่อสหภาพโซเวียตใกล้ล่มสลาย รัฐสภาของภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคลงมติตกลงเป็นส่วนหนึ่งของอาร์เมเนีย

หตุนี้เองที่ทำให้เกิดการปะทะกันของคนสองเชื้อชาติ และเมื่อเป็นอิสระจากสหภาพโซเวียต ความขัดแย้งนี้ก็กลายเป็นสงครามอย่างเต็มรูปแบบ มีคนหลายหมื่นเสียชีวิต และคนถึงล้านคนต้องอพยพย้ายถิ่น และมีรายงานว่าต่างฝ่ายก็ต่างมุ่งฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ซึ่งกันและกัน

กองกำลังอาร์เมเนียเข้าควบคุมภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคได้อย่างเต็มที่ก่อนที่จะประกาศหยุดยิงในปี 1994 จากการที่รัสเซียเข้ามาช่วยเจรจา

จากการตกลงกันในครั้งนั้น ภูมิภาคนากอร์โน-คาราบัคจะยังเป็นของอาเซอร์ไบจานอยู่ แต่จะถูกปกครองโดยคนเชื้อสายอาร์เมเนีย ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลอาร์เมเนีย

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B9%82%E0%B8%99-%E0%B8%84%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%9A%E0%B8%B1%E0%B8%84_%E0%B8%9E.%E0%B8%A8._2563