สงครามลิเบีย ต่อต้านกัดดาฟี สงครามกลางเมืองลิเบีย พ.ศ. 2554 เป็นความขัดแย้งติดอาวุธในประเทศลิเบีย เพื่อต่อต้านอำนาจรัฐภายใต้การปกครองของพันเอกมูอัมมาร์ กัดดาฟี ซึ่งเป็นผู้นำโดยพฤตินัยของประเทศที่ครองอำนาจมายาวนานร่วม 40 ปี เหตุความไม่สงบได้เริ่มต้นขึ้นในวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554 และได้ขยายตัวกลายเป็นจุดเริ่มต้นของการลุกฮือขึ้นทั่วประเทศ ซึ่งมีเป้าหมายที่จะโค่นล้มกัดดาฟีลงจากตำแหน่งและจัดการเลือกตั้งอย่างเป็นประชาธิปไตย
สงครามลิเบีย ต่อต้านกัดดาฟี เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกจุดประกายขึ้นจากการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในประเทศตูนีเซียและอียิปต์ ซึ่งเชื่อมโยงกับการประท้วงในวงกว้างทั่วทั้งทวีปแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีจัดตั้งรัฐบาลตั้งอยู่ที่เบงกาซี ชื่อว่า สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ ซึ่งระบุเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟีและจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย

สื่อชาติตะวันตกรายงานว่า ชาวลิเบียจำนวนมากออกมาเฉลิมฉลอง ครบรอบ 5 ปีของเหตุการณ์การลุกขึ้นต่อต้าน พ.อ.โมฮัมมา กัดดาฟี อดีตผู้นำลิเบีย ขณะเดียวกันสื่อของรัสเซียกลับรายงานในแง่มุมตรงข้าม
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า ชาวลิเบียออกมาเฉลิมฉลองวาระครบรอบ 5 ปี ของการลุกฮือขึ้นต่อต้าน พ.อ.โมฮัมมา กัดดาฟี ภายในกรุงทริโปลี แต่เหตุการณ์เดียวกันนี้ สำนักข่าวอาร์ทีของรัสเซีย กลับรายงานว่าเป็น 5 ปีแห่งความเลวร้าย และผลลัพธ์ออกมาตรงข้ามกับคำขวัญในขณะนั้นที่ว่า ถ้า พ.อ.กัดดาฟีถูกโค่นล้ม ลิเบียก็จะก้าวไปสู่ความรุ่งโรจน์
สื่อของรัสเซียรายงานด้วยว่า การลุกฮือขึ้นต่อต้าน พ.อ.กัดดาฟี เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 17 ก.พ.2554 ซึ่งชาติตะวันตกเข้าหนุนหลังชาวลิเบีย จนนำไปสู่การสังหาร พ.อ.กัดดาฟีอย่างเหี้ยมโหด สภาพในขณะนี้ลิเบียมีรายได้จากน้ำมันลดลงเหลือครึ่งเดียว อีกทั้งยังต้องเผชิญกับกลุ่มไอเอส ที่ฉวยสถานการณ์ไร้เสถียรภาพทางการเมือง และกลุ่มต่างๆจับอาวุธต่อสู้กันเอง เข้ามายึดครองพื้นที่หลายส่วนของประเทศ

หลายประเทศประณามรัฐบาลลิเบียภายใต้การนำของกัดดาฟีอย่างรุนแรง ซึ่งใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ศาลอาญาระหว่างประเทศเตือนกัดดาฟีและสมาชิกรัฐบาลลิเบียว่าอาจได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติซึ่งอายัดทรัพย์ของกัดดาฟีและบุคคลใกล้ชิดจำนวน 10 คน มติดังกล่าวยังสั่งห้ามการเดินทางและยื่นเรื่องลิเบียต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวน
ต้นเดือนมีนาคม กองกำลังฝ่ายกัดดาฟีรุกคืบไปทางตะวันออกจนถึงเบงกาซี ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพิ่มเติมได้อนุมัติให้รัฐสมาชิกกำหนดเขตห้ามบินเหนือลิเบียและเขตห้ามบินดังกล่าวได้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม โดยเริ่มทำลายการป้องกันทางอากาศของลิเบียรัฐบาลกัดดาฟีประกาศหยุดยิงหลังจากนั้น แต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้
ในเดือนสิงหาคม กำลังกบฏยึดดินแดนที่สูญเสียไปส่วนใหญ่กลับคืนมาได้ และยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงตริโปลี นำไปสู่การจับกุมบุตรชายและทายาทผู้สืบทอดอำนาจของกัดดาฟี ซาอิฟ อัล-อิสลาม ขณะที่กัดดาฟีหลบหนีการถูกจับกุมและทหารฝ่ายภักดีเป็นเสมือนทหารกองหลัง จนถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 สหประชาชาติรู้จักลิเบียภายใต้กัดดาฟีอย่างเป็นทางการว่า ลิเบียอาหรับจามาฮิริยา แต่หลังจากนั้น สหประชาชาติยอมรับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติเป็นตัวแทนตามกฎหมายของประเทศ วันที่ 20 กันยายน สหภาพแอฟริกายอมรับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของลิเบีย

เหตุการณ์ดังกล่าวได้ถูกจุดประกายขึ้นจากการลุกฮือต่อต้านรัฐบาลเผด็จการในประเทศตูนีเซียและอียิปต์ ซึ่งเชื่อมโยงกับการประท้วงในวงกว้างทั่วทั้งทวีปแอฟริกาเหนือและตะวันออกกลาง ฝ่ายต่อต้านกัดดาฟีจัดตั้งรัฐบาลตั้งอยู่ที่เบงกาซี ชื่อว่า สภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติ ซึ่งระบุเป้าหมายเพื่อโค่นล้มรัฐบาลกัดดาฟีและจัดการเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตย
ต้นเดือนมีนาคม กองกำลังฝ่ายกัดดาฟีรุกคืบไปทางตะวันออกจนถึงเบงกาซี ข้อมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติเพิ่มเติมได้อนุมัติให้รัฐสมาชิกกำหนดเขตห้ามบินเหนือลิเบีย และเขตห้ามบินดังกล่าวได้เริ่มบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 19 มีนาคม โดยเริ่มทำลายการป้องกันทางอากาศของลิเบีย รัฐบาลกัดดาฟีประกาศหยุดยิงหลังจากนั้น แต่ไม่สามารถปฏิบัติจริงได้
ในเดือนสิงหาคม กำลังกบฏยึดดินแดนที่สูญเสียไปส่วนใหญ่กลับคืนมาได้ และยึดพื้นที่ส่วนใหญ่ของกรุงตริโปลี นำไปสู่การจับกุมบุตรชายและทายาทผู้สืบทอดอำนาจของกัดดาฟี ซาอิฟ อัล-อิสลาม
หลายประเทศประณามรัฐบาลลิเบียภายใต้การนำของกัดดาฟีอย่างรุนแรง ซึ่งใช้ความรุนแรงต่อกลุ่มผู้ประท้วงจนทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายร้อยคน ศาลอาญาระหว่างประเทศเตือนกัดดาฟีและสมาชิกรัฐบาลลิเบียว่าอาจได้ก่ออาชญากรรมต่อมนุษยชาติ คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติผ่านข้อมติซึ่งอายัดทรัพย์ของกัดดาฟีและบุคคลใกล้ชิดจำนวน 10 คน มติดังกล่าวยังสั่งห้ามการเดินทางและยื่นเรื่องลิเบียต่อศาลอาญาระหว่างประเทศเพื่อดำเนินการสืบสวนสอบสวน
ขณะที่กัดดาฟีหลบหนีการถูกจับกุมและทหารฝ่ายภักดีเป็นเสมือนทหารกองหลัง จนถึงวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2554 สหประชาชาติรู้จักลิเบียภายใต้กัดดาฟีอย่างเป็นทางการว่า ลิเบียอาหรับจามาฮิริยา แต่หลังจากนั้น สหประชาชาติยอมรับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติเป็นตัวแทนตามกฎหมายของประเทศ วันที่ 20 กันยายน สหภาพแอฟริกายอมรับสภาถ่ายโอนอำนาจแห่งชาติว่าเป็นผู้แทนโดยชอบธรรมของลิเบีย