สมคิด พุ่มพวงฆาตกรต่อเนื่อง นายสมคิดกลายเป็นข่าวโด่งดังเมื่อปี 2548 เมื่อถูกเจ้าหน้าที่ตำรวจกองปราบปรามจับกุมเมื่อวันที่ 29 มิ.ย. 2548 หลังก่อเหตุฆ่าหมอนวดและนักร้องถึง 5 รายซ้อนในพื้นที่ภาคอีสาน เหนือ และภาคใต้ โดยคดีแรก เมื่อวันที่ 30 ม.ค. 2548 เหยื่อคือ น.ส.วารุณี พิมพะบุตร นักร้องคาเฟ่ ถูกมัดและกดน้ำเสียชีวิตในห้องพักโรงแรม ต.มุกดาหาร อ.เมือง จ.มุกดาหาร
ถัดมาเมื่อวันที่ 4 มิ.ย. 2548 น.ส.ผ่องพรรณ ทรัพย์ชัย หมอนวดแผนโบราณ พบเป็นศพถูกบีบคอตายคาห้องพัก 604 โรงแรมแห่งหนึ่งใน ต.สวนดอก อ.เมือง จ.ลําปาง
เหยื่อรายที่ 3 คือ น.ส.พัชรีย์ อมตนิรันดร์ นักร้องคาเฟ่ ถูกรัดคอด้วยสายไฟสิ้นใจตายภายในห้องพัก 505 โรงแรม ต.ทับเที่ยง อ.เมือง จ.ตรัง เมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2548 รายที่ 4 คือ น.ส.พรตะวัน ปังคะบุตร หมอนวด ถูกกดน้ำตายในห้องพัก 1126 โรงแรม อ.เมือง จ.อุดรธานี วันที่ 18 มิ.ย. 2548
และศพที่ 5 คือ น.ส.สมปอง พิมพรภิรมย์ ท้องที่ จ.บุรีรัมย์ ในแมนชั่น อ.เมือง จ.บุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 21 มิ.ย. 2548 แม้จะลงมือต่างพื้นที่ แต่เป็นระยะเวลาที่ใกล้เคียงกันทั้งหมด
แต่ตอนนั้นเจ้าหน้าที่ยังไม่คิดเลยว่าทั้งหมดจะมีความเชื่อมโยง

กุญแจที่สามารถคลี่คลายคดีได้ เนื่องจากในคดีที่ 5 ตํารวจได้หลักฐานภาพจากกล้องวงจรปิด ระหว่างคนร้ายพาเหยื่อสาวมาเปิดห้องพัก เจ้าหน้าที่จึงส่งภาพกระจายไปหลายโรงพักและในจังหวัดต่างๆ
เมื่อตํารวจเจ้าของ 4 คดีแรกได้รับภาพจากกล้องวงจรปิด และข้อมูลการลงมือของฆาตกรที่ใกล้เคียงกับคดีของตัวเอง จึงนําภาพไปให้พยานในแต่ละคดีดู ทั้งหมดชี้ยืนยันว่าเป็นฆาตกรรายเดียวกัน แต่ใช้คนละชื่อในการเปิดห้องพัก!!?
ซึ่งก็คือนายสมคิด พุ่มพวง ที่เคยมาเป็นพยานเท็จในคดีฆ่าผู้ว่าฯยโสธรเมื่อปี 2544 จึงตามแกะรอยไปยังบ้านและสถานที่ต่างๆ ที่นายสมคิคเคยไปปรากฏตัว พร้อมตรวจหาทรัพย์สินของเหยื่อไปด้วย
กระทั่งวันที่ 29 มิ.ย. 2548 พบข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือของเหยื่อรายหนึ่ง ที่ถูกขโมยไปหลังโดนฆาตกรรม โทร.ออกจากจ.ชัยภูมิ จึงตามจับกุมได้ถึงบ้านของภรรยาเก่านายสมคิด
สอบสวนนายสมคิดสารภาพ 4 คดี อ้างว่าลงมือสังหารเพราะโมโหที่เหยื่อทุกรายซึ่งซื้อบริการมาหลับนอน ขอเพิ่มค่าตัวเลยฆ่าทิ้งให้หายแค้น แต่ปฏิเสธก่อคดีที่ 3 ที่จ.ตรัง
ต่อมาอัยการสั่งฟ้องแยกเป็น 5 คดี ทุกคดีสิ้นสุดที่ศาลฎีกาให้ จำคุกตลอดชีวิต
จำคุกที่เรือนจำบางขวาง ต่อมาได้ย้ายไปจำคุกที่เรือนจำจังหวัดหนองคาย ก่อนถูกปล่อยตัวออกมาเมื่อวันที่ 17 พ.ย. 2562 เนื่องจากมีความประพฤติดี เรียบร้อย เป็นนักโทษชั้นเยี่ยม
สมคิด พุ่มพวงฆาตกรต่อเนื่อง ในทุกศพจะถูกฆ่าด้วยเชือกรัดคอ หรือจับกดน้ำเสียชีวิต ก่อนรื้อค้นทรัพย์สินหลบหนีไป
นายสมคิดให้การรับสารภาพ 4 คดี ยกเว้นคดีฆ่า น.ส.พัชรีย์
ตํารวจและอัยการพิจารณาสั่งฟ้องผู้ต้องหาแยกเป็น 5 สํานวน ในความผิดฐานฆ่าผู้อื่นโดยไตร่ตรองไว้ก่อน โดยทรมาน โดยกระทําการทารุณโหดร้าย และลักทรัพย์ในเวลากลางคืน
คดีแรกคือฆ่าน.ส.วารุณี ศาลมีคําพิพากษาเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2552 ประหารชีวิต ก่อนลดโทษเหลือจําคุกตลอดชีวิต ถัดมาเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2553 พิพากษาประหารชีวิตคดีฆ่า น.ส.สมปอง แต่คําให้การเป็นประโยชน์อยู่บ้าง ลดโทษเหลือจําคุกตลอดชีวิต
วันที่ 2 มีนาคม 2553 พิพากษาประหารชีวิตคดีฆ่า น.ส.ผ่องพรรณ และวันที่ 21 มีนาคมที่ผ่านมา ศาลอาญารัชดาภิเษก มีพิพากษาคดีฆ่า น.ส.พัชรีย์ให้จําคุกตลอดชีวิต
และจากคดีที่แล้วเพียงเดือนเศษ ๆ ศาลอาญาก็นัดอ่านคําพิพากษาในคดีฆ่าน.ส.พรตะวัน หมอนวดแผนโบราณ ที่จ.อุดรธานี
คดีนี้พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องนายสมคิด ระบุความผิคสรุปว่า เมื่อวันที่ 17-19 มิถุนายน 2548 จําเลยใช้มือบีบคอ น.ส. พรตะวัน หมอนวดแผนโบราณ เสียชีวิตภายในห้องพักโรงแรม จ.อุดรธานี มีเจตนา ฆ่าและลักโทรศัพท์มือถือของผู้ตายไป
ศาลพิเคราะห์พยานหลักฐานแล้วเห็นว่า โจทก์มีพยานเป็นพนักงานโรงแรม 4 ปาก ให้การสอดคล้องกันว่า เห็นจําเลยมาเปิดห้องใช้บริการ โดยมาพร้อมกับผู้ตาย และเมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2548 จําเลยโทรศัพท์สั่งอาหารมารับประทานที่ห้องพัก และเมื่อนำอาหารมาส่ง พบจําเลยเป็นผู้เปิดประตูห้อง และมีผู้ตายอยู่ในห้องพักด้วย
กระทั่งเวลา 23.00 น. จําเลยและผู้ตายมาใช้บริการที่ห้องคาราโอเกะจนเวลา 01.00 น. มาเรียกเก็บค่าบริการ จําเลยให้เรียกเก็บพร้อมค่าห้องพักในวันเช็กเอาต์ ขณะที่จําเลยอ้างว่าช่วงเวลาเกิดเหตุพบผู้ตายเพื่อเจรจาเรื่องหนี้สิน แต่ปรากฏว่าเจรจาเรื่องหนี้สินกันไม่ได้
ศาลเห็นว่าแม้โจทก์ไม่มีพยานเห็นเหตุการณ์ที่จําเลยฆ่าผู้ตาย แต่มีพนักงานโรงแรม 4 คน ที่เห็นจําเลยและผู้ตายมาพักที่โรงแรม ซึ่งสอดคล้องกับที่จําเลยยอมรับว่าเข้าพักที่โรงแรม และพบผู้ตายซึ่งมาด้วยกันตั้งแต่ จ.หนองคาย มายังจ.อุดรธานี ขณะที่จําเลยรับสารภาพในชั้นสอบสวนด้วย พร้อมนําชี้ที่เกิดเหตุ และแสดงวิธีการฆ่าผู้ตายประกอบกับเหตุการณ์ที่เกิด
พนักงานโรงแรมก็ไม่มีเหตุโกรธเคืองกับจําเลยมาก่อน เชื่อว่าเบิกความไปตามที่ได้พบเห็นเหตุการณ์ และหลังเกิดเหตุจําเลยออกจากโรงแรมไปอย่างเร่งรีบ โดยไม่ชําระค่าห้องพัก และค่าบริการอื่น ๆ จึงเชื่อว่ามี พฤติการณ์ที่พยายามจะปกปิดความผิดของตัวเอง ขณะที่จําเลยยังนําโทรศัพท์ของผู้ตายไปจํานําด้วย
ด้วยเป็นคดีสะเทือนขวัญได้รับความสนใจจากสังคม และเกิดคนละท้องที่ทําให้ลําบากต่อการประสานงาน ทําให้กองปราบปรามโอนคดีทั้งหมดมาทําเอง

ภาพของคนร้ายที่ปรากฏทําให้ทีมงานส่วนหนึ่งต้องตกใจ เพราะจําได้ว่าคือนายสมคิด พุ่มพวง ที่เคยมาป่วนคดีฆ่านายปรีณะ ลีพัฒนะพันธ์ อดีตผู้ว่าฯ ยโสธร ซึ่งกองปราบฯ จับกุม ‘ผู้พันตึ๋ง” พ.ต.เฉลิมชัย มัจฉากล่ำ กับพวกเมื่อปี 2544
นายสมคิด โผล่มาพบตํารวจอ้างว่าเป็นพยานที่เห็นเหตุการณ์ โดยคนร้ายเป็นอีกแก๊งหนึ่งไม่ใช่ผู้พันตึ๋ง
แต่ตํารวจสอบไปสอบมาสุดท้ายนายสมคิด สารภาพว่ามีคนจ้างมาให้การเท็จ!??
คดีดังกล่าวตํารวจดําเนินคดีและส่งฟ้องศาล ได้รับโทษจําคุก 6 เดือน
ตํารวจกองปราบฯ คงไม่คาดคิดว่าอีกไม่กี่ปีผ่านไปต้องเวียนมาเจอกับนายสมคิดอีกครั้ง และคราวนี้ตกเป็นผู้ต้องสงสัยคดีร้ายแรงกว่าครั้งแรกหลายเท่า
เจ้าหน้าที่ตามแกะรอยไปยังบ้านและสถานที่ต่าง ๆ ที่นายสมคิคเคยไปปรากฏตัว พร้อมตรวจหาทรัพย์สินของเหยื่อไปด้วย
กระทั่งวันที่ 29 มิถุนายน 2548 พบข้อมูลการใช้โทรศัพท์มือถือของเหยื่อรายหนึ่ง ที่ถูกขโมยไปหลังโดนฆาตกรรม โทร.ออกจาก จ.ชัยภูมิ
ตํารวจตามไปและได้เจอตัวนายสมคิดหนีมากบดานอยู่
นายสมคิดสารภาพ 4 คดี อ้างว่าลงมือสังหารเพราะโมโหที่เหยื่อทุกรายซึ่งซื้อบริการมาหลับนอน ขอเพิ่มค่าตัวเลยฆ่าทิ้งให้หายแค้น
แต่เจ้าหน้าที่เชื่อว่าเขาวางแผนไว้ตั้งแต่แรก เพราะไม่มีงานการเป็นหลักแหล่งอะไร แต่หาเงินด้วยการลวงหมอนวดหรือนักร้องคาเฟ่มาหลับนอน ก่อนฆ่าชิงทรัพย์!!
คดีทั้ง 5 ถูกศาลพิพากษาจำคุกตลอดชีวิต การตัดสินในชั้นศาลมีล่าสุดเมื่อปี 2555 และคำพิพากษายืนให้จำคุกตลอดชีวิต นายสมคิดถูกจำคุกตั้งแต่วันที่ 29 มิถุนายน 2548 ที่เรือนจำบางขวาง ต่อมาได้ย้ายไปจำคุกที่เรือนจำจังหวัดหนองคาย ก่อนถูกปล่อยตัวออกมาเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2562 เนื่องจากมีความประพฤติดี เรียบร้อย เป็นนักโทษชั้นเยี่ยม จึงได้รับการลดโทษตามกระบวนการทางกฎหมายมาโดยลำดับ (หนังสือพิมพ์มติชน ฉบับวันที่ 17 ธันวาคม 2562)
