Skip to content
Home » News » สงครามโลกครั้งที่1 เกิดขึ้นได้อย่างไร

สงครามโลกครั้งที่1 เกิดขึ้นได้อย่างไร

สงครามโลกครั้งที่1 เกิดขึ้นได้อย่างไร เป็นสงครามทั่วโลกที่เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 เมื่อจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีประกาศสงครามต่อราชอาณาจักรเซอร์เบีย และสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918

เมื่อมีการลงนามสงบศึกระหว่างฝ่ายสัมพันธมิตรกับจักรวรรดิเยอรมัน การระบุสาเหตุที่แท้จริงของสงครามยังคงเป็นที่ถกเถียง นักวิชาการพยายามค้นหาว่าเหตุใดมหาอำนาจสองฝ่าย (จักรวรรดิเยอรมันและจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี กับฝ่ายรัสเซีย ฝรั่งเศส และสหราชอาณาจักร) จึงสู้รบกันในปี ค.ศ. 1914 และวิเคราะห์ว่าสามารถหลีกเลี่ยงความขัดแย้งนี้ได้หรือไม่

ปัจจัยทั่วไปที่นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ได้แก่ ระบบเครือข่ายพันธมิตรอันซับซ้อนการแข่งขันทางการเมืองและเศรษฐกิจ คติแสนยนิยมและจักรวรรดินิยม การเจริญของแนวคิดชาตินิยม และสุญญากาศทางอำนาจของจักรวรรดิออตโตมันที่กำลังเสื่อมถอยปัจจัยอื่น ๆ ที่สำคัญรวมถึงกรณีพิพาทเรื่องอาณาเขตที่ไม่ได้รับการแก้ไข ความเปลี่ยนแปลงดุลอำนาจของยุโรปที่รับรู้ได้วิธีการปกครองที่สับสนกระจัดกระจาย การแข่งขันในทางอาวุธช่วงทศวรรษก่อนหน้า และการวางแผนปฏิบัติการทางทหาร

สงครามโลกครั้งที่1 เกิดขึ้นได้อย่างไร
https://www.silpa-mag.com/history/article_22647

นักวิชาการมุ่งความสนใจไปที่ฤดูร้อน ค.ศ. 1914 หลังการลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชายชาวเซิร์บ-บอสเนีย เกิดวิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาตึงเครียดทางการทูตและการทหารในยุโรป วิกฤตการณ์ถูกยกระดับกลายเป็นความขัดแย้งระหว่างออสเตรีย-ฮังการีกับเซอร์เบียที่มีพันธมิตรของทั้งสองฝ่ายเข้าร่วม

สิ่งหนึ่งที่ยกระดับวิกฤตการณ์นี้คือ การประเมินสถานการณ์ที่ผิดพลาด (เช่น เยอรมนีที่เชื่อว่าสหราชอาณาจักรจะเป็นกลางหรือเชื่อว่าสงครามจะไม่ยืดเยื้อ สิ้นสุดก่อนคริสต์มาส ค.ศ. 1914) ความเชื่อที่ว่าสงครามเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ไปจนถึงการแผ่ขยายของวิกฤตการณ์อันเป็นผลมาจากความล่าช้าและความเข้าใจผิดทางการทูต ซึ่งก่อนหน้าวิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม มหาอำนาจต่างขัดแย้งกันด้วยปัญหาในยุโรปและอาณานิคมมานานหลายทศวรรษ ซึ่งความขัดแย้งนี้สามารถสืบย้อนไปได้ถึง ค.ศ. 1867

นักวิชาการยังคงมีความเห็นไม่ลงรอยในเรื่องสาเหตุที่แท้จริงของสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เนื่องจากมีมุมมองต่อปัจจัยหลักและความสำคัญของแต่ละปัจจัยต่างกันไป นอกจากนี้การศึกษาสาเหตุยังเปลี่ยนแปลงไปตามเวลาจากหลักฐานที่พบและอุดมการณ์ของตัวนักประวัติศาสตร์

ทัศนะหลักที่แบ่งนักประวัติศาสตร์ออกเป็นสองฝ่ายคือ ฝ่ายหนึ่งเชื่อว่าเยอรมนีกับออสเตรีย-ฮังการีเป็นผู้ขับเคลื่อนให้เกิดเหตุการณ์ขณะที่อีกฝ่ายมองว่าเป็นผลพวงจากปัจจัยต่าง ๆ จำนวนมาก สองทัศนะนี้ยังสามารถแยกย่อยได้เป็นความเห็นว่าเยอรมนีจงใจก่อสงครามความเชื่อว่าสงครามไม่ได้ถูกวางแผนไว้ แต่ต้นเหตุหลักมาจากเยอรมนี และความเห็นว่ามหาอำนาจอื่นมีส่วนในการก่อสงครามเช่นกัน

สงครามโลกครั้งที่1 เกิดขึ้นได้อย่างไร

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่ 1

สาเหตุของสงครามโลกครั้งที่หนึ่งก็คือ การลอบปลงพระชนม์อาร์คดุยค ฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์ รัชทายาทของบัลลังก์จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี โดยกัฟรีโล ปรินซีป ชาวเซิร์บบอสเนีย ซึ่งเป็นสมาชิกของแก๊งมือมืด และการแก้แค้นของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีต่อราชอาณาจักรเซอร์เบียก็ทำให้เกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ก่อให้เกิดสงครามครั้งใหญ่ปะทุขึ้นในทวีปยุโรป ภายในหนึ่งเดือน ทวีปยุโรปส่วนมากก็อยู่ในสภาวะสงคราม แต่ความขัดแย้งที่มีมาตั้งแต่การรวมชาติเยอรมนี ตั้งแต่ ค.ศ. 1871 นั้นทำให้ยุโรปต้องอยู่ในสมดุลแห่งอำนาจซึ่งยากแก่การรักษา การแข่งขันทางทหาร อุตสาหกรรมและการแย่งชิงดินแดนก็ทำให้วิกฤตสุกงอมจนกระทั่งปะทุออกมาเป็นสงคราม

สงครามครั้งนี้ได้แบ่งออกเป็นสองฝ่าย คือ มหาอำนาจไตรภาคี (อังกฤษ: Triple Entente) ซึ่งเดิมประกอบด้วย ฝรั่งเศส สหราชอาณาจักร จักรวรรดิรัสเซีย รวมไปถึงประเทศอาณานิคมด้วย โดยส่วนใหญ่รัฐที่เข้าร่วมสงครามในภายหลังจะเข้าร่วมกับฝ่ายพันธมิตร โดยชาติมหาอำนาจที่เข้าสู่สงครามด้วย ได้แก่จักรวรรดิญี่ปุ่น เมื่อเดือนสิงหาคม 1914 อิตาลี เมื่อเดือนเมษายน 1915 และสหรัฐอเมริกา เมื่อเดือนเมษายน 1917 และฝ่ายมหาอำนาจกลาง (อังกฤษ: Central Powers) ซึ่งเดิมประกอบด้วย จักรวรรดิเยอรมนี จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี และดินแดนอาณานิคม จักรวรรดิออตโตมานได้เข้าร่วมกับฝ่ายมหาอำนาจกลางเมื่อเดือนตุลาคม 1914 และบัลแกเรียในอีกปีให้หลัง ระหว่างช่วงสงคราม ประเทศที่วางตัวเป็นกลางในทวีปยุโรป ได้แก่ เนเธอร์แลนด์ สวิตเซอร์แลนด์ สเปนและประเทศตามคาบสมุทรสแกนดิเนเวีย แม้ว่าประเทศเหล่านี้อาจจะเคยส่งเสบียงและยุทโธปกรณ์ไปช่วยเหลือบางประเทศที่รบอยู่ก็ตาม

การสู้รบที่เกิดขึ้นตามแนวรบด้านตะวันตกเกิดขึ้นไปตามระบบสนามเพลาะ และป้อมปราการซึ่งถูกแยกออกจากกันด้วยดินแดนรกร้าง แนวปราการเหล่านี้ตรึงขนานออกไปเป็นระยะมากกว่า 600 กิโลเมตรและเป็นส่วนสำคัญของสงครามสำหรับคนจำนวนมาก ส่วนในแนวรบด้านตะวันออก ที่ราบฝั่งตะวันออกที่กว้างขวางและเครือข่ายทางรถไฟที่จำกัด ทำให้การรบในสนามเพลาะไม่สามารถทำได้ แม้ว่าความรุนแรงของความขัดแย้งในด้านตะวันออกนั้น จะพอ ๆ กับด้านตะวันตกก็ตาม แนวรบตะวันออกกลางและแนวรบอิตาลีก็มีการสู้รบกันอย่างดุเดือดเช่นกัน และการสู้รบก็ยังลุกลามไปยังน่านน้ำ และเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ คือการรบกลางอากาศ

สงครามโลกครั้งที่หนึ่งสิ้นสุดลงด้วยชัยชนะของฝ่ายพันธมิตร และความปราชัยของฝ่ายมหาอำนาจกลาง ภายหลังสงคราม ได้มีการเซ็นสนธิสัญญาจำนวนมาก แต่ที่สำคัญคือ สนธิสัญญาแวร์ซายส์ เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน 1919 แม้ว่าฝ่ายเยอรมนีจะยอมสงบศึกไปก่อนแล้วในปี 1918 ผลที่สำคัญอย่างหนึ่งของสงคราม ก็คือการวาดรูปแผนที่ยุโรปใหม่ ประเทศฝ่ายมหาอำนาจกลางสูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมาก และทำให้เกิดประเทศใหม่ขึ้นมาในยุโรปตะวันออก เยอรมนีสูญเสียอาณานิคมโพ้นทะเลทั้งหมด รวมไปถึงการต้องชดใช้ค่าปฏิกรสงครามจำนวนมหาศาล และการต้องทนการถูกตราหน้าว่าเป็นผู้เริ่มสงคราม จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้แตกออกเป็นประเทศเอกราชใหม่ ได้แก่ ออสเตรีย ฮังการี เชโกสโลวาเกีย ยูโกสลาเวีย จักรวรรดิออตโตมานล่มสลาย แผ่นดินเดิมของจักรวรรดินอกจากที่ราบสูงอนาโตเลียได้ถูกแบ่งให้กลายเป็นอาณานิคมของผู้ชนะสงครามทั้งหลาย

ส่วนชาวอาหรับเดิมได้กลายเป็นประเทศตุรกี จักรวรรดิรัสเซียซึ่งได้ถอนตัวจากสงครามในปี 1917 ได้สูญเสียดินแดนของตนเป็นจำนวนมากทางชายแดนด้านตะวันตกกลายเป็นประเทศใหม่ ได้แก่ เอสโตเนีย ฟินแลนด์ ลัตเวีย ลิทัวเนีย และ โปแลนด์ และได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต สงครามโลกครั้งที่หนึ่งถือเป็นจุดสิ้นสุดของยุคระเบียบโลกที่เกิดขึ้นหลังจากสงครามนโปเลียน และยังเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สงครามโลกครั้งที่สองเกิดขึ้น

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%A5%E0%B8%AD%E0%B8%9A%E0%B8%9B%E0%B8%A5%E0%B8%87%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B9%8C%E0%B8%AD%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%8A%E0%B8%94%E0%B8%A2%E0%B8%B8%E0%B8%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%8B%E0%B9%8C_%E0%B9%81%E0%B8%9F%E0%B8%A3%E0%B9%8C%E0%B8%94%E0%B8%B5%E0%B8%99%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B9%8C_%E0%B9%81%E0%B8%AB%E0%B9%88%E0%B8%87%E0%B8%AD%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2

การลอบปลงพระชนม์อาร์ชดยุกฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์แห่งออสเตรีย

 รัชทายาทโดยสันนิษฐานแห่งบังลังก์ออสเตรีย-ฮังการี และพระชายาของฟรันซ์ แฟร์ดีนันท์ โซฟี, ดัชเชสแห่งโฮเอินแบร์ค เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 ในซาราเยโว เมื่อทั้งสองพระองค์ทรงได้รับบาดเจ็บจนสิ้นพระชนม์โดยกัฟรีโล ปรินซีป ปรินซีปเป็นหนึ่งในกลุ่มมือสังหาร(ห้าคนเป็นชาวเซิร์บและหนึ่งคนเป็นชาวบอสนีแอก) ภายใต้การประสานงานโดย Danilo Ilić ชาวบอสเนียเซิร์บและสมาชิกของสมาคมลับ แบล็กแฮนด์ เป้าหมายทางการเมืองของการลอบปลงพระชนม์คือการทำลายหัวเมืองชาวสลาฟตอนใต้ของออสเตรีย-ฮังการีเพื่อที่พวกเขาจะสามารถรวมประเทศให้กลายเป็นยูโกสลาเวีย แรงจูงใจของผู้สมคบคิดได้สอดคล้องกับขบวนการที่ต่อมาได้กลายเป็นที่รู้จักคือ เยาวชนบอสเนีย การลอบปลงพระชนม์ครั้งนี้ได้นำไปสู่สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง เมื่อออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นคำขาดในภายหลังกับราชอาณาจักรเซอร์เบีย ซึ่งได้ถูกปฏิเสธบางส่วน ดังนั้นออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามต่อเซอร์เบีย ก่อให้เกิดการกระทำที่จะนำไปสู่สงครามระหว่างรัฐส่วนใหญ่ในยุโรป

ในความรับผิดชอบของกลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดทางทหารของเซอร์เบียเหล่านี้เป็นหัวหน้าของหน่วยข่าวกรองทางทหาร ดรากูทิน ดิมิทรีเจวิก มือขวาคนสำคัญของเขา Vojislav Tankosić, และสายลับ Rade Malobabić Tankosić ได้เตรียมอาวุธสำหรับการลอบปลงพระชนม์ด้วยระเบิดและปืนพกและทำการฝึกฝนแก่พวกเขา มือสังหารได้รับการเข้าถึงเครือข่ายลับเดียวกันของเซฟ-เฮ้าส์และตัวแทน Malobabić ได้ใช้สำหรับการแทรกซึมอาวุธและปฏิบัติิการเข้าสู่ออสเตรีย-ฮังการี

มือสังหาร, สมาชิกคนสำคัญของเครือข่ายลับและบุคคลสำคัญของกลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดทางทหารของเซอร์เบียที่ยังมีชีวิตอยู่ได้ถูกจับกุม ขึ้นศาล ตัดสิน และลงโทษ ผู้ที่ถูกจับกุมในบอสเนียก็ถูกนำตัวขึ้นศาลในซาราเยโวในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1914 ผู้สมรู้ร่วมคิดคนอื่นๆก็ถูกจับกุมและขึ้นศาลก่อนหน้าศาลเซอร์เบียบนแนวรบสาโลนิคาภายใต้การควบคุมของฝรั่งเศสในปี ค.ศ. 1916-1917 ด้วยข้อหาเท็จที่ไม่มีความเกี่ยวข้อง เซอร์เบียได้ประหารชีวิตสามคนในอันดับสูงสุดของกลุ่มผู้สมรู้ร่วมคิดทางทหาร เป็นที่รู้จักกันมากเกี่ยวกับการลอบปลงพระชนม์มาจากการพิจารณาคดีสองครั้งและบันทึกที่มีความเกี่ยวข้อง

https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%95%E0%B8%B8%E0%B8%82%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%AA%E0%B8%87%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B8%97%E0%B8%B5%E0%B9%88%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B6%E0%B9%88%E0%B8%87