สหรัฐคว่ำบาตรเมียนมา สหรัฐอเมริกาจ่อใช้มาตรการคว่ำบาตรกองทัพเมียนมา กรณีการทำรัฐประหารยึดอำนาจจากรัฐบาลพลเรือน โดยสำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า เมื่อวันที่ 11 ก.พ. นายโจ ไบเดน ประธานาธิบดีสหรัฐฯได้ลงนามคำสั่งประธานาธิบดีให้รัฐบาลสหรัฐฯดำเนินการคว่ำบาตร แกนนำการก่อรัฐประหาร เน้นไปที่ผู้นำกองทัพ สมาชิกครอบครัว ธุรกิจที่เกี่ยวข้อง ภายในสัปดาห์นี้
พร้อมกล่าวว่าจะใช้มาตรการควบคุมการส่งออกสินค้าไปยังเมียนมา และระงับทรัพย์สินต่างๆในสหรัฐฯที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐบาลเมียนมา แต่ยังคงให้การสนับสนุนเมียนมาด้านสาธารณสุข สังคม หรืออื่นๆที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนเมียนมาโดยตรง ถือเป็นการอนุมัติมาตรการคว่ำบาตรครั้งแรกของนายไบเดนนับตั้งแต่รับตำแหน่งผู้นำคนใหม่เมื่อวันที่ 20 ม.ค.ที่ผ่านมา
สหรัฐคว่ำบาตรเมียนมา “โจ ไบเดน” ประธานาธิบดีสหรัฐฯ ออกโรงลงนามให้รัฐบาลสหรัฐฯคว่ำบาตรพม่าภายในสัปดาห์นี้ มุ่งเน้นไปที่แกนนำก่อรัฐประหาร ผู้นำกองทัพ สมาชิกครอบครัวและธุรกิจที่เกี่ยวข้อง พร้อมทั้งงัดมาตรการควบคุมสินค้าส่งออกและระงับทรัพย์สินที่เอื้อประโยชน์ต่อรัฐบาลพม่า ส่วนการประท้วงในเมืองต่างๆของพม่ายังคึกคักมีประชาชนนับหมื่นชุมนุมตามท้องถนน ทั้งแหล่งท่องเที่ยวชื่อดังเรียกร้องให้ปล่อย “อองซาน ซูจี” และคืนอำนาจสู่รัฐบาลพลเรือน ด้านรัฐบาลสหภาพยุโรปแถลงการณ์ปฏิเสธไม่มีส่วนเกี่ยวข้องฝึกเจ้าหน้าที่ปราบจลาจลในเหตุยิงกลุ่มผู้ประท้วง

คำสั่งที่บีบคั้นกองทัพเมียนมา หรือทัดมาดอว์ครั้งนี้ มีขึ้นในขณะที่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเมียนมา ได้บุกกวาดล้างขั้วอำนาจเก่าระลอกใหม่ โดยมีนัก การเมือง ข้าราชการ ที่เกี่ยวข้องกับนางอองซาน ซูจี ผู้นำโดยพฤตินัยของเมียนมา ถูกจับกุมหลายคน ในจำนวนนี้รวมถึงสมาชิกคณะกรรมการการเลือกตั้งที่เคยแสดงจุดยืนคัดค้านการตรวจสอบเรื่องความผิดปกติของการเลือกตั้งไปจนถึงอดีตที่ปรึกษาของนางซูจี และเจ้าหน้าที่ข้อมูลข่าวสารพรรคสันนิบาตชาติเพื่อประชาธิปไตย (NLD) ขณะที่การสอบถามไปยังกองทัพเมียนมา ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นใดๆ
เช่นเดียวกับบรรยากาศการประท้วงในเมืองต่างๆ ของเมียนมา ยังคงเป็นไปอย่างคึกคัก ชาวเมียนมาหลายหมื่นคนได้ออกมาชุมนุมตามท้องถนน เรียกร้องให้ปล่อยตัวนางซูจี พร้อมคืนอำนาจสู่รัฐบาลพลเรือน ทั้งนครย่างกุ้ง กรุงเนปิดอว์ และเมืองวัฒนธรรมมัณฑะเลย์ ทางภาคเหนือ และในรัฐฉาน ทางภาคตะวันออกของประเทศ ที่กลุ่มผู้ประท้วงได้จัดการชุมนุมบนเรือ ในทะเลสาบอินเล แหล่งท่องเที่ยวชื่อดัง นอกจากนี้ กลุ่มผู้ชุมนุมได้ประกาศรณรงค์ให้ข้าราชการ และคนอาชีพอื่นๆช่วยกันแสดงอารยะขัดขืนหยุดงาน เพื่อประท้วงกองทัพ
ส่วนกรณีที่ผู้ประท้วงหญิงถูกยิงเข้าที่ศีรษะบาดเจ็บสาหัส ระหว่างการประท้วงในกรุงเนปิดอว์นั้น สำนักข่าวการ์เดียนของอังกฤษรายงานความคืบหน้าว่า รัฐบาลสหภาพยุโรปได้ออกแถลงการณ์ปฏิเสธว่ามีส่วนเกี่ยวข้องในการช่วยฝึกซ้อมกลยุทธ์การปราบจลาจลแก่กลุ่มเจ้าหน้าที่เกี่ยวข้องในเหตุยิงผู้ประท้วง ตามที่ปรากฏในภาพข่าวแพร่สะพัดกันในโซเชียลมีเดีย แสดงให้เห็นตำรวจนายหนึ่งเล็งปืนไปที่ฝูงชน พร้อมระบุว่าตำรวจที่เล็งปืนมียศพันตำรวจโท แต่สหภาพยุโรปช่วยฝึกซ้อมการปราบจลาจลตามโครงการที่ชื่อว่ามายโปล แก่เจ้าหน้าที่ความมั่นคงเมียนมายศร้อยตำรวจโทลงไปเท่านั้น
ปธน.ไบเดน ระบุว่า สหรัฐฯได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรเมียนมาไปในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา หลังจากได้เห็นความคืบหน้าที่เป็นไปตามแนวทางประชาธิปไตย จากการถอยหลังครั้งนี้ สหรัฐฯจำเป็นต้องทบทวนกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับมาตรการคว่ำบาตรและอำนาจที่มีในทันที และจะมีการตอบสนองที่เหมาะสม

สหรัฐฯ จะยืนหยัดปกป้องเมื่อใดก็ตามที่ประชาธิปไตยถูกโจมตี และขอให้กองทัพเมียนมาวางมือจากอำนาจ และปล่อยตัวผู้ที่ถูกจับกุมในทันที
ขณะนี้ยังไม่ทราบแน่ชัดว่าการขู่คว่ำบาตรจะส่งผลต่อกองทัพเมียนมามากน้อยเท่าใด โดยก่อนหน้านี้สหรัฐฯ ไม่ได้เข้าไปลงทุนมากนัก ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการปฏิบัติอย่างไม่เป็นธรรมต่อชาวโรฮิงญา
อีกปัจจัยคือการที่กองทัพเมียนมามีแนวโน้มที่จะหันไปพึ่งจีน ที่พร้อมจะสร้างความสัมพันธ์อันดีกับรัฐบาลเมียนมา ไม่ว่าจะมีที่มาจากประชาชนหรือจากการยึดอำนาจก็ตาม
ขณะเดียวกัน ทางการแคนาดาออกมาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมกับ บุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมา ส่วนทางการสหราชอาณาจักร ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรบริษัท “เมียนมา เจมส์ เอนเทอร์ไพรส์” (Myanmar Gems Enterprise) ของกองทัพเมียนมา
“แอนโทนี บลิงเคน” รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐ กล่าวว่า มาตรการคว่ำบาตรดังกล่าวกับพันธมิตร แสดงให้เห็นถึงวิธีการแก้ไขของปัญหานี้ นั่นก็คือการ “กดดันทางการเมืองและการคลัง” ต่อกองทัพ ตราบใดที่ยังไม่ยกเลิกการใช้ความรุนแรง และแสดงความเคารพต่อประชาชนของประเทศ
ขณะเดียวกัน “มาร์ค การ์โน” รัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศแคนาดา แถลงการณ์ว่า ประเทศแคนาดาจะยืนเคียงข้างประชาชนชาวเมียนมา เพื่อต่อสู้ให้ประเทศกลับมามีประชาธิปไตย และเสรีภาพอีกครั้ง รวมทั้งจะไม่ลังเล ที่จะออกมาตรการเพิ่มเติม
รายงานข่าวระบุ ตั้งแต่การรัฐประหารเมียนมาเมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งกองทัพเมียนมาได้ยึดอำนาจ และกักขัง “อองซาน ซูจี” อดีตที่ปรึกษาแห่งรัฐ ซึ่งชนะการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ได้มีผู้เสียชีวิตอย่างน้อย 796 คน และยังถูกควบคุมตัวอีกเกือบ 4,000 คน
ขณะเดียวกัน รัฐบาลวอชิงตันยังคว่ำบาตร “เมียนมา อีคอนอมิก โฮลดิงส์ จำกัด” ( เอ็มอีเอชแอล ) ซึ่งบริษัทด้านการลงทุนแห่งชาติของเมียนมา และบริษัทความร่วมมือทางเศรษฐกิจเมียนมา ( เม็ก ) เนื่องจากมีความเชื่อมโยงทางโครงสร้างกับกองทัพเมียนมา
อนึ่ง ก่อนหน้านั้นสหรัฐยืนยันว่า พยายามหลีกเลี่ยงที่จะไม่คว่ำบาตรบริษัททั้งสองแห่ง เพื่อป้องกันไม่ให้เศรษฐกิจของเมียนมาที่ย่ำแย่อยู่แล้ว ยิ่งเลวร้ายลงไปกว่าเดิมอย่างไรก็ตาม แถลงการณ์ของกระทรวงพาณิชย์สหรัฐระบุว่า “มีความจำเป็น” เพื่อปิดกั้นไม่ให้กองทัพเมียนมาสามารถเข้าถึงรายได้จากอุตสาหกรรมหยกและอัญมณี ซึ่งนำรายได้เข้าสู่เมียนมา “ปีละมหาศาล”
ขณะเดียวกัน รัฐบาลวอชิงตันยังคว่ำบาตร “เมียนมา อีคอนอมิก โฮลดิงส์ จำกัด” ( เอ็มอีเอชแอล ) ซึ่งบริษัทด้านการลงทุนแห่งชาติของเมียนมา และบริษัทความร่วมมือทางเศรษฐกิจเมียนมา ( เม็ก ) เนื่องจากมีความเชื่อมโยงทางโครงสร้างกับกองทัพเมียนมา
อังกฤษและแคนาดาใช้มาตรการคว่ำบาตรเมียนมาเพิ่ม หลังกองทัพใช้กำลังปราบปรามประชาชนอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ชาวบ้านที่ก่อตั้งกองกำลังป้องกันตัวเอง จับอาวุธขึ้นมาต่อต้านกองทัพเมียนมาเมื่อ 3 สัปดาห์ก่อน เสียชีวิตอย่างน้อย 6 คนจากการปะทะกัน
สำนักข่าวรอยเตอร์รายงานว่า กระทรวงต่างประเทศของแคนาดาได้ออกแถลงการณ์ว่า แคนาดาได้ประสานงานกับสหรัฐฯ และสหราชอาณาจักรเมื่อวันจันทร์ที่ 17 พ.ค. ในการบังคับใช้มาตรการคว่ำบาตรเพิ่มเติมกับบุคคลและนิติบุคคลที่เกี่ยวข้องกับกองทัพเมียนมา และเรียกร้องให้มีการฟื้นฟูประชาธิปไตย
“แคนาดาอยู่เคียงข้างประชาชนชาวเมียนมา ขณะที่พวกเขายังคงต่อสู้กับการฟื้นฟูประชาธิปไตยและเสรีภาพในประเทศอย่างต่อเนื่อง และเราจะไม่ลังเลที่จะดำเนินมาตรการต่อไป” นายมาร์ก การ์โน รัฐมนตรีกระทรวงต่างประเทศแคนาดาระบุในแถลงการณ์
รอยเตอร์รายงานด้วยว่า สหราชอาณาจักรได้ประกาศมาตรการคว่ำบาตรต่อเมียนมา เจมส์ เอนเตอร์ไพรส์ (Myanmar Gems Enterprise–MGE) กิจการที่รัฐเป็นเจ้าของ โดยระบุว่า การทำเช่นนี้จะเป็นการตัดลดแหล่งเงินทุนสนับสนุนรัฐบาลทหารเมียนมา