Skip to content
Home » News » สมองไอน์สไตน์ถูกขโมย

สมองไอน์สไตน์ถูกขโมย

สมองไอน์สไตน์ถูกขโมย เชื่อว่าในโลกนี้คงมีน้อยคนมากที่ไม่เคยได้ยินชื่อของ อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ หนึ่งในนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังที่สุดในรอบศตวรรษ เจ้าของรางวัลโนเบลสาขาฟิสิกส์ ผู้มอบทฤษฎีสัมพันธภาพและทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์อื่นๆ ให้โลกได้พิสูจน์มาจนถึงทุกวันนี้ ทำให้หลายๆ คนยกย่องไอน์สไตน์ว่ามีมันสมองที่แสนพิเศษ พิเศษจนกระทั่งมีคนขโมยมันไปเพื่อไขความลับที่ทำให้ชายคนหนึ่งกลายเป็นอัจฉริยะชื่อก้องโลก

สมองไอน์สไตน์ถูกขโมย
https://www.thairath.co.th/news/foreign/1683180

สมองไอน์สไตน์ถูกขโมย ความเป็นไปของสมอง

การชันสูตรศพของไอนสไตน์กระทำในห้องปฏิบัติการ ณ โรงพยาบาลปรินซ์ตัน โดยนักพยาธิวิทยาชื่อ โทมัส สต็อลทซ์ ฮาร์วีย์ ไม่นานหลังการเสียชีวิตของเขาใน ค.ศ. 1955 ฮาร์วีย์นำสมองออกและชั่งน้ำหนักสมอง จากนั้นนำไปห้องปฏิบัติการ ณ มหาวิทยาลัยเพนซิลเวเนีย และผ่าสมองของไอนสไตน์เป็นหลายชิ้น สมองบางชิ้นนั้นถูกนำไปให้นักพยาธิวิทยาชั้นนำ เขาหวังว่าการแบ่งเปลือกสมองออกเป็นพื้นที่ตามลักษณะเซลล์ (Cytoarchitecture) จะให้ข้อมูลอันเป็นประโยชน์ ฮาร์วีย์ฉีดฟอร์มาลีน 50% ทางหลอดเลือดแดงคาโรติดใน แล้วแช่สมองทั้งก้อนในฟอร์มาลีน 10% ฮาร์วีย์ถ่ายรูปสมองหลายมุม จากนั้นเขาผ่าสมองเป็นประมาณ 240 บล็อก (แต่ละบล็อกขนาดประมาณ 18 ซม.3) และหุ้มแต่ละชั้นในวัสดุคล้ายพลาสติกที่เรียกว่า โคโลเดียนฮาร์วีย์ยังนำตาของไอนสไตน์ออกและมอบให้เฮนรี่ เอบรามส์ ซึ่งเป็นจักษุแพทย์ของไอนสไตน์ยังมีการถกเถียงกันว่าสมองของไอนสไตน์ได้รับการอนุญาตจากเจ้าตัวขณะมีชีวิตหรือไม่ ก่อนจะถูกเก็บรักษา โรนัลด์ คลาร์ก เขียนในประวัตไอนสไตน์ใน ค.ศ. 1979 ว่า “เขายืนยันว่าสมองของเขาควรถูกวิจัยขณะร่างของเขาถูกเผา” ทว่างานวิจัยเมื่อไม่นานมานี้ชี้ว่า เรื่องนี้อาจไม่เป็นความจริง และสมองของเขาถูกนำออกมาและถนอมไว้โดยไม่ได้รับการยึนยอมจากทั้งไอนสไตน์และญาติสนิท ฮานส์ อัลเบิร์ต ไอนสไตน์ ซึ่งเป็นบุตรชายคนโตของเขา ได้ลงชื่อให้นำออกหลังจากเกิดเหตุการณ์ขึ้น แต่ยืนยันว่าสมองของพ่อเขาควรนำไปใช้สำหรับงานวิจัยที่จะได้ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์มีคุณภาพเท่านั้น

ใน ค.ศ. 1978 สมองของไอนสไตน์ถูกนักข่าว สตีเฟน เลวีย์ ค้นพบอีกครั้ง ในความครอบครองของ ดร. ฮาร์วีย์ส่วนของสมองถูกถนอมไว้ในแอลกอฮอล์ในขวดโหลเมสัน ขนาดใหญ่สองขวดในกล่องไซเดอร์เป็นเวลากว่า 20 ปี 

ฮาร์วีย์เดินทางไปรัฐแคลิฟอร์เนีย และเข้าพบอีฟลิน ไอนสไตน์ ซึ่งเป็นหลานของไอนสไตน์ ขณะนั้นเธอเป็นหม้ายที่กำลังมีปัญหาด้านการเงิน เธอมองข้อเท็จจริงที่ฮาร์วีย์เก็บสมองของปู่เธอว่าเป็นเรื่องน่าขยะแขยง ทว่าเธอสนใจความลับที่อาจซ่อนอยู่ เธอเป็นบุตรบุญธรรมของฮานส์ อัลเบิร์ต และฟรีดา ภรรยาของเขา เธอได้ข่าวลือว่าเธออาจเป็นลูกของไอนสไตน์ ด้วยไอนสไตน์เคยมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงหลายคน เธอคาดว่าเธอเองอาจเป็นผลของหนึ่งในความสัมพันธ์นี้ จนทำให้ไอนสไตน์ขอให้ฮานส์ อัลเบิร์ตรับเธอเป็นบุตรบุญธรรม หากแต่วิธีที่ฮาร์วีย์แช่สมองทำให้ไม่สามารถสกัดดีเอ็นเอออกมาได้ ทำให้ข้อสงสัยของเธอไม่เคยได้คำตอบ

ใน ค.ศ. 2010 ทายาทของฮาร์วีย์มอบสมองของไอนสไตน์ที่อยู่ในครอบครองทั้งหมด รวมถึงรูปถ่ายสมองทั้งก้อนทั้ง 14 รูป ซึ่งไม่เคยถูกเปิดเผยในสาธารณะมาก่อนให้กับพิพิธภัณฑ์สุขภาพและการแพทย์แห่งชาติ

เมื่อไม่นานนี้ พิพิธภัณฑ์มึทเทอร์ ในฟิลาเดลเฟียได้สมองไอนสไตน์ 46 ส่วนเล็ก ใน ค.ศ. 2013 แผ่นบาง ๆ ซึ่งถูกวางบนแผ่นสไลด์กล้องจุลทรรศน์ ถูกนำออกตั้งโชว์อย่างถาวรที่ห้องแสดงผลงานศิลปะ

*การเสียชีวิตของไอน์สไตน์

ตลอดชีวิต 76 ปีของไอน์สไตน์ เขาแทบไม่เคยต้องใช้บริการทางการแพทย์ แต่ในช่วงไม่กี่ปีสุดท้ายของชีวิต สถานการณ์บังคับให้เขาต้องเข้ารับการผ่าตัดเปิดช่องท้อง เนื่องจากเกิดอาการปวดท้องรุนแรงโดยไม่ทราบสาเหตุ และพบว่าเขามีอาการหลอดเลือดแดงใหญ่เอออร์ตา (Aorta) โป่งพองขนาดเท่าผลองุ่น แต่ในยุคนั้นยังไม่มีวิธีรักษาอาการแบบนี้ แพทย์จึงตัดสินใจใช้วัสดุคล้ายกระดาษใสห่อส่วนที่โป่งพองเอาไว้ไม่ให้เส้นเลือดรั่ว

5 ปีต่อมา ในวันที่ 13 เม.ย. 2498 เส้นเลือดที่ห่อเอาไว้เริ่มรั่ว และหมอวินิจฉัยว่ามันอาจจะแตกในในทันที แต่ไอน์สไตน์ปฏิเสธที่จะรับการรักษาต่อ เนื่องจากรู้ดีว่า ในตอนนั้นไม่มีวิธีใดที่จะรักษาเขาได้อีกแล้ว และนักวิทยาศาสตร์ชื่อดังของโลกรายนี้ก็จากไปในอีก 5 วันต่อมา

*สมองไอน์สไตน์โดนขโมย

ไอน์สไตน์เป็นคนที่มีความเป็นส่วนตัวสูงมาก เขาไม่ต้องการให้ร่างกายของเขา รวมทั้งสมอง ถูกนำไปศึกษา เพราะเขาไม่อยากถูกบูชาจึงสั่งเสียให้ครอบครัวฌาปนกิจร่างกายของเขาทั้งหมด แล้วนำเถ้ากระดูกไปโปรยตามสถานที่ต่างๆ แต่เรื่องกลับไม่เป็นเช่นนั้น เนื่องจากสมองของไอน์สไตน์ถูกขโมยไปก่อนระหว่างการชันสูตรศพด้วยฝีมือของนักพยาธิวิทยา โธมัส ฮาร์วีย์

แม้ว่าความจะแตกภายในเวลาไม่กี่วัน ว่าฮาร์วีย์แอบนำสมองของไอน์สไตน์ไปโดยไม่ได้รับอนุญาต แต่ในที่สุดเขาก็ได้รับอนุญาตจาก ฮานส์ ไอน์สไตน์ ลูกชายคนโตของอัลเบิร์ต ไอน์สไตน์ ให้นำสมองไปวิจัยได้โดยมีเงื่อนไขว่าเพื่อเป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์เท่านั้น และเผยแพร่ผลการวิจัยในวารสารวิทยาศาสตร์ที่น่าเชื่อถือ

*การผจญภัยของสมองกับโธมัส ฮาร์วีย์

อย่างไรก็ตาม ไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ฮาร์วีย์ก็ถูกไล่ออกจากโรงพยาบาลพรินซ์ตันที่เขาทำงานอยู่เนื่องจากไม่ยอมคืนสมองของไอน์สไตน์ เขาจึงนำสมองไปยังโรงพยาบาลฟิลาเดลเฟีย แล้วตัดแบ่งสมองออกเป็น 240 ส่วน ก่อนมอบตัวอย่างบางส่วนแก่ดร. แฮร์รี ซิมเมอร์แมน อาจารย์ของเขาซึ่งเป็นแพทย์ส่วนตัวของไอน์สไตน์ ที่เหลือนำใส่ขวดโหลฟอร์มาลีน 2 ขวดเก็บไว้ใต้ถุนบ้านของเขาในเมืองพรินซ์ตัน

การตกงานทำให้ชีวิตครอบครัวของฮาร์วีย์พังทลาย เขาพยายามออกไปหางานที่ต่างเมื่อ แต่ภรรยาของเขาหมดความอดทนและขู่จะทิ้งสมองของไอน์สไตน์ ทำให้เขาต้องกลับมาแล้วนำมันไปเขตมิดเวสต์กับเขาด้วย หลังจากนั้นเขาได้งานเป็นที่ปรึกษาด้านการแพทย์ของศูนย์ทดสอบทางชีววิทยาในเมืองวิชิตา รัฐแคนซัส โดยเก็บโหลบรรจุสมองเอาไว้ในกล่องแล้วยัดไว้ไต้ตู้แช่เบียร์นานร่วม 20 ปี

ฮาร์วีย์ย้ายที่อยู่อีกครั้ง คราวนี้ไปเมืองเวสตัน รัฐมิสซูรี เพื่อปฏิบัติหน้าที่ทางการแพทย์และใช้เวลาว่างในการศึกษาสมองของไอน์สไตน์ จนกระทั่งเขาเสียใบอนุญาตประกอบวิชาชีพหมอในปี 2531 เนื่องจากสอบความรู้ความสามารถไม่ผ่าน ทำให้เขาย้ายที่อยู่ไปยังเมือง ลอว์เรนซ์ ในรัฐแคนซัส ไปทำงานในโรงงานขึ้นรูปพลาสติก เขาอาศัยอยู่บนชั้น 2 ของอพาร์ตเมนต์ใกล้ปั๊มแก๊ส

ในช่วงปลายทศวรรษที่ 90 ฮาร์วีย์กลับไปเมืองพรินซ์ตันอีกครั้ง แต่การเพนจรของเขายังไม่จบลงแค่นั้น ในปี 2540 ฮาร์วีย์ในวัย 84 ปี เดินทางข้ามประเทศไปกับนักเขียนนิตยสารอิสระชื่อ ไมเคิล แพเตอร์นิตี เพื่อไปพบกับหลานสาวของไอน์สไตน์ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย โดยทั้งคู่กับสมองเจ้าปัญหาออกเดินทางด้วยรถยนต์จากรัฐนิวเจอร์ซีย์จนกระทั่งได้พบกับหลานของไอน์สไตน์จนได้ ซึ่งฮาร์วีย์เสนอจะคืนสมองของไอน์สไตน์แก่เธอ และถึงกับลืมโหลใส่สมองเอาไว้ แต่ผู้เป็นหลานปฏิเสธที่จะรับ จนในที่สุดเขาต้องนำมันกลับเมืองพรินซ์ตันด้วย

ในหนังสือของแพเตอร์นิตี ซึ่งมีชื่อว่า ‘Driving Mr. Albert’ เขาเขียนถึงฮาร์วีย์ว่า เป็นคนประหลาด อาจถึงขั้นเพ้อฝัน มีเสียงกังวาล ชอบหัวเราะอย่างไม่รู้กาละเทศะ เวลาเดียวที่เขาทำตัวเหมือนคนปกติคือ หลังจากเขากลับเมืองพรินซ์ตันแล้วคืนสมองส่วนที่เหลือของไอน์สไตน์ให้กับนักพยาธิวิทยาในโรงพยายามที่เป็นจุดเริ่มต้นของเริ่มทั้งหมดเมื่อ 40 ปีก่อน ได้ปล่อยวางตัวอย่างทดลองที่ทำลายชีวิตเขามาครึ่งชีวิต ในที่สุดเขาก็ได้กลับบ้านเสียที

ทั้งนี้ ฮาร์วีย์เสียชีวิตอย่างสงบที่โรงพยาบาลพรินซ์ตันที่เขาเคยทำงานอยู่เมื่อวันที่ 5 เม.ย. 2550

*ผลการวิจัยที่ถูกปฏิเสธ

ฮาร์วีย์กับเพื่อนร่วมงานในแคลิฟอร์เนียเผยแพร่ผลการศึกษาสมองของไอน์สไตน์ฉบับแรกออกมาในปี 2528 อ้างว่า สมองมีอัตราส่วนของเซลล์ประสาท (นิวรอน) กับเซลล์เกลีย ซึ่งทำหน้าที่ยึดเสริมเซลล์ประสาทผิดปกติ ก่อนจะมีผลการวิจัยอีก 5 ฉบับตามมาระบุถึงความแตกต่างของเซลล์ หรือโครงสร้างในสมองของไอน์สไตน์ ที่อาจช่วยไขความลับเรื่องสติปัญญาในทางประสาทวิทยาได้

อย่างไรก็ตาม ศ.เทอเรนซ์ ไฮน์ส ศาสตราจารย์วิชาจิตวิทยาจากมหาวิทยาลัย เพซ ในนครนิวยอร์ก ออกมาโต้แย้งผลการศึกษาของฮาร์วีย์และที่เหลืออีก 5 ฉบับทั้งหมด โดยชี้ให้เห็นถึงจุดบอดของการวิจัยและการเก็บรักษาตัวอย่าง กลางงานประชุมประจำปีของสมาคมประสาทวิทยา ทำให้ผลการวิจัยดังกล่าวไม่ได้รับการยอมรับ

https://www.thairath.co.th/news/foreign/1683180